อิสรภาพ
ฉันต้องการอิสรภาพ
ที่จะได้เห็น ที่จะได้ยิน
ในสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น
ฉันต้องการอิสรภาพ
ที่จะได้พูด ในสิ่งที่ฉันคิด ฉันรู้สึก
ไม่ใช่ให้ฉันพูด...ในสิ่งที่ฉันควรพูด ที่ฉันควรคิด
ฉันต้องการอิสภาพ
ที่จะได้รู้สึก ในสิ่งที่ฉันรู้สึกจริง
ไม่ใช่ในสิ่งที่ฉันควรรู้สึก
ฉันต้องการอิสรภาพ
ที่จะได้ถามในสิ่งที่ฉันอยากถาม
แทนการรอคอยคำอนุญาต
ฉันต้องการอิสรภาพ
ที่จะได้เสี่ยงชีวิต...ที่ฉันเองเป็นผู้รับผิดชอบ
แทนการกักขังหน่วงเหนี่ยว ในกรอบที่สังคมเป็นผู้บอก
เพียงเพราะคิดว่ามันปลอดภัย !
หมายเหตุ ; ผมขอแสดงความยินดีและขอมอบความเรียงสั้นๆบทนี้ที่ผมคัดมาจากหนังสือ “ค้นหา” ของ นวลศิริ เปาโรหิตย์ แด่ คุณจีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บประชาไทดอทคอม เนื่องในวาระที่คุณจีรนุชได้รับรางวัล เฮลมาน - ฮามเมตต์ เมื่อวันที่ 14 ก.ย. 54 ณ สมาคมต่างประเทศแห่งประเทศไทย จากกรณีต้องคดี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ บนเนื้อที่สื่อออนไลน์ที่พยายามให้อิสระและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่ออำนาจรัฐ และไม่ทันได้ลบข้อความที่หมิ่นสถาบันฯจากผู้ที่โพสต์เข้ามาแสดงความคิดเห็นทางการเมืองที่ขัดแย้งกัน จนเลยเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้
รางวัล เฮลมาน - ฮามเมตต์ เป็นรางวัลที่ตั้งขึ้นเมื่อปี 2532 ภายใต้องค์กร ฮิวแมนไรท์วอทซ์ เพื่อมอบเงินช่วยเหลือให้แก่นักเขียนและนักเคลื่อนไหวที่รณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งตกเป็นเหยื่อจากการดำเนินคดีของรัฐ รางวัลดังกล่าว ตั้งชื่อตาม เฮลมานและฮามเมตต์ นักเขียนบทละครการเมืองอเมริกัน ที่ตกเป็นเหยื่อของการล่าแม่มดจากลัทธิต่อต้านคอมมิวนิสต์
เมื่อได้รับรางวัล คุณจีรนุช ซึ่งเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้ จากผู้ได้รับรางวัลทั้งหมด 48 คน จาก 24 ประเทศ ได้เปิดเผยความในใจว่า แม้จะมีความยินดีกับการได้รับรางวัลนี้ แต่ขณะเดียวกันก็มีความเศร้าใจ เนื่องจากเป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นถึง การลดต่ำลงของเสรีภาพในเมืองไทยอย่างชัดเจน อันเป็นผลมาจากรัฐประหารปี 2549 ซึ่งทำให้ทหารมีอำนาจให้การเมืองมากขึ้น และชี้ให้เห็นความสำคัญของเสรีภาพมนุษย์เอาไว้ว่า...
“การไร้ซึ่งเสรีภาพ
เป็นดุจการขาดอากาศหายใจ
เสรีภาพก็เหมือนอากาศที่เราไม่อาจมองเห็นด้วยตา
แต่จะรู้สึกได้ในทันที
หากมีมันอยู่เบาบาง
หรือขาดหายไป
และหากเราต้องอยู่ในสภาพที่ขาดอากาศนานเกินไป
ย่อมส่งผลให้สมองตาย...กลายเป็นมนุษย์ผัก
ไม่ยินดียินร้ายกับความเป็นไปรอบตัว”
16 กันยายน 2554
กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่
บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
เมื่อยังมีชีวิต
จงหายใจเข้าไว้ หายใจแรงๆ และหายใจอย่างสดชื่น เพราะภาระหน้าที่ของชีวิตคือการมีชีวิต ชีวิตที่กระปรี้กระเปร่า และถ้าเป็นไปได้ควรต้องรื่นรมย์กับชีวิต บาปอันยิ่งใหญ่ของมนุษย์ (บางทีสำหรับสิ่งมีชีวิตทั้งปวง) คือการปฏิเสธชีวิต
การมีชีวิต
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ฉันเป็นเท่าที่ฉันเป็น
ฉันทำเท่าที่ฉันหวัง
ฉันหวังเท่าที่ฉันเห็น
ฉันง่ายฉันงามฉันแจ่มชัด
ฉันเชื่อหนึ่งมากกว่าร้อย
ฉันเชื่อคนมากกว่าลัทธิ
ฉันเชื่อดินมากกว่าฟ้า
ฉันเชื่อต้นหญ้ามากกว่าขุนเขา
ฉันเชื่อสวนหลังบ้านมากกว่าป่าหิมพานต์
ฉันเชื่อวันนี้มากกว่าวันวาน
ฉันง่ายฉันงามฉันแจ่มชัด
ฉันไม่เชื่ออำนาจรัฐจากกระบอกปืน
ฉันเป็นเท่าที่ฉันเป็น.
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
อิสรภาพ
ฉันต้องการอิสรภาพ
ที่จะได้เห็น ที่จะได้ยิน
ในสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
เป็นที่ทราบกันดีว่า
กฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นกฎหมายที่สร้างความทุกข์สาหัสให้แก่ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่า “หมิ่นสถาบัน” มามากมายหลายคน เพราะกฎหมายนี้ถูกตราขึ้นมาอย่างกว้างๆไม่ระบุขอบข่ายความผิดให้ชัดเจน รวมทั้งกระบวนการจับกุม สอบสวน ดำเนินคดี ก็มิได้เป็นไปตามปกติทั่วไป มิหนำซ้ำการตีความบังคับใช้มาตรานี้ ว่ากันว่า เจ้าหน้าที่สามารถตีความใช้ได้อย่างกว้างขวาง และนักการเมืองมักจะใช้เป็นเครื่องมือในการทำลายฝ่ายตรงกันข้ามอยู่เสมอ และผู้ต้องคดีนี้นอกจากจะติดคุกติดตะรางแล้ว ยังถูกซ้ำเติมจากสังคมที่จงรักภักดีต่อสถาบันอย่างรุนแรง
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
คือแม่น้ำและขุนเขาอันขรึมขลัง
คือพลังคีตกานท์อันหวานไหว
คือหนึ่งจิตวิญญาณล้านนาไทย
คือดอกไม้สวยสะคราญบานนิรันดร์
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ย้อนกลับไปทบทวนดู
คำประกาศหลังจากรับพระราชทานโปรดเกล้าฯของคุณยิ่งลักษณ์ตอนหนึ่งที่กล่าวว่า
“อุปสรรคข้างหน้ายังรอเราอยู่มาก ทั้งที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ แต่ทั้งหมดมิใช่อุปสรรคขวางกั้นมิให้ทำงาน พร้อมที่จะอุทิศตัวด้วยความทุ่มเท เสียสละอดทน ทำงานแข่งกับเวลา ไม่เกรงต่อความลำบากใดๆ”
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
แล้ว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย หมายเลข 1 ก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 และ เป็นนายกหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์การเมืองของเมืองไทย และเป็นคนที่ 52 ของโลก อย่างสมบูรณ์ โดยได้รับการโหวตเสียงจากที่ประชุมสภาฯ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2554 ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 296 เสียง ไม่เห็นด้วย 3 เสียง และงดออกเสียง 197 เสียง ก่อนจะได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ในวันที่ 8 สิงหาคม 2554 เวลา 18.40 น. ณ บริเวณตึกชั้น 7 ที่ทำงานพรรคเพื่อไทย ท่ามกลางความยินดีของคนจำนวนมากมาย ที่สนับสนุนคุณยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทย
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
คราวที่แล้ว
ผมนำเรื่อง “คนดีของคนเมือง และ คนดีของชนบท” ที่แตกต่างกัน จากบทสัมภาษณ์ที่ชื่อว่า “ความคาดหวังและความจริงของประชาธิปไตยแบบไทยๆ” ของ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ซึ่งให้สัมภาษณ์ลงนิตยสารสารคดี ฉบับเดือนตุลาคม 2543 ผมคิดว่าจะหยุดเพียงแค่นั้น แต่ก็หยุดไม่ได้ เพราะพบว่ายังมีประเด็นที่ผมคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านอีกสองประเด็น ที่ยังเป็นเรื่องราวที่ยังดำรงอยู่ในปี 2544 และต่อไปอีกนานเท่าไหร่ ก็คงไม่มีใครรู้ เพราะมันเป็นรื่องของอนาคต
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมมักจะได้ยิน
ผู้คนและสื่อต่างๆเกี่ยวกับการเมือง มักจะพูดกันให้ได้ยินอยู่เสมอว่า
“คนชนบทเป็นคนเลือกตั้งรัฐบาล คนเมืองเป็นคนล้ม”
ซึ่งดูเหมือนจะเป็นความจริงมาโดยตลอด แต่ก็ไม่มีใครให้คำอธิบายที่ฟังดู สมเหตุสมผลและชอบธรรม ให้ฟัง ว่าทำไมคนเมืองที่หมายถึงคนชั้นกลาง จึงไม่ชอบรัฐบาลที่ได้มาจากเสียงส่วนใหญ่ที่เป็นคนชนบทในประเทศ และช่วยกันล้มรัฐบาลที่เขาเลือกตามกติกา
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ถึงแม้ คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
จะได้รับการรับรองจาก กกต. ให้หลุดพ้นจากข้อหาไปช่วยขบวนแห่ที่เชียงราย ให้พ้นจากข่ายความผิดด้วยมติ 5 ต่อ 0 ท่ามกลางความโล่งอกของใครต่อใครมากมายหลายคน ที่ว่ากันว่า เป็นเพราะโพลเสียงจากประชาชน 80 เปอร์เซ็นต์ ต้องการคุณยิ่งลักษณ์นายกฯ (รวมทั้ง นปช.) เป็นกระแสกดดัน กกต. หรือเพราะเหตุใดก็ช่างเถิด แต่เราก็สามารถฟันธงกันได้เลยว่า อีกไม่นาน เราจะต้องได้นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศอย่างแน่นอน
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมไม่แน่ใจว่า
ก่อนที่คุณยิ่งลักษณ์ ว่าที่นายกฯ ยิ่งลักษณ์ คนสวย และกลุ่มมันสมองของพรรคเพื่อไทยจะชูนโยบายประชานิยม เพิ่มค่าแรงงานขั้นต่ำให้กรรมกรผู้ใช้แรงงานจาก 221 บาท เป็น 300 บาท และเพิ่มเงินเดือนให้แก่ผู้จบปริญญาตรีที่เริ่มเข้าบรรจุงานจาก 11,028 บาท เป็น 15,000 บาท
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมกำลังจะชวนใครต่อใคร
เข้ามาคุยเรื่องปัญหาที่รัฐบาลใหม่จะต้องเข้ามาสะสางและแก้ไข จากข้อมูลของนักวิเคราะห์การเมืองท่านหนึ่งที่รวบรวมและชี้แนะเอาไว้ล่วงหน้าแก่รัฐบาลของคุณยิ่งลักษณ์เอาไว้