เมื่อยังมีชีวิต
จงหายใจเข้าไว้ หายใจแรงๆ และหายใจอย่างสดชื่น เพราะภาระหน้าที่ของชีวิตคือการมีชีวิต ชีวิตที่กระปรี้กระเปร่า และถ้าเป็นไปได้ควรต้องรื่นรมย์กับชีวิต บาปอันยิ่งใหญ่ของมนุษย์ (บางทีสำหรับสิ่งมีชีวิตทั้งปวง) คือการปฏิเสธชีวิต
การมีชีวิต
กล่าวสำหรับมนุษย์ ย่อมนับถึงชีวิตที่แข็งแรง มีความหมายและน่ารื่นรมย์ เพราะหากขาดสิ่งเหล่านี้แล้ว มนุษย์ก็มักรู้สึกทนได้ยากที่จะมีชีวิตอยู่ทำไม บางคนอาจจะบ่นว่าอยู่ไปก็ไร้ความหมาย เราไม่ทราบว่าแมลงสาบ ต้องการความหมายหรือความรื่นรมย์ในมนุษย์หรือไม่
บางที
มันอาจจะอยู่ที่มันสมองที่ใหญ่ (เกินความจำเป็น) ของมนุษย์ที่ทำให้เขาต้องแสวงหาความหมาย (จนอาจจะมากไปอีกเช่นกัน) และปล่อยให้ความหมายอยู่เหนือชีวิต จนถูกบางคนที่เป็นนักเยาะเย้ยชีวิตกล่าวว่า อะไรในโลกนี้เป็นเพียงแต่การสมมุติขึ้นของมนุษย์เท่านั้น แท้จริงหามีความหมายไม่
แต่แม้ว่า
ทุกอย่างไม่มีความหมาย เราก็ไม่สามารถปัดภาระหน้าที่ในการมีชีวิตออกไปได้ บางครั้งจึงต้องตัดเรื่องความหมายออกไปได้ โดยเฉพาะเมื่อพูดถึงความหมายสูงสุดหรือความหมายแท้จริง ให้เราพูดถึงความหมายในโลกนี้ โลกของมนุษย์และสังคมของเรา
ในโลกแห่งความหมาย
บางทีเราอดรู้สึกไร้ความหมายไม่ได้ ฟ้าก็หม่น เสียงเพลงก็ไม่ไพเราะ เสียงสรวลเสหัวเราะกลับทำให้เศร้า ถูกแล้วกำลังผิดหวัง เพราะเรามักตั้งความหวังไว้มากและสูงเกินไป และในสังคมแห่งการขาดแคลน ความหวังในชีวิตประจำวันก็ไม่อาจเป็นจริงได้ เช่น การหวังจะได้ขึ้นรถประจำทางว่างๆ
เราอยู่โลกของความหวังและความผิดหวัง
ความผิดหวังทำให้เราถูกกดดัน ไม่มั่นใจตนเอง และเห็นว่าตนเองไร้ความหมาย แต่ความสนหวัง แม้จะทำให้มั่นใจในตนเอง แต่ก็ก่อให้เกิดความกังวลใจ ความผิดหวังและความสมหวังใหญ่ๆ และอย่างไม่คาดฝัน จะทำให้ชีวิตผิดปรกติ แต่ชีวิตที่ไม่ผิดหวังและสมหวัง ไม่อาจเป็นไปได้สำหรับมนุษย์ ดังนั้น จึงต้องเตรียมตัวสำหรับความผิดหวังและสมหวัง หลังจากที่เราเลือก หรือปล่อยให้คนอื่นเลือกวิถีชีวิตของเรา
เมื่อผิดหวัง
ย่อมหมายถึงการลงแรงเกือบทั้งหมด หรือส่วนใหญ่กลายเป็นโมฆะ เราจึงอยู่ในโลกความว่างเปล่า จนบางทีไม่รู้จะปฏิบัติตอบสนองต่อสิ่งภายนอกอย่างไรถู และยิ่งจมอยู่กับความผิดหวังนานเท่าใด ความหมายของชีวิตจะลดน้อยลงเท่านั้น จนกว่าจะทะลึ่งตัวขึ้นมาอีกครั้งในทะเลแห่งความผิดหวัง คนย่อมจมความหวังตาย เช่นเดียวกับจมน้ำตาย ถ้าหากไม่รู้จักว่าย
ไม่ว่าจะผิดหวังอย่างไร
อย่าลืมหายใจ ลมหายใจจะบอกว่าเรายังมีชีวิต ถ้าคุณยังกินข้าวได้ (และยังมีข้าวกิน) ยังนอนหลับ ยังร้องไห้ได้จนน้ำตาไหลพราก และยังหัวเราะได้ก้อง มันก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรร้ายแรง
ความเจ็บปวดที่ฆ่าเราไม่ได้
มักจะทำให้เราเข้มแข็งขึ้น
บาดแผลที่ลึก
ซึ่งอาจจะทำให้เกิดแผลเป็นที่น่าเกลียด หรือความพิการ
ถ้าหากเป็นเช่นนั้นจริงๆ ก็ให้มันเป็นไป
ที่สำคัญมีอยู่ว่า คุณยังมีชีวิตอยู่หรือไม่
ถ้ามีจงหายใจเข้าไว้ หากคุณไม่รู้จะทำอะไร
ชีวิต
เป็นกระบวนการที่พัฒนามาหลายพันปี ยังไม่ใครเข้าใจอย่างถ่องแท้ และมันก็คลี่คลายไปด้วยการดำเนินชีวิตของเราด้วย เมื่อความหมายของชีวิตอย่างหนึ่งสูญสลายไป ก็จะเป็นการโง่เขลาที่จะสรุปว่าชีวิตไม่มีความหมาย
ไม่ใช่สัจธรรมดอกที่อยู่ในมือเรา
แต่เป็นชีวิตต่างหากที่อยู่ในมือเรา
ใช้มันให้เต็มที่
ทุกคนไม่มีอะไรสูญเสียนอกจากชีวิต
และไม่มีอะไร
นอกจากการเกิดใหม่.
หมายเหตุ ; นี่คือทัศนะที่พูดถึงชีวิตคนเราที่เกี่ยวข้องกับความหมายของชีวิต ที่ผมถือว่าดีที่สุดเท่าที่ผมเคยได้อ่านมา และรู้สึกว่ามันเป็นความจริงที่สมเหตุสมผล มิใช่ถ้อยคำที่ฟังดูเป็นปรัชญาอันเลื่อนลอย เมื่ออ่านอย่างพินิจพิเคราะห์ โดย อนุช อาภาภิรมย์ จากบทหนึ่งในหนังสือที่รวมทัศนะเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างสันติที่ชื่อว่า “ที่พักและทางเดิน” โดยสำนักพิมพ์สร้างสรรค์ ชั้นใต้ดิน เดอะมอลล์ ราชประสงค์ พิมพ์ครั้งแรก เมษายน 2526
ผมขอมอบทัศนะเกี่ยวกับชีวิตที่ยอดเยี่ยมนี้ให้แก่ท่านผู้อ่าน ประชาไท ทุกคน ที่กำลังผิดหวังอย่างใดอย่างหนึ่งในชีวิต จนถึงขนาดรู้สึกว่า ชีวิตนี้หมดความหมาย และปล่อยตัวเองจมอยู่ในความผิดหวังได้อ่านกัน เพื่อจะเป็นการจุดประกายพลังชีวิตให้คุณเริ่มต้นใหม่อย่างมีชีวิตชีวาในวันนี้ (รวมทั้งตัวผมเองด้วยครับ ฮา...)
และขออนุญาตคุณอนุช อาภาภิรมย์ นำบทความดีๆนี้มาเผยแพร่ให้คนได้อ่านกันเยอะๆด้วยครับ ขอบคุณครับ.
10 ตุลาคม 2554
กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่
บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
เมื่อยังมีชีวิต
จงหายใจเข้าไว้ หายใจแรงๆ และหายใจอย่างสดชื่น เพราะภาระหน้าที่ของชีวิตคือการมีชีวิต ชีวิตที่กระปรี้กระเปร่า และถ้าเป็นไปได้ควรต้องรื่นรมย์กับชีวิต บาปอันยิ่งใหญ่ของมนุษย์ (บางทีสำหรับสิ่งมีชีวิตทั้งปวง) คือการปฏิเสธชีวิต
การมีชีวิต
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ฉันเป็นเท่าที่ฉันเป็น
ฉันทำเท่าที่ฉันหวัง
ฉันหวังเท่าที่ฉันเห็น
ฉันง่ายฉันงามฉันแจ่มชัด
ฉันเชื่อหนึ่งมากกว่าร้อย
ฉันเชื่อคนมากกว่าลัทธิ
ฉันเชื่อดินมากกว่าฟ้า
ฉันเชื่อต้นหญ้ามากกว่าขุนเขา
ฉันเชื่อสวนหลังบ้านมากกว่าป่าหิมพานต์
ฉันเชื่อวันนี้มากกว่าวันวาน
ฉันง่ายฉันงามฉันแจ่มชัด
ฉันไม่เชื่ออำนาจรัฐจากกระบอกปืน
ฉันเป็นเท่าที่ฉันเป็น.
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
อิสรภาพ
ฉันต้องการอิสรภาพ
ที่จะได้เห็น ที่จะได้ยิน
ในสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
เป็นที่ทราบกันดีว่า
กฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นกฎหมายที่สร้างความทุกข์สาหัสให้แก่ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่า “หมิ่นสถาบัน” มามากมายหลายคน เพราะกฎหมายนี้ถูกตราขึ้นมาอย่างกว้างๆไม่ระบุขอบข่ายความผิดให้ชัดเจน รวมทั้งกระบวนการจับกุม สอบสวน ดำเนินคดี ก็มิได้เป็นไปตามปกติทั่วไป มิหนำซ้ำการตีความบังคับใช้มาตรานี้ ว่ากันว่า เจ้าหน้าที่สามารถตีความใช้ได้อย่างกว้างขวาง และนักการเมืองมักจะใช้เป็นเครื่องมือในการทำลายฝ่ายตรงกันข้ามอยู่เสมอ และผู้ต้องคดีนี้นอกจากจะติดคุกติดตะรางแล้ว ยังถูกซ้ำเติมจากสังคมที่จงรักภักดีต่อสถาบันอย่างรุนแรง
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
คือแม่น้ำและขุนเขาอันขรึมขลัง
คือพลังคีตกานท์อันหวานไหว
คือหนึ่งจิตวิญญาณล้านนาไทย
คือดอกไม้สวยสะคราญบานนิรันดร์
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ย้อนกลับไปทบทวนดู
คำประกาศหลังจากรับพระราชทานโปรดเกล้าฯของคุณยิ่งลักษณ์ตอนหนึ่งที่กล่าวว่า
“อุปสรรคข้างหน้ายังรอเราอยู่มาก ทั้งที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ แต่ทั้งหมดมิใช่อุปสรรคขวางกั้นมิให้ทำงาน พร้อมที่จะอุทิศตัวด้วยความทุ่มเท เสียสละอดทน ทำงานแข่งกับเวลา ไม่เกรงต่อความลำบากใดๆ”
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
แล้ว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย หมายเลข 1 ก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 และ เป็นนายกหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์การเมืองของเมืองไทย และเป็นคนที่ 52 ของโลก อย่างสมบูรณ์ โดยได้รับการโหวตเสียงจากที่ประชุมสภาฯ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2554 ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 296 เสียง ไม่เห็นด้วย 3 เสียง และงดออกเสียง 197 เสียง ก่อนจะได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ในวันที่ 8 สิงหาคม 2554 เวลา 18.40 น. ณ บริเวณตึกชั้น 7 ที่ทำงานพรรคเพื่อไทย ท่ามกลางความยินดีของคนจำนวนมากมาย ที่สนับสนุนคุณยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทย
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
คราวที่แล้ว
ผมนำเรื่อง “คนดีของคนเมือง และ คนดีของชนบท” ที่แตกต่างกัน จากบทสัมภาษณ์ที่ชื่อว่า “ความคาดหวังและความจริงของประชาธิปไตยแบบไทยๆ” ของ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ซึ่งให้สัมภาษณ์ลงนิตยสารสารคดี ฉบับเดือนตุลาคม 2543 ผมคิดว่าจะหยุดเพียงแค่นั้น แต่ก็หยุดไม่ได้ เพราะพบว่ายังมีประเด็นที่ผมคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านอีกสองประเด็น ที่ยังเป็นเรื่องราวที่ยังดำรงอยู่ในปี 2544 และต่อไปอีกนานเท่าไหร่ ก็คงไม่มีใครรู้ เพราะมันเป็นรื่องของอนาคต
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมมักจะได้ยิน
ผู้คนและสื่อต่างๆเกี่ยวกับการเมือง มักจะพูดกันให้ได้ยินอยู่เสมอว่า
“คนชนบทเป็นคนเลือกตั้งรัฐบาล คนเมืองเป็นคนล้ม”
ซึ่งดูเหมือนจะเป็นความจริงมาโดยตลอด แต่ก็ไม่มีใครให้คำอธิบายที่ฟังดู สมเหตุสมผลและชอบธรรม ให้ฟัง ว่าทำไมคนเมืองที่หมายถึงคนชั้นกลาง จึงไม่ชอบรัฐบาลที่ได้มาจากเสียงส่วนใหญ่ที่เป็นคนชนบทในประเทศ และช่วยกันล้มรัฐบาลที่เขาเลือกตามกติกา
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ถึงแม้ คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
จะได้รับการรับรองจาก กกต. ให้หลุดพ้นจากข้อหาไปช่วยขบวนแห่ที่เชียงราย ให้พ้นจากข่ายความผิดด้วยมติ 5 ต่อ 0 ท่ามกลางความโล่งอกของใครต่อใครมากมายหลายคน ที่ว่ากันว่า เป็นเพราะโพลเสียงจากประชาชน 80 เปอร์เซ็นต์ ต้องการคุณยิ่งลักษณ์นายกฯ (รวมทั้ง นปช.) เป็นกระแสกดดัน กกต. หรือเพราะเหตุใดก็ช่างเถิด แต่เราก็สามารถฟันธงกันได้เลยว่า อีกไม่นาน เราจะต้องได้นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศอย่างแน่นอน
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมไม่แน่ใจว่า
ก่อนที่คุณยิ่งลักษณ์ ว่าที่นายกฯ ยิ่งลักษณ์ คนสวย และกลุ่มมันสมองของพรรคเพื่อไทยจะชูนโยบายประชานิยม เพิ่มค่าแรงงานขั้นต่ำให้กรรมกรผู้ใช้แรงงานจาก 221 บาท เป็น 300 บาท และเพิ่มเงินเดือนให้แก่ผู้จบปริญญาตรีที่เริ่มเข้าบรรจุงานจาก 11,028 บาท เป็น 15,000 บาท
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมกำลังจะชวนใครต่อใคร
เข้ามาคุยเรื่องปัญหาที่รัฐบาลใหม่จะต้องเข้ามาสะสางและแก้ไข จากข้อมูลของนักวิเคราะห์การเมืองท่านหนึ่งที่รวบรวมและชี้แนะเอาไว้ล่วงหน้าแก่รัฐบาลของคุณยิ่งลักษณ์เอาไว้