Skip to main content

20080128 ภาพประกอบเรื่องเล่าเล็กๆ จากกระท่อมทุ่งเสี้ยว

เมื่อคนสองคน
หรือผู้คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือสังคมใดสังคมหนึ่ง ที่เคยมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ได้เกิดความขัดแย้งกัน  ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใด ๆ ก็แล้วแต่ แล้วต่อมา ความขัดแย้งนี้ได้ลุกลามถึงขั้น โกรธ เกลียด และแตกแยกกันเป็นฝักเป็นฝ่าย แล้วต่างฝ่ายต่างก็ตั้งหน้าตั้งตา ดุด่า ใส่ร้ายป้ายสี ทะเลาะวิวาทกัน  เพื่อเอาชนะคะคานกัน เพื่อทำลายกันให้พินาศไปข้างหนึ่ง

เมื่อปรากฏการณ์ที่เลวร้ายนี้ได้เกิดขึ้น แทนการยุยงส่งเสริม หรือเข้าไปร่วมถือหางฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อย่างที่พวกเรามักจะเป็นกันเพราะมีอคติ รักหรือว่าชอบ-คนนั้นพวกนั้น  ผิด ถูก ชั่ว ดี อย่างไร ก็ขอเข้าข้างกันเอาไว้ก่อน

แต่เรื่องนี้ ท่านอาจารย์ รวี ภาวิไล กลับแสดงความเห็นเอาไว้ในบทความชิ้นหนึ่ง ในหนังสือของท่านที่ชื่อว่า “ความสงัด” เอาไว้ว่า ในฐานะชาวพุทธ เราไม่ควรจะทำอย่างนั้น แต่ควรพยายามช่วยกันระงับการทะเลาะวิวาทกัน ไม่ว่าจะเป็นการทะเลาะวิวาทกันระหว่างปัจเจกชนกับปัจเจกชน หรือระหว่างสังคมกับสังคม ถ้าเราสามารถทำได้

แต่เมื่อพยายามแล้ว
ก็ยังไม่สามารถทำให้การทะเลาะวิวาทที่เกิดขึ้นเบาบางลง ก็ไม่ควรเกี่ยวข้องด้วย ควรหลีกไปเสียให้พ้น ดังเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไประงับเหตุทะเลาะวิวาทของหมู่ภิกษุที่โฆสิตาราม  เมืองโกสัมพีว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ! พอที! พวกเธอทั้งหลายอย่าหยามกันเลย อย่าทะเลาะกันเลย อย่าโต้เถียงกันเลย อย่าวิวาทกันเลย”
พระองค์ทรงตรัสดังนี้ ถึงสามครั้ง เมื่อตรัสดังนี้แล้ว ก็มีภิกษุบางรูปทูลขึ้นว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นธรรมสามี ! ขอพระองค์จงหยุดไว้ก่อนเถิดพระเจ้าข้า ขอจงทรงขวนขวายน้อยเถิดพระเจ้าข้า! พวกข้าพระองค์ทั้งหลายจักทำให้เห็นดำเห็นแดงกัน ด้วยการหมายมั่นกัน ด้วยการทะเลาะวิวาทกัน อันนี้เอง”

ดังนี้ ณ กาลนั้นแล ในยามรุ่งอรุณ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองจีวรถือบาตร แล้วทรงเสด็จผ่านภิกษุภิกษุเหล่านั้นเข้าไปสู่ตัวเมืองโกสัมพี เพื่อบิณฑบาต ครั้นทรงเที่ยวบิณฑบาตในเมืองโกสัมพีแล้ว ภายหลังภัตตกาล กลับจากบิณฑบาตแล้ว ทรงเก็บบริขารขึ้นมาถือไว้ แล้วประทับยืนตรัสคาถานี้ว่า
“คนไพร่  ๆ ด้วยกัน ส่งเสียงเอ็ดตะโร แต่หามีคนไหนสำคัญตัวว่าเป็นพาลไม่ เมื่อหมู่แตกกัน ก็หาได้มีใครรู้สึกเป็นอย่างอื่นให้ดีขึ้นไปกว่านั้นได้ไม่”
“พวกบัณฑิตลืมตัว สมัครที่จะพูดตามทางที่ตนปรารถนา จะพูดอย่างไรก็พูดพล่ามไปอย่างนั้น หาได้นำพาถึงกิเลสที่เป็นเหตุแห่งการทะเลาะไม่”


“พวกใด ยังผูกใจเจ็บอยู่ว่า ผู้นั้นได้ด่าเรา ได้ทำร้ายเรา ได้เอาชนะเรา ได้ลักทรัพย์ของเรา เวรของพวกนั้นย่อมไม่ระงับได้”
“ในยุคไหนก็ตาม  เวรทั้งหลายไม่เคยระงับได้ด้วยการผูกเวรเลย แต่ระงับได้ด้วยการไม่ผูกเวร ธรรมนี้เป็นของเก่าที่ใช้ได้ตลอดกาล”

“คนพวกอื่นไม่รู้สึกว่า พวกเราจะแหลกลาญก็เพราะเหตุนี้ พวกใดสำนึกได้ในเหตุที่มีนั้น ความมุ่งร้ายกัน ย่อมระงับได้เพราะความรู้สึกนั้น”
“ความกลมเกลียวเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ในการทำตามกิเลส ยังมีได้แม้แก่คนกักขฬะเหล่านั้น ที่ปล้นเมือง หักแข้งขาชาวบ้าน ฆ่าฟันผู้คน แล้วต้อนม้า โค และขนเอาทรัพย์ไป แล้วทำไมจะมีแก่พวกเธอไม่ได้เล่า”

“ถ้าหากไม่ได้สหายที่พาตัวรอด เป็นปราชญ์ ที่มีความเป็นอยู่ดี เป็นเพื่อนร่วมทางแล้วไซร้ ก็จงทำตัวให้เหมือนพระราชาที่ละแว่นแคว้นซึ่งพิชิตได้แล้วไปเสีย แล้วเที่ยวไปคนเดียว ดุจช้างมาตังคะ เที่ยวไปในป่าตัวเดียว ฉะนั้น”
“การเที่ยวไปคนเดียวดีกว่า เพราะไม่มีความเป็นสหายกันได้กับคนพาล พึ่งเที่ยวไปคนเดียว และไม่ทำบาป เป็นคนมักน้อย ดุจช้างมาตังคะเป็นสัตว์มักน้อย เที่ยวไปในป่าฉะนั้น”


ดังนี้แล้ว ได้เสด็จไปยังพาลกโสณการคาม
สาธุ!
                                                                                 
23 มกราคม 2551
กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่    

บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว

ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    เมื่อยังมีชีวิต จงหายใจเข้าไว้ หายใจแรงๆ และหายใจอย่างสดชื่น เพราะภาระหน้าที่ของชีวิตคือการมีชีวิต ชีวิตที่กระปรี้กระเปร่า และถ้าเป็นไปได้ควรต้องรื่นรมย์กับชีวิต บาปอันยิ่งใหญ่ของมนุษย์ (บางทีสำหรับสิ่งมีชีวิตทั้งปวง) คือการปฏิเสธชีวิต   การมีชีวิต
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    ฉันเป็นเท่าที่ฉันเป็น ฉันทำเท่าที่ฉันหวัง ฉันหวังเท่าที่ฉันเห็น ฉันง่ายฉันงามฉันแจ่มชัด ฉันเชื่อหนึ่งมากกว่าร้อย ฉันเชื่อคนมากกว่าลัทธิ ฉันเชื่อดินมากกว่าฟ้า ฉันเชื่อต้นหญ้ามากกว่าขุนเขา ฉันเชื่อสวนหลังบ้านมากกว่าป่าหิมพานต์ ฉันเชื่อวันนี้มากกว่าวันวาน ฉันง่ายฉันงามฉันแจ่มชัด ฉันไม่เชื่ออำนาจรัฐจากกระบอกปืน   ฉันเป็นเท่าที่ฉันเป็น.  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  อิสรภาพ   ฉันต้องการอิสรภาพ ที่จะได้เห็น ที่จะได้ยิน ในสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  เป็นที่ทราบกันดีว่า กฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นกฎหมายที่สร้างความทุกข์สาหัสให้แก่ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่า “หมิ่นสถาบัน” มามากมายหลายคน เพราะกฎหมายนี้ถูกตราขึ้นมาอย่างกว้างๆไม่ระบุขอบข่ายความผิดให้ชัดเจน รวมทั้งกระบวนการจับกุม สอบสวน ดำเนินคดี ก็มิได้เป็นไปตามปกติทั่วไป มิหนำซ้ำการตีความบังคับใช้มาตรานี้ ว่ากันว่า เจ้าหน้าที่สามารถตีความใช้ได้อย่างกว้างขวาง และนักการเมืองมักจะใช้เป็นเครื่องมือในการทำลายฝ่ายตรงกันข้ามอยู่เสมอ และผู้ต้องคดีนี้นอกจากจะติดคุกติดตะรางแล้ว ยังถูกซ้ำเติมจากสังคมที่จงรักภักดีต่อสถาบันอย่างรุนแรง    
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    คือแม่น้ำและขุนเขาอันขรึมขลัง คือพลังคีตกานท์อันหวานไหว คือหนึ่งจิตวิญญาณล้านนาไทย คือดอกไม้สวยสะคราญบานนิรันดร์  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  ย้อนกลับไปทบทวนดู คำประกาศหลังจากรับพระราชทานโปรดเกล้าฯของคุณยิ่งลักษณ์ตอนหนึ่งที่กล่าวว่า “อุปสรรคข้างหน้ายังรอเราอยู่มาก ทั้งที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ แต่ทั้งหมดมิใช่อุปสรรคขวางกั้นมิให้ทำงาน พร้อมที่จะอุทิศตัวด้วยความทุ่มเท เสียสละอดทน ทำงานแข่งกับเวลา ไม่เกรงต่อความลำบากใดๆ”
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    แล้ว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย หมายเลข 1 ก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 และ เป็นนายกหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์การเมืองของเมืองไทย และเป็นคนที่ 52 ของโลก อย่างสมบูรณ์ โดยได้รับการโหวตเสียงจากที่ประชุมสภาฯ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2554 ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 296 เสียง ไม่เห็นด้วย 3 เสียง และงดออกเสียง 197 เสียง ก่อนจะได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ในวันที่ 8 สิงหาคม 2554 เวลา 18.40 น. ณ บริเวณตึกชั้น 7 ที่ทำงานพรรคเพื่อไทย ท่ามกลางความยินดีของคนจำนวนมากมาย ที่สนับสนุนคุณยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทย  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    คราวที่แล้ว ผมนำเรื่อง “คนดีของคนเมือง และ คนดีของชนบท” ที่แตกต่างกัน จากบทสัมภาษณ์ที่ชื่อว่า “ความคาดหวังและความจริงของประชาธิปไตยแบบไทยๆ” ของ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ซึ่งให้สัมภาษณ์ลงนิตยสารสารคดี ฉบับเดือนตุลาคม 2543 ผมคิดว่าจะหยุดเพียงแค่นั้น แต่ก็หยุดไม่ได้ เพราะพบว่ายังมีประเด็นที่ผมคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านอีกสองประเด็น ที่ยังเป็นเรื่องราวที่ยังดำรงอยู่ในปี 2544 และต่อไปอีกนานเท่าไหร่ ก็คงไม่มีใครรู้ เพราะมันเป็นรื่องของอนาคต  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
      ผมมักจะได้ยิน ผู้คนและสื่อต่างๆเกี่ยวกับการเมือง มักจะพูดกันให้ได้ยินอยู่เสมอว่า “คนชนบทเป็นคนเลือกตั้งรัฐบาล คนเมืองเป็นคนล้ม” ซึ่งดูเหมือนจะเป็นความจริงมาโดยตลอด แต่ก็ไม่มีใครให้คำอธิบายที่ฟังดู สมเหตุสมผลและชอบธรรม ให้ฟัง ว่าทำไมคนเมืองที่หมายถึงคนชั้นกลาง จึงไม่ชอบรัฐบาลที่ได้มาจากเสียงส่วนใหญ่ที่เป็นคนชนบทในประเทศ และช่วยกันล้มรัฐบาลที่เขาเลือกตามกติกา 
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
      ถึงแม้ คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะได้รับการรับรองจาก กกต. ให้หลุดพ้นจากข้อหาไปช่วยขบวนแห่ที่เชียงราย ให้พ้นจากข่ายความผิดด้วยมติ 5 ต่อ 0 ท่ามกลางความโล่งอกของใครต่อใครมากมายหลายคน ที่ว่ากันว่า เป็นเพราะโพลเสียงจากประชาชน 80 เปอร์เซ็นต์ ต้องการคุณยิ่งลักษณ์นายกฯ (รวมทั้ง นปช.) เป็นกระแสกดดัน กกต. หรือเพราะเหตุใดก็ช่างเถิด แต่เราก็สามารถฟันธงกันได้เลยว่า อีกไม่นาน เราจะต้องได้นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศอย่างแน่นอน 
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
      ผมไม่แน่ใจว่า ก่อนที่คุณยิ่งลักษณ์ ว่าที่นายกฯ ยิ่งลักษณ์ คนสวย และกลุ่มมันสมองของพรรคเพื่อไทยจะชูนโยบายประชานิยม เพิ่มค่าแรงงานขั้นต่ำให้กรรมกรผู้ใช้แรงงานจาก 221 บาท เป็น 300 บาท และเพิ่มเงินเดือนให้แก่ผู้จบปริญญาตรีที่เริ่มเข้าบรรจุงานจาก 11,028 บาท เป็น 15,000 บาท
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมกำลังจะชวนใครต่อใคร เข้ามาคุยเรื่องปัญหาที่รัฐบาลใหม่จะต้องเข้ามาสะสางและแก้ไข จากข้อมูลของนักวิเคราะห์การเมืองท่านหนึ่งที่รวบรวมและชี้แนะเอาไว้ล่วงหน้าแก่รัฐบาลของคุณยิ่งลักษณ์เอาไว้