Skip to main content

เด็กชายสันทัด

นั่งยองๆ บนกำแพงวัด ตาจ้องเขม็งที่ร่างชายคนหนึ่ง ซึ่งนอนคว่ำ ไม่สวมเสื้อบนพื้นศาลาวัด บนเสื่อผืนหนึ่ง คางวางบนหมอนเก่าคร่ำมือประสานรองรับคาง วันนี้เป็นวันที่ 15 เมษายน เป็นวันพญาวันคนทางเหนือนิยมสักยันต์กันในวันนี้ เพราะเชื่อกันว่า ทำพิธีทางไสยศาสตร์ในวันนี้จะเข้มขลังนัก ภิกษุรูปหนึ่ง นั่งคุกเข่าข้างชายผู้นั้น ยกเหล็กแหลมเล็งไปยังกลางหลัง แล้วก็แทงจึกลงไป เหล็กกระทบเนื้อไปเรื่อยๆ ปากท่านก็ขมุบขมิบว่าคาถาประกอบ ชายที่นอนคว่ำ หน้าตาปรกติ ไม่แสดงอาการเจ็บปวด ชายฉกรรจ์อีก 4-5 คน ถอดเสื้อรอคิวสัก


เขาจ้องดูชายคนแรกอย่างสนใจ ทุกคนกระตือรือร้นอยากสัก ไม่มีใครแสดงอาการหวาดหวั่น พอเสร็จชายคนแรกลุกขึ้น ใบหน้ามีรอยยิ้ม คนที่สองสักต่อ
คนแรกบอกว่า

ไม่เจ็บอะไรมาก มดกัดยังเจ็บกว่า”

เด็กชายสันทัดมองดูด้วยความตื่นเต้น บอกกับตนเองว่า

เขาใจถึงจริงจริ๊ง ไม่มีใครแหยงเลย”


สื่อยุคเมื่อ 30 กว่าปีก่อน

มีเพียงวิทยุ วิทยุจะมีเฉพาะบ้านบางหลังเท่านั้น หนังสือพิมพ์มีขายแต่ไม่มีใครซื้ออ่านกันมากมาย การรับข่าวสารมีจำกัด สื่อที่ดีคือการบอกเล่า จากปากสู่ปาก เด็กชายสันทัด ได้ยินผู้ใหญ่เล่าว่า


พี่ตี๋สักหนุมานคลุกฝุ่น แกเป็นหลานของย่าผงบ้านของเด็กชายสันทัดอยู่ฝั่งซ้ายของน้ำแม่ข่า ส่วนบ้าน พี่ตี๋อยู่ฝั่งขวา อยู่ตรงข้ามหัวสะพานไม้ข้ามน้ำแม่ข่า ปัจจุบันคือสะพานคอนกรีตใกล้กับโรงแรมปริ้นส์ ยุคนั้น ชายฉกรรจ์มักมีเรื่องทะเลาะวิวาทกัน ถือว่าเป็นเรื่องปรกติของลูกผู้ชายอกสามศอก...พี่ตี๋ถูกทำร้ายจนแน่นิ่งไป คู่ต่อสู้นึกว่าตายจึงผละไป พี่ตี๋นอนซมเพียง2-3 วัน ก็เดินไปมาได้ตามปรกติ ฝ่ายตรงข้ามทราบข่าวก็คลางแคลงใจ ยกพวกทำร้ายพี่ตี๋อีก พี่ตี๋นอนซมแล้วก็ฟื้นอีก ฝ่ายคู่อริมึนงง ส่งสายสืบมาหาสาเหตุว่า พี่ตี๋มีของดีอะไร ก็ทราบว่า พี่ตี๋สักหนุมานคลุกฝุ่น หากใช้ไม้ตีหลายที พี่ตี๋ฟุบไปจะฟื้นลุกขึ้นมาได้หากตีทีเดียวจนแน่นิ่งไป แล้วทิ้งไว้ พี่ตี๋ม้วยมรณังแน่...ครั้งที่สามมาถึง พี่ตี๋ถูกตีที่เดียวอย่างจังไม่ฟื้นอีกเลย”


เหตุผลในการสักมี 2 ประการ

1. เพื่อให้เกิดเมตตามหานิยม มักสักเป็นรูปจิ้งจก นกสาลิกา

2. เพื่อให้อยู่ยงคงกระพันชาตรี มักสักเป็นรูป ลายเสือเผ่น หนุมานคลุกฝุ่น หงส์ ลายสิงห์


การสักประเภทนี้ หลังการสักมักมีการทดลอง ใช้มีดฟัน บางรายฟันไม่เข้า บางรายสักแล้วให้ภรรยาใช้มีดปังตอฟัน ภรรยาไม่กล้าฟัน อ้อนวอนบ้าง ขู่บ้างให้ภรรยาฟันให้ได้ ภรรยาเลยสนอง ฟันฉับลงไปเลือดสาด ต้องพาส่งโรงพยาบาล


ผู้หญิงผิวขาวๆ

สวยๆ สักรูปหัวใจที่ไหล่ บ้างสักที่ข้อเท้า บ้างสักด้านหลังต่ำกว่าไหล่หน่อย หรือที่เอว ก็สวยเซ็กซี่ดีเหมือนกัน ผู้ชายร่างบึก มีกล้ามอก หัวไหล่ใหญ่ๆ ผิวขาวๆ สักมังกรกลางหลังบ้าง หรือเสือเผ่นที่หน้าอก รูปแปลกที่หัวไหล่ ใส่เสื้อกล้ามโชว์ เท่สวยทีเดียว เป็นศิลปะบนเรือนร่าง หรือศิลปะบนเนื้อหนัง ผู้ที่มีผิวขาวเวลาสักลายสักจะดูเด่นกว่าคนผิวคล้ำ มันก็เหมือนกับเราระบายสีสันบนกระดาษขาวอย่างนั้น


ผมเคยเห็น

พี่คนหนึ่งสักรูปผู้หญิงเปลือยบนกล้ามแขน มีลวดลายสีสัน ถ้าเล่นฟิตเนสระยะฟิตสุด ร่างกายสมบูรณ์ เวลาเบ่งกล้ามแขน ผู้หญิงเปลือยจะรูปร่างอวบ ขาว สะสวยทีเดียว คราใดเจ้าของร่างกายทรุดโทรม ไม่สบาย หรือร่ำสุรามากไปหน่อยเวลาเบ่งกล้ามแขน หญิงเปลือยจะผอมเล็ก เหี่ยวไปเลย ดังนั้น เวลาใครขอร้องแกให้เบ่งกล้ามให้ดูถ้าแกไม่พร้อมแกจะอิดออดบ่ายเบี่ยงเสมอ


 

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    นอสตราดามุส (ค.ศ. 1502-1566) เป็นชาวฝรั่งเศสเชื้อสายยิว เรียนจบปริญญาตรีคะแนนดีเยี่ยม จึงโดดเรียนปริญญาเอกจนจบสาขาแพทย์ ได้ทำนายไว้ว่า  “ ...วันเวลาแห่งความศักดิ์สิทธิ์ของการสิ้นยุคเก่าและการมาถึงของยุคใหม่...กำลังจะเข้ามาปรากฏแก่สังคมโลกมนุษย์อยู่แล้ว ซึ่งคาดตามตรรกะจะเกิดขึ้นในช่วงระหว่าง 23 ปีข้างหน้านี้ คือระหว่างปี ค.ศ. 2000 ถึง ค.ศ.2023...” (หนังสือนอสตราดามุส โดย ศ.เจริญ วรรธนะสิน หน้า 363)  
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ผมปลดกระเป๋าหนังสะพายบ่า เปิดกระเป๋าหยิบเอกสารปึกใหญ่ออกมา ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับแผ่นดินไหว ดูท่านยิ้มเหมือนพึงพอใจ ชี้ไปที่เอกสารฉบับหนึ่งแล้วบอกว่า นั่นเป็นชื่อของท่านที่เขียนเรื่องนั้น ผมหัวเราะแก้เขินที่จุดไต้ตำตอ ถือโอกาสย้ำถาม “ ท่านชื่อคุณอดิศร ฟุ้งขจรหรือครับ ? ขอโทษผมไม่ทราบจริงๆครับ.” เราทั้งคู่หัวเราะและยิ้มให้กัน เราเริ่มคุ้นเคยกันในเวลาอันสั้น คงจะจริงนะ ที่ว่าการพบกันครั้งแรกเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง หากอัธยาศัยต้องกัน หรือที่พูดกันว่า ถูกชะตากัน ยิ่งคุยยิ่งสนุก มิตรภาพงอกงามรวดเร็ว…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  24 พฤษภาคม 2554
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เพลงที่ 11 ลืมไม่ได้เด็ดขาด ชื่อเพลง “ศรัทธา” ขับร้องโดยคุณโป่ง ปฐมพงษ์ สมบัติพิบูลย์ นักร้องนำวง หิน เหล็ก ไฟ ก่อนเปลี่ยนเป็นวง The Son ทราบว่าเพลงของวงนี้ เขาแต่งเนื้อร้องทำนองเองหมด คุณโป่งเป็นนักร้องร็อคระดับต้นแบบ หรือ Idol ของใครอีกมากมายที่เดินตามในถนนสายดนตรี เสียงมีพลัง มีความหนักแน่น เป็นเพลงประเภทให้กำลังใจต่อสู้ ให้มุมมองชีวิต ให้ความคิด เนื้อเพลงบางท่อนกลายเป็นวลีฮิตติดปากไปแล้ว เนื้อเพลงบางตอน              …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
      ผมฟังคุณศิริพรกล่าวเนื่องในวันเกิด ของผู้ชราหลายคนในวันนี้ ฟังแล้วจับใจไม่น้อย “ ...ถึงแม้บ้านวัยทองนิเวศน์ จะมีอาหารการกิน มีเครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้สอย แต่ที่ขาดเป็นด้านจิตใจ แม้จะไม่สามารถทดแทนครอบครัวเดิมของท่านได้ก็ตาม จะพยายามเติมเต็มส่วนที่ขาด ตามที่สามารถทำได้...” เมื่อพิธีกรงานวันเกิดกล่าวต่อจนจบแล้ว 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ใกล้เที่ยงในโรงอาหารมีคนพลุกพล่าน พินิจดูเป็นเด็กหนุ่มสาว อาจเป็นระดับอาชีวะ หรือมหาวิทยาลัยราวปี 1 , 2 มีโต๊ะยาววางถ้วยจานแก้วน้ำ หน้าโรงอาหาร มีเจ้าหน้าที่บริการ 2 คน ผมเดินไม่รู้ไม่ชี้มองหาเจ้าหน้าที่บ้านวัยทองนิเวศน์
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ผมเดินออกจากสำนักงาน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ผมบอกให้ลูกจอดรถ ที่ถนนทอดสู่ตัวอาคารสำนักงาน บอกให้แกพาแม่ไปเยี่ยมยายที่บ้านปง ที่อยู่ห่างจากที่นี่ราว 3 กิโลเมตรเศษ ประมาณ 11 โมงให้กลับมารับพ่อ ผมเดินเข้าไปหาเจ้าหน้าที่ในตัวอาคาร พบเจ้าหน้าที่หญิง เป็นคนที่เคยรู้จักกันมาก่อน เธอยกมือไหว้เมื่อเห็นหน้าผม เธอมีบ้านพักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านสันมหาพน หมู่บ้านนี้อยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนสันมหาพนวิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ฟากถนนทิศตะวันตก โรงเรียนนี้อยู่ห่างที่ว่าอำเภอไปทางทิศใต้ไม่ถึง 100 เมตร ผมเคยสอนโรงเรียนนี้นาน 12 ปี ผมบอกเธอว่า …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  วันนี้ขับรถกระบะสีเขียว รุ่น พ.ศ. 2537 ออกจากบ้านทุ่งแป้ง อำเภอสันป่าตองราว 8.00 น.เศษ มีจุดหมายปลายทางที่บ้านวัยทองนิเวศน์ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ คนนั่งซ้ายมือเป็นขาประจำ มีหน้าที่นั่งคุยเป็นเพื่อนไม่ให้คนขับรถง่วง บางเวลาก็นั่งเฝ้ารถกรณีผมเข้าห้องสมุดที่ต่างๆ คอยซื้ออาหารกลางวัน เครื่องดื่มบำรุงคนขับรถ เป็นฝ่ายสวัสดิการ บางทีทำเกินหน้าที่ กลายเป็นฝ่ายก่อความสงบภายในรถ สร้างความเครียดแก่คนขับแทนการผ่อนคลาย สาเหตุจากให้เฝ้ารถนานๆ เมื่อผมกลับจากค้นคว้าในห้องสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ปีนี้ พ.ศ.2554 จะยังมีกิจกรรมดำหัวผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่หรือไม่ ? หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น “ไทยนิวส์” ฉบับวันศุกร์ที่ 1 เมษายน 2554 ได้ลงข่าวหน้า 1 ว่า “ จัดดำหัวผู้ว่าฯสานประเพณี เปลี่ยนชื่องานใหม่ สระเกล้าฯป้อเมือง .” โดยมีเนื้อหาข่าวบางตอนดังนี้ครับ “เมื่อ 30 มีนาคม 2554 นายวรการ ยศยิ่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เผยว่า เพื่อให้การจัดกิจกรรมนี้เป็นการแสดงออกถึงความเป็นวัฒนธรรมประเพณีปีใหม่เมืองล้านนาของจังหวัดเชียงใหม่ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อกิจกรรมเป็นงาน สระเกล้าดำหัวป้อเมืองเจียงใหม่ …