Skip to main content
คืนนี้

ขึ้น 15 ค่ำ ยังหัวค่ำ พระจันทร์เต็มดวงสาดแสงนวลอ่อนโยนกระจ่างทั่วทุ่ง แสงเย็นตายังครอบคลุมวิหารวัดทุ่งลมเย็นบรรยากาศในวัดช่างสงบ สงัด ลมทุ่งพัดกระทบต้นไม้ในวัด ใบของมันสะบัดตัวรับดังซู่ซ่าเป็นพักๆ  ความวุ่นวายสับสนเร่าร้อนทั้งมวลของคนเหมือนหมดสิ้นยามย่างเท้าเข้าวัดสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์  พระสงฆ์องค์เจ้าคงจำวัดกันหมดทั้งสามรูป แต่ยังมีอีกคนหนึ่ง จิตใจยังเร่าร้อนเคร่งเครียดแม้จะเหนื่อยจากงานสลากภัตของวัด ก็ไม่อาจข่มตาให้หลับได้  ใครๆเรียกเขาว่า "ลุงคำ" แกเฝ้านึกถึงเหตุการณ์เมื่อเช้านี้

วัดทุ่งลมเย็น
มีพระ 2 รูป เณร 1 รูปเวลาพระรับนิมนต์ไม่มีใครดูแลวัดเกรงขโมยจะมาลักทรัพย์สิน โดยเฉพาะพระพุทธรูปเก่าแก่ของวัด  ผู้ใหญ่บ้านกรรมการวัดและชาวบ้านมีความเห็นตรงกันว่า น่าจะมีคนเฝ้าวัดยามพระรับนิมนต์ จึงตกลงกันจ้างลุงคำอายุ 70 กว่าปีเป็นผู้ดูแลวัดโดยให้ค่าจ้าง 600 บาทต่อเดือน
เงินค่าจ้างได้จากการเก็บชาวบ้านหลังละ 5 บาททั้งหมดมี 99 หลังก็ได้เงินราว 500 บาทที่ขาดไปทางวัดจะออกเพิ่มจนครบ 600 บาท

หน้าที่
ของลุงคำ กลางคืนนอนในวิหารเฝ้าดูแลพระพุทธรูปและสิ่งของอื่นๆ ในวิหาร  ทำความสะอาดพื้นวิหาร กวาดเศษใบไม้ช่วยพระ เมื่อเสร็จในตอนเช้านั้นลุงคำจะเข็นล้อพ่วงตามหลังพระไปบิณฑบาตพร้อมกับตีฆ้องม้ง ๆ เป็นระยะให้ชาวบ้านทราบว่า พระมาแล้ว  ล้อพ่วงนี้สำหรับวางของบิณฑบาตที่ล้นบาตรพระ

เมื่อกลับจากรับบิณฑบาตถึงวัดแล้ว ลุงคำก็บริการรับใช้พระด้านการฉันมื้อเช้า พระฉันเสร็จ ลุงคำจึงได้กินข้าวเช้าที่วัด เมื่ออิ่มก็ล้างจาน พิจารณาหน้าที่ของแกมันเหมือนนักการภารโรงของโรงเรียนหรือของสถานที่ราชการ

ประเพณี
สลากภัตนิยมปฏิบัติตั้งแต่เดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคมของทุกปี  ส่วนประเพณีสลากภัตหรือตานก๋วยสลากของวัดทุ่งลมเย็น เริ่มขึ้นในเช้าวันที่ 12 กันยายน ศรัทธาญาติโยมนำต้นสลากมาตั้งบนศาลาวัดเต็มไปหมด  ผู้คนแต่งตัวสะสวย ยิ้มแย้ม

ลุงคำ
จัดเก้าอี้สำหรับพระสงฆ์ นั่งให้ศีลให้พร ลุงคำเห็นลุงบุญมีเจ้าของตึกสองชั้นข้างวัดนั่งไขว้ขาสบายอารมณ์  ลุงคำขอให้ไปนั่งที่อื่น  เก้าอี้นี้จะให้พระนั่ง  ลุงบุญมีหันมามองหน้า แล้วค่อยลุกขึ้นสีหน้าท่าทางไม่พอใจมาก พูดช้าๆ สำเนียงเย้ยหยันเสียดสีถ้อยคำรุนแรง
"ทำเบ่ง...ทำตัวเป็นเจ้าข้าวเจ้าของวัดทำมาหากินกับวัดกับวา...โธ่เอ้ย ..."
ลุงคำนิ่งงันรู้สึกร้อนวูบวาบขึ้นหน้า

ลุงคำ
นอนไม่หลับตลอดคืน สมองคิดวกวนไปมาเรื่องเดิมจะทำอย่างไรดีๆ ลุงคำพร่ำถามตนเองในใจ เราเป็นชาวบ้านธรรมดาๆ ไม่มีเกียรติ ไม่มีตำแหน่ง ไม่มีศักดิ์ศรี...แม้จะไม่เข้าใจดีนักกับคำว่า "ศักดิ์ศรี"
แต่ลุงคำก็บอกได้ว่า ตนไม่มีศักดิ์ศรี  ลุงคำไม่รู้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญเขียนว่า บุคคลย่อมเสมอกันในทางกฎหมาย  ถ้าแกรู้หรืออ่านพบ แกคงเถียงว่าไม่จริงเลย คนเสมอเท่าเทียมกันตามตัวหนังสือเท่านั้น  ในชีวิตจริงผู้มีฐานะทางสังคมหรือเศรษฐกิจสูงกว่าก็ยังรังแกผู้ด้อยกว่า ผู้อ่อนแอกว่า
เราไม่ใช่คนสิ้นไร้คนอนาถา ยังมีมือเท้า มีกำลังทำงานหากินได้ ไม่มีเงินค่าจ้างเฝ้าวัด เราก็อยู่ได้  ลุงคำเร่งเวลาให้เช้าเร็วๆ

พอฟ้าสาง ลุงคำก็กราบเจ้าอาวาสบอกลาด้วยเหตุผลสั้นๆ เจ้าอาวาสทราบเรื่องราวดีไม่ทราบจะพูดอะไร

เช้ารุ่งขึ้น
ภาพใหม่ที่ชาวบ้านเห็นเณรพงศ์เข็นล้อพ่วงตีฆ้อง...ตามหลังพระสองรูปออกรับบิณฑบาต.

 

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    นอสตราดามุส (ค.ศ. 1502-1566) เป็นชาวฝรั่งเศสเชื้อสายยิว เรียนจบปริญญาตรีคะแนนดีเยี่ยม จึงโดดเรียนปริญญาเอกจนจบสาขาแพทย์ ได้ทำนายไว้ว่า  “ ...วันเวลาแห่งความศักดิ์สิทธิ์ของการสิ้นยุคเก่าและการมาถึงของยุคใหม่...กำลังจะเข้ามาปรากฏแก่สังคมโลกมนุษย์อยู่แล้ว ซึ่งคาดตามตรรกะจะเกิดขึ้นในช่วงระหว่าง 23 ปีข้างหน้านี้ คือระหว่างปี ค.ศ. 2000 ถึง ค.ศ.2023...” (หนังสือนอสตราดามุส โดย ศ.เจริญ วรรธนะสิน หน้า 363)  
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ผมปลดกระเป๋าหนังสะพายบ่า เปิดกระเป๋าหยิบเอกสารปึกใหญ่ออกมา ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับแผ่นดินไหว ดูท่านยิ้มเหมือนพึงพอใจ ชี้ไปที่เอกสารฉบับหนึ่งแล้วบอกว่า นั่นเป็นชื่อของท่านที่เขียนเรื่องนั้น ผมหัวเราะแก้เขินที่จุดไต้ตำตอ ถือโอกาสย้ำถาม “ ท่านชื่อคุณอดิศร ฟุ้งขจรหรือครับ ? ขอโทษผมไม่ทราบจริงๆครับ.” เราทั้งคู่หัวเราะและยิ้มให้กัน เราเริ่มคุ้นเคยกันในเวลาอันสั้น คงจะจริงนะ ที่ว่าการพบกันครั้งแรกเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง หากอัธยาศัยต้องกัน หรือที่พูดกันว่า ถูกชะตากัน ยิ่งคุยยิ่งสนุก มิตรภาพงอกงามรวดเร็ว…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  24 พฤษภาคม 2554
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เพลงที่ 11 ลืมไม่ได้เด็ดขาด ชื่อเพลง “ศรัทธา” ขับร้องโดยคุณโป่ง ปฐมพงษ์ สมบัติพิบูลย์ นักร้องนำวง หิน เหล็ก ไฟ ก่อนเปลี่ยนเป็นวง The Son ทราบว่าเพลงของวงนี้ เขาแต่งเนื้อร้องทำนองเองหมด คุณโป่งเป็นนักร้องร็อคระดับต้นแบบ หรือ Idol ของใครอีกมากมายที่เดินตามในถนนสายดนตรี เสียงมีพลัง มีความหนักแน่น เป็นเพลงประเภทให้กำลังใจต่อสู้ ให้มุมมองชีวิต ให้ความคิด เนื้อเพลงบางท่อนกลายเป็นวลีฮิตติดปากไปแล้ว เนื้อเพลงบางตอน              …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
      ผมฟังคุณศิริพรกล่าวเนื่องในวันเกิด ของผู้ชราหลายคนในวันนี้ ฟังแล้วจับใจไม่น้อย “ ...ถึงแม้บ้านวัยทองนิเวศน์ จะมีอาหารการกิน มีเครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้สอย แต่ที่ขาดเป็นด้านจิตใจ แม้จะไม่สามารถทดแทนครอบครัวเดิมของท่านได้ก็ตาม จะพยายามเติมเต็มส่วนที่ขาด ตามที่สามารถทำได้...” เมื่อพิธีกรงานวันเกิดกล่าวต่อจนจบแล้ว 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ใกล้เที่ยงในโรงอาหารมีคนพลุกพล่าน พินิจดูเป็นเด็กหนุ่มสาว อาจเป็นระดับอาชีวะ หรือมหาวิทยาลัยราวปี 1 , 2 มีโต๊ะยาววางถ้วยจานแก้วน้ำ หน้าโรงอาหาร มีเจ้าหน้าที่บริการ 2 คน ผมเดินไม่รู้ไม่ชี้มองหาเจ้าหน้าที่บ้านวัยทองนิเวศน์
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ผมเดินออกจากสำนักงาน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ผมบอกให้ลูกจอดรถ ที่ถนนทอดสู่ตัวอาคารสำนักงาน บอกให้แกพาแม่ไปเยี่ยมยายที่บ้านปง ที่อยู่ห่างจากที่นี่ราว 3 กิโลเมตรเศษ ประมาณ 11 โมงให้กลับมารับพ่อ ผมเดินเข้าไปหาเจ้าหน้าที่ในตัวอาคาร พบเจ้าหน้าที่หญิง เป็นคนที่เคยรู้จักกันมาก่อน เธอยกมือไหว้เมื่อเห็นหน้าผม เธอมีบ้านพักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านสันมหาพน หมู่บ้านนี้อยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนสันมหาพนวิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ฟากถนนทิศตะวันตก โรงเรียนนี้อยู่ห่างที่ว่าอำเภอไปทางทิศใต้ไม่ถึง 100 เมตร ผมเคยสอนโรงเรียนนี้นาน 12 ปี ผมบอกเธอว่า …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  วันนี้ขับรถกระบะสีเขียว รุ่น พ.ศ. 2537 ออกจากบ้านทุ่งแป้ง อำเภอสันป่าตองราว 8.00 น.เศษ มีจุดหมายปลายทางที่บ้านวัยทองนิเวศน์ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ คนนั่งซ้ายมือเป็นขาประจำ มีหน้าที่นั่งคุยเป็นเพื่อนไม่ให้คนขับรถง่วง บางเวลาก็นั่งเฝ้ารถกรณีผมเข้าห้องสมุดที่ต่างๆ คอยซื้ออาหารกลางวัน เครื่องดื่มบำรุงคนขับรถ เป็นฝ่ายสวัสดิการ บางทีทำเกินหน้าที่ กลายเป็นฝ่ายก่อความสงบภายในรถ สร้างความเครียดแก่คนขับแทนการผ่อนคลาย สาเหตุจากให้เฝ้ารถนานๆ เมื่อผมกลับจากค้นคว้าในห้องสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ปีนี้ พ.ศ.2554 จะยังมีกิจกรรมดำหัวผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่หรือไม่ ? หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น “ไทยนิวส์” ฉบับวันศุกร์ที่ 1 เมษายน 2554 ได้ลงข่าวหน้า 1 ว่า “ จัดดำหัวผู้ว่าฯสานประเพณี เปลี่ยนชื่องานใหม่ สระเกล้าฯป้อเมือง .” โดยมีเนื้อหาข่าวบางตอนดังนี้ครับ “เมื่อ 30 มีนาคม 2554 นายวรการ ยศยิ่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เผยว่า เพื่อให้การจัดกิจกรรมนี้เป็นการแสดงออกถึงความเป็นวัฒนธรรมประเพณีปีใหม่เมืองล้านนาของจังหวัดเชียงใหม่ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อกิจกรรมเป็นงาน สระเกล้าดำหัวป้อเมืองเจียงใหม่ …