Skip to main content

ลูกเสือ

ทุกหมู่ช่วยกันกางเต็นท์ ประกอบอาหาร มองเห็นควันไฟลอยกรุ่นสู่เบื้องบน ได้ยินลูกเสือพูดคุยกันแว่วมา นอกจากครูวีรภาพ และครูภาสกร ที่เป็นผู้กำกับลูกเสือแล้ว ยังมีท่านอื่นทำหน้าที่รองผู้กำกับลูกเสือ

เริ่มมืดค่ำลงแล้ว แสงสว่างจากหลอดไฟฟ้าที่แขวนเป็นจุดๆ ทั่วค่ายลูกเสือส่องสว่างพอประมาณ เนื่องจากแขวนสูงและวางจุดห่างกันมาก สถานที่นี่เรียกกันว่าหน่วยอุทยานแห่งชาติศรีลานนา หรืออุทยานห้วยกุ่ม กิโลเมตรที่ 65 ฝั่งตะวันออกถนนเชียงใหม่-ฝาง


ครูชาย

ตั้งวงโขกหมากรุก เป็นกีฬาที่ครูชายในโรงเรียนกำลังนิยมไม่เว้นแม้ภารโรง เนื่องจากครูที่ย้ายมาใหม่จากกรุงเทพฯ ชื่อ “ภักดี” มีฝีมือทางหมากรุกขั้นเซียนนำมาเผยแพร่ ทุกคนมีฝีมือหมากรุกไล่เลี่ยกัน การแข่งขันนั้นหากผู้แข่งขันฝีมือสูสีกัน การเล่นย่อมออกรสชาติ ทั้งผู้เล่น ผู้ชม ครูวีรภาพกับครูภาสกรคว้ากระดานหมากรุกได้ก่อนผู้อื่น จึงได้เป็นมวยคู่แรก ทั้งคู่เป็นเพื่อนกัน แต่มักมีข้อโต้แย้งขัดคอกันเสมอ


คนหนึ่งว่าขาว อีกคนต้องว่าเทา แต่ไม่ถึงห้ำหั่นให้พังไปข้าง ประเภทเพื่อนรักเพื่อนแสบ

วันนี้อย่าเป็นหมูเปื่อยอย่างวันนั้นเสียล่ะ เหงื่อไม่ทันออกวิ่งจู๊ดไปเลย ฮะฮ่า...”

ครูภาสกรเริ่มราดน้ำปลาบนแผลเก่า

ระวังหมูจะชนต้นกล้วย วันนี้กันจะใช้มือซ้ายข้างเดียวเดิน มือขวาสูบบุหรี่สบายๆ ก็ชนะแบบไม่ต้องลุ้น”

ครูวีรภาพสวนเผ็ดร้อนพอกัน


ครูภาสกรใช้วิธียั่วโมโหคู่ต่อสู้ ภารโรงสุนทรขาดชมไม่ได้เด็ดขาด ยกเขียงมาวางข้างครูภาสกรทีมเดียวกัน ภารโรงสุนทรใช้ผ้าขี้ริ้วเก่าวางรองเขียงเวลาลาบจะได้ไม่มีเสียงดัง หยิบเนื้อควายวางบนเขียงลงมือสับเนื้อไป ตาดูหมากรุกไปประเภทใจอยู่ทาง มือไปทาง ผ้าขี้ริ้วขยับไปตามแรงสับ บางส่วนแลบเข้าไปที่เนื้อบนเขียงถูกคมมีดตัดปะปนไปกับเนื้อควายหลายส่วน เนื้อที่เลอะมาขอบเขียงบ้าง กระเด็นมาที่ผ้าขี้ริ้วบ้าง ภารโรงสุนทรปาดไว้บนเขียงตามเดิม ไม่มีใครสนใจ สมาชิกทุกคนรวมใจเป็นหนึ่งเดียวบนกระดานหมากรุก แทบลืมหิว ลืมเวลา

เมื่อเนื้อเหนียวได้ที่ ภารโรงสุนทรนำไปปรุง ฝีมือลาบของเขาเป็นที่ยอมรับของคณะครู ภารโรงสุนทรใช้นิ้วหยิบลาบมาชิม ผงกหัวใช้ได้ มันมีบางอย่างติดฟันดึงออกมาพินิจพิจารณา ตายแน่ นี่มันผ้าขี้ริ้วชัดเจนจะคุ้ยออกให้หมดคงไม่ทันการ ลาบเต็มกะละมัง ถึงเวลาต้องยกไปให้คณะครู ชั่งใจครู่หนึ่งตัดสินใจเสี่ยงตายตักลาบใส่ถ้วยแบ่งไปวางเตรียมไว้ที่กองกลางส่วนหนึ่ง อีกถ้วยยกไปวงหมากรุก ยกมาให้ครูภาสกรทีมเดียวกันชิมก่อน สุนทรรู้สึกอัดอัดหายใจขัดๆ พิกล ครูภาสกรหยิบช้อนตักลาบเข้าปาก สักครู่หันมามองภารโรงสุนทร สุนทรอยากกลั้นใจตายจริงๆ


คำพิพากษาดังขึ้น

รสชาติดีแต่เหนียวไปหน่อยนะ”

ภารโรงสุนทรค่อยๆ ระบายลมหายใจภาวนาให้ครูภาสกรกลืนลงไปให้หมดเสียเร็วๆ ครูภาสกรกลืนลงไปแล้วเหมือนรู้ใจ ครูวีรภาพชิมบ้าง

อือๆ รสชาติดีใช้ได้เหนียวดีเคี้ยวมัน”

สุนทรโล่งอกไปอีกครั้ง เคี้ยวมันก็กลืนลงไปเสียเถอะพระคุณท่าน ขอร้องมีสิ่งใดติดฟันอย่าดึงออกมาเด็ดขาด ความลับถูกกลืนหายลงคอไปอีกครั้ง


อาหารมื้อเย็น

ที่กองกลางของคณะครูที่นำนักเรียนมาอยู่ค่ายพักแรม ใครๆ ชมว่าลาบอร่อย ไม่มีใครรู้ผ้าขี้ริ้วสีดำแสนสกปรกที่เป็นความลับของสุนทรถูกกลืนเก็บไว้ในกระเพาะผู้กินจนหมดสิ้น.



บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    นอสตราดามุส (ค.ศ. 1502-1566) เป็นชาวฝรั่งเศสเชื้อสายยิว เรียนจบปริญญาตรีคะแนนดีเยี่ยม จึงโดดเรียนปริญญาเอกจนจบสาขาแพทย์ ได้ทำนายไว้ว่า  “ ...วันเวลาแห่งความศักดิ์สิทธิ์ของการสิ้นยุคเก่าและการมาถึงของยุคใหม่...กำลังจะเข้ามาปรากฏแก่สังคมโลกมนุษย์อยู่แล้ว ซึ่งคาดตามตรรกะจะเกิดขึ้นในช่วงระหว่าง 23 ปีข้างหน้านี้ คือระหว่างปี ค.ศ. 2000 ถึง ค.ศ.2023...” (หนังสือนอสตราดามุส โดย ศ.เจริญ วรรธนะสิน หน้า 363)  
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ผมปลดกระเป๋าหนังสะพายบ่า เปิดกระเป๋าหยิบเอกสารปึกใหญ่ออกมา ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับแผ่นดินไหว ดูท่านยิ้มเหมือนพึงพอใจ ชี้ไปที่เอกสารฉบับหนึ่งแล้วบอกว่า นั่นเป็นชื่อของท่านที่เขียนเรื่องนั้น ผมหัวเราะแก้เขินที่จุดไต้ตำตอ ถือโอกาสย้ำถาม “ ท่านชื่อคุณอดิศร ฟุ้งขจรหรือครับ ? ขอโทษผมไม่ทราบจริงๆครับ.” เราทั้งคู่หัวเราะและยิ้มให้กัน เราเริ่มคุ้นเคยกันในเวลาอันสั้น คงจะจริงนะ ที่ว่าการพบกันครั้งแรกเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง หากอัธยาศัยต้องกัน หรือที่พูดกันว่า ถูกชะตากัน ยิ่งคุยยิ่งสนุก มิตรภาพงอกงามรวดเร็ว…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  24 พฤษภาคม 2554
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เพลงที่ 11 ลืมไม่ได้เด็ดขาด ชื่อเพลง “ศรัทธา” ขับร้องโดยคุณโป่ง ปฐมพงษ์ สมบัติพิบูลย์ นักร้องนำวง หิน เหล็ก ไฟ ก่อนเปลี่ยนเป็นวง The Son ทราบว่าเพลงของวงนี้ เขาแต่งเนื้อร้องทำนองเองหมด คุณโป่งเป็นนักร้องร็อคระดับต้นแบบ หรือ Idol ของใครอีกมากมายที่เดินตามในถนนสายดนตรี เสียงมีพลัง มีความหนักแน่น เป็นเพลงประเภทให้กำลังใจต่อสู้ ให้มุมมองชีวิต ให้ความคิด เนื้อเพลงบางท่อนกลายเป็นวลีฮิตติดปากไปแล้ว เนื้อเพลงบางตอน              …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
      ผมฟังคุณศิริพรกล่าวเนื่องในวันเกิด ของผู้ชราหลายคนในวันนี้ ฟังแล้วจับใจไม่น้อย “ ...ถึงแม้บ้านวัยทองนิเวศน์ จะมีอาหารการกิน มีเครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้สอย แต่ที่ขาดเป็นด้านจิตใจ แม้จะไม่สามารถทดแทนครอบครัวเดิมของท่านได้ก็ตาม จะพยายามเติมเต็มส่วนที่ขาด ตามที่สามารถทำได้...” เมื่อพิธีกรงานวันเกิดกล่าวต่อจนจบแล้ว 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ใกล้เที่ยงในโรงอาหารมีคนพลุกพล่าน พินิจดูเป็นเด็กหนุ่มสาว อาจเป็นระดับอาชีวะ หรือมหาวิทยาลัยราวปี 1 , 2 มีโต๊ะยาววางถ้วยจานแก้วน้ำ หน้าโรงอาหาร มีเจ้าหน้าที่บริการ 2 คน ผมเดินไม่รู้ไม่ชี้มองหาเจ้าหน้าที่บ้านวัยทองนิเวศน์
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ผมเดินออกจากสำนักงาน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ผมบอกให้ลูกจอดรถ ที่ถนนทอดสู่ตัวอาคารสำนักงาน บอกให้แกพาแม่ไปเยี่ยมยายที่บ้านปง ที่อยู่ห่างจากที่นี่ราว 3 กิโลเมตรเศษ ประมาณ 11 โมงให้กลับมารับพ่อ ผมเดินเข้าไปหาเจ้าหน้าที่ในตัวอาคาร พบเจ้าหน้าที่หญิง เป็นคนที่เคยรู้จักกันมาก่อน เธอยกมือไหว้เมื่อเห็นหน้าผม เธอมีบ้านพักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านสันมหาพน หมู่บ้านนี้อยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนสันมหาพนวิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ฟากถนนทิศตะวันตก โรงเรียนนี้อยู่ห่างที่ว่าอำเภอไปทางทิศใต้ไม่ถึง 100 เมตร ผมเคยสอนโรงเรียนนี้นาน 12 ปี ผมบอกเธอว่า …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  วันนี้ขับรถกระบะสีเขียว รุ่น พ.ศ. 2537 ออกจากบ้านทุ่งแป้ง อำเภอสันป่าตองราว 8.00 น.เศษ มีจุดหมายปลายทางที่บ้านวัยทองนิเวศน์ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ คนนั่งซ้ายมือเป็นขาประจำ มีหน้าที่นั่งคุยเป็นเพื่อนไม่ให้คนขับรถง่วง บางเวลาก็นั่งเฝ้ารถกรณีผมเข้าห้องสมุดที่ต่างๆ คอยซื้ออาหารกลางวัน เครื่องดื่มบำรุงคนขับรถ เป็นฝ่ายสวัสดิการ บางทีทำเกินหน้าที่ กลายเป็นฝ่ายก่อความสงบภายในรถ สร้างความเครียดแก่คนขับแทนการผ่อนคลาย สาเหตุจากให้เฝ้ารถนานๆ เมื่อผมกลับจากค้นคว้าในห้องสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ปีนี้ พ.ศ.2554 จะยังมีกิจกรรมดำหัวผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่หรือไม่ ? หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น “ไทยนิวส์” ฉบับวันศุกร์ที่ 1 เมษายน 2554 ได้ลงข่าวหน้า 1 ว่า “ จัดดำหัวผู้ว่าฯสานประเพณี เปลี่ยนชื่องานใหม่ สระเกล้าฯป้อเมือง .” โดยมีเนื้อหาข่าวบางตอนดังนี้ครับ “เมื่อ 30 มีนาคม 2554 นายวรการ ยศยิ่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เผยว่า เพื่อให้การจัดกิจกรรมนี้เป็นการแสดงออกถึงความเป็นวัฒนธรรมประเพณีปีใหม่เมืองล้านนาของจังหวัดเชียงใหม่ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อกิจกรรมเป็นงาน สระเกล้าดำหัวป้อเมืองเจียงใหม่ …