Skip to main content


ก่อนนอน

ย่าผมจะเล่านิทานให้ฟังแทบทุกคืน บางครั้งท่านก็คงจะเบื่อที่เล่าเรื่อง “เสือเย็น” ซ้ำๆ กัน แต่ทนเสียงรบเร้าของผมไม่ไหว ก็เรื่องมันสนุกตื่นเต้นนี่ครับ

เรื่อง “เสือเย็น” เกิดขึ้นที่วัดหมื่นสาร ในวัยเด็ก ผมอยากทราบเหมือนกันว่า วัดนี้อยู่ที่ใด มีวัดนี้จริงไหม แต่ไม่สามารถจะค้นหาได้ ด้วยมีข้อจำกัดหลายประการ เมื่อย่าเสีย เรื่อง “เสือเย็น” เริ่มจางไปจากความทรงจำ วัยมากขึ้นก็คิดถึงเรื่องอื่นสารพัด จนกระทั่งผมเกษียณ วันหนึ่งตรงกับวันที่ 3 มกราคม 2552 ผมขับรถผ่านวัดหมื่นสาร ย่านประตูหายยา จังหวัดเชียงใหม่ เห็นมีป้ายชื่อวัด ใต้ป้ายมีรูปปั้นวัวสีขาวตั้งอยู่ ขับรถเข้าไปในวัด พบคุณลุงท่านหนึ่งอายุ 83 ปี คอยต้อนรับแขกที่มาเที่ยววัด ผมจึงถามเรื่อง “เสือเย็น” ได้รับคำบอกว่า เป็นเรื่องเล่าลือกันต่อๆ มา ท่านชี้ให้ดูเจดีย์องค์ใหญ่ เชื่อว่าเป็นที่เก็บกระดูกของพระเย็น ยังไม่ทันได้ถามรายละเอียด ท่านขอตัวไปต้อนรับแขกที่มาเยี่ยมชมวัด ซึ่งเป็นคนต่างจังหวัด เรื่องราวที่ท่านเล่าให้ฟังเพิ่มความจริงจังกับเรื่องที่ย่าผมเล่า โดยย่าเล่ากล่อมผมก่อนนอนดังนี้


มีวัดร้าง ที่เก่าแก่วัดหนึ่ง บรรยากาศดูวังเวง เงียบเหงา มีเถาวัลย์ไม้เลื้อยขึ้นปกคลุมไปทั่ว ผู้คนผ่านไปมารู้สึกหวาดกลัว แต่เดิมมีพระเณรหลายรูป แต่พระเณรเหล่านั้นหายไปไม่รู้สาเหตุ เหลือเพียงเจ้าอาวาสแก่ๆ รูปหนึ่งชื่อ “พระเย็น” มีเสียงเล่าลือว่า พระเย็นกลายร่างเป็นเสือได้ในเวลากลางคืน จึงจับพระเณรรูปอื่นกินจนหมด บางกลุ่มก็ยังไม่ปักใจเชื่อ จึงมีผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนาใส่บาตรเป็นประจำ วันหนึ่งมีพ่อค้าวัว พาวัวมาพักค้างแรมที่วัดร้างแห่งนี้ กลางดึกได้ยินเสียงวัวตื่นร้องอย่างตกใจเหมือนพบสัตว์ร้าย พวกวัวเตลิดออกจากหลัก วิ่งแตกตื่นไป พ่อค้าวัวตามหาวัวทั้งคืน ที่สุดได้พบวัวของตนนอนตาย 3-4 ตัว รอบๆ วัวที่ตายมีรอยกัด รอยเท้าเสือขนาดใหญ่ พ่อค้าวัวตกใจมาก รุ่งเช้าจึงรีบต้อนวัวออกจากวัดไปอย่างรีบร้อน ด้วยความหวาดกลัว

ข่าวลือไปทั่ว ทำให้ไม่มีใครกล้ามาพักที่วัด ชาวบ้านต่างหวาดกลัว ไม่มีใครกล้าลงจากบ้านยามค่ำคืน วันหนึ่งมีพ่อค้าวัวมาพัก ด้วยวัวมีอาการอ่อนล้า เนื่องด้วยเดินทางไกล และบางตัวก็บาดเจ็บ พ่อค้าวัวรายนี้พอมีวิชาอาคม เคยได้ยินเรื่องราวของวัดอยู่บ้าง กลางคืนพ่อค้าวัวเดินตรวจดูความเรียบร้อยของฝูงวัว ได้พบภิกษุชรามาทักทาย รู้สึกแปลกใจ พระรูปนี้มาอยู่กลางคืนดึกดื่นได้อย่างไร นึกสงสัย จึงได้นำดินมาปั้นเป็นรูปควายธนู 4 ตัว วางตรงหน้า พอดีได้ยินเสียงวัวร้องเหมือนเห็นสัตว์ร้าย พ่อค้าวัวจึงบริกรรมคาถากำกับ เห็นเสือตัวใหญ่เดินเข้ามาหา พ่อค้าวัวส่งเสียงสั่งควายธนูให้สู้ ทันใดควายธนูก็แปลงตัวเป็นควายตัวใหญ่ กระโจนเข้าต่อสู้กับเสือ เสือสู้ควายไม่ได้ วิ่งหนีเข้าป่า ทิ้งหยดเลือดเป็นทาง พ่อค้าวัวรอจนรุ่งเช้า จึงตรวจดูตามรอยเลือด พบพระรูปหนึ่งนอนมรณภาพ สบงจีวรฉีกขาด จึงรู้ว่าเป็น “พระเย็น” ที่ชาวบ้านหวาดกลัว ต่อมา ชาวบ้านได้ช่วยกันบูรณะวัด แล้วนิมนต์พระมาจำวัด โดยตั้งชื่อว่า “วัดหมื่นสาร”




บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    นอสตราดามุส (ค.ศ. 1502-1566) เป็นชาวฝรั่งเศสเชื้อสายยิว เรียนจบปริญญาตรีคะแนนดีเยี่ยม จึงโดดเรียนปริญญาเอกจนจบสาขาแพทย์ ได้ทำนายไว้ว่า  “ ...วันเวลาแห่งความศักดิ์สิทธิ์ของการสิ้นยุคเก่าและการมาถึงของยุคใหม่...กำลังจะเข้ามาปรากฏแก่สังคมโลกมนุษย์อยู่แล้ว ซึ่งคาดตามตรรกะจะเกิดขึ้นในช่วงระหว่าง 23 ปีข้างหน้านี้ คือระหว่างปี ค.ศ. 2000 ถึง ค.ศ.2023...” (หนังสือนอสตราดามุส โดย ศ.เจริญ วรรธนะสิน หน้า 363)  
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ผมปลดกระเป๋าหนังสะพายบ่า เปิดกระเป๋าหยิบเอกสารปึกใหญ่ออกมา ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับแผ่นดินไหว ดูท่านยิ้มเหมือนพึงพอใจ ชี้ไปที่เอกสารฉบับหนึ่งแล้วบอกว่า นั่นเป็นชื่อของท่านที่เขียนเรื่องนั้น ผมหัวเราะแก้เขินที่จุดไต้ตำตอ ถือโอกาสย้ำถาม “ ท่านชื่อคุณอดิศร ฟุ้งขจรหรือครับ ? ขอโทษผมไม่ทราบจริงๆครับ.” เราทั้งคู่หัวเราะและยิ้มให้กัน เราเริ่มคุ้นเคยกันในเวลาอันสั้น คงจะจริงนะ ที่ว่าการพบกันครั้งแรกเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง หากอัธยาศัยต้องกัน หรือที่พูดกันว่า ถูกชะตากัน ยิ่งคุยยิ่งสนุก มิตรภาพงอกงามรวดเร็ว…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  24 พฤษภาคม 2554
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เพลงที่ 11 ลืมไม่ได้เด็ดขาด ชื่อเพลง “ศรัทธา” ขับร้องโดยคุณโป่ง ปฐมพงษ์ สมบัติพิบูลย์ นักร้องนำวง หิน เหล็ก ไฟ ก่อนเปลี่ยนเป็นวง The Son ทราบว่าเพลงของวงนี้ เขาแต่งเนื้อร้องทำนองเองหมด คุณโป่งเป็นนักร้องร็อคระดับต้นแบบ หรือ Idol ของใครอีกมากมายที่เดินตามในถนนสายดนตรี เสียงมีพลัง มีความหนักแน่น เป็นเพลงประเภทให้กำลังใจต่อสู้ ให้มุมมองชีวิต ให้ความคิด เนื้อเพลงบางท่อนกลายเป็นวลีฮิตติดปากไปแล้ว เนื้อเพลงบางตอน              …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
      ผมฟังคุณศิริพรกล่าวเนื่องในวันเกิด ของผู้ชราหลายคนในวันนี้ ฟังแล้วจับใจไม่น้อย “ ...ถึงแม้บ้านวัยทองนิเวศน์ จะมีอาหารการกิน มีเครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้สอย แต่ที่ขาดเป็นด้านจิตใจ แม้จะไม่สามารถทดแทนครอบครัวเดิมของท่านได้ก็ตาม จะพยายามเติมเต็มส่วนที่ขาด ตามที่สามารถทำได้...” เมื่อพิธีกรงานวันเกิดกล่าวต่อจนจบแล้ว 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ใกล้เที่ยงในโรงอาหารมีคนพลุกพล่าน พินิจดูเป็นเด็กหนุ่มสาว อาจเป็นระดับอาชีวะ หรือมหาวิทยาลัยราวปี 1 , 2 มีโต๊ะยาววางถ้วยจานแก้วน้ำ หน้าโรงอาหาร มีเจ้าหน้าที่บริการ 2 คน ผมเดินไม่รู้ไม่ชี้มองหาเจ้าหน้าที่บ้านวัยทองนิเวศน์
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ผมเดินออกจากสำนักงาน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ผมบอกให้ลูกจอดรถ ที่ถนนทอดสู่ตัวอาคารสำนักงาน บอกให้แกพาแม่ไปเยี่ยมยายที่บ้านปง ที่อยู่ห่างจากที่นี่ราว 3 กิโลเมตรเศษ ประมาณ 11 โมงให้กลับมารับพ่อ ผมเดินเข้าไปหาเจ้าหน้าที่ในตัวอาคาร พบเจ้าหน้าที่หญิง เป็นคนที่เคยรู้จักกันมาก่อน เธอยกมือไหว้เมื่อเห็นหน้าผม เธอมีบ้านพักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านสันมหาพน หมู่บ้านนี้อยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนสันมหาพนวิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ฟากถนนทิศตะวันตก โรงเรียนนี้อยู่ห่างที่ว่าอำเภอไปทางทิศใต้ไม่ถึง 100 เมตร ผมเคยสอนโรงเรียนนี้นาน 12 ปี ผมบอกเธอว่า …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  วันนี้ขับรถกระบะสีเขียว รุ่น พ.ศ. 2537 ออกจากบ้านทุ่งแป้ง อำเภอสันป่าตองราว 8.00 น.เศษ มีจุดหมายปลายทางที่บ้านวัยทองนิเวศน์ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ คนนั่งซ้ายมือเป็นขาประจำ มีหน้าที่นั่งคุยเป็นเพื่อนไม่ให้คนขับรถง่วง บางเวลาก็นั่งเฝ้ารถกรณีผมเข้าห้องสมุดที่ต่างๆ คอยซื้ออาหารกลางวัน เครื่องดื่มบำรุงคนขับรถ เป็นฝ่ายสวัสดิการ บางทีทำเกินหน้าที่ กลายเป็นฝ่ายก่อความสงบภายในรถ สร้างความเครียดแก่คนขับแทนการผ่อนคลาย สาเหตุจากให้เฝ้ารถนานๆ เมื่อผมกลับจากค้นคว้าในห้องสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ปีนี้ พ.ศ.2554 จะยังมีกิจกรรมดำหัวผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่หรือไม่ ? หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น “ไทยนิวส์” ฉบับวันศุกร์ที่ 1 เมษายน 2554 ได้ลงข่าวหน้า 1 ว่า “ จัดดำหัวผู้ว่าฯสานประเพณี เปลี่ยนชื่องานใหม่ สระเกล้าฯป้อเมือง .” โดยมีเนื้อหาข่าวบางตอนดังนี้ครับ “เมื่อ 30 มีนาคม 2554 นายวรการ ยศยิ่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เผยว่า เพื่อให้การจัดกิจกรรมนี้เป็นการแสดงออกถึงความเป็นวัฒนธรรมประเพณีปีใหม่เมืองล้านนาของจังหวัดเชียงใหม่ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อกิจกรรมเป็นงาน สระเกล้าดำหัวป้อเมืองเจียงใหม่ …