Skip to main content
ผมยืนขึ้น
ก้าวไปข้างหน้า
 น้ำถึงราวนม เท้าจับทรายไม่อยู่ รู้สึกทรายเคลื่อนตัวลง ตัวผมจมลงไป รู้ทันทีว่าทรายดูดหรือ "ทรายมาน" ใจหายวาบ รีบใช้มือตีน้ำ ผ่อนน้ำหนักที่เท้า บิดตัวถอยหลังอย่างฉับพลัน ใช้เท้ายันพื้นทราย เท้าจับทรายได้แล้ว ถอยเท้าอย่างรวดเร็ว รีบขึ้นหาดทราย ประมาทไม่ได้เลยกับภัยในน้ำ เหลียวดูเพื่อน เขากลับลงเล่นน้ำกันอีก 

ได้ยินเสียงบุญส่งผู้ไม่นุ่งกางเกงในโวยวายว่า  "อะไรกัดไม่รู้  สงสัยปลาปักเป้า..."  บุญส่งรีบวิ่งขึ้นบนหาดทราย ใช้มือทั้งสองปิดตรงส่วนสำคัญ หน้าตาเขาไม่ดีนัก เพื่อนๆ บอกว่าเปิดมือตรวจดู ปรากฏว่าอะไรๆ ยังอยู่ครบ นึกถึงตอนนี้ทีไรอดยิ้มไม่ได้ ผมหัดว่ายน้ำจากสระธรรมชาติอยู่นาน บอกไม่ได้ว่าว่ายเป็นหรือยัง รู้แต่ว่าผมยืนในน้ำ  ช้แขนเหยียดไปข้างหน้า เหยียดเท้าไปข้างหลัง ทำลำตัวขนานกับผิวน้ำ  ทำมือคล้ายใบพาย แล้วจ้วงน้ำเข้าหาตัว เท้าทั้งสองทั้งถีบทั้งดีด มือจ้วงไปหนึ่งทีก็จม พอนานไปมือจ้วงสองสามทีจึงค่อยจม คือลอยตัวเคลื่อนไปข้างหน้าได้นานขึ้น ผมเห็นเพื่อนอีกคนกำลังนั่งยองๆ ริมหาดทราย  ใช้มือขวาวักน้ำหยอดหูขวา แล้วเดินเอียงหัวไปข้างซ้าย เดินขึ้นไปบนหาดทราย กระโดดตัวลอยขึ้นโดยเอียงหัวมาข้างขวา กระแทกฝ่าเท้ากับพื้นทรายแรงๆ สักพักก็หยุด เป็นวิธีเอาน้ำที่เข้าขังในหูข้างขวาออก นักเล่นน้ำจะรู้วิธีช่วยตนเองแบบนี้กันทุกคน


ภาพวัยเด็กหายไป
ผมกวาดตามองไปทางขวา ผ่านสะพานนครพิงค์ (ขัวใหม่) อยากเห็นภาพอดีตแถวสะพานจันทร์สมอนุสรณ์ในปัจจุบัน ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ถัดออกไป ผมเดินข้ามถนนผ่านสะพานนครพิงค์ เดินตามทางเท้าริมฝั่งแม่ปิง  มาหยุดที่ริมฝั่ง  ห่างจากสะพานนครพิงค์ราว 15 เมตร  มองเห็นสะพานจันทร์สมอนุสรณ์ชัดเจน จินตนาการสู่วัยรุ่นอีกครั้ง 

เข้าสู่ฤดูแล้ง
น้ำปิงเริ่มแห้ง
  มีหาดทรายปรากฏกระจายไปทั่ว ส่วนริมฝั่งใกล้เทศบาลนครเชียงใหม่ยังมีน้ำไหลอยู่  ช่วงเวลานั้นยังไม่มีการสร้างสะพานจันทร์สมอนุสรณ์  ตำแหน่งตรงนี้ จะมีการสร้าง  "ขัวแตะ" (สะพานที่สร้างขึ้นโดยใช้ไม้ไผ่ที่ใช้ทำรั้ว มาสานขัดกันไปมาจนเป็นแผง วางต่อกันบนเสาไม้ไผ่) ระหว่างท่าน้ำหน้าวัดเกตการามกับตลิ่งด้านเหนือตลาดต้นลำไย ผมเดินบนขัวแตะ ไม้ไผ่ที่สานเป็นตัวสะพาน อ่อนยวบยาบตามเท้าที่เราเหยียบลงไป ถ้าเดินเดี่ยวตรงกลางสะพานไปเรื่อยๆ แต่ถ้าเดินสวนกัน ต้องแบ่งพื้นที่กันให้ดี ใครชิดซ้ายมากเป็นขอบของขัวแตะ อาจหล่นลงได้ ตาผมมองหาดทรายทั้งซ้ายขวา ตรงนี้เองที่แม่บอกว่า  

"ในสมัยที่แม่ยังเป็นเด็กนักเรียน ครูพลศึกษาพาแม่มาซ้อมวิ่งบนหาดทรายบ่อยๆ กล้ามขาจะได้แข็งแรง เพราะวิ่งบนทรายมันใช้แรงมาก เนื่องจากทรายมันยุบตัว เท้ายันไม่ถนัด พอไปวิ่งบนทางเรียบ วิ่งตัวเบาแล่นฉิวเลย"  


แม่หยิบรูปภาพรับถ้วยมาให้ผมดู...ผมมาถึงท่าน้ำตรงตรงข้าม เดินไปอีกเล็กน้อย   ข้ามหน้าวัดเกตการาม ผ่านประตูวัด ทางซ้ายมือมีห้องเล็ก เป็นห้องสมุดของวัด ปัจจุบันเป็นโรงเก็บรถ ผมกับเพื่อนมาอ่านหนังสือประเภทนิยายที่นี่บ่อยๆ ยามปิดภาคเรียน เช่นเรื่อง  "สี่คิงของ "เศก  ดุสิต"

 

 

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 ถนอมรัก เดือนเต็มดวง ราวปี พ.ศ.2506พอย่างเข้าเดือนสิงหาคมกลางฤดูฝน ฝนเริ่มตกหนัก 3-4 วันติดต่อกัน ย่าบอกว่าวิทยุข้างบ้านประกาศ มีไต้ฝุ่นเข้าเมืองไทย ฝนจึงตกมากกว่าปรกติ ฝนยามนั้นจะตกปรอยๆซึมไปเกือบตลอดวัน ฟ้ามืดมัวด้วยเมฆฝน ไม่มีการเห็นแสงเดือนแสงตะวันกันเลย แล้วจะมีฝนตกหนักนานเกินครึ่งชั่วโมงเข้ามาสลับเป็นพักๆ เท่าที่จำได้นานเป็นวันก็เคยมี ใครซักผ้าก็ชื้นอับอยู่อย่างนั้น พื้นดินบริเวณบ้านผมเปียกแฉะไปหมด ต้นไม้ใบหญ้าเปียกโชกชุ่มอิ่มน้ำ น้ำฝนที่ตกลงมาส่งผลให้ระดับน้ำในน้ำแม่ปิงสูงขึ้นรวดเร็ว ชาวเชียงใหม่สัญจรไปมาต่างกวาดตาดูน้ำแม่ปิง สายน้ำสายหลักที่ผูกพันชาวนครพิงค์เนิ่นนาน…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
กรณีมีกลุ่มบุคคลที่ตรงข้ามรัฐบาลคัดค้านขัดขวางธนาคารออมสินปล่อยเงินกู้ให้ ธกส.(ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร) เพื่อจะได้นำไปจ่ายให้ชาวนา ตามโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร(19 ก.พ.57)
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง