Skip to main content
ผมยืนขึ้น
ก้าวไปข้างหน้า
 น้ำถึงราวนม เท้าจับทรายไม่อยู่ รู้สึกทรายเคลื่อนตัวลง ตัวผมจมลงไป รู้ทันทีว่าทรายดูดหรือ "ทรายมาน" ใจหายวาบ รีบใช้มือตีน้ำ ผ่อนน้ำหนักที่เท้า บิดตัวถอยหลังอย่างฉับพลัน ใช้เท้ายันพื้นทราย เท้าจับทรายได้แล้ว ถอยเท้าอย่างรวดเร็ว รีบขึ้นหาดทราย ประมาทไม่ได้เลยกับภัยในน้ำ เหลียวดูเพื่อน เขากลับลงเล่นน้ำกันอีก 

ได้ยินเสียงบุญส่งผู้ไม่นุ่งกางเกงในโวยวายว่า  "อะไรกัดไม่รู้  สงสัยปลาปักเป้า..."  บุญส่งรีบวิ่งขึ้นบนหาดทราย ใช้มือทั้งสองปิดตรงส่วนสำคัญ หน้าตาเขาไม่ดีนัก เพื่อนๆ บอกว่าเปิดมือตรวจดู ปรากฏว่าอะไรๆ ยังอยู่ครบ นึกถึงตอนนี้ทีไรอดยิ้มไม่ได้ ผมหัดว่ายน้ำจากสระธรรมชาติอยู่นาน บอกไม่ได้ว่าว่ายเป็นหรือยัง รู้แต่ว่าผมยืนในน้ำ  ช้แขนเหยียดไปข้างหน้า เหยียดเท้าไปข้างหลัง ทำลำตัวขนานกับผิวน้ำ  ทำมือคล้ายใบพาย แล้วจ้วงน้ำเข้าหาตัว เท้าทั้งสองทั้งถีบทั้งดีด มือจ้วงไปหนึ่งทีก็จม พอนานไปมือจ้วงสองสามทีจึงค่อยจม คือลอยตัวเคลื่อนไปข้างหน้าได้นานขึ้น ผมเห็นเพื่อนอีกคนกำลังนั่งยองๆ ริมหาดทราย  ใช้มือขวาวักน้ำหยอดหูขวา แล้วเดินเอียงหัวไปข้างซ้าย เดินขึ้นไปบนหาดทราย กระโดดตัวลอยขึ้นโดยเอียงหัวมาข้างขวา กระแทกฝ่าเท้ากับพื้นทรายแรงๆ สักพักก็หยุด เป็นวิธีเอาน้ำที่เข้าขังในหูข้างขวาออก นักเล่นน้ำจะรู้วิธีช่วยตนเองแบบนี้กันทุกคน


ภาพวัยเด็กหายไป
ผมกวาดตามองไปทางขวา ผ่านสะพานนครพิงค์ (ขัวใหม่) อยากเห็นภาพอดีตแถวสะพานจันทร์สมอนุสรณ์ในปัจจุบัน ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ถัดออกไป ผมเดินข้ามถนนผ่านสะพานนครพิงค์ เดินตามทางเท้าริมฝั่งแม่ปิง  มาหยุดที่ริมฝั่ง  ห่างจากสะพานนครพิงค์ราว 15 เมตร  มองเห็นสะพานจันทร์สมอนุสรณ์ชัดเจน จินตนาการสู่วัยรุ่นอีกครั้ง 

เข้าสู่ฤดูแล้ง
น้ำปิงเริ่มแห้ง
  มีหาดทรายปรากฏกระจายไปทั่ว ส่วนริมฝั่งใกล้เทศบาลนครเชียงใหม่ยังมีน้ำไหลอยู่  ช่วงเวลานั้นยังไม่มีการสร้างสะพานจันทร์สมอนุสรณ์  ตำแหน่งตรงนี้ จะมีการสร้าง  "ขัวแตะ" (สะพานที่สร้างขึ้นโดยใช้ไม้ไผ่ที่ใช้ทำรั้ว มาสานขัดกันไปมาจนเป็นแผง วางต่อกันบนเสาไม้ไผ่) ระหว่างท่าน้ำหน้าวัดเกตการามกับตลิ่งด้านเหนือตลาดต้นลำไย ผมเดินบนขัวแตะ ไม้ไผ่ที่สานเป็นตัวสะพาน อ่อนยวบยาบตามเท้าที่เราเหยียบลงไป ถ้าเดินเดี่ยวตรงกลางสะพานไปเรื่อยๆ แต่ถ้าเดินสวนกัน ต้องแบ่งพื้นที่กันให้ดี ใครชิดซ้ายมากเป็นขอบของขัวแตะ อาจหล่นลงได้ ตาผมมองหาดทรายทั้งซ้ายขวา ตรงนี้เองที่แม่บอกว่า  

"ในสมัยที่แม่ยังเป็นเด็กนักเรียน ครูพลศึกษาพาแม่มาซ้อมวิ่งบนหาดทรายบ่อยๆ กล้ามขาจะได้แข็งแรง เพราะวิ่งบนทรายมันใช้แรงมาก เนื่องจากทรายมันยุบตัว เท้ายันไม่ถนัด พอไปวิ่งบนทางเรียบ วิ่งตัวเบาแล่นฉิวเลย"  


แม่หยิบรูปภาพรับถ้วยมาให้ผมดู...ผมมาถึงท่าน้ำตรงตรงข้าม เดินไปอีกเล็กน้อย   ข้ามหน้าวัดเกตการาม ผ่านประตูวัด ทางซ้ายมือมีห้องเล็ก เป็นห้องสมุดของวัด ปัจจุบันเป็นโรงเก็บรถ ผมกับเพื่อนมาอ่านหนังสือประเภทนิยายที่นี่บ่อยๆ ยามปิดภาคเรียน เช่นเรื่อง  "สี่คิงของ "เศก  ดุสิต"

 

 

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    นอสตราดามุส (ค.ศ. 1502-1566) เป็นชาวฝรั่งเศสเชื้อสายยิว เรียนจบปริญญาตรีคะแนนดีเยี่ยม จึงโดดเรียนปริญญาเอกจนจบสาขาแพทย์ ได้ทำนายไว้ว่า  “ ...วันเวลาแห่งความศักดิ์สิทธิ์ของการสิ้นยุคเก่าและการมาถึงของยุคใหม่...กำลังจะเข้ามาปรากฏแก่สังคมโลกมนุษย์อยู่แล้ว ซึ่งคาดตามตรรกะจะเกิดขึ้นในช่วงระหว่าง 23 ปีข้างหน้านี้ คือระหว่างปี ค.ศ. 2000 ถึง ค.ศ.2023...” (หนังสือนอสตราดามุส โดย ศ.เจริญ วรรธนะสิน หน้า 363)  
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ผมปลดกระเป๋าหนังสะพายบ่า เปิดกระเป๋าหยิบเอกสารปึกใหญ่ออกมา ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับแผ่นดินไหว ดูท่านยิ้มเหมือนพึงพอใจ ชี้ไปที่เอกสารฉบับหนึ่งแล้วบอกว่า นั่นเป็นชื่อของท่านที่เขียนเรื่องนั้น ผมหัวเราะแก้เขินที่จุดไต้ตำตอ ถือโอกาสย้ำถาม “ ท่านชื่อคุณอดิศร ฟุ้งขจรหรือครับ ? ขอโทษผมไม่ทราบจริงๆครับ.” เราทั้งคู่หัวเราะและยิ้มให้กัน เราเริ่มคุ้นเคยกันในเวลาอันสั้น คงจะจริงนะ ที่ว่าการพบกันครั้งแรกเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง หากอัธยาศัยต้องกัน หรือที่พูดกันว่า ถูกชะตากัน ยิ่งคุยยิ่งสนุก มิตรภาพงอกงามรวดเร็ว…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  24 พฤษภาคม 2554
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เพลงที่ 11 ลืมไม่ได้เด็ดขาด ชื่อเพลง “ศรัทธา” ขับร้องโดยคุณโป่ง ปฐมพงษ์ สมบัติพิบูลย์ นักร้องนำวง หิน เหล็ก ไฟ ก่อนเปลี่ยนเป็นวง The Son ทราบว่าเพลงของวงนี้ เขาแต่งเนื้อร้องทำนองเองหมด คุณโป่งเป็นนักร้องร็อคระดับต้นแบบ หรือ Idol ของใครอีกมากมายที่เดินตามในถนนสายดนตรี เสียงมีพลัง มีความหนักแน่น เป็นเพลงประเภทให้กำลังใจต่อสู้ ให้มุมมองชีวิต ให้ความคิด เนื้อเพลงบางท่อนกลายเป็นวลีฮิตติดปากไปแล้ว เนื้อเพลงบางตอน              …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
      ผมฟังคุณศิริพรกล่าวเนื่องในวันเกิด ของผู้ชราหลายคนในวันนี้ ฟังแล้วจับใจไม่น้อย “ ...ถึงแม้บ้านวัยทองนิเวศน์ จะมีอาหารการกิน มีเครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้สอย แต่ที่ขาดเป็นด้านจิตใจ แม้จะไม่สามารถทดแทนครอบครัวเดิมของท่านได้ก็ตาม จะพยายามเติมเต็มส่วนที่ขาด ตามที่สามารถทำได้...” เมื่อพิธีกรงานวันเกิดกล่าวต่อจนจบแล้ว 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ใกล้เที่ยงในโรงอาหารมีคนพลุกพล่าน พินิจดูเป็นเด็กหนุ่มสาว อาจเป็นระดับอาชีวะ หรือมหาวิทยาลัยราวปี 1 , 2 มีโต๊ะยาววางถ้วยจานแก้วน้ำ หน้าโรงอาหาร มีเจ้าหน้าที่บริการ 2 คน ผมเดินไม่รู้ไม่ชี้มองหาเจ้าหน้าที่บ้านวัยทองนิเวศน์
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ผมเดินออกจากสำนักงาน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ผมบอกให้ลูกจอดรถ ที่ถนนทอดสู่ตัวอาคารสำนักงาน บอกให้แกพาแม่ไปเยี่ยมยายที่บ้านปง ที่อยู่ห่างจากที่นี่ราว 3 กิโลเมตรเศษ ประมาณ 11 โมงให้กลับมารับพ่อ ผมเดินเข้าไปหาเจ้าหน้าที่ในตัวอาคาร พบเจ้าหน้าที่หญิง เป็นคนที่เคยรู้จักกันมาก่อน เธอยกมือไหว้เมื่อเห็นหน้าผม เธอมีบ้านพักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านสันมหาพน หมู่บ้านนี้อยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนสันมหาพนวิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ฟากถนนทิศตะวันตก โรงเรียนนี้อยู่ห่างที่ว่าอำเภอไปทางทิศใต้ไม่ถึง 100 เมตร ผมเคยสอนโรงเรียนนี้นาน 12 ปี ผมบอกเธอว่า …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  วันนี้ขับรถกระบะสีเขียว รุ่น พ.ศ. 2537 ออกจากบ้านทุ่งแป้ง อำเภอสันป่าตองราว 8.00 น.เศษ มีจุดหมายปลายทางที่บ้านวัยทองนิเวศน์ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ คนนั่งซ้ายมือเป็นขาประจำ มีหน้าที่นั่งคุยเป็นเพื่อนไม่ให้คนขับรถง่วง บางเวลาก็นั่งเฝ้ารถกรณีผมเข้าห้องสมุดที่ต่างๆ คอยซื้ออาหารกลางวัน เครื่องดื่มบำรุงคนขับรถ เป็นฝ่ายสวัสดิการ บางทีทำเกินหน้าที่ กลายเป็นฝ่ายก่อความสงบภายในรถ สร้างความเครียดแก่คนขับแทนการผ่อนคลาย สาเหตุจากให้เฝ้ารถนานๆ เมื่อผมกลับจากค้นคว้าในห้องสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ปีนี้ พ.ศ.2554 จะยังมีกิจกรรมดำหัวผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่หรือไม่ ? หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น “ไทยนิวส์” ฉบับวันศุกร์ที่ 1 เมษายน 2554 ได้ลงข่าวหน้า 1 ว่า “ จัดดำหัวผู้ว่าฯสานประเพณี เปลี่ยนชื่องานใหม่ สระเกล้าฯป้อเมือง .” โดยมีเนื้อหาข่าวบางตอนดังนี้ครับ “เมื่อ 30 มีนาคม 2554 นายวรการ ยศยิ่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เผยว่า เพื่อให้การจัดกิจกรรมนี้เป็นการแสดงออกถึงความเป็นวัฒนธรรมประเพณีปีใหม่เมืองล้านนาของจังหวัดเชียงใหม่ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อกิจกรรมเป็นงาน สระเกล้าดำหัวป้อเมืองเจียงใหม่ …