Skip to main content
เมื่อถึงช่วงสงกรานต์

หน่วยงานที่รับผิดชอบจะปล่อยน้ำ ทำให้ระดับน้ำแม่ปิงสูงขึ้นเล็กน้อย เพื่อให้คนตักน้ำแม่ปิงไปรดน้ำได้สะดวก จุดศูนย์กลางเล่นน้ำสงกรานต์อยู่ที่ขัวเหล็ก (สะพานนวรัฐ) คนจะยืนข้างสะพานทั้งสองข้างเต็มไปหมด กลางขัวเหล็กนั้น คนเดินสวนกันไปมาหนาแน่น ใส่เสื้อม่อฮ่อมเป็นส่วนใหญ่ มือถือขัน กระป๋องน้ำ ปืนฉีดน้ำ บางคนใช้เชือกผูกกระป๋อง หย่อนจากสะพานลงตักน้ำแม่ปิงด้านล่างมารดกัน ด้านล่างของขัวเหล็ก จะเห็นคนนั่งแช่น้ำแม่ปิง สาดน้ำกัน ชายหนุ่มหญิงสาวยืนคุยกันด้วยท่าทีเปี่ยมไมตรีจิต ถ้อยคำพิเศษที่รับรู้เพียงสองคน บางแห่งก็ชกต่อยกันประปราย ที่เล่นน้ำขยายมาถึงถนนหน้าพุทธสถาน ตลอดถนนท่าแพ ถึงปลายทางที่ประตูท่าแพ แต่ปัจจุบันผู้คนเชียงใหม่เพิ่มมากขึ้น ที่เล่นน้ำค่อยๆ ขยายมารอบคูเมืองเชียงใหม่ มีตำรวจหลายคนยืนอยู่ตามสี่แยก บ้างก็เดินตรวจกัน 2-3 คน ใครถือคนโท ไม้ อื่นๆ ที่น่าจะเป็นอันตราย ตำรวจยึดหมด ป้องกันเหตุร้ายไว้ก่อน


 

เมื่อฤดูแล้งผ่านไป

ปริมาณน้ำปิงเพิ่มขึ้นและมีกระแสแรง จนขัวแตะถูกกระแสน้ำพัดพาไปจนหมด การข้ามฟากจากฝั่งวัดเกตุการาม ไปยังอีกฝั่งที่อยู่ใกล้ตลาดต้นลำไย ต้องใช้เรือ ซึ่งสามารถบรรทุกได้หลายคน เจ้าของเรือนั่งอยู่ที่ยกพื้นริมท่าเรือ ด้านฝั่งวัดเกตุฯ คอยเก็บเงินค่าโดยสารก่อนขึ้นเรือ คนละ 50 สตางค์ พอคนใกล้เต็มเรือ หรือได้เวลาพอสมควร คนถ่อเรือที่เป็นลูกจ้างก็ออกเรือ ใช้ไม้ถ่อที่ทำจากไม้ไผ่รวก ปักลงในน้ำตรงคอเรือ คนถ่อเรือยืนบนหัวเรือที่เชิดขึ้น หันหน้าไปท้ายเรือ จับปลายถ่อดันลงไปกับพื้นทราย ก้าวเท้าไปทางท้ายเรือจนเกือบสุดพื้นกระดานที่ปูเรียบ เรือก็พุ่งออกไป โดยต้องบังคับเรือพุ่งทวนกระแสน้ำขึ้นไปทางทิศเหนือ ให้หัวเรือเฉียงเข้าหาท่าเรืออีกฝั่งหนึ่ง เมื่อใกล้ถึงฝั่งก็ผ่อนแรงถ่อเรือ กระแสน้ำจะพัดเรือมาอยู่ตำแหน่งหันข้างเข้าหาท่าเรือ คนถ่อเรือใช้ปลายถ่อกดพื้นทรายไว้ โดยลำไม้ถ่ออยู่ตรงคอเรือพอดี ซึ่งต้องใช้ความชำนาญมาก ผู้โดยสารฝั่งตลาดต้นลำไยก็ทยอยขึ้นเรือ เรือก็ถ่อกลับมาฝั่งต้นทาง จ่ายเงินค่าโดยสารตรงนี้ ถ้าฤดูน้ำนองหรือน้ำหลากคงต้องงดบริการ

  

 

ย่างเข้าฤดูน้ำนอง

หรือน้ำหลาก น้ำแม่ปิงเปี่ยมฝั่ง ผิวน้ำมองดูไหลแรงกว่าปรกติ ถนนวิชยานนท์ยังราดยาง ตลิ่งน้ำแม่ปิงยังเป็นไม้ซุงปักเรียงกัน ระดับพื้นดินต่ำกว่าปัจจุบันมาก เมื่อน้ำปิงล้นฝั่ง ก็ไหลข้ามถนนวิชยานนท์ มุ่งสู่หมู่บ้านข้างฝั่ง ไหลเข้าซอย เข้าบ้านคน ข้ามถนนราชวงค์ ลงสู่บ้านเรือนผู้คนอย่างรวดเร็ว น้ำขุ่นเหลืองไหลลงปากซอย 3 ถนนราชวงค์ มันไหลมากระทบหลังเท้าผม ที่กำลังเดินไปซื้อน้ำมันหมูที่ร้านปากซอยให้แม่ ผิวถนนราชวงค์ทั้งสายเหมือนเคลือบด้วยน้ำเชื่อม น้ำไหลแรงขึ้นอีก ระดับน้ำสูงกว่าเดิม ได้ยินเสียงซ่าของมันยามไหลปะทะสิ่งที่ขวางหน้า ซื้อของได้ผมรีบเดินกลับบ้าน ตื่นเต้นปนดีใจตามประสาเด็ก จะได้ว่ายน้ำเล่น ได้เล่นเรือ น้ำแม่ข่าก็ล้นฝั่งรออยู่แล้ว แล้วแม่น้ำสองสายก็ได้พบกัน หลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกัน ราวสองชั่วโมงเศษ น้ำก็เข้าครอบครองพื้นที่จนหมด ไม่น่าเชื่อ ก่อนนี้บ้านยังอยู่บนดิน บัดนี้ ทุกหลังอยู่บนน้ำ ปลากด ปลาตระกูลปลาตะเพียนจากแม่น้ำปิงก็ถูกถ่ายเทลงสู่น้ำแม่ข่า น้ำจะท่วมนานราว 2-3 วันเท่านั้น ถ้าไม่มีไต้ฝุ่นเสริมเข้ามา น้ำก็จะลดลง น้ำท่วมจะช่วยชำระล้างน้ำแม่ข่า ให้สะอาดขึ้นทุกๆ ปี นับเป็นวิธีของธรรมชาติที่ช่วยให้สมดุลอย่างวิเศษ ดูจะตรงกับคำกล่าวที่ว่า "น้ำดีไล่น้ำเสีย" กระมัง.

 

 

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    นอสตราดามุส (ค.ศ. 1502-1566) เป็นชาวฝรั่งเศสเชื้อสายยิว เรียนจบปริญญาตรีคะแนนดีเยี่ยม จึงโดดเรียนปริญญาเอกจนจบสาขาแพทย์ ได้ทำนายไว้ว่า  “ ...วันเวลาแห่งความศักดิ์สิทธิ์ของการสิ้นยุคเก่าและการมาถึงของยุคใหม่...กำลังจะเข้ามาปรากฏแก่สังคมโลกมนุษย์อยู่แล้ว ซึ่งคาดตามตรรกะจะเกิดขึ้นในช่วงระหว่าง 23 ปีข้างหน้านี้ คือระหว่างปี ค.ศ. 2000 ถึง ค.ศ.2023...” (หนังสือนอสตราดามุส โดย ศ.เจริญ วรรธนะสิน หน้า 363)  
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ผมปลดกระเป๋าหนังสะพายบ่า เปิดกระเป๋าหยิบเอกสารปึกใหญ่ออกมา ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับแผ่นดินไหว ดูท่านยิ้มเหมือนพึงพอใจ ชี้ไปที่เอกสารฉบับหนึ่งแล้วบอกว่า นั่นเป็นชื่อของท่านที่เขียนเรื่องนั้น ผมหัวเราะแก้เขินที่จุดไต้ตำตอ ถือโอกาสย้ำถาม “ ท่านชื่อคุณอดิศร ฟุ้งขจรหรือครับ ? ขอโทษผมไม่ทราบจริงๆครับ.” เราทั้งคู่หัวเราะและยิ้มให้กัน เราเริ่มคุ้นเคยกันในเวลาอันสั้น คงจะจริงนะ ที่ว่าการพบกันครั้งแรกเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง หากอัธยาศัยต้องกัน หรือที่พูดกันว่า ถูกชะตากัน ยิ่งคุยยิ่งสนุก มิตรภาพงอกงามรวดเร็ว…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  24 พฤษภาคม 2554
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เพลงที่ 11 ลืมไม่ได้เด็ดขาด ชื่อเพลง “ศรัทธา” ขับร้องโดยคุณโป่ง ปฐมพงษ์ สมบัติพิบูลย์ นักร้องนำวง หิน เหล็ก ไฟ ก่อนเปลี่ยนเป็นวง The Son ทราบว่าเพลงของวงนี้ เขาแต่งเนื้อร้องทำนองเองหมด คุณโป่งเป็นนักร้องร็อคระดับต้นแบบ หรือ Idol ของใครอีกมากมายที่เดินตามในถนนสายดนตรี เสียงมีพลัง มีความหนักแน่น เป็นเพลงประเภทให้กำลังใจต่อสู้ ให้มุมมองชีวิต ให้ความคิด เนื้อเพลงบางท่อนกลายเป็นวลีฮิตติดปากไปแล้ว เนื้อเพลงบางตอน              …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
      ผมฟังคุณศิริพรกล่าวเนื่องในวันเกิด ของผู้ชราหลายคนในวันนี้ ฟังแล้วจับใจไม่น้อย “ ...ถึงแม้บ้านวัยทองนิเวศน์ จะมีอาหารการกิน มีเครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้สอย แต่ที่ขาดเป็นด้านจิตใจ แม้จะไม่สามารถทดแทนครอบครัวเดิมของท่านได้ก็ตาม จะพยายามเติมเต็มส่วนที่ขาด ตามที่สามารถทำได้...” เมื่อพิธีกรงานวันเกิดกล่าวต่อจนจบแล้ว 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ใกล้เที่ยงในโรงอาหารมีคนพลุกพล่าน พินิจดูเป็นเด็กหนุ่มสาว อาจเป็นระดับอาชีวะ หรือมหาวิทยาลัยราวปี 1 , 2 มีโต๊ะยาววางถ้วยจานแก้วน้ำ หน้าโรงอาหาร มีเจ้าหน้าที่บริการ 2 คน ผมเดินไม่รู้ไม่ชี้มองหาเจ้าหน้าที่บ้านวัยทองนิเวศน์
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ผมเดินออกจากสำนักงาน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ผมบอกให้ลูกจอดรถ ที่ถนนทอดสู่ตัวอาคารสำนักงาน บอกให้แกพาแม่ไปเยี่ยมยายที่บ้านปง ที่อยู่ห่างจากที่นี่ราว 3 กิโลเมตรเศษ ประมาณ 11 โมงให้กลับมารับพ่อ ผมเดินเข้าไปหาเจ้าหน้าที่ในตัวอาคาร พบเจ้าหน้าที่หญิง เป็นคนที่เคยรู้จักกันมาก่อน เธอยกมือไหว้เมื่อเห็นหน้าผม เธอมีบ้านพักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านสันมหาพน หมู่บ้านนี้อยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนสันมหาพนวิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ฟากถนนทิศตะวันตก โรงเรียนนี้อยู่ห่างที่ว่าอำเภอไปทางทิศใต้ไม่ถึง 100 เมตร ผมเคยสอนโรงเรียนนี้นาน 12 ปี ผมบอกเธอว่า …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  วันนี้ขับรถกระบะสีเขียว รุ่น พ.ศ. 2537 ออกจากบ้านทุ่งแป้ง อำเภอสันป่าตองราว 8.00 น.เศษ มีจุดหมายปลายทางที่บ้านวัยทองนิเวศน์ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ คนนั่งซ้ายมือเป็นขาประจำ มีหน้าที่นั่งคุยเป็นเพื่อนไม่ให้คนขับรถง่วง บางเวลาก็นั่งเฝ้ารถกรณีผมเข้าห้องสมุดที่ต่างๆ คอยซื้ออาหารกลางวัน เครื่องดื่มบำรุงคนขับรถ เป็นฝ่ายสวัสดิการ บางทีทำเกินหน้าที่ กลายเป็นฝ่ายก่อความสงบภายในรถ สร้างความเครียดแก่คนขับแทนการผ่อนคลาย สาเหตุจากให้เฝ้ารถนานๆ เมื่อผมกลับจากค้นคว้าในห้องสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ปีนี้ พ.ศ.2554 จะยังมีกิจกรรมดำหัวผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่หรือไม่ ? หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น “ไทยนิวส์” ฉบับวันศุกร์ที่ 1 เมษายน 2554 ได้ลงข่าวหน้า 1 ว่า “ จัดดำหัวผู้ว่าฯสานประเพณี เปลี่ยนชื่องานใหม่ สระเกล้าฯป้อเมือง .” โดยมีเนื้อหาข่าวบางตอนดังนี้ครับ “เมื่อ 30 มีนาคม 2554 นายวรการ ยศยิ่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เผยว่า เพื่อให้การจัดกิจกรรมนี้เป็นการแสดงออกถึงความเป็นวัฒนธรรมประเพณีปีใหม่เมืองล้านนาของจังหวัดเชียงใหม่ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อกิจกรรมเป็นงาน สระเกล้าดำหัวป้อเมืองเจียงใหม่ …