Skip to main content

  

เป็นการป้องกัน

วัวควายตกลงมาขณะรถวิ่ง พื้นที่ส่วนนี้ประมาณ 3 ไร่ ใกล้กันนั้นมีสุ่มไก่วางเต็มลานดิน บางคนอุ้มไก่ บางสุ่มมีไก่ขังไว้ ที่นี่เป็นตลาดไก่ชน มีหลายราคาแล้วแต่จะตกลงกัน เมื่อชมจนพอใจก็เดินขึ้นทางทิศเหนือแล้วเลี้ยวขวา จะพบสถานที่ขายรถจักรยานยนต์ จอดเต็มพื้นที่ราดคอนกรีต หลังคาสูง ประมาณสี่คูหา ที่ติดกันเป็นร้านขายรถจักรยานอีก 1 คูหา มีคนสนใจมากพอๆกับรถที่จอดรอซื้อขาย

\\/--break--\>

ผมได้ไปพบ

แม่ครู "บัวผิน ลอมศรี" ผู้เป็นเจ้าของกาดงัวอำเภอสันป่าตอง(ตลาดนัดทุ่งฟ้าบด) ที่บ้านหลังสวยหลังตลาด ท่านอายุปัจจุบัน 72 ปี การแต่งตัวและแต่งหน้าช่วยให้ดูสวยสมวัย ได้ให้การต้อนรับอย่างดี ที่ศาลาทรงไทยหลังงาม ซึ่งใช้ต้อนรับแขก โดยเล่าว่า

 

กาดงัวได้เริ่มจัดตั้งขึ้น ในปี พ.ศ. 2502 โดยนายสม ลอมศรี ได้ประกาศให้พ่อค้าแม่ค้า มาค้าขายในตลาดนี้ ได้ใช้วิธีจ้างลิเก ซอ มาแสดงเพื่อดึงดูดคน เมื่อพ่อค้าแม่ค้าประชาชนมาซื้อสินค้ามากขึ้นเรื่อยๆเป็นประจำ ทางเจ้าของตลาดจึงเลิกนำมหรสพมาเล่นต่อไป ในปี พ.ศ. 2502-2504 มีพ่อค้าแม่ค้ามาขายของน้อยลงมาก จึงปิดตลาดในปี พ.ศ. 2505-2506 สาเหตุที่ปิดตลาดก็เพราะ มีผู้ต้องการเปิดตลาดพื้นที่ใกล้กัน และตำรวจยังมาจับแม่ค้าพ่อค้าที่ขับขี่รถผิดกฎหมาย รวมทั้งจับพ่อค้าวัวควายที่ไม่มีตั๋วพิมพ์(ตั๋วรูปพรรณ) มีเนื้อที่ทั้งหมด 14 ไร่ ใช้เป็นตลาด 8 ไร่ เก็บค่าเช่าแผงละ 2-100 บาท พื้นที่ตลาดในปัจจุบันนี้ แม่ครูบัวผินได้เป็นผู้ดำเนินการครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งแบ่งให้น้องสาวดูแล โดยใช้ถนนคอนกรีตหน้าบ้านแม่ครู เป็นเส้นแบ่งพื้นที่ตลาด

 

ทุกวันเสาร์

ตั้งแต่เช้าจนถึงเที่ยง มีคนมาเที่ยวตลาดกันมากมาย มีจราจร 3 นาย อำนวยความสะดวกด้านจราจร การพาคนข้ามถนน โดยในตอนเช้าก่อนตลาดเปิด เจ้าหน้าที่ตำรวจจะนำกรวยสีส้มมาวางกลางถนนเป็นระยะ รถมาถึงหน้าตลาด จะวิ่งช้าตามกันมาเป็นแถว ราว 11 นาฬิกาผู้คนจะเริ่มซาลง พ่อค้าแม่ค้าเริ่มเก็บของ กาดงัวจึงเป็นเสมือนที่เดินเที่ยวของทุกเพศวัย เด็กสาวเดินสวมกางเกงขาสั้นตามกันเป็นกลุ่ม ทรงผมเป็นแบบรวบผมไว้ท้ายทอยรูปหางม้า ข้างหน้าหวีผมตรงหน้าผากยาวปัดเฉียง มือถือแก้วบรรจุชามุก ดูดกินอย่างสบายอารมณ์ขณะเดิน แดดร้อนเพียงไร ไม่มีความกังวลสำหรับวัยรุ่นหนุ่มสาว เดินมาด้วยกัน 5 คน อย่างน้อยจะยกมือถือแนบหู คุยโทรศัพท์ไปด้วย ข้ามถนนก็ยังคุยไม่หยุด เป็นพฤติกรรมของวัยรุ่น และคนในยุคสมัยนี้ ผู้อยู่ในวัยมีครอบคัวก็ซื้อของใช้ ของกิน ต้นไม้ ถือของพะรุงพะรุงในมือ

 

ห้างสรรพสินค้าดังๆ

ตั้งแต่เชียงใหม่ เรียงเรื่อยไปตามถนนหางดง สู่เส้นทางสายเชียงใหม่-สันป่าตอง บางห้างใช้ยุทธวิธีจัดตลาดนัด 1 วันหน้าห้าง สินค้าเหมือนยกแผงมาจากถนนคนเดินในวันอาทิตย์ที่เชียงใหม่ มาวางไว้หน้าห้าง มีเสื้อผ้า ของกินคนเมือง เครื่องตกแต่งบ้าน ฯลฯ ทำให้นึกถึงร้านขายของชำหรือโชห่วย ที่ถูกรุกรานโดยร้านสรรพสินค้า ตลาดนัดสันป่าตอง(กาดงัว)เป็นตลาดแห่งเดียวขณะนี้ ที่มีเอกลักษณ์ขายวัวควาย ขายไก่ชน ขายรถจักรยานยนต์และรถจักรยาน(รถถีบ) บางคนเรียกว่า "ตลาดมีชีวิต"

 

หวั่นใจ

จะถูกกลยุทธทางการค้าของยักษ์ใหญ่ เข้ามาบดเบียดกาดงัว เพราะหลักการธุรกิจ จะต้องเพิ่มขนาดกิจการ เพิ่มทุน และเพิ่มกำไร ขยายตัวไม่มีสิ้นสุด.

 

 

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    นอสตราดามุส (ค.ศ. 1502-1566) เป็นชาวฝรั่งเศสเชื้อสายยิว เรียนจบปริญญาตรีคะแนนดีเยี่ยม จึงโดดเรียนปริญญาเอกจนจบสาขาแพทย์ ได้ทำนายไว้ว่า  “ ...วันเวลาแห่งความศักดิ์สิทธิ์ของการสิ้นยุคเก่าและการมาถึงของยุคใหม่...กำลังจะเข้ามาปรากฏแก่สังคมโลกมนุษย์อยู่แล้ว ซึ่งคาดตามตรรกะจะเกิดขึ้นในช่วงระหว่าง 23 ปีข้างหน้านี้ คือระหว่างปี ค.ศ. 2000 ถึง ค.ศ.2023...” (หนังสือนอสตราดามุส โดย ศ.เจริญ วรรธนะสิน หน้า 363)  
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ผมปลดกระเป๋าหนังสะพายบ่า เปิดกระเป๋าหยิบเอกสารปึกใหญ่ออกมา ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับแผ่นดินไหว ดูท่านยิ้มเหมือนพึงพอใจ ชี้ไปที่เอกสารฉบับหนึ่งแล้วบอกว่า นั่นเป็นชื่อของท่านที่เขียนเรื่องนั้น ผมหัวเราะแก้เขินที่จุดไต้ตำตอ ถือโอกาสย้ำถาม “ ท่านชื่อคุณอดิศร ฟุ้งขจรหรือครับ ? ขอโทษผมไม่ทราบจริงๆครับ.” เราทั้งคู่หัวเราะและยิ้มให้กัน เราเริ่มคุ้นเคยกันในเวลาอันสั้น คงจะจริงนะ ที่ว่าการพบกันครั้งแรกเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง หากอัธยาศัยต้องกัน หรือที่พูดกันว่า ถูกชะตากัน ยิ่งคุยยิ่งสนุก มิตรภาพงอกงามรวดเร็ว…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  24 พฤษภาคม 2554
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เพลงที่ 11 ลืมไม่ได้เด็ดขาด ชื่อเพลง “ศรัทธา” ขับร้องโดยคุณโป่ง ปฐมพงษ์ สมบัติพิบูลย์ นักร้องนำวง หิน เหล็ก ไฟ ก่อนเปลี่ยนเป็นวง The Son ทราบว่าเพลงของวงนี้ เขาแต่งเนื้อร้องทำนองเองหมด คุณโป่งเป็นนักร้องร็อคระดับต้นแบบ หรือ Idol ของใครอีกมากมายที่เดินตามในถนนสายดนตรี เสียงมีพลัง มีความหนักแน่น เป็นเพลงประเภทให้กำลังใจต่อสู้ ให้มุมมองชีวิต ให้ความคิด เนื้อเพลงบางท่อนกลายเป็นวลีฮิตติดปากไปแล้ว เนื้อเพลงบางตอน              …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
      ผมฟังคุณศิริพรกล่าวเนื่องในวันเกิด ของผู้ชราหลายคนในวันนี้ ฟังแล้วจับใจไม่น้อย “ ...ถึงแม้บ้านวัยทองนิเวศน์ จะมีอาหารการกิน มีเครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้สอย แต่ที่ขาดเป็นด้านจิตใจ แม้จะไม่สามารถทดแทนครอบครัวเดิมของท่านได้ก็ตาม จะพยายามเติมเต็มส่วนที่ขาด ตามที่สามารถทำได้...” เมื่อพิธีกรงานวันเกิดกล่าวต่อจนจบแล้ว 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ใกล้เที่ยงในโรงอาหารมีคนพลุกพล่าน พินิจดูเป็นเด็กหนุ่มสาว อาจเป็นระดับอาชีวะ หรือมหาวิทยาลัยราวปี 1 , 2 มีโต๊ะยาววางถ้วยจานแก้วน้ำ หน้าโรงอาหาร มีเจ้าหน้าที่บริการ 2 คน ผมเดินไม่รู้ไม่ชี้มองหาเจ้าหน้าที่บ้านวัยทองนิเวศน์
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ผมเดินออกจากสำนักงาน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ผมบอกให้ลูกจอดรถ ที่ถนนทอดสู่ตัวอาคารสำนักงาน บอกให้แกพาแม่ไปเยี่ยมยายที่บ้านปง ที่อยู่ห่างจากที่นี่ราว 3 กิโลเมตรเศษ ประมาณ 11 โมงให้กลับมารับพ่อ ผมเดินเข้าไปหาเจ้าหน้าที่ในตัวอาคาร พบเจ้าหน้าที่หญิง เป็นคนที่เคยรู้จักกันมาก่อน เธอยกมือไหว้เมื่อเห็นหน้าผม เธอมีบ้านพักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านสันมหาพน หมู่บ้านนี้อยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนสันมหาพนวิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ฟากถนนทิศตะวันตก โรงเรียนนี้อยู่ห่างที่ว่าอำเภอไปทางทิศใต้ไม่ถึง 100 เมตร ผมเคยสอนโรงเรียนนี้นาน 12 ปี ผมบอกเธอว่า …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  วันนี้ขับรถกระบะสีเขียว รุ่น พ.ศ. 2537 ออกจากบ้านทุ่งแป้ง อำเภอสันป่าตองราว 8.00 น.เศษ มีจุดหมายปลายทางที่บ้านวัยทองนิเวศน์ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ คนนั่งซ้ายมือเป็นขาประจำ มีหน้าที่นั่งคุยเป็นเพื่อนไม่ให้คนขับรถง่วง บางเวลาก็นั่งเฝ้ารถกรณีผมเข้าห้องสมุดที่ต่างๆ คอยซื้ออาหารกลางวัน เครื่องดื่มบำรุงคนขับรถ เป็นฝ่ายสวัสดิการ บางทีทำเกินหน้าที่ กลายเป็นฝ่ายก่อความสงบภายในรถ สร้างความเครียดแก่คนขับแทนการผ่อนคลาย สาเหตุจากให้เฝ้ารถนานๆ เมื่อผมกลับจากค้นคว้าในห้องสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ปีนี้ พ.ศ.2554 จะยังมีกิจกรรมดำหัวผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่หรือไม่ ? หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น “ไทยนิวส์” ฉบับวันศุกร์ที่ 1 เมษายน 2554 ได้ลงข่าวหน้า 1 ว่า “ จัดดำหัวผู้ว่าฯสานประเพณี เปลี่ยนชื่องานใหม่ สระเกล้าฯป้อเมือง .” โดยมีเนื้อหาข่าวบางตอนดังนี้ครับ “เมื่อ 30 มีนาคม 2554 นายวรการ ยศยิ่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เผยว่า เพื่อให้การจัดกิจกรรมนี้เป็นการแสดงออกถึงความเป็นวัฒนธรรมประเพณีปีใหม่เมืองล้านนาของจังหวัดเชียงใหม่ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อกิจกรรมเป็นงาน สระเกล้าดำหัวป้อเมืองเจียงใหม่ …