Skip to main content

 

เสียงปี่ผสมเสียงซึงดังขึ้น 
รับกับเสียงผู้ขับซอ   เสียงปีและซึงผสมกลมกลืนมีทั้งหวานแหลมและนุ่มนวล   ก่อเกิดบรรยากาศความเป็นชาวเหนือขึ้นมาทันที   ผู้ขับซอชายนั่งขัดสมาธิ มือถือไมโครโฟนไร้สาย ผู้หญิงนั่งพับเพียบเคียงกัน หันหน้าอวดผู้ชม   ยามผู้ชายขับซอ   ผู้หญิงเอียงตัวไปมา มือไม้ขยับรับเสียงดนตรี   ทำนองดนตรีนั้นเนาวรัตน์ฟังไม่ออก เป็นเพลงอะไร สมัยเด็กๆเขาเข้าใจว่า คนเป่าปี่และคนดีดซึง คงเล่นเพลงเดียวตลอดงาน เพราะฟังทีไรก็เหมือนเดิมทุกที วันนี้เนาวรัตน์ได้ชมการขับซอเป็นครั้งแรกด้วยวัยที่สูงขึ้น เนื้อหาการขับซอ คล้ายเป็นคำพูดภาษาเหนือที่ใส่ทำนองเข้าไป มีคำคล้องจองสัมผัสกัน กล่าวถึงความดีของการบวช พูดถึงวัฒนธรรม ประเพณี เรื่องเพศ ที่น่าสังเกตผู้ขับซอหญิง เสียงจะแหลมสูงมาก   คำร้องชัดเจน เสียงไม่มีตก 

เอ่ยถึงเรื่องนี้ ทำให้เนาวรัตน์อดนึกถึงการเดินทาง ไปพูดคุยกับผู้ขับซออาวุโส ผู้เป็นต้นแบบการขับซอพื้นเมือง ชื่อคุณแม่จันทร์สม สายธารา เมื่อวันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม 2553  ที่บ้านเลขที่ 99 หมู่ 2 ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ การพูดคุยเริ่มขึ้นหลังจากเนาวรัตน์ยกมือไหว้และแนะนำตัว ตอนแรกเขาจะนั่งที่เสื่อ
   ส่วนแม่จันทร์สมนั่งบนเก้าอี้นวม   มีพัดลมชนิดตั้งวางพื้นเป่าระบายความร้อน   ท่านไม่ยอมบอกให้ขึ้นมานั่งด้วยกัน ทั้งสองพูดคุยกันที่หน้าบ้านนั่นเอง ส่วนภรรยาเนาวรัตน์นั่งพับเพียบที่เสื่อตรงพื้นหน้าบ้าน หน้าแม่จันทร์สม ก็เหมาะสมดีสำหรับผู้หญิง

“ แม่ครับ   ผมสนใจเรื่องซอพื้นเมือง อยากมาหาความรู้กับแม่ แม่เป็นศิลปินแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2539 ใช่ไหมครับ ?
“ ใช่ !   แม่ได้ศิลปินแห่งชาติ ปี 2539   ได้หลังครูคำผาย นุปิง
“ ผมค้นจากอินเตอร์เน็ต ทราบว่า พ่อครูคำผาย นุปิง ได้ศิลปินแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2538 ก่อนแม่ครูจันทร์สมปีหนึ่ง ใช่ไหมครับ ?”
“ ใช่ๆ !   พ่อครูคำผายบอกแม่ว่า เปิ้นได้ศิลปินแห่งชาติก่อน ต่อไปแม่ก็จะได้ศิลปินแห่งชาติ ประเภทเพลงพื้นบ้าน-ขับซอ เพราะเปิ้นจะให้เป็นคู่   เรา 2 คนเป็น “คู่ถ้อง”กัน

“ เอ่อ ! แม่ครับ “คู่ถ้อง” เป็นยังไงครับ ?”
“ หมายถึง   เราซอคู่กัน โต้ตอบกันไปมา ระหว่างแม่กับพ่อครูคำผาย...ศิลปินแห่งชาติประเภทขับซอ   เขาจะให้รางวัลทั้งสองคน ถ้าไม่มีคู่ถ้องที่เล่นด้วยกันนานๆ จะไม่ได้รับรางวัลนี้
“ ขอโทษครับแม่ ปัจจุบันแม่อายุเท่าไรครับ ?”
“ แม่อายุได้ 78 ปีแล้ว   เกิดวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2475  แม่เป็นคนเชียงใหม่โดยกำเนิด.”
“ เดี๋ยวนี้   แม่รับใครเป็นลูกศิษย์ สอนการขับซอให้บ้างครับ ?
“ เดี๋ยวนี้ แม่เลิกสอนแล้ว กรรมการที่ตัดสินศิลปินแห่งชาติบอกแม่ว่า   พักผ่อนได้แล้ว ใครอยากเรียนซอ   ให้ไปเรียนกับลูกศิษย์แม่ก็แล้วกัน.
“ หมายความว่า   แม่มีลูกศิษย์หลายรุ่น   หลายคน   ทั้งหมดสักกี่คนครับ ?
“ มีหลายรุ่น   มีทั้งหมด 30 กว่าคน   มีชื่อเสียงกันหมดแล้ว เช่น   ไอ้เก๋า   อีต่อม.
“ สองคนหลังนี้ดังนะครับแม่ ผมได้ยินชื่อเสมอมา…เอ้อ ! แม่ครับ ในความเห็นของแม่ แม่จะให้ลูกหลานรุ่นต่อไป ได้สืบสานอนุรักษ์การขับซอ ให้อยู่คู่คนเหนืออย่างไร?
“ แม่จัดรายการวิทยุ “มรดกเมืองเมืองเหนือ” ที่สถานีวิทยุ สื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทุกวันพุธ เป็นการอนุรักษ์ศิลปะพื้นบ้าน อย่างซอพื้นเมืองไว้.
 
 

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 ถนอมรัก เดือนเต็มดวง ราวปี พ.ศ.2506พอย่างเข้าเดือนสิงหาคมกลางฤดูฝน ฝนเริ่มตกหนัก 3-4 วันติดต่อกัน ย่าบอกว่าวิทยุข้างบ้านประกาศ มีไต้ฝุ่นเข้าเมืองไทย ฝนจึงตกมากกว่าปรกติ ฝนยามนั้นจะตกปรอยๆซึมไปเกือบตลอดวัน ฟ้ามืดมัวด้วยเมฆฝน ไม่มีการเห็นแสงเดือนแสงตะวันกันเลย แล้วจะมีฝนตกหนักนานเกินครึ่งชั่วโมงเข้ามาสลับเป็นพักๆ เท่าที่จำได้นานเป็นวันก็เคยมี ใครซักผ้าก็ชื้นอับอยู่อย่างนั้น พื้นดินบริเวณบ้านผมเปียกแฉะไปหมด ต้นไม้ใบหญ้าเปียกโชกชุ่มอิ่มน้ำ น้ำฝนที่ตกลงมาส่งผลให้ระดับน้ำในน้ำแม่ปิงสูงขึ้นรวดเร็ว ชาวเชียงใหม่สัญจรไปมาต่างกวาดตาดูน้ำแม่ปิง สายน้ำสายหลักที่ผูกพันชาวนครพิงค์เนิ่นนาน…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
กรณีมีกลุ่มบุคคลที่ตรงข้ามรัฐบาลคัดค้านขัดขวางธนาคารออมสินปล่อยเงินกู้ให้ ธกส.(ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร) เพื่อจะได้นำไปจ่ายให้ชาวนา ตามโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร(19 ก.พ.57)
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง