คู่แรกซอจบลง
คณะซอได้หยุดพักครู่หนึ่ง ผู้ขับซอคู่ที่ 2 ก้าวขึ้นเวที นั่งเคียงกันหน้าเวที คะเนอายุอ่อนกว่าคู่แรกแน่นอน คงราว 30 ปีต้นๆทั้งคู่ เสียงขับซอไม่ต่างจากคู่แรกมากนัก มีความไพเราะ มีคำสัมผัส ใกล้เคียงคู่แรก ผู้ขับซอฝ่ายหญิง รวบผมไว้ด้านหลังเป็นพวงเหนือท้ายทอย ด้านหน้าหวีผมดำสนิทปาดเฉียง ซ้ายไปขวา เป็นทรงผมที่นิยมมากในเวลานี้ จี้หูเป็นห่วงโลหะขาววาวคล้ายเส้นลวด ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางราว 2 นิ้ว มันแกว่งไกวทุกครั้ง ที่เธอหันหน้าไปมาขณะซอโต้ตอบ บางตอนเธอยืนขึ้น แสดงอารมณ์หมั่นไส้ฝ่ายชาย กระโปรงสั้นสีดำเหนือเข่า เผยให้เห็นน่องอวบสวย เสื้อสีม่วงแขนสั้นไร้ปก ขับแขนเพรียวขาว จัดว่าเป็นคนสวยคนหนึ่งทีเดียว เธอบอกชื่อตามบทซอที่ขับขานว่าชื่อ “ผ่องพรรณ” ส่วนฝ่ายชายชื่อ “ก้าน” ผิวคล้ำหน้าทะเล้นสนุกสนาน สวมเสื้อแขนยาวสีขาว พับที่ต้นแขน กางเกงขายาวสีเทาปนดำ สวมถุงเท้าสีดำ
ทั้งคู่ซอสักพักหนึ่ง
คู่แรกก็ขึ้นมาซอต่อในช่วงเย็น
การขับซอจะเปลี่ยนไปมาระหว่างชายกับหญิง มีการหยุดซอเป็นช่วงๆ ขณะหยุดจะมีการพูดโต้ตอบกัน แทรกตลกแทรกเรื่องเพศ เป็นการพักเหนื่อยผู้เล่นปี่และซึงไปด้วย สักพักเสียงปี่เสียงซอจะค่อยๆดังขึ้นอีก เป็นการรู้กันระหว่างผู้ขับซอกับนักดนตรีว่า จะมีการขับซอต่อไป ขณะซอถ้ามีคำซอใดถูกใจคนฟัง จะได้ยินเสียงดังชอบใจ “...ฮา...หิ้ว !” เป็นพักๆ การขับซอจะใช้เวลานาน ยิ่งเวลาผ่านไป รสชาติการซอจะเข้มข้นดุเดือดเร้าอารมณ์คนฟังตามลำดับ ผู้ซอทั้งชายหญิงจะปล่อยที่เด็ด ยามตะวันรอนอ่อนแสง ออกท่าทางเพิ่มสีสันเข้าไปเต็มที่ โต้ตอบคารมกันเหมือนโกรธกันจริงๆ ข้างล่างเวทีไม่น้อยหน้า มีผู้ที่ร่ำสุราได้ที่ชกต่อยกัน ไม่ใช่ใครที่ เพื่อนสนิทสูงวัยที่ยืนเอียงไปเอียงมาใกล้กัน เพิ่งไปเติมน้ำเมามาด้วยกัน สาเหตุเพียงพูดขัดกันเล็กน้อย ลูกหลานทั้งสองฝ่ายรีบแยกตัวพากลับบ้าน มักจะมีเสมอถ้ามีการซอ บ้างว่าเป็นของคู่กัน บ้างว่าเป็นสีสันของงาน เนาวรัตน์กวาดตาดูคนข้างเคียง ดูคนรอบๆผามซอ เห็นลุงแสวงนั่งอมยิ้มข้างกำแพงวัด เห็นป้าสมนั่งถัดไป แม่จันทร์สมนั่งสวมแว่น มองไปยังผู้ขับซออย่างสนใจยิ่ง ไม่เห็นเพื่อนรุ่นเดียวกัน ที่มักไปไหนด้วยกันอย่างเคย อ๋อ...เนาวรัตน์รู้แล้ว แม่สาเพื่อนบ้านคนสนิทวัย 70 กว่า ที่เคยนั่งฟังซอคราวปอยหลวงฉลองโบสถ์คราก่อน ได้ลาโลกไปก่อนแล้ว แม่คำเพื่อนสนิทอีกคน นอนป่วยเป็นอัมพฤกษ์ ไปไหนไม่ได้
เด็กประถมในหมู่บ้าน
ทั้งชายหญิงจำนวน 5-6 คน ปั่นรถถีบผ่านผามซอ ล้อรถถีบหมุนไปข้างหน้าช้าๆ เคลื่อนไปตามถนนรอบหมู่บ้านที่เป็นวงกลม เด็กมัธยม 3-4 คนยืนข้างรถจักรยานยนต์ คุยกันห่างออกไปที่มุมถนน บางรายยืนคุยโทรศัพท์มือถือ ยกมือไม้ประกอบเหมือนคู่สนทนาอยู่ตรงหน้า ผู้ฟังซอเป็นผู้ใหญ่เพศหญิงมากกว่าชาย วัยกลางคนถึงผู้สูงอายุ ตะวันคล้อยผ่านต้นไม้หน้าวัด แสงแดดที่ร้อนจัดค่อยถูกบดบังด้วยกอไผ่ริมน้ำแม่ขาน การขับซอยิ่งเข้มข้นมากขึ้น คู่ซอมีอะไรงัดออกมาเล่นแบบไว้ลาย กะให้ผู้ฟังบ้านทุ่งแป้งกล่าวขานถึงนานแสนนาน ที่สุดการขับซอก็จบลง แต่ตอนท้ายซึ่งเป็นตอนสำคัญยิ่งของคู่ถ้องมาถึง เป็นช่วงคู่ซอทั้ง 4 คน จะนั่งซอออดอ้อนขอรางวัลจากเจ้าภาพ รางวัลที่คณะซอต้องการหมายถึงเงิน ทั้ง 4 คนจะเปลี่ยนกันขับซอ ออดอ้อนขอเงินอย่างสุดฝีปาก ใช้ลูกยอ ยกย่องให้เกียรติ เอ่ยชื่อผู้ใหญ่บ้านก่อนเป็นหมายเลข 1 .
บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
นอสตราดามุส (ค.ศ. 1502-1566)
เป็นชาวฝรั่งเศสเชื้อสายยิว เรียนจบปริญญาตรีคะแนนดีเยี่ยม จึงโดดเรียนปริญญาเอกจนจบสาขาแพทย์ ได้ทำนายไว้ว่า
“ ...วันเวลาแห่งความศักดิ์สิทธิ์ของการสิ้นยุคเก่าและการมาถึงของยุคใหม่...กำลังจะเข้ามาปรากฏแก่สังคมโลกมนุษย์อยู่แล้ว ซึ่งคาดตามตรรกะจะเกิดขึ้นในช่วงระหว่าง 23 ปีข้างหน้านี้ คือระหว่างปี ค.ศ. 2000 ถึง ค.ศ.2023...” (หนังสือนอสตราดามุส โดย ศ.เจริญ วรรธนะสิน หน้า 363)
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ผมปลดกระเป๋าหนังสะพายบ่า
เปิดกระเป๋าหยิบเอกสารปึกใหญ่ออกมา ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับแผ่นดินไหว ดูท่านยิ้มเหมือนพึงพอใจ ชี้ไปที่เอกสารฉบับหนึ่งแล้วบอกว่า นั่นเป็นชื่อของท่านที่เขียนเรื่องนั้น ผมหัวเราะแก้เขินที่จุดไต้ตำตอ ถือโอกาสย้ำถาม
“ ท่านชื่อคุณอดิศร ฟุ้งขจรหรือครับ ? ขอโทษผมไม่ทราบจริงๆครับ.”
เราทั้งคู่หัวเราะและยิ้มให้กัน เราเริ่มคุ้นเคยกันในเวลาอันสั้น คงจะจริงนะ ที่ว่าการพบกันครั้งแรกเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง หากอัธยาศัยต้องกัน หรือที่พูดกันว่า ถูกชะตากัน ยิ่งคุยยิ่งสนุก มิตรภาพงอกงามรวดเร็ว…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
เพลงที่ 11
ลืมไม่ได้เด็ดขาด ชื่อเพลง “ศรัทธา” ขับร้องโดยคุณโป่ง ปฐมพงษ์ สมบัติพิบูลย์ นักร้องนำวง หิน เหล็ก ไฟ ก่อนเปลี่ยนเป็นวง The Son ทราบว่าเพลงของวงนี้ เขาแต่งเนื้อร้องทำนองเองหมด คุณโป่งเป็นนักร้องร็อคระดับต้นแบบ หรือ Idol ของใครอีกมากมายที่เดินตามในถนนสายดนตรี เสียงมีพลัง มีความหนักแน่น เป็นเพลงประเภทให้กำลังใจต่อสู้ ให้มุมมองชีวิต ให้ความคิด เนื้อเพลงบางท่อนกลายเป็นวลีฮิตติดปากไปแล้ว เนื้อเพลงบางตอน
…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ผมฟังคุณศิริพรกล่าวเนื่องในวันเกิด
ของผู้ชราหลายคนในวันนี้ ฟังแล้วจับใจไม่น้อย
“ ...ถึงแม้บ้านวัยทองนิเวศน์ จะมีอาหารการกิน มีเครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้สอย แต่ที่ขาดเป็นด้านจิตใจ แม้จะไม่สามารถทดแทนครอบครัวเดิมของท่านได้ก็ตาม จะพยายามเติมเต็มส่วนที่ขาด ตามที่สามารถทำได้...”
เมื่อพิธีกรงานวันเกิดกล่าวต่อจนจบแล้ว
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ใกล้เที่ยงในโรงอาหารมีคนพลุกพล่าน พินิจดูเป็นเด็กหนุ่มสาว อาจเป็นระดับอาชีวะ หรือมหาวิทยาลัยราวปี 1 , 2 มีโต๊ะยาววางถ้วยจานแก้วน้ำ หน้าโรงอาหาร มีเจ้าหน้าที่บริการ 2 คน ผมเดินไม่รู้ไม่ชี้มองหาเจ้าหน้าที่บ้านวัยทองนิเวศน์
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ผมบอกให้ลูกจอดรถ
ที่ถนนทอดสู่ตัวอาคารสำนักงาน บอกให้แกพาแม่ไปเยี่ยมยายที่บ้านปง ที่อยู่ห่างจากที่นี่ราว 3 กิโลเมตรเศษ ประมาณ 11 โมงให้กลับมารับพ่อ ผมเดินเข้าไปหาเจ้าหน้าที่ในตัวอาคาร พบเจ้าหน้าที่หญิง เป็นคนที่เคยรู้จักกันมาก่อน เธอยกมือไหว้เมื่อเห็นหน้าผม เธอมีบ้านพักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านสันมหาพน หมู่บ้านนี้อยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนสันมหาพนวิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ฟากถนนทิศตะวันตก โรงเรียนนี้อยู่ห่างที่ว่าอำเภอไปทางทิศใต้ไม่ถึง 100 เมตร ผมเคยสอนโรงเรียนนี้นาน 12 ปี ผมบอกเธอว่า …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
วันนี้ขับรถกระบะสีเขียว
รุ่น พ.ศ. 2537 ออกจากบ้านทุ่งแป้ง อำเภอสันป่าตองราว 8.00 น.เศษ มีจุดหมายปลายทางที่บ้านวัยทองนิเวศน์ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ คนนั่งซ้ายมือเป็นขาประจำ มีหน้าที่นั่งคุยเป็นเพื่อนไม่ให้คนขับรถง่วง บางเวลาก็นั่งเฝ้ารถกรณีผมเข้าห้องสมุดที่ต่างๆ คอยซื้ออาหารกลางวัน เครื่องดื่มบำรุงคนขับรถ เป็นฝ่ายสวัสดิการ บางทีทำเกินหน้าที่ กลายเป็นฝ่ายก่อความสงบภายในรถ สร้างความเครียดแก่คนขับแทนการผ่อนคลาย สาเหตุจากให้เฝ้ารถนานๆ เมื่อผมกลับจากค้นคว้าในห้องสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ปีนี้ พ.ศ.2554
จะยังมีกิจกรรมดำหัวผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่หรือไม่ ? หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น “ไทยนิวส์” ฉบับวันศุกร์ที่ 1 เมษายน 2554 ได้ลงข่าวหน้า 1 ว่า
“ จัดดำหัวผู้ว่าฯสานประเพณี เปลี่ยนชื่องานใหม่ สระเกล้าฯป้อเมือง .”
โดยมีเนื้อหาข่าวบางตอนดังนี้ครับ
“เมื่อ 30 มีนาคม 2554 นายวรการ ยศยิ่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เผยว่า เพื่อให้การจัดกิจกรรมนี้เป็นการแสดงออกถึงความเป็นวัฒนธรรมประเพณีปีใหม่เมืองล้านนาของจังหวัดเชียงใหม่ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อกิจกรรมเป็นงาน สระเกล้าดำหัวป้อเมืองเจียงใหม่ …