Skip to main content

 

วันนี้หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น
“เชียงใหม่นิวส์ ” ประจำวันพฤหัสบดีวันที่ 31 มีนาคม 2554 พาดหัวข่าวหน้า 1 ว่า “เจ้าดวงเดือน จี้ ! ไม่ให้เลิกดำหัว ฝากถึงพ่อเมือง ให้รักษาฮีตฮอย.” ขอนำเนื้อหาข่าวบางตอนที่ลงดังนี้

“สืบจากมีการนำเสนอข่าว กรณีหม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ แถลงต่อสื่อมวลชน ที่จะงดดำหัวในวันที่ 15 เมษายน 2554 อันเป็นกิจกรรมของจังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงปีใหม่เมือง หรือสงกรานต์เชียงใหม่ โดยให้เหตุผลว่า ต้องการจะให้ประชาชนทุกท่าน รวมถึงเจ้าหน้าที่และข้าราชการ ได้ใช้เวลาอยู่กับบ้านในวันหยุดสงกรานต์ ได้อยู่กับครอบครัวไปทำบุญกันที่วัด...”
 
และอีกตอนหนึ่ง 
เจ้ายาย(ดร.เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่) ประธานสภาวัฒนธรรมเชียงใหม่ ได้ให้สัมภาษณ์ว่า

“วันก่อนได้ไปหาท่านพระครูวัดธาตุคำ ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของเจ้ายาย ได้พูดคุยกับท่าน ท่านก็บอกว่า ทำไปเถอะ เรื่องนี้เป็นวัฒนธรรม แม้สมัยก่อนแต่เดิมจริงแล้วจะไม่มีการดำหัวผู้ว่าราชการจังหวัด แต่มีการดำหัวผู้เฒ่าผู้แก่ ราษฎรประชาราษฎร์ดำหัวเจ้าผู้ครองนครนั้นมี แต่การดำหัวผู้ว่านั้น คงมีความรู้สึกบ้าง เริ่มมาตั้งแต่คุณสุวรรณ จิตรธรรม ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของพระธรรมดิลก(พระพุทธพจนาวราภรณ์)ในสมัยนั้น ซึ่งก็เป็นลูกศิษย์ใกล้ชิดพร้อมกับเจ้ายาย ก็มีความเห็นว่า น่าจะเปิดโอกาสให้คนได้ไปไหว้สาคาราวะ ท่านผู้ว่าราชการเชียงใหม่บ้าง ท่านคิดในสมัยที่ท่านเป็นนายอำเภอเมืองเชียงใหม่ เมื่อ 40 กว่าปีมาแล้ว...”
 
ผมเริ่มสืบสาว
กิจกรรมดำหัวผู้ว่าราชการเชียงใหม่ว่า เริ่มเมื่อใด ? ใครเป็นผู้ว่าฯ ขณะนั้น จากข้อความข่าวข้างบน ได้ชี้ไปสมัยนายสุวรรณ กฤตธรรม (ไม่ใช่ “จิตรธรรม” ตามที่หนังสือพิมพ์ลงข่าว) เป็นผู้คิดริเริ่มกิจกรรมนี้ ผมเปิดดูข้อมูลได้ทราบว่า คุณสุวรรณ กฤตธรรม เป็นนายอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ.2497-2504 นั่นหมายความว่า การดำหัวผู้ว่าฯเกิดในช่วงปี พ.ศ.นี้  แต่จะเป็นปี พ.ศ.ใด และสมัยนั้นใครเป็นผู้ว่าฯเชียงใหม่ เป็นคำถามที่น่าค้นหาคำตอบ ความสงสัยกวักมือเรียกผมให้ติดตาม
 
ผมใช้เวลา 3 วัน
ค้นหาคำตอบ เปิดอินเทอร์เน็ตจนเครื่องร้อน ซื้อหนังสือพิมพ์รายวันท้องถิ่นมาอ่าน พบข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต เรื่อง “ ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง” เขียนโดยท่านอาจารย์ธเนศวร์ เจริญเมือง ท่านสอนที่คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ท่านเขียนว่า

“...ถึงวันพญาวัน ราว พ.ศ.2504-2505 ปลัดจังหวัดก็ระดมนายอำเภอเกณฑ์ข้าราชการ กำนันผู้ใหญ่บ้านและประชาชนจากทุกอำเภอ มาตั้งขบวนแห่ที่สยามกีฬา ร.ร.ยุพราชวิทยาลัย และเดินไปยังถนนท่าแพ เพื่อไปรดน้ำดำหัวที่จวนผู้ว่าฯ การที่ผู้ว่าฯมาจากการแต่งตั้งและแทบไม่มีใครเป็นคนท้องถิ่น...”
 
มาถึงตอนนี้
เรื่องการดำหัวผู้ว่าฯเชียงใหม่นั้น พอจะกล่าวอนุมานได้ว่า น่าจะเริ่มราวปี พ.ศ.2504-2505 โดยนายสุวรรณ กฤตธรรม ได้คิดริเริ่มในสมัยที่ท่านเป็นนายอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ในช่วงปี พ.ศ.2497-2504 ซึ่งจะตรงกับ พอ.นิรันดร ชัยนาม เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ในช่วงปี พ.ศ. 2503-2514.

 

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 ถนอมรัก เดือนเต็มดวง ราวปี พ.ศ.2506พอย่างเข้าเดือนสิงหาคมกลางฤดูฝน ฝนเริ่มตกหนัก 3-4 วันติดต่อกัน ย่าบอกว่าวิทยุข้างบ้านประกาศ มีไต้ฝุ่นเข้าเมืองไทย ฝนจึงตกมากกว่าปรกติ ฝนยามนั้นจะตกปรอยๆซึมไปเกือบตลอดวัน ฟ้ามืดมัวด้วยเมฆฝน ไม่มีการเห็นแสงเดือนแสงตะวันกันเลย แล้วจะมีฝนตกหนักนานเกินครึ่งชั่วโมงเข้ามาสลับเป็นพักๆ เท่าที่จำได้นานเป็นวันก็เคยมี ใครซักผ้าก็ชื้นอับอยู่อย่างนั้น พื้นดินบริเวณบ้านผมเปียกแฉะไปหมด ต้นไม้ใบหญ้าเปียกโชกชุ่มอิ่มน้ำ น้ำฝนที่ตกลงมาส่งผลให้ระดับน้ำในน้ำแม่ปิงสูงขึ้นรวดเร็ว ชาวเชียงใหม่สัญจรไปมาต่างกวาดตาดูน้ำแม่ปิง สายน้ำสายหลักที่ผูกพันชาวนครพิงค์เนิ่นนาน…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
กรณีมีกลุ่มบุคคลที่ตรงข้ามรัฐบาลคัดค้านขัดขวางธนาคารออมสินปล่อยเงินกู้ให้ ธกส.(ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร) เพื่อจะได้นำไปจ่ายให้ชาวนา ตามโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร(19 ก.พ.57)
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง