24 พฤษภาคม 2554
ให้ลูกชายคนเล็กเป็นคนขับรถ พาผมไปสถานีตรวจวัดแผ่นดินไหวเชียงใหม่ ผมยังไม่เคยไปมาก่อน หลานสาวบอกว่า เมื่อรถวิ่งถึงอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัยแล้ว ให้รถเลี้ยวขวาจนถึงวัดศรีโสดา วัดนี้จะอยู่ซ้ายมือ สถานที่ผมจะไปอยู่ห่างไปเล็กน้อยด้านขวามือนะ เมื่อถึงอนุสาวรีย์
ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ผมพาลูกไปกินข้าวเช้าให้อิ่มหนำสำราญก่อน กาแฟราคาแก้วละ 30 บาท คนละแก้ว รสชาติหวานมันเข้มข้นดี ขณะนั่งรอลูกกินข้าว ผมอดนึกถึงเรื่องครูบาศรีวิชัยไม่ได้ว่า เมื่อ 9 พฤศจิกายน 2477 ครูบาศรีวิชัยนักบุญแห่งล้านนา พร้อมด้วยประชาชนในเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และจังหวัดใกล้เคียงจำนวนหลายหมื่นคน ได้ร่วมแรงร่วมใจกัน ทั้งกำลังกายและกำลังทรัพย์ ไม่ได้บังคับกะเกณฑ์ มาด้วยหัวใจจริงๆ ช่วยกันสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ ระยะทาง 11 กิโลเมตร 530 เมตร สร้างเสร็จภายใน 5 เดือน 22 วัน พร้อมกับนำกระแสไฟฟ้าขึ้นไปใช้บนดอยสุเทพ โดยไม่เสียงบประมาณของทางราชการเลย แรงศรัทธามีพลังมหาศาลจริงๆ ผมนึกในใจ
เมื่อลูกชายกินอาหารเช้าเสร็จ
ลูกขับรถพาไปยังสถานที่เป้าหมาย ไม่เคยไปมาก่อน ผมจึงเหลียวมองซ้ายขวาหน้าหลังตลอด พบแล้วรถเลี้ยวขวาเข้าซอย แต่ทำไมประตูปิดกุญแจ ได้จอดรถถามผู้ชายกวาดใบไม้ในรั้ว เขาบอกว่าที่นี่เป็นสถานีวัดความสั่นสะเทือน กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ส่วนสถานที่ตรวจวัดแผ่นดินไหวนั้น อยู่ข้างวัดศรีโสดา ต้องขับรถย้อนลงไปอีกเล็กน้อย จะมีป้ายบอก ผมกล่าวขอบคุณ ลูกผมขับรถย้อนออกมา ขับรถมาช้าๆ เห็นป้ายแล้วก่อนถึงวัด บอกให้ลูกเลี้ยวขวาเข้าไป
“ เอ่อ ! ถึงเสียทีนะ.” ผมบอกตนเอง
อยากเห็นนัก เครื่องมือวัดแผ่นดินไหว รูปร่างหน้าตาจะเป็นอย่างไร มันจะมีขนาดเท่าใดนะ ถนนเป็นคอนกรีต รถคลานเข้าไปช้าๆ ตาผมมองซ้ายขวาและข้างหน้า ซ้ายมือเห็นประตูเข้าวัดศรีโสดา รถผ่านบ้านพัก 2-3 หลังที่อยู่ซ้ายมือ ถัดไปเป็นที่จอดรถ มีหลังคาด้วย บอกลูกเลี้ยวซ้ายเข้าไปจอด มีรถจอดก่อนแล้ว 1 คัน พอลงรถ ผมกวาดตามองโดยรอบ ไม่เห็นใครสักคน เจ้าหน้าที่ไปไหนกัน ถามตนเอง นี่เป็นเวลาใกล้เที่ยงวัน เขาคงออกไปหาอาหารกลางวันกิน ผมตอบเองอีก ลูกชายบอกผมว่า
“ พ่อ น้องจะเข้าไปเที่ยวในวัดศรีโสดาก่อนเน้อ ! .”
ผมบอกไปได้เลยลูก ให้ลูกมารอเราสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ คนรอก็เบื่อ ผมก็อึดอัด ต้องทำงานเร่งรีบ เราต่างแยกไปหามุมของตน ผมเดินลึกเข้าไปข้างใน ก้าวขึ้นบันไดสู่ห้องสี่เหลี่ยม ประตูปิดอยู่ เป็นครึ่งไม้ครึ่งกระจก พอถึงหน้าประตู ผมส่งเสียงเรียกเจ้าหน้าที่ ต้องแสดงตนก่อนว่ามาดีนะ ไม่ใช่ขโมย เกรงถูกข้อหาบุกรุก ไม่มีเสียงตอบ ตัดสินใจเคาะประตูโดยไม่คาดหวังว่าจะพบใคร ประตูเปิดออก มีศีรษะชายสวมแว่นโผล่ออกมา ความหวังผมแจ่มใสขึ้น ส่งเสียงทักทายเจ้าของสถานที่
“ สวัสดีครับ ผมมาหาข้อมูลแผ่นดินไหวครับ.”
“ เชิญข้างในครับ.” เสียงแห่งมิตรไมตรีตอบกลับมา
มือผมถือกล้อง บ่าสะพายกระเป๋าที่มีสมุดปากกาพร้อมจดบันทึก เดินตามเข้าไป ข้างซ้ายประตูด้านในมีอุปกรณ์บางอย่างตั้งอยู่ ผมนั่งเก้าอี้ข้างโต๊ะคอมพิวเตอร์ แอร์เย็นสบาย ท่านนั่งเก้าอี้หน้าจอคอมพิวเตอร์ เป็นห้องคอนกรีตขนาดกว้างราว 6 เมตร ยาวราว 6 เมตรครึ่ง แบ่งห้องเป็น 2 ส่วน ส่วนซ้ายแบ่งเป็นห้องเล็กอีก 2 ห้อง ซึ่งผมยังไม่รู้เลยว่าเป็นห้องอะไร ส่วนขวามือเป็นส่วนที่ผมกำลังนั่งคุยกับเจ้าของสถานที่ ผมแนะนำตนเอง ท่านบอกว่า ท่านคือผู้อำนวยการสถานีอุตุนิยมวิทยาเชียงใหม่.
บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
นอสตราดามุส (ค.ศ. 1502-1566)
เป็นชาวฝรั่งเศสเชื้อสายยิว เรียนจบปริญญาตรีคะแนนดีเยี่ยม จึงโดดเรียนปริญญาเอกจนจบสาขาแพทย์ ได้ทำนายไว้ว่า
“ ...วันเวลาแห่งความศักดิ์สิทธิ์ของการสิ้นยุคเก่าและการมาถึงของยุคใหม่...กำลังจะเข้ามาปรากฏแก่สังคมโลกมนุษย์อยู่แล้ว ซึ่งคาดตามตรรกะจะเกิดขึ้นในช่วงระหว่าง 23 ปีข้างหน้านี้ คือระหว่างปี ค.ศ. 2000 ถึง ค.ศ.2023...” (หนังสือนอสตราดามุส โดย ศ.เจริญ วรรธนะสิน หน้า 363)
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ผมปลดกระเป๋าหนังสะพายบ่า
เปิดกระเป๋าหยิบเอกสารปึกใหญ่ออกมา ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับแผ่นดินไหว ดูท่านยิ้มเหมือนพึงพอใจ ชี้ไปที่เอกสารฉบับหนึ่งแล้วบอกว่า นั่นเป็นชื่อของท่านที่เขียนเรื่องนั้น ผมหัวเราะแก้เขินที่จุดไต้ตำตอ ถือโอกาสย้ำถาม
“ ท่านชื่อคุณอดิศร ฟุ้งขจรหรือครับ ? ขอโทษผมไม่ทราบจริงๆครับ.”
เราทั้งคู่หัวเราะและยิ้มให้กัน เราเริ่มคุ้นเคยกันในเวลาอันสั้น คงจะจริงนะ ที่ว่าการพบกันครั้งแรกเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง หากอัธยาศัยต้องกัน หรือที่พูดกันว่า ถูกชะตากัน ยิ่งคุยยิ่งสนุก มิตรภาพงอกงามรวดเร็ว…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
เพลงที่ 11
ลืมไม่ได้เด็ดขาด ชื่อเพลง “ศรัทธา” ขับร้องโดยคุณโป่ง ปฐมพงษ์ สมบัติพิบูลย์ นักร้องนำวง หิน เหล็ก ไฟ ก่อนเปลี่ยนเป็นวง The Son ทราบว่าเพลงของวงนี้ เขาแต่งเนื้อร้องทำนองเองหมด คุณโป่งเป็นนักร้องร็อคระดับต้นแบบ หรือ Idol ของใครอีกมากมายที่เดินตามในถนนสายดนตรี เสียงมีพลัง มีความหนักแน่น เป็นเพลงประเภทให้กำลังใจต่อสู้ ให้มุมมองชีวิต ให้ความคิด เนื้อเพลงบางท่อนกลายเป็นวลีฮิตติดปากไปแล้ว เนื้อเพลงบางตอน
…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ผมฟังคุณศิริพรกล่าวเนื่องในวันเกิด
ของผู้ชราหลายคนในวันนี้ ฟังแล้วจับใจไม่น้อย
“ ...ถึงแม้บ้านวัยทองนิเวศน์ จะมีอาหารการกิน มีเครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้สอย แต่ที่ขาดเป็นด้านจิตใจ แม้จะไม่สามารถทดแทนครอบครัวเดิมของท่านได้ก็ตาม จะพยายามเติมเต็มส่วนที่ขาด ตามที่สามารถทำได้...”
เมื่อพิธีกรงานวันเกิดกล่าวต่อจนจบแล้ว
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ใกล้เที่ยงในโรงอาหารมีคนพลุกพล่าน พินิจดูเป็นเด็กหนุ่มสาว อาจเป็นระดับอาชีวะ หรือมหาวิทยาลัยราวปี 1 , 2 มีโต๊ะยาววางถ้วยจานแก้วน้ำ หน้าโรงอาหาร มีเจ้าหน้าที่บริการ 2 คน ผมเดินไม่รู้ไม่ชี้มองหาเจ้าหน้าที่บ้านวัยทองนิเวศน์
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ผมบอกให้ลูกจอดรถ
ที่ถนนทอดสู่ตัวอาคารสำนักงาน บอกให้แกพาแม่ไปเยี่ยมยายที่บ้านปง ที่อยู่ห่างจากที่นี่ราว 3 กิโลเมตรเศษ ประมาณ 11 โมงให้กลับมารับพ่อ ผมเดินเข้าไปหาเจ้าหน้าที่ในตัวอาคาร พบเจ้าหน้าที่หญิง เป็นคนที่เคยรู้จักกันมาก่อน เธอยกมือไหว้เมื่อเห็นหน้าผม เธอมีบ้านพักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านสันมหาพน หมู่บ้านนี้อยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนสันมหาพนวิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ฟากถนนทิศตะวันตก โรงเรียนนี้อยู่ห่างที่ว่าอำเภอไปทางทิศใต้ไม่ถึง 100 เมตร ผมเคยสอนโรงเรียนนี้นาน 12 ปี ผมบอกเธอว่า …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
วันนี้ขับรถกระบะสีเขียว
รุ่น พ.ศ. 2537 ออกจากบ้านทุ่งแป้ง อำเภอสันป่าตองราว 8.00 น.เศษ มีจุดหมายปลายทางที่บ้านวัยทองนิเวศน์ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ คนนั่งซ้ายมือเป็นขาประจำ มีหน้าที่นั่งคุยเป็นเพื่อนไม่ให้คนขับรถง่วง บางเวลาก็นั่งเฝ้ารถกรณีผมเข้าห้องสมุดที่ต่างๆ คอยซื้ออาหารกลางวัน เครื่องดื่มบำรุงคนขับรถ เป็นฝ่ายสวัสดิการ บางทีทำเกินหน้าที่ กลายเป็นฝ่ายก่อความสงบภายในรถ สร้างความเครียดแก่คนขับแทนการผ่อนคลาย สาเหตุจากให้เฝ้ารถนานๆ เมื่อผมกลับจากค้นคว้าในห้องสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ปีนี้ พ.ศ.2554
จะยังมีกิจกรรมดำหัวผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่หรือไม่ ? หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น “ไทยนิวส์” ฉบับวันศุกร์ที่ 1 เมษายน 2554 ได้ลงข่าวหน้า 1 ว่า
“ จัดดำหัวผู้ว่าฯสานประเพณี เปลี่ยนชื่องานใหม่ สระเกล้าฯป้อเมือง .”
โดยมีเนื้อหาข่าวบางตอนดังนี้ครับ
“เมื่อ 30 มีนาคม 2554 นายวรการ ยศยิ่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เผยว่า เพื่อให้การจัดกิจกรรมนี้เป็นการแสดงออกถึงความเป็นวัฒนธรรมประเพณีปีใหม่เมืองล้านนาของจังหวัดเชียงใหม่ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อกิจกรรมเป็นงาน สระเกล้าดำหัวป้อเมืองเจียงใหม่ …