Skip to main content

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

 

กลับบ้านเฮา
ฮัก(รัก)รออยู่ นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย ท่านยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เดินทางมาบ้านเกิดที่เชียงใหม่ เป็นการกลับมาบ้านเกิดครั้งแรก หลังจากรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ท่านตั้งใจจะกลับมาเยี่ยมบ้านเกิดหลังพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ(10 สิงหาคม 2554) แต่เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ จึงต้องอยู่กรุงเทพฯ เพื่อบริหารจัดการน้ำก่อน เมื่อน้ำท่วมครั้งใหญ่ค่อยเข้าสู่ภาวะปรกติทุกพื้นที่ จึงได้เดินทางกลับมาเยี่ยมบ้านเกิด การมาครั้งนี้ของท่าน ท่านได้ไปแอ่วกาดหลวง(ตลาดวโรรส)ในวันที่ 17 ธันวาคม 2554 ตลาดแห่งนี้เป็นตลาดสำคัญของเมืองเชียงใหม่ เป็นตลาดที่ผูกพันกับผู้คนเชียงใหม่มายาวนาน เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่ง ที่แทนความเป็นเชียงใหม่ เช่นเดียวกับ กาดต้นลำไย(ตลาดต้นลำไย) ขัวเหล็ก(สะพานนวรัฐ) คือเวียง(คูเมือง) เจดีย์กิ๋ว(เจดีย์งาม เจดีย์ขาว) ถนนท่าแพ วัดดอยสุเทพ ฯลฯ

เช้าวันที่
17 ธันวาคม 2554 นั้น นอกจากท่านนายกรัฐมนตรีหญิงจะมาแอ่วกาดหลวงแล้ว ยังได้มีรายการ
ถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ช่อง 11 “รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน” กลางตลาดนี้ โดยจัดโต๊ะเก้าอี้ตรงช่องทางเดินระหว่างแถวขายของในตลาด พิธีกรเป็นคุณสุรนันทน์ เวชชาชีวะ ทำหน้าที่สัมภาษณ์ท่านนายกฯยิ่งลักษณ์ ข้างหลังท่านนายกมีบุคลากรสำคัญนั่งเรียงจากขวาไปซ้าย อันดับแรกเป็นท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ คุณทัศนัย บูรณปกรณ์ ถัดไปคนที่สาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ คุณสุรพงษ์ โตจักษณ์วิชัยกุล อีกท่านเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง คุณบุญทรง เตริยาภิรมย์ มีการถามตอบระหว่างพิธีกรและนายกฯในหลายเรื่องหลายประเด็น ได้แก่น้ำท่วม น้ำเน่า ขยะ การฟื้นฟู การวางแผนป้องกันน้ำท่วมระยะสั้น-ระยะยาว โครงการรับจำนำข้าว โครงการบ้านหลังแรก รถยนต์คันแรก โครงการพักหนี้เกษตรกร งบประมาณจัดการน้ำ 120,000 ล้านบาท ใช้ไปแล้ว 40,000 กว่าล้านบาท พิธีกรได้ถามถึงความแตกต่างการบริหารราชการกับบริหารบริษัท ท่านนายกตอบว่า ผิดกันมาก แต่น่าจะใช้หลักการเดียวกันได้ คือให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการทำงาน เราเรียกว่าทำงานเป็นทีม นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงเศรษฐกิจโลก-ไทย ยาเสพติด ความร่วมมือทางด้านลุ่มน้ำโขง 6 ประเทศ การเดินทางไปพม่า ถือโอกาสพบนางออง ซาน ซูจี ผู้นำขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในประเทศพม่าในวันที่ 20 ธันวาคม 2554

การถ่ายทอดสดใช้เวลาประมาณ 30 นาที กล้องโทรทัศน์จับภาพประชาชนบนชั้นสองของตลาด ยืนดูอย่างสงบ เต็มไปหมด บ้างถือกล้องดิจิตอล กดถ่ายเป็นระยะ เมื่อรายการนายกฯพบประชาชนจบลง เสียงปรบมือให้นายกฯก้องตลาดวโรรส นายกฯไหว้ตอบและโบกมือทักทาย ท่านพาคณะเยี่ยมชมตลาด ดูไส้อั่ว จิ้นทอด น้ำพริกหนุ่ม แคบหมู และอื่นๆ ประชาชนคนเมืองเข้ามาห้อมล้อม มอบดอกกุหลายสีแดงสดให้นายกฯหญิง ดูสีหน้าท่าทางท่านนายกฯมีความสุข ยิ้มแย้มสดใส ผ่อนคลาย ผู้หญิงบางคนเดินเข้ามาจับมือ บ้างเข้ามากอด มาขอถ่ายรูปบ้าง มีเสียงผู้หญิงพูดได้ยินชัดเจน

“ นายกฯจาดงาม (สวยมาก).” เสียงผู้ชายดังขึ้นบ้าง

“ นายกฯจะไปปึ้ง จะไปฟังเสียงเขา (นายกฯอย่าหมดกำลังใจ อย่ามัวฟังเสียงฝ่ายที่โจมตี).”

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    นอสตราดามุส (ค.ศ. 1502-1566) เป็นชาวฝรั่งเศสเชื้อสายยิว เรียนจบปริญญาตรีคะแนนดีเยี่ยม จึงโดดเรียนปริญญาเอกจนจบสาขาแพทย์ ได้ทำนายไว้ว่า  “ ...วันเวลาแห่งความศักดิ์สิทธิ์ของการสิ้นยุคเก่าและการมาถึงของยุคใหม่...กำลังจะเข้ามาปรากฏแก่สังคมโลกมนุษย์อยู่แล้ว ซึ่งคาดตามตรรกะจะเกิดขึ้นในช่วงระหว่าง 23 ปีข้างหน้านี้ คือระหว่างปี ค.ศ. 2000 ถึง ค.ศ.2023...” (หนังสือนอสตราดามุส โดย ศ.เจริญ วรรธนะสิน หน้า 363)  
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ผมปลดกระเป๋าหนังสะพายบ่า เปิดกระเป๋าหยิบเอกสารปึกใหญ่ออกมา ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับแผ่นดินไหว ดูท่านยิ้มเหมือนพึงพอใจ ชี้ไปที่เอกสารฉบับหนึ่งแล้วบอกว่า นั่นเป็นชื่อของท่านที่เขียนเรื่องนั้น ผมหัวเราะแก้เขินที่จุดไต้ตำตอ ถือโอกาสย้ำถาม “ ท่านชื่อคุณอดิศร ฟุ้งขจรหรือครับ ? ขอโทษผมไม่ทราบจริงๆครับ.” เราทั้งคู่หัวเราะและยิ้มให้กัน เราเริ่มคุ้นเคยกันในเวลาอันสั้น คงจะจริงนะ ที่ว่าการพบกันครั้งแรกเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง หากอัธยาศัยต้องกัน หรือที่พูดกันว่า ถูกชะตากัน ยิ่งคุยยิ่งสนุก มิตรภาพงอกงามรวดเร็ว…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  24 พฤษภาคม 2554
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เพลงที่ 11 ลืมไม่ได้เด็ดขาด ชื่อเพลง “ศรัทธา” ขับร้องโดยคุณโป่ง ปฐมพงษ์ สมบัติพิบูลย์ นักร้องนำวง หิน เหล็ก ไฟ ก่อนเปลี่ยนเป็นวง The Son ทราบว่าเพลงของวงนี้ เขาแต่งเนื้อร้องทำนองเองหมด คุณโป่งเป็นนักร้องร็อคระดับต้นแบบ หรือ Idol ของใครอีกมากมายที่เดินตามในถนนสายดนตรี เสียงมีพลัง มีความหนักแน่น เป็นเพลงประเภทให้กำลังใจต่อสู้ ให้มุมมองชีวิต ให้ความคิด เนื้อเพลงบางท่อนกลายเป็นวลีฮิตติดปากไปแล้ว เนื้อเพลงบางตอน              …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
      ผมฟังคุณศิริพรกล่าวเนื่องในวันเกิด ของผู้ชราหลายคนในวันนี้ ฟังแล้วจับใจไม่น้อย “ ...ถึงแม้บ้านวัยทองนิเวศน์ จะมีอาหารการกิน มีเครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้สอย แต่ที่ขาดเป็นด้านจิตใจ แม้จะไม่สามารถทดแทนครอบครัวเดิมของท่านได้ก็ตาม จะพยายามเติมเต็มส่วนที่ขาด ตามที่สามารถทำได้...” เมื่อพิธีกรงานวันเกิดกล่าวต่อจนจบแล้ว 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ใกล้เที่ยงในโรงอาหารมีคนพลุกพล่าน พินิจดูเป็นเด็กหนุ่มสาว อาจเป็นระดับอาชีวะ หรือมหาวิทยาลัยราวปี 1 , 2 มีโต๊ะยาววางถ้วยจานแก้วน้ำ หน้าโรงอาหาร มีเจ้าหน้าที่บริการ 2 คน ผมเดินไม่รู้ไม่ชี้มองหาเจ้าหน้าที่บ้านวัยทองนิเวศน์
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ผมเดินออกจากสำนักงาน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ผมบอกให้ลูกจอดรถ ที่ถนนทอดสู่ตัวอาคารสำนักงาน บอกให้แกพาแม่ไปเยี่ยมยายที่บ้านปง ที่อยู่ห่างจากที่นี่ราว 3 กิโลเมตรเศษ ประมาณ 11 โมงให้กลับมารับพ่อ ผมเดินเข้าไปหาเจ้าหน้าที่ในตัวอาคาร พบเจ้าหน้าที่หญิง เป็นคนที่เคยรู้จักกันมาก่อน เธอยกมือไหว้เมื่อเห็นหน้าผม เธอมีบ้านพักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านสันมหาพน หมู่บ้านนี้อยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนสันมหาพนวิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ฟากถนนทิศตะวันตก โรงเรียนนี้อยู่ห่างที่ว่าอำเภอไปทางทิศใต้ไม่ถึง 100 เมตร ผมเคยสอนโรงเรียนนี้นาน 12 ปี ผมบอกเธอว่า …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  วันนี้ขับรถกระบะสีเขียว รุ่น พ.ศ. 2537 ออกจากบ้านทุ่งแป้ง อำเภอสันป่าตองราว 8.00 น.เศษ มีจุดหมายปลายทางที่บ้านวัยทองนิเวศน์ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ คนนั่งซ้ายมือเป็นขาประจำ มีหน้าที่นั่งคุยเป็นเพื่อนไม่ให้คนขับรถง่วง บางเวลาก็นั่งเฝ้ารถกรณีผมเข้าห้องสมุดที่ต่างๆ คอยซื้ออาหารกลางวัน เครื่องดื่มบำรุงคนขับรถ เป็นฝ่ายสวัสดิการ บางทีทำเกินหน้าที่ กลายเป็นฝ่ายก่อความสงบภายในรถ สร้างความเครียดแก่คนขับแทนการผ่อนคลาย สาเหตุจากให้เฝ้ารถนานๆ เมื่อผมกลับจากค้นคว้าในห้องสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ปีนี้ พ.ศ.2554 จะยังมีกิจกรรมดำหัวผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่หรือไม่ ? หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น “ไทยนิวส์” ฉบับวันศุกร์ที่ 1 เมษายน 2554 ได้ลงข่าวหน้า 1 ว่า “ จัดดำหัวผู้ว่าฯสานประเพณี เปลี่ยนชื่องานใหม่ สระเกล้าฯป้อเมือง .” โดยมีเนื้อหาข่าวบางตอนดังนี้ครับ “เมื่อ 30 มีนาคม 2554 นายวรการ ยศยิ่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เผยว่า เพื่อให้การจัดกิจกรรมนี้เป็นการแสดงออกถึงความเป็นวัฒนธรรมประเพณีปีใหม่เมืองล้านนาของจังหวัดเชียงใหม่ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อกิจกรรมเป็นงาน สระเกล้าดำหัวป้อเมืองเจียงใหม่ …