Skip to main content

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

 

 

ความขัดแย้งรุนแรง...

...ในสังคมท้องถิ่น 3 จังหวัดชายแดนใต้ ประการแรกเป็นผลมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการเมือง อีกประการหนึ่งคือช่องว่างระหว่างวัยของคนรุ่นใหม่(หนุ่มสาว)กับคนรุ่นเก่า(วัยกลางคนถึงอาวุโส) ส่วนนี้จะขอกล่าวลึกลงไป คนรุ่นเก่ายังยึดมั่นในศาสนา ดำเนินชีวิตตามคำสั่งสอนของศาสนา รักความสงบ เรียบง่าย รักท้องถิ่น ไม่มีความคิดต่อต้านหรือเปลี่ยนแปลงอะไร ยึดมั่นในพิธีละหมาด ทำวันละ 5 ครั้ง และเชื่อว่า สรรพสิ่งในโลกเป็นของพระเจ้า ส่วนคนรุ่นใหม่ ไม่เชื่อฟังคำสอนทางศาสนาอย่างแต่ก่อน มองโลกแบบใหม่และคิดแบบใหม่ มีการสังสรรค์ระหว่างกันตามร้านน้ำชา รวมทั้งการเที่ยวเตร่ ผู้ใหญ่หรือพ่อแม่ไม่ได้ทราบว่าเด็กๆลูกหลานของตนพูดคุยกันเรื่องอะไร


ผมได้หนังสือมีคุณค่ามาก...

...เล่มหนึ่งชื่อ “ไฟใต้ฤาจะดับ” เขียนโดย ท่านอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม กล่าวถึงจังหวัดชายแดนใต้ 3 จังหวัด คือ ยะลา นราธิวาส และปัตตานี จึงได้ประมวลสาเหตุความไม่สงบจากหลายสาเหตุดังนี้

            1.ขบวนการแบ่งแยกดินแดนด้วยคนบางกลุ่ม

            2. กลุ่มผลประโยชน์ ในเรื่องยาเสพติด ค้าของเถื่อน

            3. นักธุรกิจที่แสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ

            4. กลุ่มแย่งชิงอำนาจในทางเศรษฐกิจและการเมือง


สถาบันสำคัญ...

...ของคนมุสลิมที่นับถือศาสนาอิสลาม อันดับแรกคือมัสยิดหรือสุเหร่า เป็นศูนย์กลางการทำพิธีทางศาสนา การศึกษาและการทำกิจกรรมต่างๆของชุมชน รวมทั้งให้การศึกษาแก่เด็กตั้งแต่เล็ก ทั้งทางโลกและทางธรรม อันดับต่อมาคือปอเนาะ มีลักษณะเป็นกระท่อมหรือหอพัก เป็นสถาบันให้การศึกษาทั้งทางศาสนาและทางโลกแก่เด็กระดับมัธยมและชายหญิงทั่วไป ปอเนาะนี่แหละที่ให้การศึกษาอบรม ที่ทำให้ศาสนาอิสลามเป็นวิถีชีวิตของคนมุสลิม เป็นสถานที่สำคัญ ที่จรรโลงความสัมพันธ์ทางโลก โลกทัศน์ และค่านิยมคนมุสลิม ไม่ให้เปลี่ยนแปลงได้ง่าย อันดับ 3 คือ โต๊ะครูหรือ เจ๊ะครู เป็นทั้งผู้ปกครองและผู้สอนในปอเนาะ  ซึ่งเป็นผู้รู้และทรงคุณธรรม สอนศาสนาและวิชาสามัญควบคู่ไปด้วย อันดับ 4 คือ อิหม่าม หมายถึง คำเรียกผู้นำในศาสนาอิสลาม เป็นผู้นำในการทำละหมาด นับเป็นตำแหน่งสำคัญของคณะกรรมการบริหารมัสยิดพูดถึงการทำละหมาดนั้น จะทำกันวันละ 5 เวลา เป็นการแสดงความเคารพภักดีต่อพระอัลลอฮ์ เป็นทั้งการชำระล้างบาป และสิ่งสกปรกในจิตใจมนุษย์ อันดับ 5 จุฬาราชมนตรี เป็นตำแหน่งฝ่ายมุสลิมมีหน้าที่ให้ข้อปรึกษาด้านศาสนาอิสลามแก่รัฐบาลไทย ให้กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ จุฬาราชมนตรีคนแรกคือ นายสวาสดิ์ สุมาลศักดิ์ โดยได้รับเลือกเมื่อ พ.ศ.2540 ขณะมีอายุ 82 ปี และท่านได้เสียชีวิตเมื่อ 24 มีนาคม พ.ศ.2553 ด้วยโรคชรา คนปัจจุบันเป็นคนที่ 18 คือนาย อาศิส พิทักษ์คุมพล อายุ 63 ปี เกิดเมื่อปี พ.ศ.2490


หนังสือเล่มนี้...

...ได้สรุปตอนท้ายอย่างลุ่มลึก บอกว่า ปัญหาความไม่สงบ 3 จังหวัดชายแดนใต้ จึงเป็นสิ่งที่ไม่มีทางแก้ไขด้วยการใช้ความรุนแรง ในการปราบปรามหรือเยียวยาด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจและความเจริญทางวัตถุ แต่หากมีการฟื้นฟูองค์กรชุมชนบ้านที่เรียกว่า สุหรอ ขึ้นมาปรับปรุงให้มีอำนาจในการดูแลความสงบและยุติธรรมภายใน รวมกับอำนาจจากส่วนกลางของรัฐ โอกาสจะฟื้นฟูความสงบแท้จริงในภาคใต้ คงเกิดขึ้นไม่ยาก.

 …………………………………………….

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    นอสตราดามุส (ค.ศ. 1502-1566) เป็นชาวฝรั่งเศสเชื้อสายยิว เรียนจบปริญญาตรีคะแนนดีเยี่ยม จึงโดดเรียนปริญญาเอกจนจบสาขาแพทย์ ได้ทำนายไว้ว่า  “ ...วันเวลาแห่งความศักดิ์สิทธิ์ของการสิ้นยุคเก่าและการมาถึงของยุคใหม่...กำลังจะเข้ามาปรากฏแก่สังคมโลกมนุษย์อยู่แล้ว ซึ่งคาดตามตรรกะจะเกิดขึ้นในช่วงระหว่าง 23 ปีข้างหน้านี้ คือระหว่างปี ค.ศ. 2000 ถึง ค.ศ.2023...” (หนังสือนอสตราดามุส โดย ศ.เจริญ วรรธนะสิน หน้า 363)  
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ผมปลดกระเป๋าหนังสะพายบ่า เปิดกระเป๋าหยิบเอกสารปึกใหญ่ออกมา ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับแผ่นดินไหว ดูท่านยิ้มเหมือนพึงพอใจ ชี้ไปที่เอกสารฉบับหนึ่งแล้วบอกว่า นั่นเป็นชื่อของท่านที่เขียนเรื่องนั้น ผมหัวเราะแก้เขินที่จุดไต้ตำตอ ถือโอกาสย้ำถาม “ ท่านชื่อคุณอดิศร ฟุ้งขจรหรือครับ ? ขอโทษผมไม่ทราบจริงๆครับ.” เราทั้งคู่หัวเราะและยิ้มให้กัน เราเริ่มคุ้นเคยกันในเวลาอันสั้น คงจะจริงนะ ที่ว่าการพบกันครั้งแรกเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง หากอัธยาศัยต้องกัน หรือที่พูดกันว่า ถูกชะตากัน ยิ่งคุยยิ่งสนุก มิตรภาพงอกงามรวดเร็ว…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  24 พฤษภาคม 2554
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เพลงที่ 11 ลืมไม่ได้เด็ดขาด ชื่อเพลง “ศรัทธา” ขับร้องโดยคุณโป่ง ปฐมพงษ์ สมบัติพิบูลย์ นักร้องนำวง หิน เหล็ก ไฟ ก่อนเปลี่ยนเป็นวง The Son ทราบว่าเพลงของวงนี้ เขาแต่งเนื้อร้องทำนองเองหมด คุณโป่งเป็นนักร้องร็อคระดับต้นแบบ หรือ Idol ของใครอีกมากมายที่เดินตามในถนนสายดนตรี เสียงมีพลัง มีความหนักแน่น เป็นเพลงประเภทให้กำลังใจต่อสู้ ให้มุมมองชีวิต ให้ความคิด เนื้อเพลงบางท่อนกลายเป็นวลีฮิตติดปากไปแล้ว เนื้อเพลงบางตอน              …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
      ผมฟังคุณศิริพรกล่าวเนื่องในวันเกิด ของผู้ชราหลายคนในวันนี้ ฟังแล้วจับใจไม่น้อย “ ...ถึงแม้บ้านวัยทองนิเวศน์ จะมีอาหารการกิน มีเครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้สอย แต่ที่ขาดเป็นด้านจิตใจ แม้จะไม่สามารถทดแทนครอบครัวเดิมของท่านได้ก็ตาม จะพยายามเติมเต็มส่วนที่ขาด ตามที่สามารถทำได้...” เมื่อพิธีกรงานวันเกิดกล่าวต่อจนจบแล้ว 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ใกล้เที่ยงในโรงอาหารมีคนพลุกพล่าน พินิจดูเป็นเด็กหนุ่มสาว อาจเป็นระดับอาชีวะ หรือมหาวิทยาลัยราวปี 1 , 2 มีโต๊ะยาววางถ้วยจานแก้วน้ำ หน้าโรงอาหาร มีเจ้าหน้าที่บริการ 2 คน ผมเดินไม่รู้ไม่ชี้มองหาเจ้าหน้าที่บ้านวัยทองนิเวศน์
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ผมเดินออกจากสำนักงาน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ผมบอกให้ลูกจอดรถ ที่ถนนทอดสู่ตัวอาคารสำนักงาน บอกให้แกพาแม่ไปเยี่ยมยายที่บ้านปง ที่อยู่ห่างจากที่นี่ราว 3 กิโลเมตรเศษ ประมาณ 11 โมงให้กลับมารับพ่อ ผมเดินเข้าไปหาเจ้าหน้าที่ในตัวอาคาร พบเจ้าหน้าที่หญิง เป็นคนที่เคยรู้จักกันมาก่อน เธอยกมือไหว้เมื่อเห็นหน้าผม เธอมีบ้านพักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านสันมหาพน หมู่บ้านนี้อยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนสันมหาพนวิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ฟากถนนทิศตะวันตก โรงเรียนนี้อยู่ห่างที่ว่าอำเภอไปทางทิศใต้ไม่ถึง 100 เมตร ผมเคยสอนโรงเรียนนี้นาน 12 ปี ผมบอกเธอว่า …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  วันนี้ขับรถกระบะสีเขียว รุ่น พ.ศ. 2537 ออกจากบ้านทุ่งแป้ง อำเภอสันป่าตองราว 8.00 น.เศษ มีจุดหมายปลายทางที่บ้านวัยทองนิเวศน์ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ คนนั่งซ้ายมือเป็นขาประจำ มีหน้าที่นั่งคุยเป็นเพื่อนไม่ให้คนขับรถง่วง บางเวลาก็นั่งเฝ้ารถกรณีผมเข้าห้องสมุดที่ต่างๆ คอยซื้ออาหารกลางวัน เครื่องดื่มบำรุงคนขับรถ เป็นฝ่ายสวัสดิการ บางทีทำเกินหน้าที่ กลายเป็นฝ่ายก่อความสงบภายในรถ สร้างความเครียดแก่คนขับแทนการผ่อนคลาย สาเหตุจากให้เฝ้ารถนานๆ เมื่อผมกลับจากค้นคว้าในห้องสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ปีนี้ พ.ศ.2554 จะยังมีกิจกรรมดำหัวผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่หรือไม่ ? หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น “ไทยนิวส์” ฉบับวันศุกร์ที่ 1 เมษายน 2554 ได้ลงข่าวหน้า 1 ว่า “ จัดดำหัวผู้ว่าฯสานประเพณี เปลี่ยนชื่องานใหม่ สระเกล้าฯป้อเมือง .” โดยมีเนื้อหาข่าวบางตอนดังนี้ครับ “เมื่อ 30 มีนาคม 2554 นายวรการ ยศยิ่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เผยว่า เพื่อให้การจัดกิจกรรมนี้เป็นการแสดงออกถึงความเป็นวัฒนธรรมประเพณีปีใหม่เมืองล้านนาของจังหวัดเชียงใหม่ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อกิจกรรมเป็นงาน สระเกล้าดำหัวป้อเมืองเจียงใหม่ …