Skip to main content

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

 

 

 

มนุษย์เรียนรู้ได้ดีแม้อายุมากใช่ไหม

เพื่อนผมหัดร้องเพลงดีดกีตาร์เมื่ออายุ 59 ปี คุณจริน ยุทธศาสตร์โกศล หัดเต้นบัลเลต์เมื่ออายุ 50 ปีจนเก่ง

คุณปู่แอลเลน สจ๊วด เรียนจบปริญญาโทตอนอายุ 97 ปี เกิดคำถามตามมาว่า ผู้สูงวัยเหล่านี้สามารถเรียนรู้ได้ง่าย สบายมากอย่างนั้นหรือ  เรียนรู้ได้เหมือนคนหนุ่มสาวปานนั้นหรือไร ผมไม่มีภูมิพอจะตอบได้เลย ขออนุญาตนำคำตอบจาก internet หัวข้อ “สมองเรียนรู้ได้ไม่จำกัด.” ไม่ทราบชื่อผู้เขียน แต่ระบุแหล่งข้อมูลว่า htt://www.Sudipan  มีหลายเรื่องที่น่าสนใจสำหรับทุกคน ทั้งบิดามารดา ลูกๆ และคนทั่วไป เพราะมันเกี่ยวกับสมอง เจ้าก้อนเนื้อสีเทาที่น้ำหนักราว 1.4 กิโลกรัม ดังนี้ครับ

       เรื่องไหนที่เราไม่ได้รู้ในวัยหนึ่ง ยังสามารถเรียนรู้ได้ แต่มันอาจยากขึ้น เช่น ต้องอ่านหนังสือหลายๆเที่ยวมากกว่าเด็กมากกว่าวัยหนุ่มสาว ต้องฝึกเต้นบัลเลต์อย่างหนัก ใช้เวลานานกว่าเด็ก ผู้เขียนท่านนี้ยังบอกอีกว่า สมองคนเรามีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงเป็นประจำทุกวัน ยิ่งเราเรียนรู้มากเท่าใด เส้นใยสมองยิ่งมากขึ้นเรื่อยๆ และยังบอกอีกว่า หากเราใช้สมองเป็นประจำ คิดอะไรใหม่ๆ เรียนรู้สิ่งใหม่ๆอยู่เรื่อยๆ จะช่วยชะลอสมองให้เป็นเด็กตลอดกาล และข้อความสำคัญที่ทำให้คนแก่และคนที่กำลังจะกลายเป็นคนแน่นอนในอนาคต ยิ้มได้คือ “สมองคนแก่ที่ชอบเรียนรู้ กระตือรือร้นนั้น มีลักษณะคล้ายเด็ก...” คงหมายความว่า เรียนรู้ได้เร็ว เรียนรู้ได้ง่ายอย่างนั้น

 

ผมบ้าหนังสือ

ชอบซื้อหนังสือที่เราสนใจครั้งละหลายเล่ม แม้ไม่ค่อยมีเงินนัก อ่านดะไปเรื่อยเปื่อย อ่านแล้วเหมือนเราอยู่ในอีกโลกหนึ่ง กำลังฝึกใจตนเอง  ใช้มุมมองใหม่ อ่านหนังสือที่เราไม่ชอบมาก่อน อ่านหนังสือคนที่เราเคยเบือนหน้าหนีนามปากกานั้นๆ ขณะอ่านทำใจให้ว่างเปล่า โอ ทำให้ได้พบอะไรใหม่ๆดีๆมากมายเลยครับ มีหนังสือที่ผมสนใจมากขณะนี้ ผู้เขียนชื่อ คุณหนูดี วนิษา เรซ  ผมได้ซื้อหนังสือของเธอมาจำนวน 3 เล่ม ชื่อหนังสือว่า  “อัจฉริยะสร้างได้.” “อัจฉริยะสร้างสุข.” และ “อัจฉริยะเรียนสนุก.” เธอเป็นลูกครึ่งไทย-อเมริกัน

           ปริญญาโท เกียรตินิยมจาก Harvard University , Boston , U.S.A . ด้านวิทยาการทางสมอง ในโปรแกรมชื่อ Mind , Brain and Education และปริญญาตรี เกียรตินิยม จาก  University Of  Maryland at  College Park . U.S.A . ด้านครอบครัวศึกษา(Family Studies)  อาจารย์ที่ปรึกษาคือ ดร.โฮวาร์ด

การ์เนอร์(DR. Howard Garner) เจ้าของทฤษฎีพหุปัญญา(Theory of  Multiple Intelligences) หรืออัจฉริยะ 8 ด้านของมนุษย์  ซึ่งในวงการครู วงการศึกษา รู้เรื่องนี้ดี  ผมอ่านเนื้อหาทั้งหมดจากหนังสือทั้ง 3 เล่มข้างต้น แล้วจดบันทึกไว้ว่า

                1. เราเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต ในทุกที่ทุกสังคม

                2.การฝึกฝนและเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ สามารถทำให้สมองเรามีประสิทธิภาพดีขึ้น...ส่วนนี้ผมกำลังฝึก

                3.บางส่วนของสมองต้องใช้ประสบการณ์กระตุ้น จึงจะทำให้สมองดีขึ้น เช่น การมอง การฟัง การสัมผัส การเคลื่อนไหว ดังนั้นเราต้อง “ลงมือทำ.” และทำเป็นประจำเท่านั้น จึงจะกระตุ้นสมองได้จริง เป็นต้นว่า การเรียนภาษา การเต้น(รำ) การเล่นกีฬา

                4. ภาวะที่ดีที่สุดสำหรับการเรียนรู้คือ ภาวะอารมณ์สงบแต่ตื่นตัว(Relaxed Alertness)

ถ้าสงบเกินไปเราจะง่วง แต่ถ้าเราตื่นตัวเกินไป ใจเราจะวุ่นวายจนอ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง สมองไม่รับรู้ข้อมูล

หากใจไม่สงบให้ทำสมาธิ หรือให้อาหารปลา ถ้าง่วงให้ออกวิ่งเหยาะๆ หรือหาอะไรอร่อยมากิน หรือดื่มน้ำแก้วโตแล้วมองดูใบไม้ในสวน

                  5.สมองเราทำงานตลอดเวลา ทั้งยามหลับและตื่น (บันทึกมาถึงส่วนนี้ ผมต้องหยุดคิดว่า จริงไหมหนอ)ยามเราคิดหนัก ยามใจลอย ส่วนที่ไม่เคยหยุดพักเลยคือ “ จิตใต้สำนึก.”

                  6.จิตสำนึกกับจิตใต้สำนึก มันจะผลัดกันตื่น ผลัดกันทำงาน เมื่อยามที่เราตื่นมีสติรู้สึกตัว ตอนนั้นจะเป็นจิตสำนึกทำงานแล้วจิตใต้สำนึกก็จะหลับอยู่ แต่ก็ยังคอยเก็บข้อมูลตามที่จิตสำนึกส่งไปให้เก็บอยู่เรื่อยๆ ในขณะเดียวกัน ตั้งแต่ช่วงเวลาที่เราเคลิ้มจะหลับจนถึงหลับสนิท จะเป็นเวลาที่จิตสำนึกจะหลับแล้วเป็นจิตใต้สำนึกที่ตื่นมาทำงาน ดังนั้นความฝันทั้งหลาย ก็คือจิตใต้สำนึกเป็นตัวสร้างภาพขึ้นมายามที่เราหลับ(จาก INTERNET หัวข้อ หลักการสั่งจิตใต้สำนึก-ไม่ยากเท่าที่คิด ไม่ทราบชื่อผู้เขียนครับ)

                   7.ความทุกข์สุขไม่ได้อยู่ที่ใจ แต่อยู่ในสมอง

                   8.ความเครียดอ่อนๆในช่วงก่อนสอบ ยิ่งทำให้เราอ่านหนังสือได้ดีขึ้น จำแม่นขึ้น เพราะสารเคมีที่หลั่งออกมาสำหรับความเครียดระยะสั้นคือ “อะดรีนาลิน.” นั้น มันคนละตัวกับฮอร์โมนความเครียดระยะยาว...ฮึม ประเด็นนี้น่าสนใจ ตอนเรียนหนังสือ อาจารย์ขีดเส้นใต้ให้ส่งงานวันนั้นวันนี้ เราปั่นงานกันหน้าดำคล้ำเครียด เร่งงานกันตลอดวันตลอดคืน กินข้าว 2-3 คำ ห้องน้ำห้องท่าแทบลืมไปเลย ว่าแต่เครียดอ่อนๆมันแค่ไหน อาการอย่างไร คิดเองนะว่า ขณะมีความเครียด แต่เรายังยิ้มออกบ้าง หัวเราะเล็กน้อยได้ แต่ถ้าเครียดหนัก เครียดยาว ชนิดซึมเหงาหลายๆวัน ต้องระวังแล้วครับ. จะเป็นโรคซึมเศร้าได้ อันตรายทีเดียว.

 

                                           ........................................................................

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    นอสตราดามุส (ค.ศ. 1502-1566) เป็นชาวฝรั่งเศสเชื้อสายยิว เรียนจบปริญญาตรีคะแนนดีเยี่ยม จึงโดดเรียนปริญญาเอกจนจบสาขาแพทย์ ได้ทำนายไว้ว่า  “ ...วันเวลาแห่งความศักดิ์สิทธิ์ของการสิ้นยุคเก่าและการมาถึงของยุคใหม่...กำลังจะเข้ามาปรากฏแก่สังคมโลกมนุษย์อยู่แล้ว ซึ่งคาดตามตรรกะจะเกิดขึ้นในช่วงระหว่าง 23 ปีข้างหน้านี้ คือระหว่างปี ค.ศ. 2000 ถึง ค.ศ.2023...” (หนังสือนอสตราดามุส โดย ศ.เจริญ วรรธนะสิน หน้า 363)  
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ผมปลดกระเป๋าหนังสะพายบ่า เปิดกระเป๋าหยิบเอกสารปึกใหญ่ออกมา ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับแผ่นดินไหว ดูท่านยิ้มเหมือนพึงพอใจ ชี้ไปที่เอกสารฉบับหนึ่งแล้วบอกว่า นั่นเป็นชื่อของท่านที่เขียนเรื่องนั้น ผมหัวเราะแก้เขินที่จุดไต้ตำตอ ถือโอกาสย้ำถาม “ ท่านชื่อคุณอดิศร ฟุ้งขจรหรือครับ ? ขอโทษผมไม่ทราบจริงๆครับ.” เราทั้งคู่หัวเราะและยิ้มให้กัน เราเริ่มคุ้นเคยกันในเวลาอันสั้น คงจะจริงนะ ที่ว่าการพบกันครั้งแรกเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง หากอัธยาศัยต้องกัน หรือที่พูดกันว่า ถูกชะตากัน ยิ่งคุยยิ่งสนุก มิตรภาพงอกงามรวดเร็ว…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  24 พฤษภาคม 2554
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เพลงที่ 11 ลืมไม่ได้เด็ดขาด ชื่อเพลง “ศรัทธา” ขับร้องโดยคุณโป่ง ปฐมพงษ์ สมบัติพิบูลย์ นักร้องนำวง หิน เหล็ก ไฟ ก่อนเปลี่ยนเป็นวง The Son ทราบว่าเพลงของวงนี้ เขาแต่งเนื้อร้องทำนองเองหมด คุณโป่งเป็นนักร้องร็อคระดับต้นแบบ หรือ Idol ของใครอีกมากมายที่เดินตามในถนนสายดนตรี เสียงมีพลัง มีความหนักแน่น เป็นเพลงประเภทให้กำลังใจต่อสู้ ให้มุมมองชีวิต ให้ความคิด เนื้อเพลงบางท่อนกลายเป็นวลีฮิตติดปากไปแล้ว เนื้อเพลงบางตอน              …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
      ผมฟังคุณศิริพรกล่าวเนื่องในวันเกิด ของผู้ชราหลายคนในวันนี้ ฟังแล้วจับใจไม่น้อย “ ...ถึงแม้บ้านวัยทองนิเวศน์ จะมีอาหารการกิน มีเครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้สอย แต่ที่ขาดเป็นด้านจิตใจ แม้จะไม่สามารถทดแทนครอบครัวเดิมของท่านได้ก็ตาม จะพยายามเติมเต็มส่วนที่ขาด ตามที่สามารถทำได้...” เมื่อพิธีกรงานวันเกิดกล่าวต่อจนจบแล้ว 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ใกล้เที่ยงในโรงอาหารมีคนพลุกพล่าน พินิจดูเป็นเด็กหนุ่มสาว อาจเป็นระดับอาชีวะ หรือมหาวิทยาลัยราวปี 1 , 2 มีโต๊ะยาววางถ้วยจานแก้วน้ำ หน้าโรงอาหาร มีเจ้าหน้าที่บริการ 2 คน ผมเดินไม่รู้ไม่ชี้มองหาเจ้าหน้าที่บ้านวัยทองนิเวศน์
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ผมเดินออกจากสำนักงาน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ผมบอกให้ลูกจอดรถ ที่ถนนทอดสู่ตัวอาคารสำนักงาน บอกให้แกพาแม่ไปเยี่ยมยายที่บ้านปง ที่อยู่ห่างจากที่นี่ราว 3 กิโลเมตรเศษ ประมาณ 11 โมงให้กลับมารับพ่อ ผมเดินเข้าไปหาเจ้าหน้าที่ในตัวอาคาร พบเจ้าหน้าที่หญิง เป็นคนที่เคยรู้จักกันมาก่อน เธอยกมือไหว้เมื่อเห็นหน้าผม เธอมีบ้านพักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านสันมหาพน หมู่บ้านนี้อยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนสันมหาพนวิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ฟากถนนทิศตะวันตก โรงเรียนนี้อยู่ห่างที่ว่าอำเภอไปทางทิศใต้ไม่ถึง 100 เมตร ผมเคยสอนโรงเรียนนี้นาน 12 ปี ผมบอกเธอว่า …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  วันนี้ขับรถกระบะสีเขียว รุ่น พ.ศ. 2537 ออกจากบ้านทุ่งแป้ง อำเภอสันป่าตองราว 8.00 น.เศษ มีจุดหมายปลายทางที่บ้านวัยทองนิเวศน์ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ คนนั่งซ้ายมือเป็นขาประจำ มีหน้าที่นั่งคุยเป็นเพื่อนไม่ให้คนขับรถง่วง บางเวลาก็นั่งเฝ้ารถกรณีผมเข้าห้องสมุดที่ต่างๆ คอยซื้ออาหารกลางวัน เครื่องดื่มบำรุงคนขับรถ เป็นฝ่ายสวัสดิการ บางทีทำเกินหน้าที่ กลายเป็นฝ่ายก่อความสงบภายในรถ สร้างความเครียดแก่คนขับแทนการผ่อนคลาย สาเหตุจากให้เฝ้ารถนานๆ เมื่อผมกลับจากค้นคว้าในห้องสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ปีนี้ พ.ศ.2554 จะยังมีกิจกรรมดำหัวผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่หรือไม่ ? หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น “ไทยนิวส์” ฉบับวันศุกร์ที่ 1 เมษายน 2554 ได้ลงข่าวหน้า 1 ว่า “ จัดดำหัวผู้ว่าฯสานประเพณี เปลี่ยนชื่องานใหม่ สระเกล้าฯป้อเมือง .” โดยมีเนื้อหาข่าวบางตอนดังนี้ครับ “เมื่อ 30 มีนาคม 2554 นายวรการ ยศยิ่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เผยว่า เพื่อให้การจัดกิจกรรมนี้เป็นการแสดงออกถึงความเป็นวัฒนธรรมประเพณีปีใหม่เมืองล้านนาของจังหวัดเชียงใหม่ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อกิจกรรมเป็นงาน สระเกล้าดำหัวป้อเมืองเจียงใหม่ …