Skip to main content

ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง

 

 

 

 

น่าชื่นใจ

ที่เราเกิดเชียงใหม่ ดินแดนแห่งต้นแม่น้ำปิง แต่จะชื่นใจและภูมิใจยิ่งกว่า หากเราเกิดมาแล้วรักแม่น้ำปิง รักแล้วดูแลรักษาน้ำให้สะอาด ไม่ให้คนอีกกลุ่มรุกล้ำทำลายโดยวิธีการต่างๆ โบราณกาลนั้น เราจะสร้างบ้านแปงเมืองตามแนวริมแม่น้ำ อาศัยแม่น้ำในการดำรงชีพ ไว้อาบไว้ใช้ เดินทางและขนส่งสินค้า อาจเป็นกฎหรือหลักเหตุและผลง่ายๆ คนทำลายน้ำทำลายป่า ทำลายสิ่งแวดล้อม ผลตามมาจะย้อนทำลายคน ลูกหลาน บ้านเรือน นี่คือหลักของอริยสัจ 4 ที่พระพุทธองค์ค้นพบ เป็นหลักของผลย่อมมาจากเหตุ

วันนี้

เราจึงต้องย้อนกาลเวลา เพื่อรับรู้ความเป็นมาของแม่น้ำปิง อันเป็นรากเหง้าส่วนหนึ่งของลูกหลานลูกแม่ระมิงค์รุ่นต่อรุ่น...หลัง พ.ศ.1 หรือมากกว่า 2,500  ปีมาแล้ว มีชนเผ่าพื้นเมืองตั้งมั่นบริเวณน้ำแม่กวง ในที่ราบลุ่มน้ำแม่ปิงเขต จ.ลำพูน ยังไม่มีหลักฐานบอกได้ว่า คนพวกนี้เป็นบรรพชนชาวลุ่มน้ำปิง ที่จะเติบโตเป็นรัฐหริภุญชัย รัฐเชียงใหม่ รัฐล้านนา ต่อไป ตำนานและนิทานที่แต่งขึ้นสมัยหลังๆ เรียกชื่อบรรพชนชาวล้านนาพวกนี้ว่า เมงคบุตร แปลว่า ลูกหลานเชื้อสายของ เมง คือรามัญหรือมอญ และเรียกชื่อดินแดนในยุคนี้ว่า  มิคสังครนคร และสมันตรประเทศ

อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม อธิบายว่า

“กลุ่มชนที่เจริญพวกแรกในที่ราบลุ่มเชียงใหม่คือ พวกเมงคบุตร ซึ่งตั้งหลักแหล่งอยู่บริเวณที่ราบเชิงดอย

สุเทพ ใกล้กับลำน้ำแม่ขาน อันเป็นสาขาแม่น้ำปิง ลักษณะสังคมของชนพื้นเมืองนี้เป็น แบบเผ่า(Tribal Society) แต่ว่าแบ่งเป็นหลายตระกูล(Totemic Groups)...”

บริเวณที่ราบลุ่มเชียงใหม่

มีประชาชนอาศัยอยู่หลายเผ่า แต่ที่สำคัญได้แก่พวก เมง(มอญหรือรามัญ)และพวก ลัวะ(ลวะหรือละว้า)

เม็งและลัวะเป็นชาติพันธุ์ดั้งเดิมในที่ราบลุ่มน้ำปิง ตำนานจามเทวีวงศ์เรียกชาติพันธุ์เม็งว่า เมงคบุตร

อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม วิเคราะห์ว่า กลุ่มเมงคบุตร เป็นกลุ่มชนพื้นเมืองที่เจริญเป็นพวกแรกในแถบที่ราบเชียงใหม่ มีลักษณะสังคมชนเผ่า แบ่งออกเป็นหลายตระกูล แต่ละตระกูลใช้สัตว์เป็นสัญลักษณ์ของตน ลักษณะการตั้งถิ่นฐานของชาติพันธ์เม็ง มักกระจายตัวอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง จึงพบคำเก่าแก่ในภาษาเม็งเรียกแม่น้ำปิงว่า “แม่ระมิง.”(มาจากคำว่า รเมญ ในภาษามอญโบราณและกร่อนมาเหลือ เมญ หรือ เม็ง ในภาษาล้านนา) หรือแม่น้ำเม็ง หมายถึงแม่น้ำที่ชาวเม็งอาศัยอยู่ แต่เม็งมีประชากรน้อยกว่าลัวะ

ต่อมามีชาวต่างถิ่นที่รับวัฒนธรรมอินเดีย คือฤาษีวาสุเทพอพยพเข้ามา ได้แต่งงานกับหญิงพื้นเมืองที่นับถือเนื้อเป็นสัญลักษณ์ ฤาษีวาสุเทพกลายเป็นผู้นำชาวพื้นเมืองเหล่านี้ทั้งหมด ต่อมาจึงได้สร้างบ้านเมืองขึ้นให้ลูกหลานปกครอง(หนังสือ “จังหวัดเชียงใหม่มาจากไหน.” โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ)

มีข้อมูลที่น่าสนใจ

“ บริเวณที่ราบลุ่มเชียงใหม่(Chiang Mai Valley)  เป็นที่อุดมสมบูรณ์ เป็นศูนย์กลางของสังคมและวัฒนธรรมแต่อดีต มีชื่อเรียกกันตามความสำคัญของลำน้ำปิงที่ไหลหล่อเลี้ยงพื้นที่ราบนี้ว่า พิงครัฐ...”

 อีกตอนหนึ่งว่า

“...ลงเรือมาตามแม่น้ำพิงค์ 7 เดือน จึงบรรลุถึงเมืองนี้ ท่านวาสุเทพและท่านสุกกทนต์พร้อมด้วยชาวเมืองทั้งปวงได้อัญเชิญพระนางจัมมเทวีนั้นนั่งบนกองทองคำ แล้วอภิเษก อาศัยเหตุที่พระนางนั่งบนกองทองคำอภิเษก นครนั่นจึงชื่อว่า หริปุญชัย สืบมาจนถึงวันนี้.”(หนังสือ  “เชียงใหม่มาจากไหน.” โดยสุจิตต์ วงษ์เทศ)

เชื่อมเรื่องราวต่ออีกว่า

พระเจ้ามังรายพระชนม์ได้ 23 ปี ทรงสร้างเมืองเชียงราย เมื่อ พ.ศ.1806...ต่อจากนั้นทรงสร้างกุสนคร เมื่อ พ.ศ. 1817(เข้าใจว่าคือเมืองฝาง)...พระเจ้าเมืองรายมีพระชนม์มายุ 53 ปี พ.ศ.1836 ได้เข้ายึดหริปุญชัยจากพระเจ้าญีบาได้สำเร็จ จากนั้นพระองค์ทรงสร้างนครเชียงใหม่ปี พ.ศ.1839 ในท้องที่ภูเขาอุจฉุคิรี(ดอยสุเทพ)กับแม่น้ำพิงค์( หนังสือ ชินกาลมาลีปกรณ์ หน้า 93-94)

มีคำว่า “แคว้นพิงค์.”

ปรากฏในสมัยพระเจ้ามังรายครองเมืองเชียงใหม่ และมีคำว่า “นครพิงค์.” ปรากฏในสมัยเจ้าครามซึ่งเป็นพระราชบุตรของพระเจ้ามังรายครองเมืองเชียงใหม่ (หนังสือ ชินกาลมาลีปกรณ์ หน้า 94-95)

มีคำสำคัญคือ พิงค หรือ พิงค์ เป็นชื่อเรียกทั้งเมืองและแม่น้ำ  และคำนี้ยังปรากฏในชื่อเมืองที่พญามังรายมหาราช พ่อขุนรามคำแหงมหาราช และพญางำเมือง ขนานนามเมืองใหม่นี้ว่า “ นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่.”

สรุปได้ว่า

แม่น้ำที่ราบลุ่มนี้เดิมชื่อ แม่น้ำระมิงค์ ต่อมาเปลี่ยนเป็น แม่น้ำพิงค์ แล้วแปรเปลี่ยนเป็นแม่น้ำปิงในปัจจุบัน จะมีลำดับการเปลี่ยนแปลงอย่างไรนั้น ยังค้นหาหลักฐานเชื่อมต่อที่น่าเชื่อถือไม่ได้ คงต้องค้นคว้าแสวงหาจากหลักฐาน ปราชญ์  ผู้รู้ ต่อไป.

 

                                                ....................................................................

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ศึกครั้งนี้ใหญ่หลวง มันไม่พูด รุกคืบคลานไปข้างหน้าไม่มีหยุด เหมือนเชื้อโรคสายพันธุ์ใหม่ในหนังฝรั่งประเภท ไซไฟ (Sci-Fi) สภาพคล้ายเมือกฟองปุด ไหลกลืนกินทุกอย่างที่ขวางหน้า เป็นมฤตยูเงียบ เลือดเย็น มันคือกระแสน้ำ มิใช่หยดน้ำ...กระแสน้ำครั้งนี้เหมือนข้าศึกบ้านเมืองยุคปัจจุบัน ไม่มีการเจรจาพักรบ พักเหนื่อยพักหายใจ ไพร่พลมหาศาลหนุนเนื่อง หัวเมืองใหญ่น้อยจากเหนือลงใต้ถูกโจมตีแตกพ่าย มันกรีฑาทัพมุ่งโจมตีเมืองหลวง ที่มั่นสุดท้ายของเรา ปริมาณมหาศาล มาแรงและเร็ว มันคือกระแสน้ำ...…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ผมย้อนกลับมาดูน้ำท่วม ที่บ้านเกิดจังหวัดเชียงใหม่ ผมมีเวลามากพอเนื่องจากเกษียณอายุราชการ อ่านหนังสือบ้าง เขียนบ้าง ลองค้นหาข้อมูลน้ำท่วมจังหวัดเชียงใหม่ โดยค้นจากอินเทอร์เน็ต หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ได้พบข้อมูลน่าสนใจ ปีนี้ (29 กันยายน พ.ศ.2554) ระดับน้ำที่ P 1  ณ สะพานนวรัฐอยู่ที่ 4.94 เมตร เป็นสถิติสูงสุด สูงกว่าปี พ.ศ. 2548 ที่สูง 4.93 เมตร ในปี 2548 นั้น น้ำท่วมเชียงใหม่ครั้งแรกเมื่อ 13 สิงหาคม 2548 และท่วมอีก 3 ครั้ง ในเดือนกันยายน กลางเดือนกันยายน และต้นตุลาคม …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ลองพิจารณาคำพูดของน้องธัญญ์ คุณสรยุทธจากรายการ “ เจาะข่าวเด่นช่อง 3 .”(14 มิ.ย. 2554)ถามว่า “ ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์มา เคยมีเวลาใดที่รู้สึกทุกข์ใจบ้างหรือไม่ ?.”
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  3 เมษายน 2554 ได้ทราบข่าว นักเรียนไทยในสิงคโปร์ประสบอุบัติเหตุ ถูกรถไฟ  MRT ของสิงคโปร์ทับขาขาดทั้งสองข้าง ในเวลาต่อมาได้มีการเสนอข่าวเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง ได้ทราบเรื่องราวต่อมา คนไทยที่ได้รับอุบัติเหตุครั้งนี้ ชื่อ เด็กหญิงณิชชารีย์ เป็นเอกชนะศักดิ์ อายุ 14 ปี เดินทางไปเรียนซัมเมอร์คอร์สภาษาอังกฤษ เคมบริดจ์ ที่สิงคโปร์ เธอเป็นนักเรียนชั้น ม. 2 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย จังหวัดตรัง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  หากวิเคราะห์เรื่องน้ำท่วม ปีหนึ่งหากท่วม 1 ครั้งต่อปี ประชาชนเดือนร้อนก็ช่วยเหลือกันไป มอบถุงยังชีพมอบอาหาร ให้ค่าชดเชยหลัง 5, 000 บาท พอพ้นฤดูน้ำท่วมปัญหาหมดไปลืมกันไป ปีหน้าว่ากันอีกที ไม่ทราบว่ามีแผนป้องกันระดับประเทศไหมหนอ มีหน่วยงานใดเป็นเจ้าของเรื่องป้องกันน้ำท่วมระดับประเทศ แม้จะมีพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ 2550 และคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ แต่ยังขาดการทำงานที่เป็นระบบ คือสอดคล้องสัมพันธ์กันทุกขั้นตอนการทำงาน ยังขาดเอกภาพ ขาดความร่วมมือ  …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ที่บ้านทุ่งแป้ง  อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ฝนตกตลอดคืนวันที่ 6 , 9 , 13 กันยายน พ.ศ. 2554 พอเช้าวันที่ 14 กันยายน แม่น้ำขานเริ่มมีระดับสูงขึ้นรวดเร็ว และล้น บ่าข้ามถนนข้างแม่น้ำเข้าท่วมบ้านทุ่งแป้งจำนวน 90 กว่าหลังคา ระดับน้ำสูงขึ้นช้าๆ ต่อมาเริ่มท่วมถนนข้างบ้าน ที่คั่นระหว่าง บ้านผมกับวัดทุ่งแป้ง    ได้ยินเสียงน้ำไหลซ่าเข้าประตูวัด บริเวณบ้านผมได้ถมดินให้สูงก่อนปลูก น้ำ จึงยังไม่ท่วม บ้านอื่นรอบๆถูกน้ำท่วมหมดแล้ว มีเพื่อนบ้านนำรถยนต์มาฝาก 2 คัน…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  กรณีกลุ่มชาวบ้านอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา อ้างว่าได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ และเตรียมยื่นรัฐบาลชุดใหม่แก้กฎหมายจำนวน 3 ฉบับ รวมทั้งมีการต่อต้านและกล่าวโจมตีเจ้าหน้าที่นั้น ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชี้แจงว่า ไม่น่ามีปัญหาเพราะได้ชี้แจงทำความเข้าใจแล้วว่า จุดมุ่งหมายของทั้งกรมป่าไม้และกรมอุทยานแห่งชาติฯ ไม่ได้ดำเนินคดีกับชาวบ้าน แต่ดำเนินคดีกับกลุ่มทุนคนรวยคนมีเงิน ที่ไปบุกรุกเพื่อตัดวงจรการบุกรุกป่า ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    อธิบดีกรมป่าไม้กล่าวอย่างน่าสนใจ คดีบุกรุกป่าไม้ ใช้เวลาในการสอบคดีนาน 1-10 ปี กรณีบุกรุกอุทยานทับลาน ใช้เวลานานมาก กว่าคดีจะสิ้นสุดและมีผลบังคับใช้ให้รื้อถอนออกไป แต่ยังไม่ยอมรื้อ กรมป่าไม้จะใช้วังน้ำเขียวเป็นโมเดล ในการจัดการปัญหาการรุกป่า ให้เป็นตัวอย่างกับพื้นที่อื่นอย่างถึงที่สุด  
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  หน่วยงานต่างๆ เช่น กรมป่าไม้ สำนักงานการปฏิรูปที่เดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ(ป.ป.ท.) ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เข้ามาร่วมกันดำเนินการทางกฎหมายกับกลุ่มข้าราชการ รวมทั้งหน่วยงานราชการที่ทำผิดกฎหมาย เช่น เอกสารที่ไม่ชอบให้กับเอกชนบุกรุกที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่อุทยานแห่งชาติ และ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร(ส.ป.ก.)  
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  คนบางคนเสียชีวิตแล้ว ยังมีคนคิดถึง นึกถึงผลงานความดีที่ได้ทำ ยิ่งเสียชีวิตเพื่อปกป้องสิ่งอันเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมและผู้อื่น คนยิ่งไม่ลืมเลือน น่าเสียดาย คนทั่วไปมักยกย่องชื่นชม สืบสานเจตนารมณ์ เมื่อเขาหมดสิ้นลมหายใจ ยามมีลมหายใจเข้าออก มีกำลังทำงาน กลับไม่มีใครตระหนัก ให้การสนับสนุน ให้พลังใจ ไม่มีเลยจริงๆ คนหนึ่งนั้นคือ คุณสืบ นาคะเสถียร  
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    มีภาพคลื่นผู้คนแย่งกันขึ้นสะพานเรือ  แต่สะพานหย่อนลงไม่ถึงพื้น จึงไม่มีใครเข้าไปได้ มีอะไรบางอย่างขัดสะพานที่ทำหน้าที่คล้ายประตูเข้าเรือ เรือถูกคลื่นสึนามิกระแทกเคลื่อนเข้าใกล้ภูเขาเอเวอเรสต์ “ โอ้โฮ ! น้ำมันท่วมสูงถึงเพียงนี้หรือ ?.” ผมพูดในใจ คลื่นพาเรือใกล้ภูเขาเอเวอเรสต์เข้าไปอีก ใกล้เข้าไปๆ เรือติดเครื่องไม่ได้ เพราะประตูปิดค้างอยู่ ทำให้ไม่สามารถถอยเรือออกห่างภูเขาเอเวอเรสต์ได้ ถ้าเรือกระแทกเขาเอเวอเรสต์ที่ยังมีน้ำแข็งปกคลุมอยู่ เรือย่อมแตกเป็นหลายเสี่ยง พระเอกดำน้ำลงไปแก้ไข ตื่นเต้นเหลือเกิน…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  นักตีความ ให้ความสนใจโคลงบทนี้มาก ต้องมาตีความกันอย่างหนัก เหตุการณ์จริงคือ สลัดอากาศจี้เครื่องบินโบอิ้ง จำนวน 2 ลำ พุ่งชนอาคารเวิร์ลเทรดเซ็นเตอร์ของอเมริกา ซึ่งเป็นตึกแฝดพังทลายลง(11 กันยนยน 2001) เหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้น  ตรงตามคำพยากรณ์ แต่ปี เดือน ไม่ตรงกัน