Skip to main content


ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง


 


เสมาหรือสีมาหมายถึงเขตหรือแดนที่กำหนดไว้สำหรับทำพิธีกรรมต่างๆของสงฆ์
ส่วนใบเสมาหรือใบสีมา หมายถึงแผ่นหินที่ทำเป็นเครื่องหมายบอกเขตอุโบสถ
วัตถุที่ใช้บอกเขตแห่งสีมามามี 8 ชนิด ภูเขา ศิลา ต้นไม้ จอมปลวก หนทาง แม่น้ำ หนองน้ำ

21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555
ผมเปลี่ยนแผนใหม่ตามที่คิดไว้ นิมนต์เจ้าอาวาสวัดทุ่งแป้งที่อยู่ข้างบ้านและพระลูกวัดอีก 2 รูป ไปดูหนองน้ำโบราณ ขากลับแวะวัดสองแควที่เก็บโบราณวัตถุไว้ในอุโบสถ แต่ปิดกุญแจไม่ให้ใครเข้าดู กรรมการวัดประกาศด้วยวาจาว่า ต้องรอฤกษ์งามยามดีก่อนจะเปิดให้คนทั่วไปได้ชม ผมบอกว่านิมนต์พระมาด้วย ท่านอยากดูวัตถุโบราณที่ขุดพบ แผนของผมได้ผล ชาวบ้านที่มางานศพในวัด ถามว่าพระวัดไหน เข้าทางผม ผมแนะนำทันที ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งแป้ง ท่านอยากดูของโบราณเก่าแก่ที่ขุดได้แล้วศรัทธาญาติโยมเก็บไว้ในอุโบสถ ปากต่อปากส่งต่อกันจนถึงผู้ใหญ่บ้าน ผู้ใหญ่บ้านผมดกหนวดหนาดำเดินลิ่วตรงมาหา พนมมือจรดหน้าผากเข้ามาใกล้เจ้าอาวาส พอทราบจากปากเจ้าอาวาส พลันปรากฏกุญแจเปิดอุโบสถในมือ ประตูเก็บโบราณวัตถุที่ขุดได้จากหนองน้ำฮองแฮง จึงเปิดกว้างต้อนรับคณะของผม คนเฒ่าคนแก่ที่ยังไม่ได้ดู เดินตามกันเป็นพรวน บริเวณลานซีเมนต์ก่อนถึงบันไดขั้นแรกขึ้นอุโบสถ ปรากฏหินฝังไว้ 2 ก้อน ก้อนแรกสูงราว 1 คืบเศษ กว้าง 1 คืบ ถัดไปเป็นหินก้อนที่สอง กว้าง 2 คืบ สูง 2 คืบเศษ คงเป็นเสมา ทุกคนเดินหลีกก้อนหินทั้งสองโดยไม่ได้นัดหมาย ซึ่งหาดูยากตามวัดทั่วๆไป วัตถุโบราณที่ขุดพบถูกเก็บอย่างดีไว้ในตู้กระจก วางสองข้างผนังอุโบสถ มีหมายเลขติดกระดาษขาวชิ้นเล็กบอกลำดับเลขที่โบราณวัตถุ ประกอบด้วย พระพุทธรูปหัก บางองค์เหลือลำตัว บางส่วนเหลือเพียงเศียร เหนือศีรษะมีมงกุฎ มีกุณฑล(ตุ้มหู) ห้อยสังวาล แสดงลักษณะการแต่งกายของกษัตริย์ บางองค์มีใบหน้าคล้ายสตรีสูงศักดิ์ คาดคะเนว่า น่าจะเป็นการจำลองจากพระพักตร์พระนางจามเทวี มีของใช้วางอยู่กลุ่มหนึ่งที่ยังคงรูป เป็นหม้อดิน บางชิ้นเป็นแผ่นที่แตกหัก ปรากฏลายดอกไม้ ผมถ่ายรูปไว้มากมายทีเดียว

ผมเกิดความอยากรู้
เรื่องราวเมืองเถาะขึ้นมา อยากรู้ประวัติศาสตร์โบราณวัตถุที่อยู่ใกล้บ้านหลังปัจจุบัน ที่มีการขุดเป็น
อ่างเก็บน้ำตามข้อมูลข้างต้น มันน่าตื่นตาตื่นใจได้เห็นของโบราณสมัยเป็นพันๆปี ก่อนนี้ได้เห็นเพียงในหนังในละครโบราณ  จึงได้ค้นคว้าหาข้อมูล ผมมีหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ “ประวัติศาสตร์ล้านนา” เขียนโดยศาสตราจารย์สรัสวดี  อ๋องสกุล ท่านผู้นี้สอนที่คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ผมไปพบท่านที่คณะมนุษยศาสตร์ แนะนำตนเองว่าเป็นข้าราชการบำนาญ และแจ้งข่าวการขุดพบชุมชนเก่าแก่ ณ หนองน้ำ ฮองแฮง ท่านบอกว่ายังไม่ทราบข่าว ผมแจ้งว่าอยากให้อาจารย์ไปดูเพื่อประโยชน์ต่อการค้นคว้า แล้วนำมาเขียนขยายเพิ่มเติมจากเนื้อหาเดิม ที่อาจารย์เขียนไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์ล้านนา ส่งโรงพิมพ์จำหน่ายจะเกิดประโยชน์ต่อผู้คนทั่วไป และผมจะได้ซื้อผลงานของท่านไว้อ่านอีกด้วย อาจารย์กล่าวขอบคุณที่นำข่าวมาบอกด้วยท่าทีสุภาพน่าเคารพ.

                                    .............................................................................................

 

 

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    นอสตราดามุส (ค.ศ. 1502-1566) เป็นชาวฝรั่งเศสเชื้อสายยิว เรียนจบปริญญาตรีคะแนนดีเยี่ยม จึงโดดเรียนปริญญาเอกจนจบสาขาแพทย์ ได้ทำนายไว้ว่า  “ ...วันเวลาแห่งความศักดิ์สิทธิ์ของการสิ้นยุคเก่าและการมาถึงของยุคใหม่...กำลังจะเข้ามาปรากฏแก่สังคมโลกมนุษย์อยู่แล้ว ซึ่งคาดตามตรรกะจะเกิดขึ้นในช่วงระหว่าง 23 ปีข้างหน้านี้ คือระหว่างปี ค.ศ. 2000 ถึง ค.ศ.2023...” (หนังสือนอสตราดามุส โดย ศ.เจริญ วรรธนะสิน หน้า 363)  
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ผมปลดกระเป๋าหนังสะพายบ่า เปิดกระเป๋าหยิบเอกสารปึกใหญ่ออกมา ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับแผ่นดินไหว ดูท่านยิ้มเหมือนพึงพอใจ ชี้ไปที่เอกสารฉบับหนึ่งแล้วบอกว่า นั่นเป็นชื่อของท่านที่เขียนเรื่องนั้น ผมหัวเราะแก้เขินที่จุดไต้ตำตอ ถือโอกาสย้ำถาม “ ท่านชื่อคุณอดิศร ฟุ้งขจรหรือครับ ? ขอโทษผมไม่ทราบจริงๆครับ.” เราทั้งคู่หัวเราะและยิ้มให้กัน เราเริ่มคุ้นเคยกันในเวลาอันสั้น คงจะจริงนะ ที่ว่าการพบกันครั้งแรกเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง หากอัธยาศัยต้องกัน หรือที่พูดกันว่า ถูกชะตากัน ยิ่งคุยยิ่งสนุก มิตรภาพงอกงามรวดเร็ว…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  24 พฤษภาคม 2554
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เพลงที่ 11 ลืมไม่ได้เด็ดขาด ชื่อเพลง “ศรัทธา” ขับร้องโดยคุณโป่ง ปฐมพงษ์ สมบัติพิบูลย์ นักร้องนำวง หิน เหล็ก ไฟ ก่อนเปลี่ยนเป็นวง The Son ทราบว่าเพลงของวงนี้ เขาแต่งเนื้อร้องทำนองเองหมด คุณโป่งเป็นนักร้องร็อคระดับต้นแบบ หรือ Idol ของใครอีกมากมายที่เดินตามในถนนสายดนตรี เสียงมีพลัง มีความหนักแน่น เป็นเพลงประเภทให้กำลังใจต่อสู้ ให้มุมมองชีวิต ให้ความคิด เนื้อเพลงบางท่อนกลายเป็นวลีฮิตติดปากไปแล้ว เนื้อเพลงบางตอน              …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
      ผมฟังคุณศิริพรกล่าวเนื่องในวันเกิด ของผู้ชราหลายคนในวันนี้ ฟังแล้วจับใจไม่น้อย “ ...ถึงแม้บ้านวัยทองนิเวศน์ จะมีอาหารการกิน มีเครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้สอย แต่ที่ขาดเป็นด้านจิตใจ แม้จะไม่สามารถทดแทนครอบครัวเดิมของท่านได้ก็ตาม จะพยายามเติมเต็มส่วนที่ขาด ตามที่สามารถทำได้...” เมื่อพิธีกรงานวันเกิดกล่าวต่อจนจบแล้ว 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ใกล้เที่ยงในโรงอาหารมีคนพลุกพล่าน พินิจดูเป็นเด็กหนุ่มสาว อาจเป็นระดับอาชีวะ หรือมหาวิทยาลัยราวปี 1 , 2 มีโต๊ะยาววางถ้วยจานแก้วน้ำ หน้าโรงอาหาร มีเจ้าหน้าที่บริการ 2 คน ผมเดินไม่รู้ไม่ชี้มองหาเจ้าหน้าที่บ้านวัยทองนิเวศน์
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ผมเดินออกจากสำนักงาน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ผมบอกให้ลูกจอดรถ ที่ถนนทอดสู่ตัวอาคารสำนักงาน บอกให้แกพาแม่ไปเยี่ยมยายที่บ้านปง ที่อยู่ห่างจากที่นี่ราว 3 กิโลเมตรเศษ ประมาณ 11 โมงให้กลับมารับพ่อ ผมเดินเข้าไปหาเจ้าหน้าที่ในตัวอาคาร พบเจ้าหน้าที่หญิง เป็นคนที่เคยรู้จักกันมาก่อน เธอยกมือไหว้เมื่อเห็นหน้าผม เธอมีบ้านพักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านสันมหาพน หมู่บ้านนี้อยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนสันมหาพนวิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ฟากถนนทิศตะวันตก โรงเรียนนี้อยู่ห่างที่ว่าอำเภอไปทางทิศใต้ไม่ถึง 100 เมตร ผมเคยสอนโรงเรียนนี้นาน 12 ปี ผมบอกเธอว่า …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  วันนี้ขับรถกระบะสีเขียว รุ่น พ.ศ. 2537 ออกจากบ้านทุ่งแป้ง อำเภอสันป่าตองราว 8.00 น.เศษ มีจุดหมายปลายทางที่บ้านวัยทองนิเวศน์ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ คนนั่งซ้ายมือเป็นขาประจำ มีหน้าที่นั่งคุยเป็นเพื่อนไม่ให้คนขับรถง่วง บางเวลาก็นั่งเฝ้ารถกรณีผมเข้าห้องสมุดที่ต่างๆ คอยซื้ออาหารกลางวัน เครื่องดื่มบำรุงคนขับรถ เป็นฝ่ายสวัสดิการ บางทีทำเกินหน้าที่ กลายเป็นฝ่ายก่อความสงบภายในรถ สร้างความเครียดแก่คนขับแทนการผ่อนคลาย สาเหตุจากให้เฝ้ารถนานๆ เมื่อผมกลับจากค้นคว้าในห้องสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ปีนี้ พ.ศ.2554 จะยังมีกิจกรรมดำหัวผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่หรือไม่ ? หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น “ไทยนิวส์” ฉบับวันศุกร์ที่ 1 เมษายน 2554 ได้ลงข่าวหน้า 1 ว่า “ จัดดำหัวผู้ว่าฯสานประเพณี เปลี่ยนชื่องานใหม่ สระเกล้าฯป้อเมือง .” โดยมีเนื้อหาข่าวบางตอนดังนี้ครับ “เมื่อ 30 มีนาคม 2554 นายวรการ ยศยิ่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เผยว่า เพื่อให้การจัดกิจกรรมนี้เป็นการแสดงออกถึงความเป็นวัฒนธรรมประเพณีปีใหม่เมืองล้านนาของจังหวัดเชียงใหม่ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อกิจกรรมเป็นงาน สระเกล้าดำหัวป้อเมืองเจียงใหม่ …