Skip to main content

ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง

 

 

ศาสตราจารย์สรัสวดี อ๋องสกุล
เขียนในหนังสือ “ประวัติศาสตร์ล้านนา” กล่าวถึง “เวียงเถาะ” ในหน้า 82-83 ว่า
        

        “ เวียงเถาะ ตั้งอยู่ที่ตำบลสองแคว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากเวียงท่ากานลงไปทางใต้  6 กิโลเมตร และห่างจากเมืองลำพูนลงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 19 กิโลเมตร ใกล้กับบริเวณที่ลำน้ำแม่ขานไหลมาบรรจบกับแม่น้ำปิง จากการสำรวจพบว่าแม่น้ำปิงกัดเซาะจนเวียงเถาะหายไปเกือบครึ่งเมือง เพราะน้ำปิงเซาะมาถึงบริเวณหน้าวัดสองแควซึ่งตั้งอยู่กลางเวียง ในปัจจุบันแม่น้ำปิงเปลี่ยนเส้นทางไปทางทิศตะวันออกไกลจากเวียงเถาะแล้ว สภาพคันดินที่เหลืออยู่ขาดเป็นตอนๆ เนื่องจากถูกไถออกเพื่อใช้พื้นที่ทำการเกษตร พื้นดินพบเศษเครื่องปั้นดินเผาลายขูดศิลปะหริภุญไชยเล็กน้อย ส่วนร่องรอยโบราณสถานร้างต่างๆในเวียงเถาะ มีปริมาณน้อยกว่าเวียงมะโน เวียงเถาะจึงเป็นเมืองขนาดเล็ก(เล็กกว่าเวียงท่ากานและเวียงมะโน) คงเป็นทางผ่าน เมื่อวิเคราะห์ที่ตั้งเวียงเถาะจะอยู่ค่อนไปทางปลายแอ่งเชียงใหม่-ลำพูน ภูมิประเทศเป็นเนินคั่นกับที่ราบเป็นตอนๆ ย่อมไม่สะดวกต่อการทำเกษตรกรรม เป็นไปได้ว่ามีผู้คนเบาบาง
            หลักฐานสำคัญมีศิลาจารึกภาษามอญ พบที่หลังวิหารสองแคว ปัจจุบันเก็บไว้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่ การพบศิลาจารึกอักษรมอญที่เวียงเถาะ เวียงมโน เวียงกุมกาม และที่ลำพูน แสดงความสัมพันธ์ของกลุ่มบ้านเมืองในแคว้นหริภุญไชย น่าเสียดายที่ไม่พบหลักฐานประเภทตำนานที่กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของเวียงเถาะ การศึกษาเวียงเถาะจึงอาศัยจากหลักฐานโบราณคดีที่มีไม่มากนัก ร่องรอยที่เหลืออยู่คือวัดสองแควศูนย์กลางเมือง วัดนี้มีมาแต่ครั้งสมัยหริภุญไชย เพราะมีโบราณวัตถุศิลปะ หริภุญไชย ได้แก่  พระพุทธรูปหินทรายเป็นพระประธาน พระพุทธรูปองค์นี้เป็นหินทรายศิลปะหริภุญไชยที่ใหญ่ที่สุดและมีสภาพสมบูรณ์ เนื่องจากเป็นหินทราย มีความคงทน จึงไม่ถูกบูรณะต่อเติม.”

ปัจจุบันกาล

เราใช้ชีวิตโลดแล่น หายใจเข้าออก ดำรงชีวิตอยู่บนผิวดินชั้นบนสุด ขุดลึกลงไปในดินนั่นคืออดีตกาล ความเป็นมา รากเหง้า เป็นแหล่งของโบราณวัตถุ เมืองโบราณที่ล่มสลาย เป็นพิพิธภัณฑ์ใต้ดินของโลกที่ดีที่สุด ป้องกันภัยต่างๆได้แสนวิเศษ ไม่ว่าเป็น ไฟไหม้ น้ำท่วม พายุรุนแรง แผ่นดินไหว และมนุษย์บางคน แต่ละชั้นดินบอกจำนวนปีแห่งกาลเวลา เป็นร้อยเป็นพันๆปี ยิ่งลึกยิ่งเนิ่นนาน ย้อนหลังไกลออกไปทุกที.

                                        ...................................................................................
 

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    นอสตราดามุส (ค.ศ. 1502-1566) เป็นชาวฝรั่งเศสเชื้อสายยิว เรียนจบปริญญาตรีคะแนนดีเยี่ยม จึงโดดเรียนปริญญาเอกจนจบสาขาแพทย์ ได้ทำนายไว้ว่า  “ ...วันเวลาแห่งความศักดิ์สิทธิ์ของการสิ้นยุคเก่าและการมาถึงของยุคใหม่...กำลังจะเข้ามาปรากฏแก่สังคมโลกมนุษย์อยู่แล้ว ซึ่งคาดตามตรรกะจะเกิดขึ้นในช่วงระหว่าง 23 ปีข้างหน้านี้ คือระหว่างปี ค.ศ. 2000 ถึง ค.ศ.2023...” (หนังสือนอสตราดามุส โดย ศ.เจริญ วรรธนะสิน หน้า 363)  
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ผมปลดกระเป๋าหนังสะพายบ่า เปิดกระเป๋าหยิบเอกสารปึกใหญ่ออกมา ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับแผ่นดินไหว ดูท่านยิ้มเหมือนพึงพอใจ ชี้ไปที่เอกสารฉบับหนึ่งแล้วบอกว่า นั่นเป็นชื่อของท่านที่เขียนเรื่องนั้น ผมหัวเราะแก้เขินที่จุดไต้ตำตอ ถือโอกาสย้ำถาม “ ท่านชื่อคุณอดิศร ฟุ้งขจรหรือครับ ? ขอโทษผมไม่ทราบจริงๆครับ.” เราทั้งคู่หัวเราะและยิ้มให้กัน เราเริ่มคุ้นเคยกันในเวลาอันสั้น คงจะจริงนะ ที่ว่าการพบกันครั้งแรกเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง หากอัธยาศัยต้องกัน หรือที่พูดกันว่า ถูกชะตากัน ยิ่งคุยยิ่งสนุก มิตรภาพงอกงามรวดเร็ว…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  24 พฤษภาคม 2554
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เพลงที่ 11 ลืมไม่ได้เด็ดขาด ชื่อเพลง “ศรัทธา” ขับร้องโดยคุณโป่ง ปฐมพงษ์ สมบัติพิบูลย์ นักร้องนำวง หิน เหล็ก ไฟ ก่อนเปลี่ยนเป็นวง The Son ทราบว่าเพลงของวงนี้ เขาแต่งเนื้อร้องทำนองเองหมด คุณโป่งเป็นนักร้องร็อคระดับต้นแบบ หรือ Idol ของใครอีกมากมายที่เดินตามในถนนสายดนตรี เสียงมีพลัง มีความหนักแน่น เป็นเพลงประเภทให้กำลังใจต่อสู้ ให้มุมมองชีวิต ให้ความคิด เนื้อเพลงบางท่อนกลายเป็นวลีฮิตติดปากไปแล้ว เนื้อเพลงบางตอน              …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
      ผมฟังคุณศิริพรกล่าวเนื่องในวันเกิด ของผู้ชราหลายคนในวันนี้ ฟังแล้วจับใจไม่น้อย “ ...ถึงแม้บ้านวัยทองนิเวศน์ จะมีอาหารการกิน มีเครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้สอย แต่ที่ขาดเป็นด้านจิตใจ แม้จะไม่สามารถทดแทนครอบครัวเดิมของท่านได้ก็ตาม จะพยายามเติมเต็มส่วนที่ขาด ตามที่สามารถทำได้...” เมื่อพิธีกรงานวันเกิดกล่าวต่อจนจบแล้ว 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ใกล้เที่ยงในโรงอาหารมีคนพลุกพล่าน พินิจดูเป็นเด็กหนุ่มสาว อาจเป็นระดับอาชีวะ หรือมหาวิทยาลัยราวปี 1 , 2 มีโต๊ะยาววางถ้วยจานแก้วน้ำ หน้าโรงอาหาร มีเจ้าหน้าที่บริการ 2 คน ผมเดินไม่รู้ไม่ชี้มองหาเจ้าหน้าที่บ้านวัยทองนิเวศน์
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ผมเดินออกจากสำนักงาน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ผมบอกให้ลูกจอดรถ ที่ถนนทอดสู่ตัวอาคารสำนักงาน บอกให้แกพาแม่ไปเยี่ยมยายที่บ้านปง ที่อยู่ห่างจากที่นี่ราว 3 กิโลเมตรเศษ ประมาณ 11 โมงให้กลับมารับพ่อ ผมเดินเข้าไปหาเจ้าหน้าที่ในตัวอาคาร พบเจ้าหน้าที่หญิง เป็นคนที่เคยรู้จักกันมาก่อน เธอยกมือไหว้เมื่อเห็นหน้าผม เธอมีบ้านพักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านสันมหาพน หมู่บ้านนี้อยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนสันมหาพนวิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ฟากถนนทิศตะวันตก โรงเรียนนี้อยู่ห่างที่ว่าอำเภอไปทางทิศใต้ไม่ถึง 100 เมตร ผมเคยสอนโรงเรียนนี้นาน 12 ปี ผมบอกเธอว่า …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  วันนี้ขับรถกระบะสีเขียว รุ่น พ.ศ. 2537 ออกจากบ้านทุ่งแป้ง อำเภอสันป่าตองราว 8.00 น.เศษ มีจุดหมายปลายทางที่บ้านวัยทองนิเวศน์ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ คนนั่งซ้ายมือเป็นขาประจำ มีหน้าที่นั่งคุยเป็นเพื่อนไม่ให้คนขับรถง่วง บางเวลาก็นั่งเฝ้ารถกรณีผมเข้าห้องสมุดที่ต่างๆ คอยซื้ออาหารกลางวัน เครื่องดื่มบำรุงคนขับรถ เป็นฝ่ายสวัสดิการ บางทีทำเกินหน้าที่ กลายเป็นฝ่ายก่อความสงบภายในรถ สร้างความเครียดแก่คนขับแทนการผ่อนคลาย สาเหตุจากให้เฝ้ารถนานๆ เมื่อผมกลับจากค้นคว้าในห้องสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ปีนี้ พ.ศ.2554 จะยังมีกิจกรรมดำหัวผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่หรือไม่ ? หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น “ไทยนิวส์” ฉบับวันศุกร์ที่ 1 เมษายน 2554 ได้ลงข่าวหน้า 1 ว่า “ จัดดำหัวผู้ว่าฯสานประเพณี เปลี่ยนชื่องานใหม่ สระเกล้าฯป้อเมือง .” โดยมีเนื้อหาข่าวบางตอนดังนี้ครับ “เมื่อ 30 มีนาคม 2554 นายวรการ ยศยิ่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เผยว่า เพื่อให้การจัดกิจกรรมนี้เป็นการแสดงออกถึงความเป็นวัฒนธรรมประเพณีปีใหม่เมืองล้านนาของจังหวัดเชียงใหม่ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อกิจกรรมเป็นงาน สระเกล้าดำหัวป้อเมืองเจียงใหม่ …