Skip to main content


ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง

 

อาศัยอยู่บ้านทุ่งแป้ง
ตำบลท่าวังพร้าว อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ย่างเข้าปีที่ห้า ตรงกับ พ.ศ.2555 ปลูกบ้านไม้สักใต้ถุนโล่งข้างวัดทุ่งแป้ง(วัดมงคล) ห่างวัดแค่ถนนลาดยางคั่น ชื่อหมู่บ้านน่าฉงนว่า “ทุ่งแป้ง” ทุ่งนาหน้าบ้านมีพื้นที่นาเหลือเพียง 11 ไร่เศษ ไม่พบแป้งสักกิโลเดียว ผมเกิดความสงสัยอยากรู้ ไม่มีเอกสารหลักฐานอื่นใดให้ค้นหา จึงใช้วิธีสอบถามคนแก่คนเฒ่าในหมู่บ้าน ถามเหตุการณ์ย้อนรอยถอยหลังจากปัจจุบันให้ไกลที่สุด ได้คำตอบ 3 แนวทาง
         
แนวทางแรก ก่อนนั้นบ้านทุ่งแป้งแห้งแล้งมาก ไม่มีร่องน้ำระบายสู่ทุ่ง ดินขาวราวกับแป้ง
จึงเรียกชื่อว่าบ้านทุ่งแป้ง บ้านทุ่งแป้งอยู่ฝั่งตะวันออกน้ำแม่ขาน เดิมมีบ้านเรือนราว 60 หลังคา บ้านสบอาวอยู่ฝั่งตะวันออกแม่น้ำแม่ขานมีราว 30 หลังคา ทั้งสองหมู่บ้านอยู่ตรงข้ามกัน โดยมีน้ำแม่ขานไหลผ่ากลาง เป็นเรื่องราวเล่าขานนานกว่า 601 ปีมาแล้ว ประมาณ พ.ศ.2495
          
แนวทางที่สอง บ้านทุ่งแป้งมีพื้นที่นาตั้งแต่หัวขัว(สะพาน)แม่ขาน เลียบขึ้นเหนือตามลำน้ำแม่ขาน ชื่อว่าทุ่งแป้งเพราะมีการปั้นแป้งเหล้าแล้วนำไปตากแดดที่กลางทุ่ง แป้งนี้จะนำมาคลุกข้าวเหนียว หมักไว้ในปี๊บหรือถังนาน 2-3 เดือน แล้วนำไปต้มในหม้อ ทำการกลั่นเป็นเหล้า
           
แนวทางที่สาม บ้านทุ่งแป้งนั้นเดิมมี 2 พี่น้อง ชื่อปู่โต้งกับย่าโต้ง มีอาชีพปั้นแป้งเหล้าขาย จึงเรียกทุ่งกว้างนี้ว่า “โต้งแป้ง” ต่อมาเพี้ยนเป็น “ทุ่งแป้ง” ทั้งนี้เพราะ โต้ง” เป็นภาษาไทยพายัพ(คำเมือง) แปลเป็นภาษาไทยกลางว่า “ทุ่ง”

ปัญหาที่อยากรู้ต่อมา

เริ่มเป็นหมู่บ้านเมื่อใด ปี พ.ศ.เท่าไร ส่วนวัดนั้นสร้างเมื่อใด ระหว่างบ้านกับวัดสิ่งใดสร้างก่อน

มันน่าจะสร้างไล่เลี่ยกัน เราจะอาศัยอะไรเป็นจุดเริ่มต้นคลำหาปี พ.ศ.สร้างวัดสร้างหมู่บ้าน มองดูสิ่งก่อสร้างในวัด วิหารหลังกลางเป็นสิ่งก่อสร้างเก่าแก่ที่สุด สอบถามเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน(พ.ศ.2555) รวมทั้งสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน ไล่เรียงลำดับเจ้าอาวาสถอยหลังจนถึงรูปที่สมญาว่า “ครูบาชมพู” ผู้เฒ่าบางคนว่า เจ้าอาวาสองค์นี้เป็นผู้สร้างวัด เจ้าอาวาสรูปถัดมาสมญา “ครูบาหย่อง”(เป็นทวดภรรยาผู้เขียน) พระดอนศักดิ์เจ้าอาวาสรูปปัจจุบันกล่าวแย้งว่า เจ้าอาวาสรูปก่อนครูบาชมพูที่สร้างวัดน่าจะมีอีกหลายรูป การสืบค้นเส้นทางนี้จึงเริ่มสู่ทางตัน ผมกับเจ้าอาวาสรูปปัจจุบันเดินสนทนากันเข้าไปในวิหารหลังเก่าที่สุดของวัด ท่านชี้ให้ดูพระประธานและบอกว่าชื่อ “พระเจ้าเก้าตื้อ” เพียงได้ยินชื่อ แสงแห่งปัญญาเริ่มสว่างขึ้น ผมมองเห็นทางเดินทอดไปหาคำตอบ วิหารกับพระประธานน่าจะสร้างพร้อมกัน หรือไล่เลี่ยกัน หากว่าเราค้นหาประวัติการสร้างพระเจ้าเก้าตื้อในวิหารเบื้องหน้า ณ บัดนี้ได้กระจ่าง เราก็จะรู้ได้ว่า พระเจ้าเก้าตื้อสร้างโดยผู้ใด ในปี พ.ศ.เท่าใด จะทำให้เราทราบปีที่สร้างวิหารเก่าแก่ที่สุดของวัดโดยปริยาย และยังขยายความถึงปีที่สร้างวัดนี้ได้อีกด้วย.

                                    ...................................................................

 

 

 

 

 

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    นอสตราดามุส (ค.ศ. 1502-1566) เป็นชาวฝรั่งเศสเชื้อสายยิว เรียนจบปริญญาตรีคะแนนดีเยี่ยม จึงโดดเรียนปริญญาเอกจนจบสาขาแพทย์ ได้ทำนายไว้ว่า  “ ...วันเวลาแห่งความศักดิ์สิทธิ์ของการสิ้นยุคเก่าและการมาถึงของยุคใหม่...กำลังจะเข้ามาปรากฏแก่สังคมโลกมนุษย์อยู่แล้ว ซึ่งคาดตามตรรกะจะเกิดขึ้นในช่วงระหว่าง 23 ปีข้างหน้านี้ คือระหว่างปี ค.ศ. 2000 ถึง ค.ศ.2023...” (หนังสือนอสตราดามุส โดย ศ.เจริญ วรรธนะสิน หน้า 363)  
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ผมปลดกระเป๋าหนังสะพายบ่า เปิดกระเป๋าหยิบเอกสารปึกใหญ่ออกมา ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับแผ่นดินไหว ดูท่านยิ้มเหมือนพึงพอใจ ชี้ไปที่เอกสารฉบับหนึ่งแล้วบอกว่า นั่นเป็นชื่อของท่านที่เขียนเรื่องนั้น ผมหัวเราะแก้เขินที่จุดไต้ตำตอ ถือโอกาสย้ำถาม “ ท่านชื่อคุณอดิศร ฟุ้งขจรหรือครับ ? ขอโทษผมไม่ทราบจริงๆครับ.” เราทั้งคู่หัวเราะและยิ้มให้กัน เราเริ่มคุ้นเคยกันในเวลาอันสั้น คงจะจริงนะ ที่ว่าการพบกันครั้งแรกเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง หากอัธยาศัยต้องกัน หรือที่พูดกันว่า ถูกชะตากัน ยิ่งคุยยิ่งสนุก มิตรภาพงอกงามรวดเร็ว…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  24 พฤษภาคม 2554
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เพลงที่ 11 ลืมไม่ได้เด็ดขาด ชื่อเพลง “ศรัทธา” ขับร้องโดยคุณโป่ง ปฐมพงษ์ สมบัติพิบูลย์ นักร้องนำวง หิน เหล็ก ไฟ ก่อนเปลี่ยนเป็นวง The Son ทราบว่าเพลงของวงนี้ เขาแต่งเนื้อร้องทำนองเองหมด คุณโป่งเป็นนักร้องร็อคระดับต้นแบบ หรือ Idol ของใครอีกมากมายที่เดินตามในถนนสายดนตรี เสียงมีพลัง มีความหนักแน่น เป็นเพลงประเภทให้กำลังใจต่อสู้ ให้มุมมองชีวิต ให้ความคิด เนื้อเพลงบางท่อนกลายเป็นวลีฮิตติดปากไปแล้ว เนื้อเพลงบางตอน              …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
      ผมฟังคุณศิริพรกล่าวเนื่องในวันเกิด ของผู้ชราหลายคนในวันนี้ ฟังแล้วจับใจไม่น้อย “ ...ถึงแม้บ้านวัยทองนิเวศน์ จะมีอาหารการกิน มีเครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้สอย แต่ที่ขาดเป็นด้านจิตใจ แม้จะไม่สามารถทดแทนครอบครัวเดิมของท่านได้ก็ตาม จะพยายามเติมเต็มส่วนที่ขาด ตามที่สามารถทำได้...” เมื่อพิธีกรงานวันเกิดกล่าวต่อจนจบแล้ว 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ใกล้เที่ยงในโรงอาหารมีคนพลุกพล่าน พินิจดูเป็นเด็กหนุ่มสาว อาจเป็นระดับอาชีวะ หรือมหาวิทยาลัยราวปี 1 , 2 มีโต๊ะยาววางถ้วยจานแก้วน้ำ หน้าโรงอาหาร มีเจ้าหน้าที่บริการ 2 คน ผมเดินไม่รู้ไม่ชี้มองหาเจ้าหน้าที่บ้านวัยทองนิเวศน์
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ผมเดินออกจากสำนักงาน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ผมบอกให้ลูกจอดรถ ที่ถนนทอดสู่ตัวอาคารสำนักงาน บอกให้แกพาแม่ไปเยี่ยมยายที่บ้านปง ที่อยู่ห่างจากที่นี่ราว 3 กิโลเมตรเศษ ประมาณ 11 โมงให้กลับมารับพ่อ ผมเดินเข้าไปหาเจ้าหน้าที่ในตัวอาคาร พบเจ้าหน้าที่หญิง เป็นคนที่เคยรู้จักกันมาก่อน เธอยกมือไหว้เมื่อเห็นหน้าผม เธอมีบ้านพักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านสันมหาพน หมู่บ้านนี้อยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนสันมหาพนวิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ฟากถนนทิศตะวันตก โรงเรียนนี้อยู่ห่างที่ว่าอำเภอไปทางทิศใต้ไม่ถึง 100 เมตร ผมเคยสอนโรงเรียนนี้นาน 12 ปี ผมบอกเธอว่า …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  วันนี้ขับรถกระบะสีเขียว รุ่น พ.ศ. 2537 ออกจากบ้านทุ่งแป้ง อำเภอสันป่าตองราว 8.00 น.เศษ มีจุดหมายปลายทางที่บ้านวัยทองนิเวศน์ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ คนนั่งซ้ายมือเป็นขาประจำ มีหน้าที่นั่งคุยเป็นเพื่อนไม่ให้คนขับรถง่วง บางเวลาก็นั่งเฝ้ารถกรณีผมเข้าห้องสมุดที่ต่างๆ คอยซื้ออาหารกลางวัน เครื่องดื่มบำรุงคนขับรถ เป็นฝ่ายสวัสดิการ บางทีทำเกินหน้าที่ กลายเป็นฝ่ายก่อความสงบภายในรถ สร้างความเครียดแก่คนขับแทนการผ่อนคลาย สาเหตุจากให้เฝ้ารถนานๆ เมื่อผมกลับจากค้นคว้าในห้องสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ปีนี้ พ.ศ.2554 จะยังมีกิจกรรมดำหัวผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่หรือไม่ ? หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น “ไทยนิวส์” ฉบับวันศุกร์ที่ 1 เมษายน 2554 ได้ลงข่าวหน้า 1 ว่า “ จัดดำหัวผู้ว่าฯสานประเพณี เปลี่ยนชื่องานใหม่ สระเกล้าฯป้อเมือง .” โดยมีเนื้อหาข่าวบางตอนดังนี้ครับ “เมื่อ 30 มีนาคม 2554 นายวรการ ยศยิ่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เผยว่า เพื่อให้การจัดกิจกรรมนี้เป็นการแสดงออกถึงความเป็นวัฒนธรรมประเพณีปีใหม่เมืองล้านนาของจังหวัดเชียงใหม่ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อกิจกรรมเป็นงาน สระเกล้าดำหัวป้อเมืองเจียงใหม่ …