Skip to main content


ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง
              

 

เมื่อพระราชบุตรีเจริญวัย 
พระเจ้าฝางทรงเกรงจะเป็นที่ละอายแก่ไพร่ฟ้าพลเมือง  จึงทรงสร้างสวนหลวงขึ้นทางเหนือเวียงสุทโธ(ใกล้กับเมืองฝาง)  และสร้างคุ้มหลวง  มีคูและปราการล้อมรอบพระราชฐานบุตรี  ให้เป็นที่ประทับสำราญ  สวนหลวงแห่งนั้นได้ชื่อว่า “เวียงมะลิกา”  ก็คืออำเภอแม่อายในปัจจุบัน  เชื่อว่าเวียงมะลิกาไม่มีบุรุษเพศเลย  ผู้คนล้วนแต่สตรีเพศ  พระแม่เจ้าทรงฝึกฝนสตรีผู้กำยำ  เป็นทหารหาญของเวียงมะลิกา  จนเป็นที่ลือชา  เล่าลือกันว่า  เวียงมะลิกาที่มีแต่สตรีเพศ  มีพลทหารธนูที่แกร่งกล้าแม่นยำมาก  ดังนั้นเมื่อพม่ายกทัพมาล้อมเมืองฝาง  พระนางมัลลิกาซึ่งเป็นบุตรี  จึงมาช่วยพระราชบิดาและพระมารดารบกองทัพพม่า

พระเจ้าสุทโธธรรมราชาได้วางแผนรบกับบรรดาแม่ทัพ  ได้กำหนดยุทธวิธีใหม่  โดยพระเจ้าสุทโธธรรมราชาสั่งกองทัพพม่า  ให้ล้อมเมืองฝางไว้โดยไม่เข้าโจมตี  มุ่งหวังให้พระเจ้าอุดมสินผู้ครองเมืองฝางประสบปัญหา  ทหารและประชาชนในเมืองขาดเสบียงอาหาร  อดอยากยากแค้น  แต่การเตรียมรบกับพม่ามาเนิ่นนาน  ทำให้เมืองฝางสามารถอยู่ภายในวงล้อมพม่าได้นานเป็นปี  พระเจ้าอุดมสินเห็นความเดือดร้อนอดอยากของประชาชนในเมืองเป็นปีๆ  เห็นว่าพระองค์และพระมเหสีเป็นสาเหตุให้ทหารและประชาราษฎร์  ได้รับความทุกข์ความลำบากต้องอดอยากต้องอยู่ภายในเมือง  ล้อมรอบด้วยกำแพง  ส่วนข้างนอกกำแพงเต็มด้วยทหารพม่า  ชาวบ้านไม่อาจทำมาหากินได้ตามปรกติ  เสบียงอาหารที่สะสมไว้ร่อยหรอลงทุกวัน  ความทุกข์ยากเหล่านี้จะหมดไป  ถ้าหากไม่มีพระองค์กับพระมเหสี  จึงตัดสินพระหทัยจะปลงพระชนม์ตนเอง  โดยทั้งสองพระองค์ไปกระโดดลงบ่อซาววาสิ้นพระชนม์  เมื่อขาดผู้นำที่บัญชากองทัพ  กองทัพพม่าจึงเข้าเมืองได้  หลังล้อมเมืองฝางนาน 3 ปี 3 เดือน  พระเจ้าสุทโธธรรมราชาทราบเรื่องราวที่เศร้าสลด  คาดไม่ถึง  รู้สึกละอายพระหทัย  สั่งทหารพม่ามิให้ทำร้ายชาวเมือง  แล้วยกทัพพม่ากลับ  เมืองฝางจึงว่างเว้นจากการรุกรานของพม่ามายาวนาน  ประชาชนอยู่อย่างเป็นสุขสงบเนิ่นนาน
 


ภาพประกอบ: บ่อซาววา  ซาวเป็นภาษาเหนือแปลว่ายี่สิบ  ซาววาคือยี่สิบวา หมายถึงบ่อลึกยี่สิบวา  บ่อน้ำซาววาอยู่หน้าวัดพระบาทอุดม อ.ฝาง เชียงใหม่

 

เหมันตฤดู
เวียนมาอีกคราหนึ่ง  หมอกขาวหม่นคลี่คลุมทั้งเมืองฝางดุจเมืองในหมอกฉะนั้น  หมอกยังแผ่คลุมตลอดถนนสายหลักหน้าเมืองฝาง  เช้าแล้ว  สองฝั่งถนนเต็มไปด้วยแถวผู้คนรอตักบาตรตามปรกติ  ทั้งคนแก่เฒ่าหนุ่มสาวและเด็กๆ  ต่างสวมเสื้อผ้าปกคลุมร่างกาย  ทั้งหมวก  ถุงเท้า  คนแก่เพิ่มผ้าคลุมชั้นนอก  ผ้านี้คล้ายผ้าเช็ดตัว  นิยมสีขาว  คนชราหญิงจะใช้คลุมรอบคอและบ่า  มักใช้โอกาสสำคัญ  เช่น  ไปวัดฟังธรรมในวันพระ  หมอกหนามองเห็นหน้ากันในระยะวาเศษ  ผู้คนถือภาชนะใส่อาหารเตรียมถวายพระ  มีการทักทายพูดคุยกันยามพบหน้าคนรู้จัก  และต่างชะเง้อมองทางทิศเหนือถนน  ที่พระจะเดินมา  หมอกหนาทำให้เห็นเพียงระยะใกล้  พระปรากฏแล้ว  รูปแรกนำหน้า  มองเห็นเพียงศีรษะลงมาถึงมือถือบาตร  ส่วนต่ำลงไปเหมือนจมอยู่ในหมอก  คล้ายใบหน้าเคลื่อนที่ออกจากกลุ่มหมอกเย็น  หาใช่พื้นดินไม่  รูปที่สองเดินตามออกมา  เป็นภาพที่น่าตื่นตา  จนกระทั่งครบ 5 รูป  ทุกรูปก้มศีรษะน้อยๆด้วยความสำรวม  เดินช้าๆคล้ายทำสมาธิกำหนดสติ  ท่านหยุดหันข้างให้ผู้รอตักบาตร  ค่อยเปิดฝาอย่างสำรวม  ให้พรแล้วเดินจากไป.
                             

 

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    นอสตราดามุส (ค.ศ. 1502-1566) เป็นชาวฝรั่งเศสเชื้อสายยิว เรียนจบปริญญาตรีคะแนนดีเยี่ยม จึงโดดเรียนปริญญาเอกจนจบสาขาแพทย์ ได้ทำนายไว้ว่า  “ ...วันเวลาแห่งความศักดิ์สิทธิ์ของการสิ้นยุคเก่าและการมาถึงของยุคใหม่...กำลังจะเข้ามาปรากฏแก่สังคมโลกมนุษย์อยู่แล้ว ซึ่งคาดตามตรรกะจะเกิดขึ้นในช่วงระหว่าง 23 ปีข้างหน้านี้ คือระหว่างปี ค.ศ. 2000 ถึง ค.ศ.2023...” (หนังสือนอสตราดามุส โดย ศ.เจริญ วรรธนะสิน หน้า 363)  
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ผมปลดกระเป๋าหนังสะพายบ่า เปิดกระเป๋าหยิบเอกสารปึกใหญ่ออกมา ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับแผ่นดินไหว ดูท่านยิ้มเหมือนพึงพอใจ ชี้ไปที่เอกสารฉบับหนึ่งแล้วบอกว่า นั่นเป็นชื่อของท่านที่เขียนเรื่องนั้น ผมหัวเราะแก้เขินที่จุดไต้ตำตอ ถือโอกาสย้ำถาม “ ท่านชื่อคุณอดิศร ฟุ้งขจรหรือครับ ? ขอโทษผมไม่ทราบจริงๆครับ.” เราทั้งคู่หัวเราะและยิ้มให้กัน เราเริ่มคุ้นเคยกันในเวลาอันสั้น คงจะจริงนะ ที่ว่าการพบกันครั้งแรกเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง หากอัธยาศัยต้องกัน หรือที่พูดกันว่า ถูกชะตากัน ยิ่งคุยยิ่งสนุก มิตรภาพงอกงามรวดเร็ว…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  24 พฤษภาคม 2554
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เพลงที่ 11 ลืมไม่ได้เด็ดขาด ชื่อเพลง “ศรัทธา” ขับร้องโดยคุณโป่ง ปฐมพงษ์ สมบัติพิบูลย์ นักร้องนำวง หิน เหล็ก ไฟ ก่อนเปลี่ยนเป็นวง The Son ทราบว่าเพลงของวงนี้ เขาแต่งเนื้อร้องทำนองเองหมด คุณโป่งเป็นนักร้องร็อคระดับต้นแบบ หรือ Idol ของใครอีกมากมายที่เดินตามในถนนสายดนตรี เสียงมีพลัง มีความหนักแน่น เป็นเพลงประเภทให้กำลังใจต่อสู้ ให้มุมมองชีวิต ให้ความคิด เนื้อเพลงบางท่อนกลายเป็นวลีฮิตติดปากไปแล้ว เนื้อเพลงบางตอน              …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
      ผมฟังคุณศิริพรกล่าวเนื่องในวันเกิด ของผู้ชราหลายคนในวันนี้ ฟังแล้วจับใจไม่น้อย “ ...ถึงแม้บ้านวัยทองนิเวศน์ จะมีอาหารการกิน มีเครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้สอย แต่ที่ขาดเป็นด้านจิตใจ แม้จะไม่สามารถทดแทนครอบครัวเดิมของท่านได้ก็ตาม จะพยายามเติมเต็มส่วนที่ขาด ตามที่สามารถทำได้...” เมื่อพิธีกรงานวันเกิดกล่าวต่อจนจบแล้ว 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ใกล้เที่ยงในโรงอาหารมีคนพลุกพล่าน พินิจดูเป็นเด็กหนุ่มสาว อาจเป็นระดับอาชีวะ หรือมหาวิทยาลัยราวปี 1 , 2 มีโต๊ะยาววางถ้วยจานแก้วน้ำ หน้าโรงอาหาร มีเจ้าหน้าที่บริการ 2 คน ผมเดินไม่รู้ไม่ชี้มองหาเจ้าหน้าที่บ้านวัยทองนิเวศน์
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ผมเดินออกจากสำนักงาน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ผมบอกให้ลูกจอดรถ ที่ถนนทอดสู่ตัวอาคารสำนักงาน บอกให้แกพาแม่ไปเยี่ยมยายที่บ้านปง ที่อยู่ห่างจากที่นี่ราว 3 กิโลเมตรเศษ ประมาณ 11 โมงให้กลับมารับพ่อ ผมเดินเข้าไปหาเจ้าหน้าที่ในตัวอาคาร พบเจ้าหน้าที่หญิง เป็นคนที่เคยรู้จักกันมาก่อน เธอยกมือไหว้เมื่อเห็นหน้าผม เธอมีบ้านพักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านสันมหาพน หมู่บ้านนี้อยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนสันมหาพนวิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ฟากถนนทิศตะวันตก โรงเรียนนี้อยู่ห่างที่ว่าอำเภอไปทางทิศใต้ไม่ถึง 100 เมตร ผมเคยสอนโรงเรียนนี้นาน 12 ปี ผมบอกเธอว่า …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  วันนี้ขับรถกระบะสีเขียว รุ่น พ.ศ. 2537 ออกจากบ้านทุ่งแป้ง อำเภอสันป่าตองราว 8.00 น.เศษ มีจุดหมายปลายทางที่บ้านวัยทองนิเวศน์ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ คนนั่งซ้ายมือเป็นขาประจำ มีหน้าที่นั่งคุยเป็นเพื่อนไม่ให้คนขับรถง่วง บางเวลาก็นั่งเฝ้ารถกรณีผมเข้าห้องสมุดที่ต่างๆ คอยซื้ออาหารกลางวัน เครื่องดื่มบำรุงคนขับรถ เป็นฝ่ายสวัสดิการ บางทีทำเกินหน้าที่ กลายเป็นฝ่ายก่อความสงบภายในรถ สร้างความเครียดแก่คนขับแทนการผ่อนคลาย สาเหตุจากให้เฝ้ารถนานๆ เมื่อผมกลับจากค้นคว้าในห้องสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ปีนี้ พ.ศ.2554 จะยังมีกิจกรรมดำหัวผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่หรือไม่ ? หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น “ไทยนิวส์” ฉบับวันศุกร์ที่ 1 เมษายน 2554 ได้ลงข่าวหน้า 1 ว่า “ จัดดำหัวผู้ว่าฯสานประเพณี เปลี่ยนชื่องานใหม่ สระเกล้าฯป้อเมือง .” โดยมีเนื้อหาข่าวบางตอนดังนี้ครับ “เมื่อ 30 มีนาคม 2554 นายวรการ ยศยิ่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เผยว่า เพื่อให้การจัดกิจกรรมนี้เป็นการแสดงออกถึงความเป็นวัฒนธรรมประเพณีปีใหม่เมืองล้านนาของจังหวัดเชียงใหม่ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อกิจกรรมเป็นงาน สระเกล้าดำหัวป้อเมืองเจียงใหม่ …