Skip to main content

 


ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง

มีนักเขียนดัง
ระดับโลกอีกหลายคน ไม่ได้รับรางวัลโนเบล ด้วยสาเหตุต่างๆกัน เป็นต้นว่า ลิโอ ตอลสตอย ,  เจมส์ จอยส์ ,
เวอร์จิเนีย  วูลฟ์  , คาลิล ยิบราน และ โอมาร์ คัยยัม ไม่มีชื่อได้รับรางวัลโนเบล เช่นกัน ส่วน ฌอง-ปอล-ซาร์ เป็นผู้ปฏิเสธไม่รับรางวัลโนเบล


อุษาคเนย์
คือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน(ASEAN)นั่นเอง ประกอบด้วยประเทศ  บรูไน  พม่า  อินโดนีเซีย กัมพูชา ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์  สิงคโปร์ ไทย  เวียตนาม ว่ากันว่านักเขียนในอุษาคเนย์ ไม่ได้รับความสนใจจากคณะกรรมการรางวัลโนเบล นักเขียนโนเบลส่วนใหญ่จะเป็นฝั่งยุโรปกับอเมริกา

รางวัลโนเบล
สาขาวรรณกรรม เริ่มมอบแต่ปี ค.ศ.1901 พิจารณาผลงานนักเขียนที่ยังมีชีวิตอยู่ ในพินัยกรรมของ อัลเฟรดโนเบล กล่าวถึงการให้รางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรมว่า ผลงานต้องมีคุณค่าในเชิงวรรณศิลป์ และมีความเป็น “ideal” หรือ “idealistic” คำแรกแปลว่า อุดมคติ คำที่สองแปลว่า อุดมการณ์ เปิดพจนานุกรมอังกฤษ-ไทย คำว่า “idealistic” แปลว่า ตามฝัน...ชักเริ่มมึนงงแล้ว แต่ก็ขอแปลต่อจนที่สุด พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้อธิบายว่า อุดมคติหมายถึง จินตนาการที่ถือว่า เป็นมาตรฐานแห่งความดี ความงาม ความจริง ทางใดทางหนึ่งที่มนุษย์ถือว่าเป็นเป้าหมายแห่งชีวิตตน ส่วนอุดมการณ์หมายถึง อุดมคติอันสูงส่งที่จูงใจมนุษย์ให้บรรลุถึง


บทสัมภาษณ์
ของบัญชา วิทยสรณะ ในนิตยสารสกุลไทย ฉบับวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2521 ปรากฏในหนังสือรวมเรื่องสั้นของประภัสสร เสวิกุล ชื่อ “คืนนี้ไม่มีแสงดาว” แม้จะผ่านมา 36-37 ปี แต่ข้อคิดเห็นยังน่าสนใจ

(บัญชา)  คิดว่านักเขียนไทยมีสิทธิจะได้รับรางวัลโนเบลไหม

(ประภัสสร) ผมว่านักเขียนทุกชาติ มีสิทธิที่จะได้รับรางวัลที่ว่านะครับ แต่อยู่ที่โอกาสและผลงาน สำหรับเมืองไทย ผมเห็นมีอยู่คนเดียว คือหม่อมราชวงค์คึกฤทธิ์ ปราโมช.

ข้อความสัมภาษณ์ ไม่อาจเป็นจริงเพราะรางวัลโนเบลกำหนดให้นักเขียนที่ยังมีชีวิตอยู่ หม่อมคึกฤทธิ์ท่านจากพวกเราไปเสียแล้ว


เส้นทางสู่รางวัลโนเบล
แนวทางหนึ่ง รพินทรนาถ ฐากูร ได้รับรางวัลโนเบล สาขาวรณคดีปี ค.ศ.1913 จากหนังสือ “คีตาญชลี” เส้นทางสู่รางวัลโนเบลเริ่มจาก เพื่อนๆที่เป็นนักเลงหนังสือชาวอังกฤษ ได้ยืมต้นฉบับไปดู พากันพอใจ จึงพิมพ์เป็นเล่มเพื่อให้แพร่หลาย สมาคมอินเดียในกรุงลอนดอน ได้จัดพิมพ์ “คีตาญชลี” เป็นเล่มเพื่อเผยแพร่ ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2455 จำนวน 750 เล่ม  500 เล่มเพื่อเป็นอภินันทนาการ จำหน่ายเพียง 250 เล่ม โดยมีนาย William B. Yeats  นักเขียนและนักกวีชาวไอร์แลนด์ ได้เขียนคำนำให้ พอพิมพ์เสร็จ “คีตาญชลี” ได้รับการต้อนรับจากนักอ่านอย่างมากมาย ผลของการพิมพ์เผยแพร่ ทำให้รพินทรนาถ ฐากูร ได้รับรางวัลโนเบลในปี พ.ศ.2456.

 

 

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    นอสตราดามุส (ค.ศ. 1502-1566) เป็นชาวฝรั่งเศสเชื้อสายยิว เรียนจบปริญญาตรีคะแนนดีเยี่ยม จึงโดดเรียนปริญญาเอกจนจบสาขาแพทย์ ได้ทำนายไว้ว่า  “ ...วันเวลาแห่งความศักดิ์สิทธิ์ของการสิ้นยุคเก่าและการมาถึงของยุคใหม่...กำลังจะเข้ามาปรากฏแก่สังคมโลกมนุษย์อยู่แล้ว ซึ่งคาดตามตรรกะจะเกิดขึ้นในช่วงระหว่าง 23 ปีข้างหน้านี้ คือระหว่างปี ค.ศ. 2000 ถึง ค.ศ.2023...” (หนังสือนอสตราดามุส โดย ศ.เจริญ วรรธนะสิน หน้า 363)  
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ผมปลดกระเป๋าหนังสะพายบ่า เปิดกระเป๋าหยิบเอกสารปึกใหญ่ออกมา ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับแผ่นดินไหว ดูท่านยิ้มเหมือนพึงพอใจ ชี้ไปที่เอกสารฉบับหนึ่งแล้วบอกว่า นั่นเป็นชื่อของท่านที่เขียนเรื่องนั้น ผมหัวเราะแก้เขินที่จุดไต้ตำตอ ถือโอกาสย้ำถาม “ ท่านชื่อคุณอดิศร ฟุ้งขจรหรือครับ ? ขอโทษผมไม่ทราบจริงๆครับ.” เราทั้งคู่หัวเราะและยิ้มให้กัน เราเริ่มคุ้นเคยกันในเวลาอันสั้น คงจะจริงนะ ที่ว่าการพบกันครั้งแรกเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง หากอัธยาศัยต้องกัน หรือที่พูดกันว่า ถูกชะตากัน ยิ่งคุยยิ่งสนุก มิตรภาพงอกงามรวดเร็ว…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  24 พฤษภาคม 2554
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เพลงที่ 11 ลืมไม่ได้เด็ดขาด ชื่อเพลง “ศรัทธา” ขับร้องโดยคุณโป่ง ปฐมพงษ์ สมบัติพิบูลย์ นักร้องนำวง หิน เหล็ก ไฟ ก่อนเปลี่ยนเป็นวง The Son ทราบว่าเพลงของวงนี้ เขาแต่งเนื้อร้องทำนองเองหมด คุณโป่งเป็นนักร้องร็อคระดับต้นแบบ หรือ Idol ของใครอีกมากมายที่เดินตามในถนนสายดนตรี เสียงมีพลัง มีความหนักแน่น เป็นเพลงประเภทให้กำลังใจต่อสู้ ให้มุมมองชีวิต ให้ความคิด เนื้อเพลงบางท่อนกลายเป็นวลีฮิตติดปากไปแล้ว เนื้อเพลงบางตอน              …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
      ผมฟังคุณศิริพรกล่าวเนื่องในวันเกิด ของผู้ชราหลายคนในวันนี้ ฟังแล้วจับใจไม่น้อย “ ...ถึงแม้บ้านวัยทองนิเวศน์ จะมีอาหารการกิน มีเครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้สอย แต่ที่ขาดเป็นด้านจิตใจ แม้จะไม่สามารถทดแทนครอบครัวเดิมของท่านได้ก็ตาม จะพยายามเติมเต็มส่วนที่ขาด ตามที่สามารถทำได้...” เมื่อพิธีกรงานวันเกิดกล่าวต่อจนจบแล้ว 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ใกล้เที่ยงในโรงอาหารมีคนพลุกพล่าน พินิจดูเป็นเด็กหนุ่มสาว อาจเป็นระดับอาชีวะ หรือมหาวิทยาลัยราวปี 1 , 2 มีโต๊ะยาววางถ้วยจานแก้วน้ำ หน้าโรงอาหาร มีเจ้าหน้าที่บริการ 2 คน ผมเดินไม่รู้ไม่ชี้มองหาเจ้าหน้าที่บ้านวัยทองนิเวศน์
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ผมเดินออกจากสำนักงาน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ผมบอกให้ลูกจอดรถ ที่ถนนทอดสู่ตัวอาคารสำนักงาน บอกให้แกพาแม่ไปเยี่ยมยายที่บ้านปง ที่อยู่ห่างจากที่นี่ราว 3 กิโลเมตรเศษ ประมาณ 11 โมงให้กลับมารับพ่อ ผมเดินเข้าไปหาเจ้าหน้าที่ในตัวอาคาร พบเจ้าหน้าที่หญิง เป็นคนที่เคยรู้จักกันมาก่อน เธอยกมือไหว้เมื่อเห็นหน้าผม เธอมีบ้านพักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านสันมหาพน หมู่บ้านนี้อยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนสันมหาพนวิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ฟากถนนทิศตะวันตก โรงเรียนนี้อยู่ห่างที่ว่าอำเภอไปทางทิศใต้ไม่ถึง 100 เมตร ผมเคยสอนโรงเรียนนี้นาน 12 ปี ผมบอกเธอว่า …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  วันนี้ขับรถกระบะสีเขียว รุ่น พ.ศ. 2537 ออกจากบ้านทุ่งแป้ง อำเภอสันป่าตองราว 8.00 น.เศษ มีจุดหมายปลายทางที่บ้านวัยทองนิเวศน์ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ คนนั่งซ้ายมือเป็นขาประจำ มีหน้าที่นั่งคุยเป็นเพื่อนไม่ให้คนขับรถง่วง บางเวลาก็นั่งเฝ้ารถกรณีผมเข้าห้องสมุดที่ต่างๆ คอยซื้ออาหารกลางวัน เครื่องดื่มบำรุงคนขับรถ เป็นฝ่ายสวัสดิการ บางทีทำเกินหน้าที่ กลายเป็นฝ่ายก่อความสงบภายในรถ สร้างความเครียดแก่คนขับแทนการผ่อนคลาย สาเหตุจากให้เฝ้ารถนานๆ เมื่อผมกลับจากค้นคว้าในห้องสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ปีนี้ พ.ศ.2554 จะยังมีกิจกรรมดำหัวผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่หรือไม่ ? หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น “ไทยนิวส์” ฉบับวันศุกร์ที่ 1 เมษายน 2554 ได้ลงข่าวหน้า 1 ว่า “ จัดดำหัวผู้ว่าฯสานประเพณี เปลี่ยนชื่องานใหม่ สระเกล้าฯป้อเมือง .” โดยมีเนื้อหาข่าวบางตอนดังนี้ครับ “เมื่อ 30 มีนาคม 2554 นายวรการ ยศยิ่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เผยว่า เพื่อให้การจัดกิจกรรมนี้เป็นการแสดงออกถึงความเป็นวัฒนธรรมประเพณีปีใหม่เมืองล้านนาของจังหวัดเชียงใหม่ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อกิจกรรมเป็นงาน สระเกล้าดำหัวป้อเมืองเจียงใหม่ …