Skip to main content


                                                                                                                ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง

 

  4.
เช้าวันหนึ่ง  หลังจากพระจำนวน 5 รูปวัดพระบาทอุดม  กลับจากรับบิณฑบาต  ฉันอาหารเสร็จแล้ว  พระต่างแยกย้ายกลับกุฏิของตน  พระดอนกำลังนั่งพักผ่อน  ใจล่องลอยคิดถึงเหตุการณ์บ้านเมืองที่ผ่านมา  เรื่องราวพม่ายกทัพมารุกรานเมืองฝาง ตั้งแต่สมัยปู่ยาตาทวด  พระเจ้าอุดมสิน และพระนางสามผิว  ต้องจำพระหทัยกระโดดบ่อน้ำซาววา  เพื่อป้องกันบ้านเมือง  พอทำใจให้สงบบ้างได้แล้ว  นึกถึงงานต้องทำในวันนี้  การปลุกเสกเครื่องรางของขลัง  เช่น  ผ้ายันต์  ตะกรุด  ฯลฯ เพื่อมอบให้แก่ศรัทธาญาติโยมซึ่งมาทำบุญที่วัด  พลันความคิดต้องสะดุดลง  เมื่อได้ยินเสียงพระรูปหนึ่ง  ตะโกนเรียกเสียงดังร้อนรนที่หน้ากุฏิ

“ ครูบาๆ    มีคนบาดเจ็บหนัก  โดนฟันเลือดอาบ  หายใจแขม็บๆ  ไปช่วยกำเต๊อะ.”

“ คนเจ็บอยู่ไหน .”  พระดอนรีบลุกขึ้น  จัดสบงจีวรให้เรียบร้อยเดินลงบันไดมาหาพระรูปนั้น

“ อยู่ในวิหาร  หลวงปู่กำลังดูแลอยู่  เปิ้นหื้อผมมาตามครูบาไปช่วยฮักษา.”

“  ไปๆ !   พาไปเร็ว  เป็นคนตี้ไหนหือ .” พระดอนเดินเร็วตามพระที่นำหน้าสู่วิหาร

“ เป็นชาวเขา  ช่วยกันหามคนเจ็บข้ามห้วยข้ามดอยมา 2  คืน 1 วัน คนเจ็บตัวใหญ่มาก.”  พระที่นำหน้าพูดบอกขณะเดินมายังวิหาร

พอมาถึง  พระดอนสั่งให้หามคนเจ็บมาที่ศาลา  สั่งพระรูปอื่นและโขยมวัดช่วยกันถอดเสื้อคนเจ็บออก  ขยับขากางเกงให้ร่นขึ้น  ช่วยกันใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดเนื้อตัวให้สะอาด

 

“ ครูบา   ช่วยหลานเฮาตวย  มันโดนทหารพม่ารุมฟัน แผลเต็มตัว  ฮือๆ...”

ญาติคนป่วยเป็นชายอายุราว 50 ปีเศษร้องไห้ฟูมฟาย  คนมาส่ง 3-4 คน  หน้าตาขะมุกขะมอมอิดโรย  นั่งยองๆล้อมรอบคอยดูแลคนป่วยอย่างเป็นห่วง  คนเจ็บรูปร่างสูงใหญ่กว่าคนธรรมดาราวศอกหนึ่ง  นอนสงบนิ่งหายใจระรวย  พระดอนตรวจดูบาดแผล  เห็นมีเลือดเกรอะกรังทั่วร่าง  บาดแผลกระจายไปทั้งหน้าและด้านหลัง  มีฉกรรจ์ 2 แผลที่หน้าอกและใต้สะบักซ้าย
 

“ โยมบ่ต้องตระหนกหื้อมากไป  อาตมาจะดูแลฮักษาเต็มที่ เจ้าเป็นมูเซอร์หรือกระเหรี่ยง .”

“ เป็นกะเหรี่ยงครูบา  หมู่บ้านเฮาอยู่ใกล้เขตพม่า ทหารพม่ามันจะเอาผ้าปิดหน้า  เข้ามาปล้น  นานๆครั้ง  หมู่เฮาบ่ทันฮู้ตัว.”

“ มันมากันกี่คน ?.”  เจ้าอาวาสสูงวัยถามขึ้นบ้าง  พลางปัดผมปกหน้าคนป่วยที่หายใจรวยรินออก

 “ มาราว  30 - 40  คน  มันเข้ามาปล้น  ฉุดผู้หญิงสาวของเฮาไป เจ้ากุยโน่คนนี้.”  กะเหรี่ยงอาวุโสตอบและชี้มือไปยังคนเจ็บ

 “ เข้าต่อสู้  มันพอมีฝีมือ  ทหารพม่าแตกกระจาย  หัวหน้ามันสั่งให้ รุมเจ้ากุยโน่ มันขี่ม้าล้อมเจ้ากุยโน่ไว้แล้วพุ่งเข้าโจมตีพร้อมกัน  สู้กันพักเดียวเจ้ากุยโน่ได้ล้มลง  มันเผาบ้าน 3-4 หลัง  ฉุดผู้หญิงไป 2 คน   คนหนึ่งกำลังจะแต่งงานกับข้า  มันเหมือนฉุดหัวใจข้าไปตวย  ยังบ่ฮู้ เป็นตายอย่างใด? โอ  !  เจ้ามีนะของข้า ฯ.” 
 

กะเหรี่ยงหนุ่มกำลังจะได้เป็นเจ้าบ่าวพูดกับกะเหรี่ยงอาวุโส  ก้มหน้าใช้มือปาดน้ำตาร้องไห้สะอึกสะอื้น  ชวนให้เวทนาหดหู่

“ อาตมาไปเอายาก่อนเน้อ.”  พระดอนรีบสาวเท้าไปกุฏิ  กลับมาพร้อมยาสั่งโขยมและพระอีกรูป
“ เอาเกลือเม็ดแช่น้ำในขัน  แล้วล้างหื้อสะอาด  เทน้ำทิ้ง  เติมน้ำใหม่ลงไปเอาผ้าชุบน้ำเกลือเช็ดตามบาดแผล  ทำความสะอาดก่อน.” พระอีกรูปขมีขมันทำตามรวดเร็ว 

 

 

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    นอสตราดามุส (ค.ศ. 1502-1566) เป็นชาวฝรั่งเศสเชื้อสายยิว เรียนจบปริญญาตรีคะแนนดีเยี่ยม จึงโดดเรียนปริญญาเอกจนจบสาขาแพทย์ ได้ทำนายไว้ว่า  “ ...วันเวลาแห่งความศักดิ์สิทธิ์ของการสิ้นยุคเก่าและการมาถึงของยุคใหม่...กำลังจะเข้ามาปรากฏแก่สังคมโลกมนุษย์อยู่แล้ว ซึ่งคาดตามตรรกะจะเกิดขึ้นในช่วงระหว่าง 23 ปีข้างหน้านี้ คือระหว่างปี ค.ศ. 2000 ถึง ค.ศ.2023...” (หนังสือนอสตราดามุส โดย ศ.เจริญ วรรธนะสิน หน้า 363)  
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ผมปลดกระเป๋าหนังสะพายบ่า เปิดกระเป๋าหยิบเอกสารปึกใหญ่ออกมา ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับแผ่นดินไหว ดูท่านยิ้มเหมือนพึงพอใจ ชี้ไปที่เอกสารฉบับหนึ่งแล้วบอกว่า นั่นเป็นชื่อของท่านที่เขียนเรื่องนั้น ผมหัวเราะแก้เขินที่จุดไต้ตำตอ ถือโอกาสย้ำถาม “ ท่านชื่อคุณอดิศร ฟุ้งขจรหรือครับ ? ขอโทษผมไม่ทราบจริงๆครับ.” เราทั้งคู่หัวเราะและยิ้มให้กัน เราเริ่มคุ้นเคยกันในเวลาอันสั้น คงจะจริงนะ ที่ว่าการพบกันครั้งแรกเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง หากอัธยาศัยต้องกัน หรือที่พูดกันว่า ถูกชะตากัน ยิ่งคุยยิ่งสนุก มิตรภาพงอกงามรวดเร็ว…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  24 พฤษภาคม 2554
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เพลงที่ 11 ลืมไม่ได้เด็ดขาด ชื่อเพลง “ศรัทธา” ขับร้องโดยคุณโป่ง ปฐมพงษ์ สมบัติพิบูลย์ นักร้องนำวง หิน เหล็ก ไฟ ก่อนเปลี่ยนเป็นวง The Son ทราบว่าเพลงของวงนี้ เขาแต่งเนื้อร้องทำนองเองหมด คุณโป่งเป็นนักร้องร็อคระดับต้นแบบ หรือ Idol ของใครอีกมากมายที่เดินตามในถนนสายดนตรี เสียงมีพลัง มีความหนักแน่น เป็นเพลงประเภทให้กำลังใจต่อสู้ ให้มุมมองชีวิต ให้ความคิด เนื้อเพลงบางท่อนกลายเป็นวลีฮิตติดปากไปแล้ว เนื้อเพลงบางตอน              …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
      ผมฟังคุณศิริพรกล่าวเนื่องในวันเกิด ของผู้ชราหลายคนในวันนี้ ฟังแล้วจับใจไม่น้อย “ ...ถึงแม้บ้านวัยทองนิเวศน์ จะมีอาหารการกิน มีเครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้สอย แต่ที่ขาดเป็นด้านจิตใจ แม้จะไม่สามารถทดแทนครอบครัวเดิมของท่านได้ก็ตาม จะพยายามเติมเต็มส่วนที่ขาด ตามที่สามารถทำได้...” เมื่อพิธีกรงานวันเกิดกล่าวต่อจนจบแล้ว 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ใกล้เที่ยงในโรงอาหารมีคนพลุกพล่าน พินิจดูเป็นเด็กหนุ่มสาว อาจเป็นระดับอาชีวะ หรือมหาวิทยาลัยราวปี 1 , 2 มีโต๊ะยาววางถ้วยจานแก้วน้ำ หน้าโรงอาหาร มีเจ้าหน้าที่บริการ 2 คน ผมเดินไม่รู้ไม่ชี้มองหาเจ้าหน้าที่บ้านวัยทองนิเวศน์
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ผมเดินออกจากสำนักงาน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ผมบอกให้ลูกจอดรถ ที่ถนนทอดสู่ตัวอาคารสำนักงาน บอกให้แกพาแม่ไปเยี่ยมยายที่บ้านปง ที่อยู่ห่างจากที่นี่ราว 3 กิโลเมตรเศษ ประมาณ 11 โมงให้กลับมารับพ่อ ผมเดินเข้าไปหาเจ้าหน้าที่ในตัวอาคาร พบเจ้าหน้าที่หญิง เป็นคนที่เคยรู้จักกันมาก่อน เธอยกมือไหว้เมื่อเห็นหน้าผม เธอมีบ้านพักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านสันมหาพน หมู่บ้านนี้อยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนสันมหาพนวิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ฟากถนนทิศตะวันตก โรงเรียนนี้อยู่ห่างที่ว่าอำเภอไปทางทิศใต้ไม่ถึง 100 เมตร ผมเคยสอนโรงเรียนนี้นาน 12 ปี ผมบอกเธอว่า …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  วันนี้ขับรถกระบะสีเขียว รุ่น พ.ศ. 2537 ออกจากบ้านทุ่งแป้ง อำเภอสันป่าตองราว 8.00 น.เศษ มีจุดหมายปลายทางที่บ้านวัยทองนิเวศน์ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ คนนั่งซ้ายมือเป็นขาประจำ มีหน้าที่นั่งคุยเป็นเพื่อนไม่ให้คนขับรถง่วง บางเวลาก็นั่งเฝ้ารถกรณีผมเข้าห้องสมุดที่ต่างๆ คอยซื้ออาหารกลางวัน เครื่องดื่มบำรุงคนขับรถ เป็นฝ่ายสวัสดิการ บางทีทำเกินหน้าที่ กลายเป็นฝ่ายก่อความสงบภายในรถ สร้างความเครียดแก่คนขับแทนการผ่อนคลาย สาเหตุจากให้เฝ้ารถนานๆ เมื่อผมกลับจากค้นคว้าในห้องสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ปีนี้ พ.ศ.2554 จะยังมีกิจกรรมดำหัวผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่หรือไม่ ? หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น “ไทยนิวส์” ฉบับวันศุกร์ที่ 1 เมษายน 2554 ได้ลงข่าวหน้า 1 ว่า “ จัดดำหัวผู้ว่าฯสานประเพณี เปลี่ยนชื่องานใหม่ สระเกล้าฯป้อเมือง .” โดยมีเนื้อหาข่าวบางตอนดังนี้ครับ “เมื่อ 30 มีนาคม 2554 นายวรการ ยศยิ่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เผยว่า เพื่อให้การจัดกิจกรรมนี้เป็นการแสดงออกถึงความเป็นวัฒนธรรมประเพณีปีใหม่เมืองล้านนาของจังหวัดเชียงใหม่ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อกิจกรรมเป็นงาน สระเกล้าดำหัวป้อเมืองเจียงใหม่ …