เปรียบ สมัยก่อนมี “เพลงแก้” วรรณกรรมนี้ขอเรียกเป็น “บทความแก้” ก็แล้วกัน หากเพลงแก้ไม่มีวัตถุประสงค์อันตรายแอบแฝงฉันใด บทความแก้ย่อมไม่มีเป้าหมายอื่นไปกว่าเสนอแนวทางคิดนอกกรอบฉันนั้น ดังนั้น บทความนี้จึงขอเสริมเติมแต่งบทความต้นฉบับชื่อ “ความเหลื่อมล้ำ ภาค 2” โดย ดร. วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ
บทความที่เขียนโดย ดร. วรวรรณ นั้น เป็นการตั้งคำถามต่อความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยท่ามกลางนโยบายภาครัฐที่ผิดทาง..หรือไม่ รวมไปถึงทัศนคติระหว่างสวัสดิการสังคมและประชานิยม ผมจึงขอไล่เรียงประเด็นดังนี้
1. การเรียกเก็บภาษี VS การอุดหนุนรายได้
อ้างจากบทความ มีการแสดงให้เห็นว่า “คนที่มีรายได้สูงกับคนที่มีรายได้ต่ำควรเสียภาษีในอัตราที่ต่างกัน” แปลว่าความเหลื่อมล้ำซึ่งเป็นความแตกต่าง (ทางรายได้) สามารถแก้ไขด้วยความแตกต่าง (ทางภาระที่ต้องสละเงินให้รัฐในรูปแบบภาษี) ซึ่งสอดคล้องกับตัวอย่างในบทความที่สรุปเป็นนัยได้ว่า “หากประชาชนมีความแตกต่างกันในทางกายภาพ (รวย จน มาก มี สมบูรณ์ พิการ) รัฐควรช่วยเหลือในวิถีทางที่แตกต่างกัน”
ประเด็นแรก เราต้องแยกระหว่าง “เท่ากัน” กับ “เท่าเทียม” บางครั้ง การเท่ากันมันคือความไม่เท่าเทียม ระหว่างหญิงคนหนึ่ง เป็นม่าย มีลูกติด 2 คน แต่ละเดือนต้องผ่อนบ้าน ผ่อนรถ กับหญิงคนหนึ่ง พ่อแม่ทิ้งมรดกให้มากมาย ครองตัวเป็นโสด แต่หญิงทั้ง 2 คนนี้ กลับเสียภาษีในอัตราเท่ากันที่ ร้อยละ 15 ของรายได้ นั่นแปลว่าระบบภาษีของเราได้สร้างความเท่าเทียม…หรือไม่…อย่างไร? และยิ่งซ้ำร้ายเข้าไปใหญ่ เมื่อพบว่าหญิงคนที่สองได้รับการปรนเปรอจากการบริการทางการแพทย์ของรัฐในระดับที่สูงกว่าหญิงคนแรก ซึ่งถามว่ามีตัวอย่างให้เห็นไหม…แน่นอนว่า..มี
ดังนั้น จึงขอสรุปว่าเมื่อเราต่างกัน…ทั้งภาษีที่ต้องสละให้รัฐกับสวัสดิการที่รัฐให้…มันต้องต่างกัน
2. แนวทางการลดความเหลื่อมล้ำผ่านการเรียกเก็บภาษี VS การอุดหนุนรายได้
อิงจากคำสรุปของข้อ 1 ที่ว่า ภาษีที่รัฐเก็บกับเงินที่รัฐจะให้ (ไม่ว่าจะเรียกว่าอะไร) ต้องไม่เท่ากัน แต่…
การสรุปว่า ภาษีและการให้สวัสดิการช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคมด้วยวิธีที่แสดง (ผ่านการคำนวณ) โดย ดร. วรวรรณ นั้น (เก็บภาษีเท่ากัน และเงินสมทบเท่ากัน) เป็นความคิดที่ไม่น่าจะถูกต้องทั้งหมดและไม่ใช่วิธีลดความเหลื่อมล้ำที่ดีที่สุด
อย่างไร?
ในที่นี้ จะกำหนดสมมติฐานหลักที่สำคัญ คือ ประชาชนจะถูกแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มตามระดับรายได้ (Quintile) โดยเรียงลำดับจากรวยที่สุดไปยังจนที่สุด โดยสถานการณ์จะแบ่งออกเป็น 4 กรณี ในแต่ละกรณีจะมีข้อกำหนดที่แตกต่างกันเรื่องรูปแบบของภาษีและรูปแบบของเงินสมทบหรือเงินอุดหนุนจากรัฐ ดังนี้
กรณีที่ 1: รัฐเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Individual income tax) แบบคงที่ (Proportional rate) คือประชาชนทุกกลุ่มถูกเรียกเก็บภาษีในอัตราที่เท่ากันไม่ว่าจะมีรายได้เท่าไหร่ก็ตาม และ รัฐให้เงินสมทบหรือเงินอุดหนุนเท่ากันในทุกกลุ่ม (เท่ากันทุกคน)[1]
กรณีที่ 2: รัฐเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบก้าวหน้า (Progressive rate) ซึ่งสะท้อนความเป็นจริงของรูปแบบการเก็บภาษีในปัจจุบัน โดยผู้มีรายได้มากกว่าจะเสียภาษีในอัตราที่สูงกว่า
อัตราภาษีแบบก้าวหน้าถูกแสดงในตารางที่ 1
ตารางที่ 1: อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบก้าวหน้า (Progressive individual income tax)
รายได้ (บาท) | อัตราภาษีในแต่ละช่วง (ร้อยละ) |
0-100 | 0 |
101-200 | 5 |
201-400 | 10 |
401-600 | 15 |
601-800 | 20 |
801-1000 | 25 |
>1000 | 30 |
ที่มา: ผู้เขียน
ทั้งนี้ อัตราภาษีแบบก้าวหน้าถูกกำหนดเป็น 7 ระดับ (Bracket) ซึ่งวิธีการคิดจะมีลักษณะเดียวกันกับที่ใช้อยู่จริง คือ อัตราภาษีที่สูงขึ้น (เช่น จากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 10) จะถูกใช้เฉพาะช่วงของรายได้ที่เพิ่มขึ้น (เช่น จาก 201 บาท เป็น 400 บาท) ไม่ใช่คำนวณโดยการนำร้อยละ 10 มาคูณกับเงิน 400 บาท
กรณีที่ 3: รัฐเก็บภาษีเท่ากัน (เหมือนกรณี 1) แต่เงินสมทบให้ไม่เท่ากัน โดยคนที่มีรายได้มากจะได้เงินสมทบน้อย ขณะที่ผู้มีรายได้น้อยจะได้รับเงินสมทบมาก
ข้อสมมติของเงินสมทบถูกแสดงดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2: เงินสมทบแบบก้าวหน้า (Progressive government in-cash subsidy)[2]
กลุ่มรายได้ (บาท) | เงินสมทบจากรัฐ (บาท) |
1000 | 80 |
800 | 120 |
600 | 160 |
400 | 200 |
200 | 240 |
ที่มา: ผู้เขียน
รูปแบบของเงินสมทบตามตารางที่ 2 นี้ถูกสมติโดยผู้เขียน ภายใต้หลักการที่ผู้มีรายได้ต่างกันสมควรได้รับเงินอุดหนุนต่างกัน ดังนั้น ผลการศึกษา (จำนวนเท่าของผู้มีรายได้สูงสุดกับต่ำสุด) หลังปรับใช้กรณี 1-4 จึงให้ผลที่อยู่บนสมมติฐานนั้นๆ หากจำนวนของเงินสมทบเปลี่ยนไปตามผู้วิจัย ย่อมทำให้ผลการศึกษาเปลี่ยน
กรณีที่ 4: รัฐเก็บภาษีแบบก้าวหน้า (ตามกรณีที่ 2) แต่แต่เงินสมทบให้ไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับระดับรายได้
ดังนั้น จึงสรุปกรณีที่ 1-4 เป็นเมทริกซ์ได้ดังนี้
รูปแบบภาษี | |||
คงที่ | ก้าวหน้า | ||
เงินสมทบ | คงที่ | 1 | 2 |
ก้าวหน้า | 3 | 4 |
หมายเหตุ: ผลลัพธ์ในเมทริกซ์แสดงกรณีของสถานการณ์
ผลการศึกษาว่าอย่างไร?
ตารางที่ 3: เปรียบเทียบกรณีที่ 1 และ 2
ฐาน | กรณี 1* | กรณี 2 | |||||||
กลุ่มรายได้ | รายได้เฉลี่ย | ภาษี (40%) | รายได้หลังภาษี | รัฐช่วยสมทบ | รายได้หลังภาษีและรับเงินออม | ภาษี 7 ระดับ** | รายได้ หลังภาษี | รัฐช่วยสมทบ | รายได้หลังภาษีและ รับเงินออม |
1 | 1000 | 400 | 600 | 240 | 840 | 25 | 610 | 240 | 850 |
2 | 800 | 320 | 480 | 240 | 720 | 20 | 610 | 240 | 850 |
3 | 600 | 240 | 360 | 240 | 600 | 15 | 510 | 240 | 750 |
4 | 400 | 160 | 240 | 240 | 480 | 10 | 345 | 240 | 585 |
5 | 200 | 80 | 120 | 240 | 360 | 5 | 195 | 240 | 435 |
ความแตกต่าง รวยสุดกับจนสุด*** | 5 | 5 | 2.33 | 3.13 | 1.95 |
ที่มา: ผู้เขียน
หมายเหตุ: * ข้อมูลในคอลัมน์ฟ้า (กรณีที่ 1) ปรับใช้ข้อมูลจากบทความของ ดร. วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ (2557) ** ภาษี 7 ระดับคำนวณตามตารางที่ 1 เพื่อสอดคล้องกับระบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Individual income tax) ของไทย *** ความแตกต่างระหว่างรวยสุดกับจนสุด แสดงถึงความแตกต่างระหว่างรายได้ของบุคคลที่อยู่ในกลุ่มที่มีรายได้สูงสุด (กลุ่มที่ 1) กับบุคคลที่อยู่ในกลุ่มที่มีรายได้ต่ำสุด (กลุ่มที่ 5) โดยมีหน่วยเป็นจำนวนเท่า
จากตารางที่ 3 จะเห็นว่าเพียงรัฐบาลเปลี่ยนวิธีการเก็บภาษีจากแบบคงที่ (กรณีที่ 1 ที่เก็บคนละ 40% เท่ากันหมด) มาเป็นภาษีแบบก้าวหน้า (กรณีที่ 2 ที่เก็บตามขั้นบันได ตามตารางที่ 2) สามารถลดความเหลื่อมล้ำลงได้ โดยสังเกตุจากความแตกต่างระหว่างคนที่รวยที่สุด (กลุ่ม 1) กับคนที่จนที่สุด (กลุ่ม 5) ได้ โดยความแตกต่างลดลงมาจาก 5 เท่า (รวยกว่า 5 เท่า) มาเป็น 3.13 (รวยกว่าเพียง 3.13 เท่า) ทั้งนี้ เมื่อดำเนินนโยบายครบทั้ง 2 ทาง คือใช้ภาษีแบบก้าวหน้าและให้เงินสมทบแบบคงที่ ความเหลื่อมล้ำในสังคมจะลดลงอย่างมาก กว่า 16.31% (ลดจาก 2.33 เหลือ 1.95)
ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ภายใต้การให้เงินสมทบรูปแบบเดิม (แบบคงที่) รัฐสามารถช่วยลดความเหลื่อมล้ำลงได้อีกด้วยการเปลี่ยนรูปแบบภาษีจากคงที่มาเป็นแบบก้าวหน้า
กรณีที่ 3 และ 4 แสดงดังตารางที่ 4
ตารางที่ 4: เปรียบเทียบกรณีที่ 3 และ 4
ฐาน | กรณี 3* | กรณี 4 | |||||||
กลุ่มรายได้ | รายได้เฉลี่ย | ภาษี (40%) | รายได้หลังภาษี | รัฐช่วยสมทบ | รายได้หลังภาษีและรับเงินออม | ภาษี 7 ระดับ** | รายได้ หลังภาษี | รัฐช่วยสมทบ | รายได้หลังภาษีและ รับเงินออม |
1 | 1000 | 400 | 600 | 80 | 680 | 25 | 610 | 80 | 690 |
2 | 800 | 320 | 480 | 120 | 600 | 20 | 610 | 120 | 730 |
3 | 600 | 240 | 360 | 160 | 520 | 15 | 510 | 160 | 670 |
4 | 400 | 160 | 240 | 200 | 440 | 10 | 345 | 200 | 545 |
5 | 200 | 80 | 120 | 240 | 360 | 5 | 195 | 240 | 435 |
ความแตกต่าง รวยสุดกับจนสุด*** | 5 | 5 | 1.89 | 3.13 | 1.59 |
ที่มา: ผู้เขียน
หมายเหตุ: * ข้อมูลในคอลัมน์ฟ้า (กรณีที่ 1) ปรับใช้ข้อมูลจากบทความของ ดร. วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ (2557) ** ภาษี 7 ระดับคำนวณตามตารางที่ 1 เพื่อสอดคล้องกับระบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Individual income tax) ของไทย *** ความแตกต่างระหว่างรวยสุดกับจนสุด แสดงถึงความแตกต่างระหว่างรายได้ของบุคคลที่อยู่ในกลุ่มที่มีรายได้สูงสุด (กลุ่มที่ 1) กับบุคคลที่อยู่ในกลุ่มที่มีรายได้ต่ำสุด (กลุ่มที่ 5) โดยมีหน่วยเป็นจำนวนเท่า
จากตารางที่ 4 จะเห็นประเด็นที่สนใจ คือ หากรัฐบาลเก็บภาษีเงินได้แบบคงที่ ความเหลื่อมล้ำจะลดลงได้เมื่อใช้รูปแบบของเงินสมทบแบบก้าวหน้า (เทียบกรณีที่ 1 ตาราง 3 กับ กรณีที่ 3 ตารางที่ 4) จะเห็นว่าความเหลื่อมล้ำลงจาก 2.33 เป็น 1.89 และหากรัฐบาลเก็บเงินภาษีแบบก้าวหน้า ความเหลื่อมล้ำจะลดลงได้เมื่อให้เงินสมทบแบบก้าวหน้าเช่นกัน (เทียบกรณีที่ 2 ตาราง 3 และ 4 ตารางที่ 4) โดยแตกต่างระหว่างคนรวยที่สุดกับคนจนที่สุดจะลดลงจาก 1.95 เป็น 1.59
เมื่อรัฐบาลให้เงินสมทบแบบก้าวหน้า ความเหลื่อมล้ำจะลดลงได้มากกว่าเมื่อเลือกเก็บภาษีในรูปแบบก้าวหน้า (เทียบกรณี 3 และ 4 ตารางที่ 4) โดยความแตกต่างระหว่างรายได้จะลดลงจาก 1.89 และ 1.59 ทั้งนี้ หากจะต้องเลือกรูปแบบก้าวหน้าเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง (ภาษีแบบก้าวหน้าและเงินสมทบแบบคงที่ VS เงินสมทบแบบก้าวหน้าและภาษีแบบคงที่) พบว่า การให้เงินสมทบแบบก้าวหน้าโดยคงภาษีแบบคงที่ (กรณี 3) มีผลให้ความเหลื่อมล้ำลดลงมากกว่าการให้เงินสมทบแบบคงที่โดยให้ภาษีเป็นแบบก้าวหน้า (กรณี 4) (เทียบ 1.95 กรณี 2 กับ 1.89 กรณี 3)
เมื่อพิจารณาทั้ง 4 กรณี จึงสรุปได้ว่า ความเหลื่อมล้ำจะลดลงสูงสุดหากรัฐบาลเก็บภาษีแบบก้าวหน้าและให้เงินสมทบหรือเงินอุดหนุนแบบก้าวหน้าเช่นกัน (กรณี 4)
ซึ่งสามารถสรุปเป็นเมทริกซ์ได้ดังนี้
รูปแบบภาษี | |||
คงที่ | ก้าวหน้า | ||
เงินสมทบ | คงที่ | 2.33 | 1.95 |
ก้าวหน้า | 1.89 | 1.59 |
หมายเหตุ: ผลลัพธ์ในเมทริกซ์แสดงความแตกต่างในรายได้ระหว่างคนรวยที่สุดกับคนจนที่สุด
ปิดท้าย
ผู้เขียนขอทิ้งท้ายด้วยกรณีที่จะทำให้ไม่มีความเหลื่อมล้ำระหว่างคนในสังคม (ความเหลื่อมล้ำเป็นศูนย์) ซึ่งใช้กรณีที่รัฐใช้รูปแบบภาษีแบบคงที่
ตารางที่ 5: การลดความเหลื่อมล้ำให้เป็นศูนย์ภายใต้รูปแบบภาษีแบบคงที่
กลุ่มรายได้ | รายได้เฉลี่ย | ภาษี (40%) | รายได้หลังภาษี | รัฐช่วยสมทบ | รายได้หลังหักภาษี และรับเงินออม |
1 | 1000 | 400 | 600 | 0 | 600 |
2 | 800 | 320 | 480 | 120 | 600 |
3 | 600 | 240 | 360 | 480 | 600 |
4 | 400 | 160 | 240 | 360 | 600 |
5 | 200 | 80 | 120 | 480 | 600 |
ความแตกต่าง รวยสุดกับจนสุด | 5 | 5 | 0 |
ที่มา: ผู้เขียน
จากตารางที่จะเป็นว่าเมื่อรัฐช่วยสมทบในแต่ละกลุ่มแตกต่างกัน โดยให้เงินสมทบหรือเงินอุดหนุนเท่ากับรายได้ของผู้มีรายได้สูงสดหักลบด้วยรายได้ของคนกลุ่มนั้น (Subsidyi = Maximum income of community - Disposable incomei) เช่น รายได้หลังหักภาษีของนาย ก. เท่ากับ 240 บาท ขณะที่รายได้ของคนที่รวยที่สุดอยู่ที่ 600 บาท
วิธีลดความเหลื่อมล้ำ[3] คือ หากไม่ลดรายได้ของคนที่รวยที่สุด ก็จะต้องเพิ่มรายได้ของคนที่จนที่สุด เมื่อรายได้ของคนที่รวยที่สุดถูกทอนลงด้วยภาษี รายได้ของคนที่จนที่สุดก็ควรที่จะถูกเพิ่มจนกระทั่งรายได้เทียบเท่ากับคนที่รวยที่สุด และเมื่อนั้น ความแตกต่างระหว่างรายได้จะเป็นศูนย์ ล้ำ หมายถึง การเกินเข้าไป การล่วงเข้าไป ขณะที่ เหลื่อม หมายถึงเลยไป หรือไม่เสมอกัน เป็นการเปรียบเทียบของอะไรก็แล้วแต่ที่มากกว่า 2 อย่างขึ้นไป ดังนั้น จะความล้ำเหลื่อม หรือเหลื่อมล้ำจึงหมายถึงความไม่เท่ากัน ไม่เสมอกัน ความแตกต่าง ในสังคมไทยทุกวันนี้ สภาพชีวิตความเป็นอยู่ประจำวันของคนทั้ง 67 ล้วนคน ล้วนแล้วแต่มีความแตกต่างกันไป เราเข้าถึงโอกาสได้ต่างกัน เรามีระดับการศึกษาที่ต่างกัน สิ่งที่ติดตัวเราตั้งแต่เกิดก็ต่างกัน จึงนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ต่างกัน แต่ในพจนานุกรม…ความแตกต่างไม่ได้แปลว่าไม่ดี ฟ้ากับดิน เมื่อวัดด้วยระดับความสูง แน่นอนว่าดินไม่อาจเทียบ แต่เมื่อวัดด้วยหน้าที่และการใช้งาน พบว่าคุณค่าของดินย่อมไม่ต่างจากฟ้า…มนุษย์ก็เช่นกัน
เอกสารอ้างอิง
วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์. (2557). ความเหลื่อมล้ำภาค 2. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. ค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2557, จาก
Todara, M. P., & Smith, S. C. (2014). Economic development. (12nded). Harlow: Pearson.
บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง
ติดต่อผู้เขียน: wannaphongd@gmail.com
source online: https://www.academia.edu/9327724/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A5_%E0%B9%8D%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7_%E0%B8%AD%E0%B8%A1
[1] กรณีที่ 1 มาจากบทความ “ความเหลื่อมล้ำ ภาค 2” โดย ดร. วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)
[2] เงินสมทบแบบก้าวหน้า (Progressive government in-cash subsidy) ถูกนิยามให้เป็นลักษณะของการให้เงินสมทบหรือเงินอุดหนุนโดยรัฐบาล โดยมีหลักที่ว่าผู้มีรายได้น้อยสมควรได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลมากกว่าผู้มีรายได้มากกว่า หรือภายใต้หลักที่ว่าผู้มีรายได้ต่างกันสมควรได้รับการอุ้มชูที่ต่างกัน โดยคำว่า Progressive ถูกแปลงมาจากลักษณะภาษีที่เป็นแบบก้าวหน้า (Progressive income tax) ที่คนที่มีรายได้น้อยกว่าจะได้รับประโยชน์จากการกระทำของรัฐมากกว่าคนที่มีรายได้สูงกว่า
[3] อาศัยแนวคิดเสนอโดย Todaro & Smith (2014)
บล็อกของ วรรณพงษ์ ดุรงคเวโรจน์
วรรณพงษ์ ดุรงคเวโรจน์
เปรียบ สมัยก่อนมี “เพลงแก้” วรรณกรรมนี้ขอเรียกเป็น “บทความแก้” ก็แล้วกัน หากเพลงแก้ไม่มีวัตถุประสงค์อันตรายแอบแฝงฉันใด บทความแก้ย่อมไม่มีเป้าหมา
วรรณพงษ์ ดุรงคเวโรจน์
การค้าระหว่างประเทศ VS การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศัตรูหรือกัลยาณมิตรวรรณพงษ์ ดุรงคเวโรจน์นักวิจัยสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง
วรรณพงษ์ ดุรงคเวโรจน์
ส่งท้ายปี 2556 ในคืนสิ้นปีด้วยบทความสรุปสภาวะเศรษฐกิจตลอดปี 2556
วรรณพงษ์ ดุรงคเวโรจน์
เชื่อแน่ว่าหนึ่งในหัวข้อที่เป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการเกี่ยวกับรัฐบาลของรัฐบาล..คงไม่พ้นโครงการรับจำนำข้าวที่มีทั้งผู้เห็นด้วยและผู้ไม่เห