Skip to main content

 

ยศพนธ์ เกิดวิบูลย์ เขียน

คำว่า "การเมืองสร้างสรรค์" กลายเป็น "วาทกรรมทางการเมือง" ใหม่ที่อาจทำให้นักการเมืองฝ่ายค้านเป็นรองฝ่ายรัฐบาลหรือ?

เพราะก่อนหน้านี่พรรคที่เรียกตนว่า "ฝ่ายประชาธิปไตย" เคยประกาศชัดว่าหลังเปิดสภาฯ จะนำประเด็นการแก้ไข/คว่ำ รธน. ที่เป็นกฎกติกาที่ คสช. สร้างเพื่อประโยชน์ทางการเมืองของฝ่ายตน ภายใต้แคมเปญ "ล้มล้างมรดก คสช." บ้าง แก้ไข "รธน. สืบทอดอำนาจ" บ้าง ฯลฯ

และเมื่อเข้าสภาฯ ส.ส.ฝ่ายนั้นก็ทำจริง ส.ส. ฝ่ายค้านมุ่งอภิปรายที่มา คุณสมบัติของรัฐบาลและนายกฯ อย่างดุเดือด

และมันก็เกิดขึ้นจริงหลังเปิดสภาฯ ทำให้บรรยากาศสภาฯ กลายเป็นพื้นที่วิพากษ์วิจารณ์ การกระทำของ คสช.ที่ผ่านมาไปโดยดุเดือดถูกใจฝ่ายต่อต้านรัฐบาล

กรณีนี้มันทำให้ประชาชนและเครือข่ายฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลโจมตีฝ่ายค้านเข้าสภาฯ ไม่พูดเรื่องปัญหาปากท้อง เศรษฐกิจ มุ่งแต่จะแก้ไข รธน. ด่าที่มานายกฯ อดีต ส.ส. เพื่อไทยอัดคลิปวิจารณ์รัฐบาลก็ถูกคนที่เบื่อหน่ายความขัดแย้งทางการเมืองมองว่าเป็นการพูดสร้างความขัดแย้ง บางมองว่า การเมืองไทยในอนาคตคงแตกแยก แบ่งฝ่ายสู้รบกันเหมือนเดิมในอดีต

สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดปรากฏการณ์ "พิธาและอนุพงษ์" พร้อมเกิดวาทกรรม "การเมืองสร้างสรรค์" ขึ้น ที่ฝ่ายที่ไม่ใช่เหลืองแดงในอดีต หรือฝ่ายเหลืองที่ย้ายมาหาส้ม หรือฝ่ายแดงย้ายมาหาส้ม หรือคนที่มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรกที่เกิดและเข้าใจการเมืองในยุค คสช. ที่โหยหาการเมืองที่ไม่ขัดแย้งกันชื่นชอบ ชื่นชม

ดังนั้นหมายความฝ่ายรัฐบาลอาจได้เปรียบฝ่ายค้านนอกสภาฯ จากสังคมก็ได้จากกรณีดังกล่าวก็เป็นได้

ภาพจาก www.sanook.com