Skip to main content

 



ผมเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยร่วมเคลื่อนไหวในคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก.112) เพื่่อนๆ คงได้ข่าว ครก.112 บ้างนะครับ ผมอยากส่งจดหมายแสดงความเห็นใจและให้กำลังใจเพื่อนๆ เนื่องจากผมเป็นคนหนึ่งที่เห็นว่ากฎหมายนี้ไม่เป็นธรรม และก่อกรรมทำบาปกับประชาชนมาเป็นจำนวนมากแล้ว

แม้ว่าผมจะไม่ได้ลงแรงมากเท่ากับคนอื่นๆ แต่สิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากการรณรงค์กับครก.ในระยะ 112 วันก็มากมาย ที่สำคัญได้แก่

(หนึ่ง) ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ไม่ยุติธรรมกับผู้ต้องโทษในคดีนี้ นับตั้งแต่การกล่าวโทษว่าใครผิด ยิ่งอุดมการณ์เบื้องหลังกฎหมายมาตรานี้ยิ่งเลวร้าย ถึงขนาดบิดเบือนหลักสากลของกฎหมายสมัยใหม่ ที่จะต้องถือว่าผู้ต้องหาไม่ผิดจนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าผิด

นอกจากนั้น ผู้ต้องหาคดีนี้ในรายที่ยากจน เป็นนักเคลื่อนไหวทางสังคมในประเด็นที่ล่อแหลม เป็นคนไม่มีฐานะทางสังคม ก็มักไม่ได้รับการให้ประกันตัว เหมือนไม่เป็นคนเท่าเทียมกับคนอื่นๆ

ปัญหาของ ม.112 ยังมีอีกมากมายจนอาจอภิปรายกันได้เป็นวันๆ แต่ข้อเลวร้ายที่อยากเอ่ยถึงอีกประการหนึ่งคือ ม.112 ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ใช้กลั่นแกล้งส่วนบุคคล และเลยเถิดไปถึงใช้เป็นข้ออ้างในการสังหารประชาชนกลางเมืองหลวง ดังที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2553

(สอง) แต่สังคมก็ไม่ได้หูหนวกตาบอดต่อปัญหาดังกล่าว ทำให้การรณรงค์ของครก.ไม่ได้มีเพียงนักกิจกรรมทางสังคม นักเขียน และนักวิชาการ แต่ยังมีประชาชนจำนวนมากให้ความสนใจ นั่นแสดงว่าประชาชนจำนวนมากเห็นว่ากฎหมายนี้ไม่เป็นธรรม

จากการไปสัญจรในเวทีต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ผมเห็นว่าการตื่นตัวที่จะเรียนรู้ถึงปัญหา ม.112 มีมากเกินกว่าที่เคยมีการหยิบยกปัญหานี้ขึ้นมาอภิปรายในที่สาธารณะในอดีต 

ที่สำคัญคือ ความตื่นตัวนี้ไม่ได้แบ่งแยกสีเสื้อ มีทั้งคนเสื้อแดง คนเสื้อเหลือง และคนเสื้อหลากสีที่เห็นปัญหานี้ ความตื่นตัวไม่ได้จำกัดเฉพาะคนรุ่นผู้ใหญ่ที่ตื่นตัวทางการเมือง แต่ยังมีนิสิต นักศึกษาจำนวนมากที่เข้าใจปัญหานี้ จึงกล่าวได้ว่า สังคมทั้งสังคมกำลังเฝ้าติดตามปัญหานี้อยู่

(สาม) คงมีแต่นักการเมืองและชนชั้นนำที่กุมอำนาจอยู่ ที่ไม่เห็นว่าสิ่งนี้เป็นปัญหา ผมวิเคราะห์เอาเองว่า พวกเขากลัวว่าการยกเลิกหรือแก้ไขมาตรา 112 จะทำให้พวกเขาสูญเสียอำนาจ มากกว่าที่จะเป็นการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างที่พวกเขากล่าวอ้าง

คงมีก็แต่องค์กรอิสระที่ไม่มีความกล้าหาญทางจริยธรรมเพียงพอ ที่จะสามารถแปลงความเห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์อย่างตรงไปตรงมา ให้เป็นความรับผิดชอบต่อหน้าที่ขององค์กรที่ตนเองทำงานรับเงินเดือนอยู่ได้ จึงไม่เห็นปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนของ ม.112

เพราะฉะนั้น แม้ผู้มีอำนาจในสังคมนี้จะยังหน่วงรั้งการเปลี่ยนแปลงอยู่ แต่คนจำนวนมากในสังคมกำลังเห็นปัญหาของม.112 นั่นแสดงด้วยว่า คนจำนวนมากเห็นอกเห็นใจเพื่อนๆ ที่ต้องขังในนามนักโทษ 112 

พวกเขาไม่ใช่ญาติพี่น้องของเพื่อนๆ ที่ต้องขังอยู่ พวกเขาไม่มีผลประโยชน์ใดๆ กับเพื่อนๆ ที่ต้องขังอยู่ แต่พวกเขาร่วมรณรงค์อย่างแข็งขัน และร่วมลงชื่อจำนวนมหาศาลถึงเกือบ 4 หมื่นรายชื่อ ทั้งๆ ที่กระแสต่อต้านจากกลุ่มที่เสียประโยชน์จากการแก้ไข ม.112 รุนแรงยิ่งนัก

แม้ว่าวันนี้กฎหมายจะยังไม่ถูกเปลี่ยนแปลง แต่สังคมย่อมก้าวหน้ากว่ากฎหมายที่ถูกบัญญัติไว้ และในท้ายที่สุด พลังของสังคมจะต้องผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกฎหมายจนได้

ขอให้นักโทษ 112 ได้รับกำลังใจจากกระแสสังคมที่ก้าวหน้าและนับวันจะทบทวีการตระหนักต่อปัญหาของม.112 มากย่ิงขึ้นนี้ 

พร้อมขอฝากไปยังผู้มีอำนาจว่า หากพวกคุณใช้ความรู้สึกสำเหนียกถึงความเป็นมนุษย์ในการบริหารประเทศมากกว่านี้ พวกคุณก็จะเข้าใจปัญหาสิทธิมนุษยชนได้ ในระดับเดียวกับที่ปุถุชนในสังคมไทยเขาเข้าใจกัน


ยุกติ มุกดาวิจิตร

 

ที่มาภาพ: รายงาน: นักโทษ112 ชวนส่ง 'อีเมล์หยดน้ำ'– โปสการ์ดฝีมือ‘หลานอากง

 

 

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอกคือ ผมไม่ใช่คนเชี่ยวชาญเกาหลี จะเล่าเรื่องเกาหลีก็จะต้องมีผิดมีพลาดบ้าง เพียงแต่อยากบันทึกเก็บไว้ แล้วแบ่งปันบ้าง เผื่อใครสนใจหรือช่วยเติมต่อความรู้ อีกเรื่องหนึ่งที่ผมสนใจในการไปเกาหลีทั้งสองครั้ง (ครั้งแรกเมื่อ 8 ปีก่อน ก็ไปแค่สั้นๆ ไม่กี่วัน) ก็คือการได้พบเจอผู้คนและได้ไปเดินด่อมๆ มองๆ ตามย่านการค้า ร้านค้า และพบปะพูดคุยดื่มกินกับผู้คน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ได้อยู่นฐานะที่จะมาเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลี เดินทางไปแค่สองครั้ง ครั้งละไม่กี่วัน ไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ ไม่ได้เชี่ยวชาญอะไร แต่ด้วยนิสัยของการชอบบันทึกเก็บไว้ ก็เลยอยากเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลีที่รู้จักเอาไว้อ่านเอง เอาไว้คิดต่อ เอาไว้ก่อนที่จะลืม ก่อนที่จะไม่อยากเขียน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอร่วมรำลึกวาระ 40 ปี 6 ตุลาด้วยการกล่าวถึงงานศึกษาสังคม-วัฒนธรรมไทยที่เป็นพื้นฐานของเหตุการณ์เมื่อ 40 ปีก่อนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จำเป็นแค่ไหนที่เราจะต้องคิดต่างจากส่วนกลาง ถ้าเราคิดว่าการครอบงำของความรู้ตะวันตกเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเข้าใจตัวตนเราเอง และทั้งยังปิดกั้นความเป็นมนุษย์ที่ไม่ได้ถูกเข้าใจจากมุมมองที่ต่างออกไป เราก็จำเป็นที่จะต้องคิดทั้งนอกกรอบตะวันตกและนอกกรอบการครอบงำจากอำนาจศูนย์กลางของรัฐ ความคิดนอกกรอบการครอบงำดังกล่าวส่วนหนึ่งเรียกว่าแนวคิดหลังอาณานิคม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายวันมานี้มีเรื่องขันขื่นหลายเรื่องที่สังคมไทยก้าวไม่พ้นเสียที แต่ผมว่าเรื่องพื้นฐานของปัญหาเหล่านี้คือเรื่องการไม่ยอมรับผิด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไปโกเบเมื่อสี่วันก่อน (7 มิถุนายน 59) นอกจากได้รู้จักความเป็นเมืองฝรั่งๆ ของโกเบแล้ว สาระสำคัญของการไปโกเบวันก่อนอย่างหนึ่งคือการไปพิพิธภัณฑ์เครื่องมือช่างไม้แห่งนี้ พิพิธภัณฑ์นี้เป็นของบริษัท Takenaka ที่บอกเล่าว่าตั้งมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 17 ส่วนพิพิธภัณฑ์นี้เปิดปี 1984 แล้วเข้าใจว่าน่าจะค่อยๆ พัฒนาคอลเล็กชั่นและการจัดแสดงขึ้นมาเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความสุขอย่างหนึ่งของการมาอยู่ที่ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษามหาวิทยาลัยเกียวโตก็คือ การได้รู้จักผู้คนและแลกเปลี่ยนความรู้ในหลายภาษา อีกอย่างคือได้แลกเปลี่ยนความรู้ในหลายบริบท ทั้งในห้องสัมมนา ห้องทำงาน ห้องเรียน และร้านเหล้า ผมถือว่ามันเป็นบริบททางวิชาการทั้งนั้นแหละ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
รู้กันนะครับว่า เวลาที่เราเรียกว่า "หล่อๆ" นี่ ไม่ใช่ว่าต้องเป็นผู้ชาย ผู้หญิงก็หล่อได้ เพราะมันหล่อในสำนวน ในการแสดงออก ในท่าที ทั้งๆ ที่หน้าตาไม่ต้องหล่อก็ได้ แต่หล่อที่คำพูด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่งสอนผมว่า “คำวิจารณ์น่ะ น่าฟังมากกว่าคำชื่นชม เนื่องจากคนที่วิจารณ์เราน่ะ เขาจริงใจกับเรามากกว่าคนที่ชื่นชมเรา ไม่มีใครวิจารณ์เราตามมารยาท แต่คนชมน่ะ บางทีเขาก็ชมเราไปตามมารยาทเท่านั้นแหละ” ดังนั้นเมื่อโลกเขารุมวิจารณ์ไทย เราก็ควรรับฟังเขา เพราะถ้าเขาไม่มีความจริงใจ ไม่อยากเห็นเราปรับปรุงตัวจริงๆ ไม่รัก ไม่ห่วง ไม่อยากคบค้าสมาคมด้วย เขาก็คงไม่ติติงเรา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนแบบพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาไม่ได้มีแต่พลเอกประยุทธ์เพียงคนเดียว แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากที่มีเบื้องลึกของจิตใจแบบพลเอกประยุทธ์ แต่หากจะพูดให้ถูก คนที่มีจิตใจเบื้องลึกที่กักขฬะ อาจจะไม่จำเป็นต้องแสดงออกอย่างกักขฬะแบบพลเอกประยุทธ์ แต่ทำไมขณะนี้สังคมไทยจึงยอมให้ความกักขฬะเข้ามาปกครองบ้านเมือง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะเรียกอะไรก็แล้วแต่ ถ้าพูดอย่างหลวม ๆ คือ พวกเขาเป็นคนกลุ่มเดียวกัน สองชื่อแรกใช้ในประเทศไทย เรียกกลุ่มคนที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ที่จริงพวกเขายังอยู่ในอำเภอเมือง อำเภอหนองหญ้งปล้อง และอำเภออื่น ๆ ของเพชรบุรี แล้วยังกระจายย้ายถิ่นไปในจังหวัดอื่น ๆ ตั้งแต่นครปฐม ชุมพร ไปจนถึงนครสวรรค์ เลย ฯลฯ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้ผมกลับมาไทย 7 วัน ไม่รวมวันเดินทางอีกสองวัน ที่มาเพราะได้รับเชิญมาเสนอความเห็นในการ workshop งานหนึ่ง ผมก็เลยถือโอกาสนี้ใช้ทุนที่ต้องใช้สำหรับทำวิจัย เก็บข้อมูลของมหาวิทยาลัยเกียวโต ซึ่งก็มีอยู่ไม่มากนัก มาเพื่อใช้เดินทางไปเก็บข้อมูลเพิ่มเติมด้วยเลย