Skip to main content

ยุกติ มุกดาวิจิตร

 


"แบบเกรียนภาษา" เป็นปรากฏการณ์ในเฟซบุกไทยที่ผมว่าน่าติดตามอย่างยิ่งในขณะนี้ ผมขอตั้งข้อสังเกตบางประการคือ

(1) แต่ละสำนักเกรียนล้อเลียนภาษาด้วยวิธีการต่างกัน เรียกว่าวิธีวิทยาของการเกรียนของแต่ละสำนักมีแนวทางเฉพาะตัว เช่น
- "ษม่ค่ล์มนิ๋ญฒสก๊อย" เล่นกับการสะกดรุงรังโบราณ
- "พจนานุเกรียน" ให้อรรถาธิบายคำศัพท์วันรุ่น
- "มามี มานะ ล้อเลียน" วิพากษ์อุดมการณ์รัฐที่สอดแทรกในแบบเรียน
- "ตะละแม่ป๊อบคัลเจอร์" เอาคำศัพท์วันรุ่นมาล้อภาษารุงรังโบราณ
ความเฉพาะตนที่ว่า แสดงให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่บนพื้นที่ออนไลน์ได้อย่างดี

(2) แต่ละสำนักได้รับความสนใจมาก กรณีสมาคมนิยมสก๊อยก็เคยมีคนสนใจไปกดไลท์นับหมื่นในเวลาเพียงไม่กี่วัน ส่วนตะละแม่ฯ ก็ทำปรากฏการณ์สร้างความนิยมในชั่วข้ามสัปดาห์ที่มีคนไลท์ถึงหลักหมื่นในระยะเวลาไม่นาน ส่วนมานี มานะ ก็มีคนเล่น แชร์ และสร้างใหม่ต่อไปเรื่อยๆ 

ถ้าเป็นจริงที่ว่าผู้เล่นเฟซบุกส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ อายุน้อย และอาศัยในเขตเมือง นี่แสดงให้เห็นว่าภาษาเป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง พวกเขาตื่นตัวกับภาษาอย่างยิ่ง เพียงแต่พวกเขาไม่ได้ให้ความสำคัญกับภาษาแบบอนุรักษ์ แต่พวกเขาให้ความสำคัญกับการทำให้ภาษามีวิวัฒนาการ มีการสร้างสรรค์

(3) การตื่นตัวกับภาษาไม่เพียงเป็นภาษาพูด แต่คนในเฟซบุกตื่นตัวกับภาษาเขียน ทุกเพจที่โด่งดังขึ้นมาล้วนใช้ภาษาเขียน เกี่ยวพันกับภาษาเขียน เล่นกับภาษาเขียน 

กรณีสมาคมฯ ชัดเจนว่าเขาเล่นกับตัวอักษร จากบทสัมภาษณ์ (ที่ผมเลือกจะเชื่อว่าเป็นแอดมินตัวจริง) เจ้าของเพจพูดถึงความไร้สาระของอักษรไทย ที่มีการสะกดที่รุงรังยุ่งเหยิง ไม่ว่าเราจะเห็นด้วยกับเธอหรือไม่ นี่ก็เป็นทัศนะที่เคยมีผู้นำการเมืองไทยเห็นด้วยมาแล้ว เคยมีนักปราชญ์ภาษาไทยเสนออะไรทำนองนี้มาแล้ว 

ส่วนตะละแม่ฯ นั้น เห็นได้ชัดว่าเล่นกับภาษาเขียน ด้วยการแปลงภาษาวัยรุ่นเป็นภาษาเขียน "โบราณ" ให้ดูเป็นภาษาภาษาวรรณกรรมโบราณ คนรุ่นเก่าจำนวนมากอาจไม่สนุกด้วย แต่คนรุ่นใหม่เขาสนุกมาก ผมเคยเข้าไปติดตามการเล่นของพวกเขา ที่สนุกคือเมื่อตะละแม่ฯ โพสต์มา แฟนๆ ก็จะไปแข่งกันทายว่าที่ตะละแม่ฯ เขียนมาหมายถึงวลีหรือคำวัยรุ่นคำไหน วลีไหน บางคนเร็วมากจนคนอื่นยกย่อง กดไลท์ให้เป็นร้อยในไม่กี่นาที

มานี มานะ เล่นกับการเขียน เล่นกับภาษาเด็กประถม เล่นกับคำไม่กี่คำ เป็นภาษาเขียนล้อเลียนที่มีพลังมากสำหรับผม ประกอบกับภาพเขียนแนวตำราเรียน (ที่มีคนกรุณาให้ความรู้ในเฟซบุกว่าเป็นลายเส้นสไตล์ของเตรียม ชาชุมพร)

ส่วนพจนานุเกรียน อาจดูเป็นภาษาพูด แต่ผมคิดว่าส่วนใหญ่เขาได้มาจากภาษาในโลกอินเทอร์เน็ต โลกอินเทอร์เน็ตไทยสร้างภาษาเขียนมากมาย เช่นคำว่าเกรียน คำว่าวทน. คำว่า เมพขิงๆ คำว่า จังเบย หรือวลีว่า ดงบังวงแตก ก็มาจากโลกอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นโลกของภาษาเขียน

นี่แสดงว่า การเขียนและการอ่านกลับมาหรือยังมีความสำคัญกับโลกยุคปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง ปรากฏการณ์นี้น่าจะยังอยู่กับเราตราบเท่าที่โลกดิจิทัลยังไม่สามารถ "เร็ว" และกินเนื้อที่ข้อมูลได้มากกว่าโลกของการเขียน

(4) หากใครมองว่าเฟซบุกไม่สร้างสรรค์ ทำลายการคิดค้นอะไรใหม่ๆ คนพวกนั้นคงยังต่อสู้แต่ในเวทีของการเมืองเปิดหน้า การเมืองแบบทางการ การเมืองแบบพลิกผันข้ามคืน การเมืองแบบการการปฏิวัติ และพวกเขาก็ล้าหลังกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและสังคมหลังยุคการปฏิวัติ ที่มักค่อยๆ เปลี่ยนอย่่างค่อยเป็นค่อยไป

แบบเกรียนภาษาเหล่านี้จึงไม่ได้เกรียนกันเล่นๆ แม้พวกเขาไม่ได้คิดถึงสิ่งที่ผมเพ้อเจ้อมาข้างต้นอย่างเป็นระบบ แต่นัยของผลงานทางวัฒนธรรมของพวกเขามีความหมายทางสังคมที่ยิ่งใหญ่จริงๆ ขอให้เกรียนกับต่อไป

ปัจฉิมลิขิต:  ขอแซวตะละแม่ฯ หน่อยครับว่า อ่านจากบทสัมภาษณ์ในประชาไท สงสัยตะละแม่ทั้งสามยังอ่าน "ความเป็นมาฯ" ของจิตร ภูมิศักดิ์ไม่จบ จึงยังเข้าใจความหมาย "ไท" ที่ไม่มี ย แบบชาตินิยมอยู่ และถ้าตะละแม่รู้ภาษาไท/ไตหรือลาวบ้าง คงรู้ว่าความหมายของคำว่าไท ไม่ได้แปลว่า อิสระ อย่างที่เราถูกสอนกันมาครับ ^ ^ และ... (ยังมีคำอธิบายต่อ แต่ขี้เกียจเขียนแล้ว)

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง: จำนรรจา นารีหลุดกาล: คุยกับแอดมิน "ตะละแม่ป๊อปคัลเจอร์"

เผยแพร่ครั้งแรกใน: https://www.facebook.com/yukti.mukdawijitra/posts/403352889731055

 

 

 

 

 

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา หลายคนคงเป็นแบบผม คือพยายามข่มอารมณ์ฝ่าฟันการสบถของท่านผู้นำ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตั้งแต่ที่ผมรู้จักงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์มา มีปีนี้เองที่ผมคิดว่ากิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่มีความหมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปี 2558 เป็นปีที่คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีอายุครบ 50 ปี นับตั้งแต่เริ่มเป็นแผนกอิสระในคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มาตั้งแต่ปี 2508
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เปิดภาคการศึกษานี้มีเรื่องน่าตื่นเต้นคือ วันแรกที่ไปสอน (ผมสอนอังคาร, พฤหัสบดี ครั้งละ 1 ชั่วโมง 15 นาที) มีนักเรียนมาเต็มห้อง เขากำหนดโควต้าไว้ที่ 34 คน แต่หลังจากผมแนะนำเค้าโครงการบรรยาย คงเพราะงานมาก จุกจิก ก็มีคนถอนชื่อออกไปจำนวนหนึ่ง คืนก่อนที่จะไปสอนครั้งที่สอง ผมก็เลยฝันร้าย คือฝันว่าวันรุ่งขึ้นมีนักเรียนมาเรียนแค่ 3 คน แล้วเรียนๆ ไปนักเรียนหนีหายไปเหลือ 2 คน แต่พอตื่นไปสอนจริง ยังมีนักเรียนเหลืออีก 20 กว่าคน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อได้ทราบว่าอาจารย์เก่งกิจทำวิจัยทบทวนวรรณกรรมด้านชนบทศึกษา โดยลงแรงส่วนหนึ่งอ่านงาน “ทบทวนภูมิทัศน์การเมืองไทย” (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “ทบทวนภูมิทัศน์ฯ”) (อภิชาต ยุกติ นิติ 2556) ที่ผมมีส่วนร่วมกับนักวิจัยในทีมทั้งหมด 6 คนในตอนแรก และ 9 คนในช่วงทำวิจัยใหญ่ [1] ผมก็ตื่นเต้นยินดีที่นานๆ จะมีนักวิชาการไทยอ่านงานนักวิชาการไทยด้วยกันเองอย่างเอาจริงเอาจังสักที 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะให้ผมเขียนเรื่องอุปสรรคขัดขวางโลกวิชาการไทยต่อการก้าวขึ้นสู่ความเป็นเลิศในระดับนานาชาติไปอีกเรื่อยๆ น่ะ ผมก็จะหาประเด็นมาเขียนไปได้อีกเรื่อยๆ นั่นแหละ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ถ้านับย้อนกลับไปถึงช่วงปีที่ผมเริ่มสนใจงานวิชาการจนเข้ามาทำงานเป็นอาจารย์ ก็อาจนับได้ไปถึง 25 ปีที่ผมเห็นความเปลี่ยนแปลงในโลกวิชาการไทย ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่สำคัญคือการบริหารงานในมหาวิทยาลัย แต่ขอยกเรื่องนั้นเอาไว้ก่อน เพราะหากค่อยๆ ดูเรื่องย่อยๆ ไปเรื่อยๆ แล้วก็น่าจะช่วยให้เห็นอะไรมากขึ้นว่า การบริหารงานวิชาการในขณะนี้วางอยู่บนระบบแบบไหน เป็นระบบที่เน้นสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการในเชิงปริมาณหรือคุณภาพกันแน่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บอกอีกครั้งสำหรับใครที่เพิ่งอ่านตอนนี้ ผมเขียนเรื่องนี้ต่อเนื่องกันมาชิ้นนี้เป็นชิ้นที่ 5 แล้ว ถ้าจะไม่อ่านชิ้นอื่นๆ (ซึ่งก็อาจชวนงงได้) ก็ขอให้กลับไปอ่านชิ้นแรก ที่วางกรอบการเขียนครั้งนี้เอาไว้แล้ว อีกข้อหนึ่ง ผมยินดีหากใครจะเพิ่มเติมรายละเอียด มุมมอง หรือประสบการณ์ที่แตกต่างออกไป แต่ขอให้แสดงความเห็นแบบ "ช่วยกันคิด" หน่อยนะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อันที่จริงวิทยานิพนธ์เป็นส่วนน้อยๆ ของโลกวิชาการอันกว้างใหญ่ และเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเป็นนักวิชาการ แต่วิทยานิพนธ์ก็เป็นผลงานที่อาจจะดีที่สุดของนักวิชาการส่วนใหญ่ แต่สังคมวิชาการไทยกลับให้คุณค่าด้อยที่สุด พูดอย่างนี้เหมือนขัดแย้งกันเอง ขอให้ผมค่อยๆ อธิบายก็แล้วกันครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนเริ่มพูดเรื่องนี้ ผมอยากชี้แจงสักหน่อยนะครับว่า ที่เขียนนี่ไม่ใช่จะมาบ่นเรื่อยเปื่อยเพื่อขอความเห็นใจจากสังคม แต่อยากประจานให้รู้ว่าระบบที่รองรับงานวิชาการไทยอยู่เป็นอย่างไร ส่วนจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร อย่าถามผมเลย เพราะผมไม่มีอำนาจ ไม่ต้องมาย้อนบอกผมด้วยว่า "คุณก็ก้มหน้าก้มตาทำงานไปให้ดีที่สุดก็แล้วกัน" เพราะถ้าไม่เห็นว่าสิ่งที่เล่าไปเป็นประเด็นก็อย่าสนใจเสียเลยดีกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมขอเริ่มที่เรืองซึ่งถือได้ว่าเป็นยาขมที่สุดของแวดวงมหาวิทยาลัยไทยเลยก็แล้วกัน ที่จริงว่าจะเขียนเรื่องการผลิตความรู้ก่อน แต่หนีไม่พ้นเรื่องการสอน เพราะนี่เป็นอุปสรรคใหญ่ต่อการทำงานวิชาการในไทยมากถึงมากที่สุดเลยก็ว่าได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อผมมาสอนหนังสือถึงได้รู้ว่า วันครูน่ะ เขามีไว้ปลอบใจครู ก็เหมือนกับวันสตรี เอาไว้ปลอบใจสตรี วันเด็กเอาไว้หลอกเด็กว่าผู้ใหญ่ให้ความสำคัญ แต่ที่จริงก็เอาไว้ตีกินปลูกฝังอะไรที่ผู้ใหญ่อยากได้อยากเป็นให้เด็ก ส่วนวันแม่กับวันพ่อน่ะอย่าพูดถึงเลย เพราะหากจะช่วยเป็นวันปลอบใจแม่กับพ่อก็ยังจะดีเสียกว่าที่จะให้กลายเป็นวันฉวยโอกาสของรัฐไทยอย่างที่เป็นอยู่นี้