Skip to main content

ยุกติ มุกดาวิจิตร

 


"แบบเกรียนภาษา" เป็นปรากฏการณ์ในเฟซบุกไทยที่ผมว่าน่าติดตามอย่างยิ่งในขณะนี้ ผมขอตั้งข้อสังเกตบางประการคือ

(1) แต่ละสำนักเกรียนล้อเลียนภาษาด้วยวิธีการต่างกัน เรียกว่าวิธีวิทยาของการเกรียนของแต่ละสำนักมีแนวทางเฉพาะตัว เช่น
- "ษม่ค่ล์มนิ๋ญฒสก๊อย" เล่นกับการสะกดรุงรังโบราณ
- "พจนานุเกรียน" ให้อรรถาธิบายคำศัพท์วันรุ่น
- "มามี มานะ ล้อเลียน" วิพากษ์อุดมการณ์รัฐที่สอดแทรกในแบบเรียน
- "ตะละแม่ป๊อบคัลเจอร์" เอาคำศัพท์วันรุ่นมาล้อภาษารุงรังโบราณ
ความเฉพาะตนที่ว่า แสดงให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่บนพื้นที่ออนไลน์ได้อย่างดี

(2) แต่ละสำนักได้รับความสนใจมาก กรณีสมาคมนิยมสก๊อยก็เคยมีคนสนใจไปกดไลท์นับหมื่นในเวลาเพียงไม่กี่วัน ส่วนตะละแม่ฯ ก็ทำปรากฏการณ์สร้างความนิยมในชั่วข้ามสัปดาห์ที่มีคนไลท์ถึงหลักหมื่นในระยะเวลาไม่นาน ส่วนมานี มานะ ก็มีคนเล่น แชร์ และสร้างใหม่ต่อไปเรื่อยๆ 

ถ้าเป็นจริงที่ว่าผู้เล่นเฟซบุกส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ อายุน้อย และอาศัยในเขตเมือง นี่แสดงให้เห็นว่าภาษาเป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง พวกเขาตื่นตัวกับภาษาอย่างยิ่ง เพียงแต่พวกเขาไม่ได้ให้ความสำคัญกับภาษาแบบอนุรักษ์ แต่พวกเขาให้ความสำคัญกับการทำให้ภาษามีวิวัฒนาการ มีการสร้างสรรค์

(3) การตื่นตัวกับภาษาไม่เพียงเป็นภาษาพูด แต่คนในเฟซบุกตื่นตัวกับภาษาเขียน ทุกเพจที่โด่งดังขึ้นมาล้วนใช้ภาษาเขียน เกี่ยวพันกับภาษาเขียน เล่นกับภาษาเขียน 

กรณีสมาคมฯ ชัดเจนว่าเขาเล่นกับตัวอักษร จากบทสัมภาษณ์ (ที่ผมเลือกจะเชื่อว่าเป็นแอดมินตัวจริง) เจ้าของเพจพูดถึงความไร้สาระของอักษรไทย ที่มีการสะกดที่รุงรังยุ่งเหยิง ไม่ว่าเราจะเห็นด้วยกับเธอหรือไม่ นี่ก็เป็นทัศนะที่เคยมีผู้นำการเมืองไทยเห็นด้วยมาแล้ว เคยมีนักปราชญ์ภาษาไทยเสนออะไรทำนองนี้มาแล้ว 

ส่วนตะละแม่ฯ นั้น เห็นได้ชัดว่าเล่นกับภาษาเขียน ด้วยการแปลงภาษาวัยรุ่นเป็นภาษาเขียน "โบราณ" ให้ดูเป็นภาษาภาษาวรรณกรรมโบราณ คนรุ่นเก่าจำนวนมากอาจไม่สนุกด้วย แต่คนรุ่นใหม่เขาสนุกมาก ผมเคยเข้าไปติดตามการเล่นของพวกเขา ที่สนุกคือเมื่อตะละแม่ฯ โพสต์มา แฟนๆ ก็จะไปแข่งกันทายว่าที่ตะละแม่ฯ เขียนมาหมายถึงวลีหรือคำวัยรุ่นคำไหน วลีไหน บางคนเร็วมากจนคนอื่นยกย่อง กดไลท์ให้เป็นร้อยในไม่กี่นาที

มานี มานะ เล่นกับการเขียน เล่นกับภาษาเด็กประถม เล่นกับคำไม่กี่คำ เป็นภาษาเขียนล้อเลียนที่มีพลังมากสำหรับผม ประกอบกับภาพเขียนแนวตำราเรียน (ที่มีคนกรุณาให้ความรู้ในเฟซบุกว่าเป็นลายเส้นสไตล์ของเตรียม ชาชุมพร)

ส่วนพจนานุเกรียน อาจดูเป็นภาษาพูด แต่ผมคิดว่าส่วนใหญ่เขาได้มาจากภาษาในโลกอินเทอร์เน็ต โลกอินเทอร์เน็ตไทยสร้างภาษาเขียนมากมาย เช่นคำว่าเกรียน คำว่าวทน. คำว่า เมพขิงๆ คำว่า จังเบย หรือวลีว่า ดงบังวงแตก ก็มาจากโลกอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นโลกของภาษาเขียน

นี่แสดงว่า การเขียนและการอ่านกลับมาหรือยังมีความสำคัญกับโลกยุคปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง ปรากฏการณ์นี้น่าจะยังอยู่กับเราตราบเท่าที่โลกดิจิทัลยังไม่สามารถ "เร็ว" และกินเนื้อที่ข้อมูลได้มากกว่าโลกของการเขียน

(4) หากใครมองว่าเฟซบุกไม่สร้างสรรค์ ทำลายการคิดค้นอะไรใหม่ๆ คนพวกนั้นคงยังต่อสู้แต่ในเวทีของการเมืองเปิดหน้า การเมืองแบบทางการ การเมืองแบบพลิกผันข้ามคืน การเมืองแบบการการปฏิวัติ และพวกเขาก็ล้าหลังกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและสังคมหลังยุคการปฏิวัติ ที่มักค่อยๆ เปลี่ยนอย่่างค่อยเป็นค่อยไป

แบบเกรียนภาษาเหล่านี้จึงไม่ได้เกรียนกันเล่นๆ แม้พวกเขาไม่ได้คิดถึงสิ่งที่ผมเพ้อเจ้อมาข้างต้นอย่างเป็นระบบ แต่นัยของผลงานทางวัฒนธรรมของพวกเขามีความหมายทางสังคมที่ยิ่งใหญ่จริงๆ ขอให้เกรียนกับต่อไป

ปัจฉิมลิขิต:  ขอแซวตะละแม่ฯ หน่อยครับว่า อ่านจากบทสัมภาษณ์ในประชาไท สงสัยตะละแม่ทั้งสามยังอ่าน "ความเป็นมาฯ" ของจิตร ภูมิศักดิ์ไม่จบ จึงยังเข้าใจความหมาย "ไท" ที่ไม่มี ย แบบชาตินิยมอยู่ และถ้าตะละแม่รู้ภาษาไท/ไตหรือลาวบ้าง คงรู้ว่าความหมายของคำว่าไท ไม่ได้แปลว่า อิสระ อย่างที่เราถูกสอนกันมาครับ ^ ^ และ... (ยังมีคำอธิบายต่อ แต่ขี้เกียจเขียนแล้ว)

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง: จำนรรจา นารีหลุดกาล: คุยกับแอดมิน "ตะละแม่ป๊อปคัลเจอร์"

เผยแพร่ครั้งแรกใน: https://www.facebook.com/yukti.mukdawijitra/posts/403352889731055

 

 

 

 

 

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ภูมิทัศน์ทางปัญญาของนักศึกษาปัจจุบันเป็นอย่างไร น่าจะมีใครทำวิจัยเล็กๆ ดูกันบ้าง ผมเดาว่าส่วนใหญ่คงวนเวียนอยู่หน้า "กำแพง" สมุดพักตร์ (ขอยืมสำนวนที่เพื่อนนักวิชาการรุ่นพี่คนหนึ่งมักใช้บ่อยๆ)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตลกที่เวลาผมชื่นชมผู้ใหญ่ในวงการบางคนในบางโอกาส มีคนว่าผมประจบผู้ใหญ่ ไม่รู้จักวิพากษ์ ก็ไม่เป็นไร แต่ส่วนตัวผมและกับคนในวงการเดียวกันคงจะรู้สึกว่า ที่พูดถึงผมแบบนั้นน่ะเพี้ยนแล้ว เพราะผมวิพากษ์ "ผู้ใหญ่" ในวงวิชาการเดียวกันมาเสียจนลูกศิษย์ลูกหาของท่านๆ เหล่านั้นสุดจะทน จนขณะนี้ ผมยังนึกไม่ออกว่ายังเหลือผู้ใหญ่ในวงการท่านใดบ้างที่ผมยังไม่วิพากษ์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ระหว่างเดินทางไปมาด้วยรถไฟหลายเที่ยวในโอซากาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมเกิดฉุกคิดถามเพื่อนชาวญี่ปุ่นขึ้นมาว่า วิธีที่คนญี่ปุ่นฆ่าตัวตายมากที่สุดคือวิธีไหน เพื่อนตอบทันทีโดยไม่ได้คิดว่า "ก็กระโดดให้รถไฟชนตายนี่แหละ" 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อครหาอีกข้อที่มีคือ การที่ผมชอบคิดคำศัพท์ ใช้คำศัพท์ทางวิชาการรุงรัง นี่เป็นข้อครหาที่นักสังคมศาสตร์ไทยโดนเป็นประจำ เพื่อนนักวิชาการคนอื่นๆ คิดอย่างไรผมไม่ทราบ แต่ผมมีทัศนะของผมเองคร่าวๆ ดังที่จะเสนอในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เสียงสะท้อนที่รบกวนใจผมอยู่บ้างในระยะนี้ คือคำวิจารณ์ที่เข้ามาสู่หูผมมากขึ้นๆ ทุกวันว่า ผมเป็นพวกบ้าทฤษฎี พวกบ้าศัพท์แสง พวกบ้าวิพากษ์ และพวกคลั่งตะวันตก ซึ่งผมก็น้อมรับด้วยความยินดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 พึงสำเหนียกว่า กษัตริย์ไม่ใช่พ่อ เป็นเพียง "สมมุติพ่อ" ที่สังคมไทยอุปโลกน์ขึ้นมา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แต่ละคนคงมีตำนานส่วนตัวของตนเอง ที่สะสมความทรงจำซึ่งมักออกจะเดินจริงไปสักหน่อย แม้เมื่อมาพบกับสถานที่ บุคคล หรือแม้แต่รสสัมผัส ในที่นี้คืออาหาร ในตำนานเข้าจริงๆ อีกสักครั้ง แล้วจะรู้สึกว่าความอลังการของบุคคลและวัตถุในตำนานจะถดถอยค่าลงบ้าง ก็ยังไม่ถึงกับจะทำให้ภาพงดงสมในตำนานเลือนหายไปได้ง่ายๆ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เดินทางมาสัมมนาที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ท่าศาลา นครศรีธรรมราช ในงาน "สัมมนาวิชาการ การศึกษาสู่อาเซียน: มิติด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์" มาเที่ยวนี้มาเป็นวิทยากรเสนอเรื่องที่เคยเสนอไปหลายเวทีแล้ว แต่เป็นความคิดที่ผมยังพัฒนาไม่เต็มอิ่มดี ยิ่งนำเสนอก็ยิ่งเห็นมุมมองใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในวาระที่ประเทศไทยกำลังจะมีแผนแม่บทพัฒนาส้วมสาธารณะไทย ระยะที่ 3 (พ.ศ.2556-2559) (ตามข่าว) จึงขอนำวิดีโอ แสดงทัศนะของนักปรัชญาชื่อดังแห่งปลายศตวรรษที่ 20 ถึงต้นศตวรรษที่ 21 นาม สลาวอย ชีเชก (Slavoj Zizek) มาเพื่อให้แลกเปลี่ยนทำความเข้าใจกันว่า ทำไมส้วมจึงสำคัญนักหนา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (15 กพ.) ตามดูสามสาวดีว่าส์ คาเฟ่แสดงความเห็นกรณีปฏิทินนกแอร์ แล้วนึกถึงข้อวิจารณ์ที่คนอเมริกันบางคนมีต่อ Beyoncé ในการแสดงคั่นครึ่งเวลาซุปเปอร์โบว์ปีที่ผ่านมา คนวิจารณ์ Beyoncé ว่าทำตัวเป็นวัตถุทางเพศ แต่มีนักสังคมวิทยาอเมริกันเถียงว่า เธอใช้ความสามารถแสดงออก แม้จะอย่างยั่วยวน ก็ไม่ได้แปลว่าเธอกลายเป็นวัตถุทางเพศ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 วันวาเลนไทน์ในแบบที่เข้าใจกันทุกวันนี้ กลายเป็นทั้งวัฒนธรรมโลกและวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ผ่านมาผมก็ไม่เคยคิดกับมันหรอก แต่เมื่อคุณคำ ผกาชวนไปพูดคุยเรื่ิงความรักในรายการดีว่าส์ คาเฟ่ เมื่อวันที่ 14 กพ. ผมก็ตอบตกลงอย่างไม่ลังเล ก็มันน่าตื่นเต้นน้อยเสียเมื่อไหร่ ที่จะได้ออกรายการสดกับสามสาวแสนฉลาดและรวยเสน่ห์ แต่จากที่เขาชวนคุยเรื่องรักใคร่ ไปๆ มาๆ ก็กลับวกไปกลายเป็นเรื่องรัฐเร่่ืองไพร่เสียได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 พอดีเมื่อสักครู่เพิ่งเห็นภาพภาพหนึ่ง เป็นภาพซอกตึกเมืองเล็กๆ ที่ไหนสักแห่ง มีคำบรรยายภาพว่า “Put down that map and get wonderfully lost.” “วางแผนที่นั่นเสียเถอะ แล้วหลงทางให้อัศจรรย์ใจ” ก็เลยคิดเรื่อยเปื่อยถึงความหมายของการหลงทาง