Skip to main content

 

เดินทางมาสัมมนาที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ท่าศาลา นครศรีธรรมราช ในงาน "สัมมนาวิชาการ การศึกษาสู่อาเซียน: มิติด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์" มาเที่ยวนี้มาเป็นวิทยากรเสนอเรื่องที่เคยเสนอไปหลายเวทีแล้ว แต่เป็นความคิดที่ผมยังพัฒนาไม่เต็มอิ่มดี ยิ่งนำเสนอก็ยิ่งเห็นมุมมองใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

 
เรื่องที่ว่าคือประเด็นเรื่อง "เพื่อนบ้านศึกษา" ซึ่งตั้งคำถามกับการพัฒนาการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เอง แต่ขอไม่เล่าเรื่องนี้ในที่นี้ ขอเล่าเรื่องอาหารการกินที่ติดรสหวานของคนถิ่นนี้แทน
 
ปกติอาหารนครศรีธรรมราชที่ผมรู้จักในครอบครัว ไม่เคยเลยที่จะติดรสหวาน แต่มานครฯ เที่ยวนี้แล้วรู้สึกได้ถึงรสหวานที่ดูจะระบาดไปทั่ว โดยเฉพาะในร้านอาหารที่มีคนกรุงเทพฯ คนต่างถิ่น มากินกัน 
 
เริ่มจากอาหารเย็นวันแรก (2 มีค.) ไปร้านอาหารในเมืองนครฯ กินกันเป็นมหกรรมปลาเลยทีเดียว มื้อนี้มีปลาสดๆ อร่อยๆ เยอะมาก และปรุงมาด้วยวิธีการต่างๆ ตั้งแต่ อินทรีทอด สำลีเผา ดุกอุยร้า ดุกทะเลฉู่ฉี่ กระบอกต้มส้ม จนถึง กุเลาแกงเหลือง อาจารย์ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งจากกรุงเทพฯ ถึงกับเอ่ยปากว่า "ไม่เคยกินปลามากเท่านี้มาก่อนในชีวิตเลย" เพียงแต่อาหารมื้อนั้นรสชาติไม่จัดจ้าน เรื่องจากต้องประคับประคองท้องของผู้ใหญ่ แต่ที่ชวนหงุดหงิดนิดหน่อยคือ อะไรๆ ก็ติดหวาน แม้แต่น้ำพริกแมงดานา
 
แต่เมื่อวาน (3 มีค.) ไปร้านที่คนท่าศาลาแนะนำว่า "อร่อย" ครั้งนี้ไปเป็นรอบที่สองแล้ว ก็ยังรู้สึกว่าอาหารส่วนใหญ่ออกรสหวานๆ โดยเฉพาะจานเด็ดของเขาคือส้มตำทะเลน่ะ ตัวหวานเลย แม้แต่แกงปลาทรายใบยี่หร่าก็ยังหวานเหลือทน สุดท้ายด้วยความแค้น กะว่าถ้าจานนี้ยังไม่อร่อยอีกล่ะก็ คราวหน้ามาท่าศาลาจะไม่มาร้านนี้อีกแลัว ก็เลยขอให้เขาสั่งแกงส้ม บอกให้ทำแบบอร่อยๆ แบบคนใต้กิน 
 
ทางร้านหายไปนาน พอยกมา ได้แกงเหลืองถ้วยเขื่อง ตักชิมคำแรก โห! แกงส้มปลากุเลาสดๆ ทั้งเผ็ด ท้ังเปรี้ยวจิ้ดจ้าดกำลังดี ปรุงด้วยน้ำมะนาวสด เครื่องแกงถึงขมิ้น ถึงกะปิ ใช้พริกสดปนกับพริกแห้ง ไม่ติดรสหวาน อย่างนี้สิค่อยเรียกว่ามานครฯ หลังจากกินดื่มมาพอสมควรแล้ว ก็เลยต้องยอมกินข้าวปิด ท้ายมื้อ รับผิดชอบอาหารที่สั่งมานั่งกินคนเดียวท่ามกลางเพื่อนๆ อาจารย์อีกสิบกว่าคนที่อิ่มกันหมดแล้ว นับว่าจานนี้ช่วยกอบกู้ชื่อเสียงของร้านเอาไว้ได้จริงๆ
 
ท้ายสุด ยังไปกินน้ำชาร้านดังของท่าศาลาร้านนึงต่ออีก ต้องกำชับเขาว่าไม่เอาหวานมาก ได้ชาร้อนรสจัด ชนิดต้องกินแบบจิบๆ เขากินแกล้มกับขนมปังขาวจืดๆ แทนที่จะเป็นโรตีอย่างแต่ก่อน ก็เลยแขวะขนมปังเขาไปว่ามันเป็นขนมปังให้ปลา แต่น้ำชาเขารสเด็ดมาก
 
เช้านี้ (4 มีค.) ไปกินน้ำชากับโรตีในหมู่บ้านมุสลิมใกล้ๆ มหาวิทยาลัย ร้านนี้อร่อย โรตีจิ้มแกงหวานนิดหน่อย แต่ตามรสของเขา เพราะเคยกินของพวกนี้ที่ปัตตานี คนมุสลิมทางใต้มักกินติดหวาน ก็รับได้อยู่เพราะเป็นรสแบบของเขา ที่ชอบจานหนึ่งคือข้าวมันราดแกง เข้าใจว่าเขาหุงข้าวใส่กะทิเลยมันๆ ร่วนๆ หน่อย ราดแกงคล้ายพะแนงเนื้อ อร่อยดี หวานนิดหน่อย 
 
ที่เด็ดคือโรตีบางๆ อาจารย์ที่พาไปเล่าว่า มีอีกร้านที่เขาเรียกโรตีทิชชู เพราะบางกรอบมาก แต่ผมชอบแบบที่ร้านนี้แหละ บางแล้วมีกรอบบ้างนิ่มบ้าง กินกับน้ำชาร้อนนมข้น รสชามาตรฐานดี 
 
ไม่รู้ว่าความหวานในอาหารใต้เมืองนครฯ คืบคลานจากเหนือลงมาใต้ หรือจากใต้ขึ้นมาเหนือ แต่มันคงค่อยๆ ทำให้อาหารใต้เปลี่ยนไปในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ถึงวันนั้น ผมคงต้องคอยบอกร้านอาหารใต้เหมือนเวลาซื้อกาแฟในกรุงเทพฯ กินว่า "อย่าหวานนะ" 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำสำคัญ: sensory subjectivity, sensory categories, sensory bias, sensory ethnocentrism, sensory colonization (อธิบายไว้ท้ายข้อเขียน) คนทำเรื่องอาหารข้ามถิ่น ไม่ต่างจากการทำงานทางมานุษยวิทยา ที่ต้องตระหนักถึงการ ไม่นำเอา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ถ้าคุณไม่สามารถเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ได้แล้ว ก็โปรดอย่าถ่วงรั้งการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่เลย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปาฐกถาในเวทีเสวนา “50 ปี 14 ตุลาฯ ยังตามหารัฐธรรมนูญใหม่” จัดโดยสมัชชาคนจน วันที่ 14 ตุลาคม 2566
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อ 24 กค. 65 ผู้จัดการแสดง #ฮิญาบ2022  ชวนผมไปดูการแสดงของคุณฟารีดา จิราพันธ์ ที่กาลิเลโอเอซิส แล้วผู้จัดจะชวนผมสนทนาหลังละคร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพวิชาการ ในฐานะผู้ปกครองนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ และในฐานะคนรักศิลปะ ผมเขียนจดหมายนี้เพื่อตั้งคำถามต่อการที่ผู้บริหารคณะวิจิตรศิลป์จะตรวจสอบผลงานก่อการอนุญาตให้จัดแสดงผลงานของนักศึกษาภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นคนพูดถึงตัวละครในซีรีย์เกาหลีเอ่ยถึงจอร์จ บาไตล์ ในรูปนั่นน่ะครับ เป็นคอลเล็กชันจอร์จ บาไตล์บนชั้นหนังสือผมแบบเบาๆ ผมเก็บไว้ร่วม 20 ปีแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายคนคงรู้ว่าวันนี้เป็นวันชาติเวียดนาม แต่น้อยคนคงรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในวันนี้กันแน่ แล้ววันนี้ในอดีตถูกกำหนดเป็นวันขาติจากเหตุการณ์ปีใด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จนถึงวันนี้ การต่อสู้ของประชาชนในขบวนการ “คณะราษฎร 63” ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า พลังของแสงดาวได้สร้างสรรค์สังคมไทยอย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาได้ออกมาแสดงความเห็นว่ามีการสร้างกระแสกดดันศาลต่างๆ นานา (ดู https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2081366) มองในแง่ดี ผมคิดว่านี่คือการออกมาอธิบายกับสังคมอีกครั้งของผู้มีอำนาจในกระบวนการยุติธรรมอย่างชัดแจ้ง หลังจากที่มีการชี้แจงถึงเหตุผลการไม่ปล่อยตัวผู้ต้องหาคดีการเมืองโดยโฆษกศาลและโฆษกกระทรวงยุติธรรมก่อนหน้านี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อะไรที่ทำให้ดนตรีมีสถานะในการทำร้ายกันได้บ้าง ผมว่าอย่างน้อยที่สุดต้องเข้าใจก่อนว่า ดนตรีไม่ใช่แค่เสียง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พอดีนั่งฟังเพื่อนนักวิชาการอ่านหนังสือ "กบฏชาวนา" ของรานาจิต คูฮา (1982) มาคุยให้ฟัง (แปลโดย ปรีดี หงษ์สต้น) ในเพจของสำนักพิมพ์ Illumination Editions เลยคิดถึงบันทึกที่เคยเขียนถึงหนังสือของ ดิเพช จักรบาร์ตี เรื่อง Provincializing Europe (2000)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่อง ถามถึงมโนธรรมสำนึกในความเป็นครูบาอาจารย์ของอาจารย์เอนก เหล่าธรรมทัศน์