Skip to main content

 

พึงสำเหนียกว่า กษัตริย์ไม่ใช่พ่อ เป็นเพียง "สมมุติพ่อ" ที่สังคมไทยอุปโลกน์ขึ้นมา

 
ในคำว่า "เอนกนิกรสโมสรสมมุติ" ที่มักใช้ยกย่องกษัตริย์ผู้ทรงคุณธรรม ผู้เปี่ยมด้วยความเอาใจใส่ต่อราษฎร และส่อนัยว่า มิใช่กษัตริย์ทุกผู้ทุกนามจะทรงเป็นได้นั้น ย่อมบอกอยู่แล้วว่า กษัตริย์เป็นบุคคลสมมุติ เป็นเพียงภาพลักษณ์ เป็นเพียงภาพตัวแทนการมีอยู่ของ "เอนกนิกร" ที่ร่วมกันสมมุติให้บุคคลหนึ่งเป็นกษัตริย์
 
แล้วจะอะไรกันนักหนากับการกล่าวพาดพิงถึงกษัตริย์ หรือสมมุติพ่อ
 
ในกฎหมายที่ขณะนี้เรายังคงถูกครอบงำกดทับอย่างไร้เหตุผลปกติใดๆ จะอธิบายได้ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ระบุอยู่แล้วว่า "ผู้ใดดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาตรร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ..." แล้วทำไมใครบางคนยังต้องมาดัดจริต เสนอหน้าเกินหน้าเกินตากฎหมาย ปกป้องกษัตริย์เกินหน้าที่สื่อมวลชน
 
ยิ่งสื่อมวลชนที่กินเงินเดือนจากภาษีราษฎร สื่อมวลชนที่มีชีวิตอยู่ได้ด้วยน้ำพักน้ำแรงของประชาชน อย่าง "ไทยพีบีเอส" ยิ่งต้องตระหนักให้มากว่า ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบ "ประชาธิปไตย" ที่ "อำนาจรัฐเป็นของประชาชน" มิใช่ของบุคคลพิเศษอื่นใด (แปลว่า มิใช่ของกษัตริย์และคณะบุคคลที่รายล้อมกษัตริย์)
 
กษัตริย์เป็นเพียงสมมุติพ่อ จึงสามารถวิจารณ์ได้ เพราะหากพ่อเรา "ไม่ทำอะไร" ก็แน่นอนว่าพ่อเราจะ "ไม่มีวันทำผิด" (can do no wrong) แต่:
 
“ที่เดอะคิง """ทำอะไร""" เค้าไม่วิจารณ์ แล้วก็บอก อย่าวิจารณ์ ที่จริงอยากให้วิจารณ์ เพราะว่าเราทำอะไรก็ต้องรู้ว่าเค้าเห็นดีหรือไม่ดี ถ้าไม่พูด ก็หาว่าทำดีแล้ว...
 
“แต่ว่าความจริงก็จะต้องวิจารณ์บ้างเหมือนกัน และก็ไม่กลัวถ้าใครมาวิจารณ์ว่าทำไม่ดีตรงนั้นๆ จะได้รู้ เพราะว่า ถ้าบอกว่า พระเจ้าอยู่หัว ไปวิจารณ์ท่านไม่ได้ ก็หมายความว่าพระเจ้าอยู่หัว ไม่เป็นคน ไม่วิจารณ์ เราก็กลัวเหมือนกัน..." (พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อ 4 ธันวาคม 2548) 
 
การปิดกั้นการแสดงความเห็นต่อบทบาทของกษัตริย์ ทั้งๆ ที่การวิจารณ์นั้นกระทำโดยสุจริตและถูกกฎหมาย นับได้ว่าเป็นการทรยศประชาชนผู้เป็นเจ้าของเงินเดือนที่เลี้ยงดูพวกคุณอยู่ 
 
หาก "ไทยพีบีเอส" จะยืนยันปกป้องกษัตริย์อย่างไร้จรรยาบรรณสื่อมวลชนเสียขนาดนี้ ก็ควรที่จะเปลี่ยนไปเป็น "องค์กรโฆษณาชวนเชื่อของกษัตริย์" ขอรับเงินเดือนจากกษัตริย์เสียเลยดีกว่า อย่าได้ลอยหน้าลอยตากินเงินเดือนราษฎรอย่างไม่ละอายใจอยู่อีกต่อไปเลย
 
 
 
 
 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำสำคัญ: sensory subjectivity, sensory categories, sensory bias, sensory ethnocentrism, sensory colonization (อธิบายไว้ท้ายข้อเขียน) คนทำเรื่องอาหารข้ามถิ่น ไม่ต่างจากการทำงานทางมานุษยวิทยา ที่ต้องตระหนักถึงการ ไม่นำเอา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ถ้าคุณไม่สามารถเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ได้แล้ว ก็โปรดอย่าถ่วงรั้งการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่เลย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปาฐกถาในเวทีเสวนา “50 ปี 14 ตุลาฯ ยังตามหารัฐธรรมนูญใหม่” จัดโดยสมัชชาคนจน วันที่ 14 ตุลาคม 2566
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อ 24 กค. 65 ผู้จัดการแสดง #ฮิญาบ2022  ชวนผมไปดูการแสดงของคุณฟารีดา จิราพันธ์ ที่กาลิเลโอเอซิส แล้วผู้จัดจะชวนผมสนทนาหลังละคร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพวิชาการ ในฐานะผู้ปกครองนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ และในฐานะคนรักศิลปะ ผมเขียนจดหมายนี้เพื่อตั้งคำถามต่อการที่ผู้บริหารคณะวิจิตรศิลป์จะตรวจสอบผลงานก่อการอนุญาตให้จัดแสดงผลงานของนักศึกษาภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นคนพูดถึงตัวละครในซีรีย์เกาหลีเอ่ยถึงจอร์จ บาไตล์ ในรูปนั่นน่ะครับ เป็นคอลเล็กชันจอร์จ บาไตล์บนชั้นหนังสือผมแบบเบาๆ ผมเก็บไว้ร่วม 20 ปีแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายคนคงรู้ว่าวันนี้เป็นวันชาติเวียดนาม แต่น้อยคนคงรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในวันนี้กันแน่ แล้ววันนี้ในอดีตถูกกำหนดเป็นวันขาติจากเหตุการณ์ปีใด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จนถึงวันนี้ การต่อสู้ของประชาชนในขบวนการ “คณะราษฎร 63” ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า พลังของแสงดาวได้สร้างสรรค์สังคมไทยอย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาได้ออกมาแสดงความเห็นว่ามีการสร้างกระแสกดดันศาลต่างๆ นานา (ดู https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2081366) มองในแง่ดี ผมคิดว่านี่คือการออกมาอธิบายกับสังคมอีกครั้งของผู้มีอำนาจในกระบวนการยุติธรรมอย่างชัดแจ้ง หลังจากที่มีการชี้แจงถึงเหตุผลการไม่ปล่อยตัวผู้ต้องหาคดีการเมืองโดยโฆษกศาลและโฆษกกระทรวงยุติธรรมก่อนหน้านี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อะไรที่ทำให้ดนตรีมีสถานะในการทำร้ายกันได้บ้าง ผมว่าอย่างน้อยที่สุดต้องเข้าใจก่อนว่า ดนตรีไม่ใช่แค่เสียง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พอดีนั่งฟังเพื่อนนักวิชาการอ่านหนังสือ "กบฏชาวนา" ของรานาจิต คูฮา (1982) มาคุยให้ฟัง (แปลโดย ปรีดี หงษ์สต้น) ในเพจของสำนักพิมพ์ Illumination Editions เลยคิดถึงบันทึกที่เคยเขียนถึงหนังสือของ ดิเพช จักรบาร์ตี เรื่อง Provincializing Europe (2000)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่อง ถามถึงมโนธรรมสำนึกในความเป็นครูบาอาจารย์ของอาจารย์เอนก เหล่าธรรมทัศน์