Skip to main content

ฮานอยเดือนตุลาคมเม็ดฝนเริ่มท้ิงช่วง บางวันฝนตกพร้อมอากาศเย็นๆ เดือนสิบมีวันสำคัญคือ Tết Trung thu คนเวียดนามปัจจุบันบางทีเรียกว่า "วันปีใหม่ของเด็กๆ" คือคืนวันพระจันทร์เต็มดวงเดือนแปดจันทรคติ ตรงกับวันไหว้พระจันทร์ที่เพิ่งผ่านไปนั่นเอง แต่ชาวเวียดนามเรียกตามฤดู ว่าปีใหม่กลางฤดูใบไม้ร่วง


ว่ากันว่า เนื่องจากพวกผู้ใหญ่ในอดีตมัวสาละวนอยู่กับการเก็บเกี่ยวข้าว จึงไม่ได้มีเวลาดูแลเด็กๆ วันนี้จึงจัดเทศกาลเพื่อเอาใจพวกเด็กๆ เป็นการปลอบขวัญและแสดงความรักต่อลูกหลาน 

วันไหว้พระจันทร์ของเวียดนามจึงให้อารมณ์ที่แตกต่างจากในเมืองไทย ซึ่งมีแต่การขายขนมไหว้พระจันทร์ ประกวดขนมไหว้พระจันทร์ยักษ์ และชิงตลาดขนมกันด้วยไส้ขนมสูตรพิศดารต่างๆ นานาจนเหลือจะจินตนาการและรับประทานได้

แต่ไม่รู้ทำไม ความทรงจำเกี่ยวกับ "เต้ดจุงม์ทู" ของผมมักมีสายฝน อากาศชื้นแฉะ และค่อนข้างเย็นๆ คงเป็นเพราะปีแรกๆ ของวันไหว้พระจันทร์ในฮานอยของผมเป็นวันที่ฝนโปรยปราย 

แต่พวกเด็กๆ ก็สนุกสนานกันเต็มที่ เด็กฮานอยถืิอลูกโป่งหลากสีสัน เดินไปมายามค่ำคืน พวกเด็กออกมาเที่ยวเล่นกันตามลำพังเป็นกลุ่มๆ ตามสถานที่สาธารณะ 

ปกติเด็กฮานอยเป็นตัวของตัวเองจนผมกลัว ผมเคยถูกเด็กถ่มน้ำลายแกล้งบนรถเมล์โดยที่แม่เขาไม่ได้ว่าสักคำ ทั้งเด็กหญิงและเด็กชายมีพลังท้าทายคนโตๆ อย่างน่าประหลาด พอวันปีใหม่ของเด็กๆ มาถึง ผมจึงหลบอยู่ในบ้านเป็นหลัก

พอถึงปลายเดือนตุลาคม ต่อเดือนพฤศจิกายน อากาศในฮานอยจึงจะแห้งลง แทบไม่มีฝน เย็นสบาย จนบางวันต้องใส่เสื้อสองตัว เป็นช่วงเดือนที่เหมาะแก่การเดินเล่นเรื่อยเปื่อยในเมืองฮานอยอย่างยิ่ง

สำหรับผม สถานที่พิเศษของเดือนพฤศจิกายนในฮานอยคือถนน Nguyễn Du ซึ่งตั้งชื่อตามกวีเวียดนามคนสำคัญในต้นศตวรรษที่ 19 ไม่มีใครที่ศึกษาเรื่องเวียดนามแล้วจะไม่รู้จักเหงวียน ซู เนื่องจากผลงานอันโด่งดังของท่านชื่อ "ตำนานแห่งเกี่ยว" (Truyện Kiều) ซึ่งดัดแปลงมาจากวรรณคดีจีนอีกทีหนึ่ง (หากต้องการทราบเรื่องราว จะหาอ่านเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ไม่ยากนัก)

ถนนเหงวียนซูปลูกต้น hoa sữa (ไม่สามารถเขียนด้วยอักษรมหัศจรรย์ได้ ที่ใกล้เคียงหน่อยคือเขียนว่า ฮวา เสือ แปลตามตัวว่าดอกน้ำนม หรือชื่อไทยว่าพระยาสัตบัน หรือต้นตีนเป็ด) เรียงรายริมถนน ฮวาเสือบนถนนเหวงียนซูสูงชลูด แตกกิ่งก้านที่ได้รับการดูแลเป็นอย่างดีจนสวยงาม ประดุจไม้ดัดต้นโต 

เพียงรูปทรงสูงชลูดและกิ่นก้านที่ตัดผ่านฟ้าใสในฤดูใบไม้ร่วง ก็ชวนให้แหงนหน้ามองไม่รู้เบื่อ 

พลันเมื่อถึงเดือนสิบเอ็ด ฮวาเสือออกดอกสะพรั่ง ส่งกลิ่นรัญจวนอบอวนไปทั่วท้องถนน จนต้องหาโอกาสไปนั่งจิบกาแฟในร้านคุ้นเคยบนถนนเหวงียนซูอยู่เนืองนิจ

หวังว่าจะได้กลับไปฮานอยในฤดูฮวาเสืออีกครั้งในเร็ววันนี้

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ภูมิทัศน์ทางปัญญาของนักศึกษาปัจจุบันเป็นอย่างไร น่าจะมีใครทำวิจัยเล็กๆ ดูกันบ้าง ผมเดาว่าส่วนใหญ่คงวนเวียนอยู่หน้า "กำแพง" สมุดพักตร์ (ขอยืมสำนวนที่เพื่อนนักวิชาการรุ่นพี่คนหนึ่งมักใช้บ่อยๆ)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตลกที่เวลาผมชื่นชมผู้ใหญ่ในวงการบางคนในบางโอกาส มีคนว่าผมประจบผู้ใหญ่ ไม่รู้จักวิพากษ์ ก็ไม่เป็นไร แต่ส่วนตัวผมและกับคนในวงการเดียวกันคงจะรู้สึกว่า ที่พูดถึงผมแบบนั้นน่ะเพี้ยนแล้ว เพราะผมวิพากษ์ "ผู้ใหญ่" ในวงวิชาการเดียวกันมาเสียจนลูกศิษย์ลูกหาของท่านๆ เหล่านั้นสุดจะทน จนขณะนี้ ผมยังนึกไม่ออกว่ายังเหลือผู้ใหญ่ในวงการท่านใดบ้างที่ผมยังไม่วิพากษ์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ระหว่างเดินทางไปมาด้วยรถไฟหลายเที่ยวในโอซากาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมเกิดฉุกคิดถามเพื่อนชาวญี่ปุ่นขึ้นมาว่า วิธีที่คนญี่ปุ่นฆ่าตัวตายมากที่สุดคือวิธีไหน เพื่อนตอบทันทีโดยไม่ได้คิดว่า "ก็กระโดดให้รถไฟชนตายนี่แหละ" 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อครหาอีกข้อที่มีคือ การที่ผมชอบคิดคำศัพท์ ใช้คำศัพท์ทางวิชาการรุงรัง นี่เป็นข้อครหาที่นักสังคมศาสตร์ไทยโดนเป็นประจำ เพื่อนนักวิชาการคนอื่นๆ คิดอย่างไรผมไม่ทราบ แต่ผมมีทัศนะของผมเองคร่าวๆ ดังที่จะเสนอในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เสียงสะท้อนที่รบกวนใจผมอยู่บ้างในระยะนี้ คือคำวิจารณ์ที่เข้ามาสู่หูผมมากขึ้นๆ ทุกวันว่า ผมเป็นพวกบ้าทฤษฎี พวกบ้าศัพท์แสง พวกบ้าวิพากษ์ และพวกคลั่งตะวันตก ซึ่งผมก็น้อมรับด้วยความยินดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 พึงสำเหนียกว่า กษัตริย์ไม่ใช่พ่อ เป็นเพียง "สมมุติพ่อ" ที่สังคมไทยอุปโลกน์ขึ้นมา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แต่ละคนคงมีตำนานส่วนตัวของตนเอง ที่สะสมความทรงจำซึ่งมักออกจะเดินจริงไปสักหน่อย แม้เมื่อมาพบกับสถานที่ บุคคล หรือแม้แต่รสสัมผัส ในที่นี้คืออาหาร ในตำนานเข้าจริงๆ อีกสักครั้ง แล้วจะรู้สึกว่าความอลังการของบุคคลและวัตถุในตำนานจะถดถอยค่าลงบ้าง ก็ยังไม่ถึงกับจะทำให้ภาพงดงสมในตำนานเลือนหายไปได้ง่ายๆ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เดินทางมาสัมมนาที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ท่าศาลา นครศรีธรรมราช ในงาน "สัมมนาวิชาการ การศึกษาสู่อาเซียน: มิติด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์" มาเที่ยวนี้มาเป็นวิทยากรเสนอเรื่องที่เคยเสนอไปหลายเวทีแล้ว แต่เป็นความคิดที่ผมยังพัฒนาไม่เต็มอิ่มดี ยิ่งนำเสนอก็ยิ่งเห็นมุมมองใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในวาระที่ประเทศไทยกำลังจะมีแผนแม่บทพัฒนาส้วมสาธารณะไทย ระยะที่ 3 (พ.ศ.2556-2559) (ตามข่าว) จึงขอนำวิดีโอ แสดงทัศนะของนักปรัชญาชื่อดังแห่งปลายศตวรรษที่ 20 ถึงต้นศตวรรษที่ 21 นาม สลาวอย ชีเชก (Slavoj Zizek) มาเพื่อให้แลกเปลี่ยนทำความเข้าใจกันว่า ทำไมส้วมจึงสำคัญนักหนา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (15 กพ.) ตามดูสามสาวดีว่าส์ คาเฟ่แสดงความเห็นกรณีปฏิทินนกแอร์ แล้วนึกถึงข้อวิจารณ์ที่คนอเมริกันบางคนมีต่อ Beyoncé ในการแสดงคั่นครึ่งเวลาซุปเปอร์โบว์ปีที่ผ่านมา คนวิจารณ์ Beyoncé ว่าทำตัวเป็นวัตถุทางเพศ แต่มีนักสังคมวิทยาอเมริกันเถียงว่า เธอใช้ความสามารถแสดงออก แม้จะอย่างยั่วยวน ก็ไม่ได้แปลว่าเธอกลายเป็นวัตถุทางเพศ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 วันวาเลนไทน์ในแบบที่เข้าใจกันทุกวันนี้ กลายเป็นทั้งวัฒนธรรมโลกและวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ผ่านมาผมก็ไม่เคยคิดกับมันหรอก แต่เมื่อคุณคำ ผกาชวนไปพูดคุยเรื่ิงความรักในรายการดีว่าส์ คาเฟ่ เมื่อวันที่ 14 กพ. ผมก็ตอบตกลงอย่างไม่ลังเล ก็มันน่าตื่นเต้นน้อยเสียเมื่อไหร่ ที่จะได้ออกรายการสดกับสามสาวแสนฉลาดและรวยเสน่ห์ แต่จากที่เขาชวนคุยเรื่องรักใคร่ ไปๆ มาๆ ก็กลับวกไปกลายเป็นเรื่องรัฐเร่่ืองไพร่เสียได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 พอดีเมื่อสักครู่เพิ่งเห็นภาพภาพหนึ่ง เป็นภาพซอกตึกเมืองเล็กๆ ที่ไหนสักแห่ง มีคำบรรยายภาพว่า “Put down that map and get wonderfully lost.” “วางแผนที่นั่นเสียเถอะ แล้วหลงทางให้อัศจรรย์ใจ” ก็เลยคิดเรื่อยเปื่อยถึงความหมายของการหลงทาง