Skip to main content

ฮานอยเดือนตุลาคมเม็ดฝนเริ่มท้ิงช่วง บางวันฝนตกพร้อมอากาศเย็นๆ เดือนสิบมีวันสำคัญคือ Tết Trung thu คนเวียดนามปัจจุบันบางทีเรียกว่า "วันปีใหม่ของเด็กๆ" คือคืนวันพระจันทร์เต็มดวงเดือนแปดจันทรคติ ตรงกับวันไหว้พระจันทร์ที่เพิ่งผ่านไปนั่นเอง แต่ชาวเวียดนามเรียกตามฤดู ว่าปีใหม่กลางฤดูใบไม้ร่วง


ว่ากันว่า เนื่องจากพวกผู้ใหญ่ในอดีตมัวสาละวนอยู่กับการเก็บเกี่ยวข้าว จึงไม่ได้มีเวลาดูแลเด็กๆ วันนี้จึงจัดเทศกาลเพื่อเอาใจพวกเด็กๆ เป็นการปลอบขวัญและแสดงความรักต่อลูกหลาน 

วันไหว้พระจันทร์ของเวียดนามจึงให้อารมณ์ที่แตกต่างจากในเมืองไทย ซึ่งมีแต่การขายขนมไหว้พระจันทร์ ประกวดขนมไหว้พระจันทร์ยักษ์ และชิงตลาดขนมกันด้วยไส้ขนมสูตรพิศดารต่างๆ นานาจนเหลือจะจินตนาการและรับประทานได้

แต่ไม่รู้ทำไม ความทรงจำเกี่ยวกับ "เต้ดจุงม์ทู" ของผมมักมีสายฝน อากาศชื้นแฉะ และค่อนข้างเย็นๆ คงเป็นเพราะปีแรกๆ ของวันไหว้พระจันทร์ในฮานอยของผมเป็นวันที่ฝนโปรยปราย 

แต่พวกเด็กๆ ก็สนุกสนานกันเต็มที่ เด็กฮานอยถืิอลูกโป่งหลากสีสัน เดินไปมายามค่ำคืน พวกเด็กออกมาเที่ยวเล่นกันตามลำพังเป็นกลุ่มๆ ตามสถานที่สาธารณะ 

ปกติเด็กฮานอยเป็นตัวของตัวเองจนผมกลัว ผมเคยถูกเด็กถ่มน้ำลายแกล้งบนรถเมล์โดยที่แม่เขาไม่ได้ว่าสักคำ ทั้งเด็กหญิงและเด็กชายมีพลังท้าทายคนโตๆ อย่างน่าประหลาด พอวันปีใหม่ของเด็กๆ มาถึง ผมจึงหลบอยู่ในบ้านเป็นหลัก

พอถึงปลายเดือนตุลาคม ต่อเดือนพฤศจิกายน อากาศในฮานอยจึงจะแห้งลง แทบไม่มีฝน เย็นสบาย จนบางวันต้องใส่เสื้อสองตัว เป็นช่วงเดือนที่เหมาะแก่การเดินเล่นเรื่อยเปื่อยในเมืองฮานอยอย่างยิ่ง

สำหรับผม สถานที่พิเศษของเดือนพฤศจิกายนในฮานอยคือถนน Nguyễn Du ซึ่งตั้งชื่อตามกวีเวียดนามคนสำคัญในต้นศตวรรษที่ 19 ไม่มีใครที่ศึกษาเรื่องเวียดนามแล้วจะไม่รู้จักเหงวียน ซู เนื่องจากผลงานอันโด่งดังของท่านชื่อ "ตำนานแห่งเกี่ยว" (Truyện Kiều) ซึ่งดัดแปลงมาจากวรรณคดีจีนอีกทีหนึ่ง (หากต้องการทราบเรื่องราว จะหาอ่านเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ไม่ยากนัก)

ถนนเหงวียนซูปลูกต้น hoa sữa (ไม่สามารถเขียนด้วยอักษรมหัศจรรย์ได้ ที่ใกล้เคียงหน่อยคือเขียนว่า ฮวา เสือ แปลตามตัวว่าดอกน้ำนม หรือชื่อไทยว่าพระยาสัตบัน หรือต้นตีนเป็ด) เรียงรายริมถนน ฮวาเสือบนถนนเหวงียนซูสูงชลูด แตกกิ่งก้านที่ได้รับการดูแลเป็นอย่างดีจนสวยงาม ประดุจไม้ดัดต้นโต 

เพียงรูปทรงสูงชลูดและกิ่นก้านที่ตัดผ่านฟ้าใสในฤดูใบไม้ร่วง ก็ชวนให้แหงนหน้ามองไม่รู้เบื่อ 

พลันเมื่อถึงเดือนสิบเอ็ด ฮวาเสือออกดอกสะพรั่ง ส่งกลิ่นรัญจวนอบอวนไปทั่วท้องถนน จนต้องหาโอกาสไปนั่งจิบกาแฟในร้านคุ้นเคยบนถนนเหวงียนซูอยู่เนืองนิจ

หวังว่าจะได้กลับไปฮานอยในฤดูฮวาเสืออีกครั้งในเร็ววันนี้

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (24 ธันวาคม 2555) กสทช.เชิญให้ผมไปร่วมแสดงความเห็นในเวทีเสวนาสาธารณะ “1 ปี กสทช. กับความ (ไม่) สมหวังของสังคมไทย” ทีแรกผมไม่คิดว่าตนเองจะสามารถไปวิจารณ์อะไรกสทช.ได้ แต่ผู้จัดยืนยันว่าต้องการมุมมองแบบมานุษยวิทยา ผมจึงตกปากรับคำไป 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อโต้แย้งต่อความเห็นผมจากของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ลงในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355920241&grpid=03&catid=&subcatid=) ย้ำให้เห็นชัดถึงความอับจนของกรอบคิดของคนกลุ่มนี้ต่อไปนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่เพียงแต่นักเขียนบางคนเท่านั้นที่อาจจะไม่เข้าใจหรือมองข้ามประเด็นความแตกต่างทางชาติพันธ์ุ แต่ผมคิดว่าแวดวงภาษาและวรรณกรรมบ้านเราอาจจะไม่ตระหนักถึงปัญหานี้โดยรวมเลยก็ได้ และในแง่หนึ่ง ผมคิดว่าซีไรต์เองอาจจะมีส่วนสร้างวัฒนธรรมไม่อ่อนไหวต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และถึงที่สุดแล้ว นี่อาจจะกลายเป็นข้อจำกัดที่ปิดกั้นโอกาสที่วรรณกรรมไทยจะก้าวเข้าสู่ระดับสากล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แทนที่จะเถียงกับอีกท่านหนึ่งที่วิจารณ์ผมต่อหน้ามากมายเมื่อวาน ผมขอใช้พลังงานเถียงกับข้อเสนอล่าสุดของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมีจากข่าวในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354935625&grpid=01&catid=&subcatid=) ดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่ออ่านข่าวแอร์โฮสเตสที่เพิ่งถูกให้ออก ผมมีคำถามหลายข้อ ทั้งในมิติของโซเชียลมีเดีย hate speech และสิทธิแรงงาน อย่างไรก็ดี ขอเคลียร์ก่อนว่าหากใครทราบจุดยืนทางการเมืองของผม ย่อมเข้าใจดีว่าความเห็นต่อไปนี้ไม่ได้มาจากความเห็นทางการเมืองที่เอนเอียงไปในทางเดียวกับพนักงานสายการบินคนนี้แต่อย่างใด ข้อสังเกตคือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขณะกำลังนั่งกินหอยแครงลวกอยู่เวลานี้ ก็ชวนให้คิดถึงคำพูดของนักวิชาการกัมพูชาคนหนึ่ง ที่เคยนั่งต่อหน้าอาหารเกาหลีจานพิเศษ คือหนอนทะเลดิบตัดเป็นชิ้นๆ ขยับตัวดึบๆ ดึบๆ อยู่ในจานแม้จะถูกตั้งทิ้งไว้เป็นชั่วโมง ตอนนั้น ผมบ่ายเบี่ยงไม่กล้ากินอยู่นาน แม้จะรู้ว่าเป็นอาหารพิเศษราคาแพงที่ศาสตราจารย์ชาวเกาหลีสรรหามาเลี้ยงต้อนรับการมาเกาหลีครั้งแรกของพวกเราหลายคน เพื่อนกัมพูชาบอกว่า "กินเถอะพี่ หอยแครงลวกในเมืองไทยน่ากลัวกว่านี้อีก" ผมจึงหาเหตุที่จะหลบเลี่ยงอีกต่อไปไม่ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมนั่งดูบันทึกรายการ The Voice Thailand (เดอะวอยซ์) เป็นประจำ แม้ว่าจะเห็นคล้อยตามคำนิยมของโค้ชทั้ง 4 อยู่บ่อยๆ แถมยังแอบติดตามความเห็นเปรี้ยวๆ ของนักเขียนบางคนที่ชอบเรียกตนเองสวนทางกับวัยเธอว่า "ป้า" ซึ่งหมดเงินกดโหวตมากมายให้นักร้องหนุ่มน้อยแนวลูกทุ่ง แต่ผมไม่ได้รับความบันเทิงจากเดอะวอยซ์เพียงจากเสียงเพลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมพยายามถามตัวเองว่า การจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่นำโดย "เสธ.อ้าย" จะมาจากเหตุผลประการใดบ้าง แต่ผมก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจว่า เอาเข้าจริง คนที่เข้าร่วมชุมนุมกับเสธ.อ้ายจะมีเหตุผลหรือไม่ หรือหากมี พวกเขาจะใช้เหตุผลชุดไหนกันในการเข้าร่วมชุมนุม ยังไงก็ตาม อยากถามพวกคุณที่ไปชุมนุมว่า พวกคุณอยากให้ประเทศเป็นอย่างนี้จริงๆ หรือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (20 พฤศจิกายน 2555) นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชิญไปบรรยายในงานสัมมนา "การเมืองเรื่องคนธรรมดา" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ขอตัดส่วนหนึ่งของบทบรรยายของผมที่ใช้ชื่อว่า "การเมืองวัฒนธรรมดา: ความไม่ธรรมดาของสามัญชน" มาเผยแพร่ในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2555 นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชิญไปร่วมกิจกรรมจุฬาวิชาการ โดยให้ไปวิจารณ์บทความนิสิตปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ 4 ชิ้น 1) ว่าด้วยเบื้องหลังทางการเมืองของการก่อตั้งองค์การอาเซียน 2) ว่าด้วยบทบาทและการต่อรองระหว่างประเทศในอาเซียน 3) ว่าด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าของธุรกิจเอกชนไทยในคู่ค้าอาเซียน และ 4) ว่าด้วยนโยบายชนกลุ่มชาติพันธ์ุในพม่า ข้างล่างนี้คือบันทึกบทวิจารณ์