Skip to main content

ผ่านมาสี่วัน ถ้าจะให้บอกว่าประทับใจอะไรกับปราสาทหินบ้าง คงยากที่จะบอก เพราะวิ่งผ่านหินก้อนต่างๆ มากมายเสียจนไม่ทันได้หยุดคิดกับอะไรต่างๆ ดีที่ได้นักโบราณคดี นักประวัติศาสตร์ และนักมานุษยวิทยามากมายมาให้ความรู้ข้างๆ หูเวลาท่านถกเถียงกัน จึงพอจะเก็บเกี่ยวเชื่อมโยงอะไรมาได้บ้าง

แต่ที่ประทับใจจริงๆ เห็นจะได้แก่แสงและที่ว่างในเมืองเสียมเรียบ ความร่มรื่นของโบราณสถาน การปิคนิค และลักษณะเฉพาะตัวของโบราณสถานแต่ละแห่ง

ที่แตกต่างจากเมืองอื่นๆ ที่ผมเคยไปคือ เมืองเสียมเรียบยามค่ำคืนสวยงามมาก ไม่ใช่ด้วยความสว่างไสว แต่ด้วยความสลัวมัวซัว เสียมเรียบไม่สว่างจ้า หากไม่นับร้านประเภทสะดวกซื้อแล้ว ไม่ว่าจะร้านไหน สถานที่ราชการ หรือจะเป็นโรงแรมใหญ่โต บริษัทห้างร้าน ถนนหนทาง เสียมเรียบจะส่องสว่างเพียงแสงเรื่อเรือง ไม่จัดจ้า น้อยที่มากที่จะปล่อยแสงนีออนขาวแสบตา แต่ละที่ล้วนคุมความเข้มแสงไว้เพียงไฟสีเหลือง 

น่ายินดีที่แสงจ้าของนีออนซึ่งได้ทำลายเสน่ห์ของเมืองต่างๆ ไปเสียแล้ว ยังไม่สามารถทำลายความงามของแสงสลัวในเสียมเรียบได้ อยากจะหวังว่านโยบายแสงสลัวจะยังอยู่คู่เสียมเรียบต่อไปอีกนาน

เสียมเรียบมีที่ว่างมากมาย ประชากรจำนวนเบาบางคงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดที่ว่างเหล่านี้ ที่ใดมีคูน้ำ ก็เหมือนกับจะถูกเติมแต้มด้วยดอกบัวชนิดต่างๆ ตลอดไปจนถึงชานเมืองและในชนบท ที่ว่างในเสียมเรียบปกคลุมไม่เพียงสถานที่ราชการ โรงแรม หรือกระทั่งในที่ซึ่งเรียกว่าสถานบันเทิงยามค่ำคืน หรือร้านอาหารขนาดใหญ่ ไม่ใช่ว่าที่ว่างหน้าสถานบันเทิงหรือร้านอาหารจะเป็นเพียงที่จอดพาหนะ แต่ยังเป็นสวนร่มรื่น 

นอกจากที่ว่างทางราบแล้ว เสียมเรียบยังเก็บที่ว่างทางสูงไว้ ด้วยกฎห้ามสร้างอาคารสูงเกินสี่ชั้น จึงไม่ต้องมีการแข่งกันสร้างหอคอยสูงตระหง่าน เอาไว้นอนชมปราสาทนครวัดกันแต่เพียงผู้มั่งคั่งร่ำรวย

โบราณสถานแต่ละแห่งที่ไป ยกเว้นแต่เพียงปราสาทนครวัด แต่ละแห่งล้วนร่มรื่น (ที่จริงนครวัดเองบริเวณโดยรอบก็ร่มรื่น) ถ้าไม่นับปราสาทบางปราสาทที่มีต้นไม้ปกคลุมตัวอาคารอยู่ ปราสาทหลายต่อหลายแห่งน่าปูเสื่อนั่งจิบไวน์หรือเอาอาหารไปนั่งกินกันอย่างยิ่ง ที่ที่ประทับใจในความร่มรื่นที่สุดสำหรับผมคือปราสาทสมบอรไปรกุก ซึ่งตั้งอยู่ในป่าเบญจพรรณ มีต้นไม้หลายหลากชนิด ทั้งแสงที่ลอดใบไม้ลงมา ทั้งเสียงนกกา ทั้งลมเอื่อยๆ ทำให้การชมปราสาทต้องถูกรบกวนด้วยความงามของธรรมชาติเป็นระยะๆ 

บางปราสาทที่ไม่มีนักท่องเที่ยวมากนัก ยิ่งน่าอภิรมณ์ เพราะไม่มีเสียงโหวกเหวกของนักท่องเที่ยว ที่ไม่รู้จะเดินทางมาแสนไกลเพื่อมาตะโกนคุยกันไปทำไม จะได้ยินเสียงนกร้องท่ามกลางแมกไม้ ช่วยให้การปีนป่ายก้อนหินเหล่านี้ได้อรรถรสมากขึ้น

สิ่งที่ดูแปลกตาน่าศึกษาอีกประการคือ การปิคนิคของชาวกัมพูชา คนเสียมเรียบนิยมพาครอบครัวไปนั่งปูเสื่อปูผ้า กินข้าวหรือเพียงนั่งเล่นนั่งคุยกันตามสวนสาธารณะ ตามริมถนนที่ร่มรื่น หรือตามโบราณสถาน หรือแม้แต่ตามข้างถนนระหว่างจังหวัดบริเวณที่มีร่มไม้ ผมไม่แน่ใจว่ามีคนไทยกี่มากน้อยที่ทำอย่างนี้ แต่ตอนเด็กๆ พ่อแม่มักพาครอบครัวผมไปเที่ยวปิคนิคตามที่ต่างๆ อย่างนี้เหมือนกัน 

ยังไม่ค่อยเข้าใจว่าทำไมชาวเสียมเรียบจึงชอบปิคนิคกัน แต่นึกถึงจากประสบการณ์ผมเองแล้ว ก็เดาว่าไม่มีอะไรมากไปกว่าการได้เปลี่ยนบรรยากาศการสังสันท์ของครอบครัว จากในบ้านที่คับแคบและร้อนระอุ มายังที่โปร่งโล่งและลมเชย ก็ทำให้มีความสุขอย่างง่ายๆ ได้เช่นกัน

ถ้าไม่นับบางปราสาทดังๆ อย่างนครวัดแล้ว แม้ไม่มีความรู้อะไรเลยเกี่ยวกับโบราณสถานแต่ละแห่ง ผมก็ประทับกับลักษณะเฉพาะของปราสาทแต่ละแห่ง หากไม่พยายามระลึกชื่อปราสาท ชื่อผู้สร้าง ศักราชที่สร้าง และเทพเจ้าประจำแต่ละปราสาท ผมก็จะจำปราสาทแต่ละที่ได้จากเอกลักษณ์ของปราสาทแต่ละแห่ง เช่น มีปราสาทที่มีต้นไม้ขึ้นปกคลุมทั่วไปหมด ปราสาทที่มีน้ำท่วมเต็มไปหมด ปราสาทที่สร้างให้มีสระน้ำในนั้น ปราสาททรงปิรามิด ปราสาทอิฐ ปราสาทที่มีหน้าคนบนยอด ปราสาทที่มีมอสเยอะ ปราสาทที่ล้มระเนระนาดแทบจะทั้งหมด 

ความเฉพาะตนของปราสาทเหล่านี้ทำให้ทึ่งว่า มนุษย์ช่างจินตนาการกับหินให้กลายเป็นพื้นที่และรูปทรงลักษณะต่างๆได้มากมายเพียงนี้ได้อย่างไรกัน ผมคิดถึงว่า หากเอาหินให้ผมทำอะไรให้แตกต่างกันสักห้าก้อน ผมก็คงหมดปัญญาคิดอะไรแปลกใหม่ไปตั้งแต่หินก้อนที่สามแล้ว แต่คนโบราณเหล่านี้ทำไมจึงช่างสร้างสรรค์อะไรได้ไม่รู้จบมากมายขนาดนี้

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (24 ธันวาคม 2555) กสทช.เชิญให้ผมไปร่วมแสดงความเห็นในเวทีเสวนาสาธารณะ “1 ปี กสทช. กับความ (ไม่) สมหวังของสังคมไทย” ทีแรกผมไม่คิดว่าตนเองจะสามารถไปวิจารณ์อะไรกสทช.ได้ แต่ผู้จัดยืนยันว่าต้องการมุมมองแบบมานุษยวิทยา ผมจึงตกปากรับคำไป 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อโต้แย้งต่อความเห็นผมจากของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ลงในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355920241&grpid=03&catid=&subcatid=) ย้ำให้เห็นชัดถึงความอับจนของกรอบคิดของคนกลุ่มนี้ต่อไปนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่เพียงแต่นักเขียนบางคนเท่านั้นที่อาจจะไม่เข้าใจหรือมองข้ามประเด็นความแตกต่างทางชาติพันธ์ุ แต่ผมคิดว่าแวดวงภาษาและวรรณกรรมบ้านเราอาจจะไม่ตระหนักถึงปัญหานี้โดยรวมเลยก็ได้ และในแง่หนึ่ง ผมคิดว่าซีไรต์เองอาจจะมีส่วนสร้างวัฒนธรรมไม่อ่อนไหวต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และถึงที่สุดแล้ว นี่อาจจะกลายเป็นข้อจำกัดที่ปิดกั้นโอกาสที่วรรณกรรมไทยจะก้าวเข้าสู่ระดับสากล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แทนที่จะเถียงกับอีกท่านหนึ่งที่วิจารณ์ผมต่อหน้ามากมายเมื่อวาน ผมขอใช้พลังงานเถียงกับข้อเสนอล่าสุดของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมีจากข่าวในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354935625&grpid=01&catid=&subcatid=) ดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่ออ่านข่าวแอร์โฮสเตสที่เพิ่งถูกให้ออก ผมมีคำถามหลายข้อ ทั้งในมิติของโซเชียลมีเดีย hate speech และสิทธิแรงงาน อย่างไรก็ดี ขอเคลียร์ก่อนว่าหากใครทราบจุดยืนทางการเมืองของผม ย่อมเข้าใจดีว่าความเห็นต่อไปนี้ไม่ได้มาจากความเห็นทางการเมืองที่เอนเอียงไปในทางเดียวกับพนักงานสายการบินคนนี้แต่อย่างใด ข้อสังเกตคือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขณะกำลังนั่งกินหอยแครงลวกอยู่เวลานี้ ก็ชวนให้คิดถึงคำพูดของนักวิชาการกัมพูชาคนหนึ่ง ที่เคยนั่งต่อหน้าอาหารเกาหลีจานพิเศษ คือหนอนทะเลดิบตัดเป็นชิ้นๆ ขยับตัวดึบๆ ดึบๆ อยู่ในจานแม้จะถูกตั้งทิ้งไว้เป็นชั่วโมง ตอนนั้น ผมบ่ายเบี่ยงไม่กล้ากินอยู่นาน แม้จะรู้ว่าเป็นอาหารพิเศษราคาแพงที่ศาสตราจารย์ชาวเกาหลีสรรหามาเลี้ยงต้อนรับการมาเกาหลีครั้งแรกของพวกเราหลายคน เพื่อนกัมพูชาบอกว่า "กินเถอะพี่ หอยแครงลวกในเมืองไทยน่ากลัวกว่านี้อีก" ผมจึงหาเหตุที่จะหลบเลี่ยงอีกต่อไปไม่ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมนั่งดูบันทึกรายการ The Voice Thailand (เดอะวอยซ์) เป็นประจำ แม้ว่าจะเห็นคล้อยตามคำนิยมของโค้ชทั้ง 4 อยู่บ่อยๆ แถมยังแอบติดตามความเห็นเปรี้ยวๆ ของนักเขียนบางคนที่ชอบเรียกตนเองสวนทางกับวัยเธอว่า "ป้า" ซึ่งหมดเงินกดโหวตมากมายให้นักร้องหนุ่มน้อยแนวลูกทุ่ง แต่ผมไม่ได้รับความบันเทิงจากเดอะวอยซ์เพียงจากเสียงเพลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมพยายามถามตัวเองว่า การจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่นำโดย "เสธ.อ้าย" จะมาจากเหตุผลประการใดบ้าง แต่ผมก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจว่า เอาเข้าจริง คนที่เข้าร่วมชุมนุมกับเสธ.อ้ายจะมีเหตุผลหรือไม่ หรือหากมี พวกเขาจะใช้เหตุผลชุดไหนกันในการเข้าร่วมชุมนุม ยังไงก็ตาม อยากถามพวกคุณที่ไปชุมนุมว่า พวกคุณอยากให้ประเทศเป็นอย่างนี้จริงๆ หรือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (20 พฤศจิกายน 2555) นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชิญไปบรรยายในงานสัมมนา "การเมืองเรื่องคนธรรมดา" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ขอตัดส่วนหนึ่งของบทบรรยายของผมที่ใช้ชื่อว่า "การเมืองวัฒนธรรมดา: ความไม่ธรรมดาของสามัญชน" มาเผยแพร่ในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2555 นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชิญไปร่วมกิจกรรมจุฬาวิชาการ โดยให้ไปวิจารณ์บทความนิสิตปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ 4 ชิ้น 1) ว่าด้วยเบื้องหลังทางการเมืองของการก่อตั้งองค์การอาเซียน 2) ว่าด้วยบทบาทและการต่อรองระหว่างประเทศในอาเซียน 3) ว่าด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าของธุรกิจเอกชนไทยในคู่ค้าอาเซียน และ 4) ว่าด้วยนโยบายชนกลุ่มชาติพันธ์ุในพม่า ข้างล่างนี้คือบันทึกบทวิจารณ์