Skip to main content

โดยบังเอิญ ผมไปถึงกัมพูชาในวันแรม 15 ค่ำ ซึ่งเป็นวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ พอดี

แต่ไม่ว่าจะเกิดเหตุนี้ขึ้นหรือไม่ ผมก็เห็นปราสาทหินในกัมพูชาเป็นโลกเพ้อฝัน ความงามของปราสาทอยู่คนละภพภูมิกันกับผู้คนที่รองฐานปราสาทอยู่ มองอย่างนี้มานานก่อนที่จะมีโอกาสได้มาเยือน และยิ่งได้มาเยือนแล้วก็ยิ่งตอกย้ำความเชื่อเดิมยิ่งขึ้นไปอีก

ความโดดเด่นแตกต่างของปราสาทแต่ละหลัง ดูจะสะท้อนความแก่งแย่งชิงดีกันของกษัตริย์แต่ละยุคสมัย เหมือนกษัตริย์แต่ละพระองค์ต่างก็ต้องการสร้างอาณาจักรของตนเอง ทั้งที่แต่ละพระองค์ครอบครองและสืบทอดอำนาจได้เพียงระยะเวลาสั้นๆ 

พื้นที่แหว่งวิ่นไม่สืบเนื่องกันของประเทศกัมพูชา และพื้นที่รายรอบที่กินเข้ามาถึงลาว ไทย และส่วนใต้ของเวียดนาม เป็นเวทีของการประชันขันแข่งกันบนหยาดเหงื่อแรงงานของผู้คน กษัตริย์พระองค์หนึ่งสร้างปราสาทเพื่อบูชาลัทธิของตนเอง เมื่อเปลี่ยนมาอีกพระองค์หนึ่ง ก็ทุบทำลายปราสาทก่อนเก่า แล้วสร้างปราสาทบูชาลัทธิธรรมเนียมของตนเองขึ้นใหม่

ในปัจจุบัน แม้ชาวกัมพูชาจะสามารถเข้าเยี่ยมชมปราสาทเหล่านี้ได้ แต่ไม่ว่าชาวกัมพูชาจะรับรู้ถึงความงามและประวัติศาสตร์ของปราสาทเหล่านี้จากแง่มุมใด ก็ไม่รู้ว่าจะต้องรออีกนานเท่าใดที่ความยิ่งใหญ่ตระการตาของปราสาทจึงจะช่วยให้ชาวกัมพูชาเงยหน้าอ้าปากขึ้นมาได้ 

แน่นอนว่าเราไม่ควรลดทอนคุณค่าทางศิลปะและความสามารถในการบริหารจัดการงานอนุรักษ์ ด้วยความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่ยังคงอยู่ เพราะไม่เช่นนั้นเราอาจต้องคิดว่าในประเทศที่บริหารงานอนุรักษ์อย่างย่ำแย่อย่างตอแหลแลนด์ ก็น่าจะมีสังคมที่ลดความเหลื่อมล้ำได้ดีกว่า 

แต่อุตสาหกรรมการเดินย่ำปราสาท ที่น่าจะนำรายได้เป็นอันดับต้นๆ ให้กับกัมพูชา ก็ยังดูห่างไกลจากการเป็นแหล่งรายได้ที่กระจายลงไปสู่ประชาชนทั่วไป

ถึงอย่างนั้นก็เถอะ ดูเหมือนวันนี้ กัมพูชาก็คงมีเพียงปราสาทหินเหล่านี้นี่แหละ ที่พอจะช่วยจะกอบกู้ชีวิตผู้คนหลังการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และการรอดพ้นอย่างพิกลพิการจากกับระเบิดที่ไม่มีวันกู้หมดได้ เรื่องราวของคนเหล่านั้นยังพัวพันใกล้ชิดกับชาวกัมพูชาสามัญ แต่นักท่องปราสาทสักกี่คนกันที่จะอยากฟังเรื่องน่าสะอิดสะเอียนสยอง "กบาล" (ภาษาขแมร์) เหล่านี้

ในชนบทที่ห่างออกไปจากตัวเมืองเสียมเรียบไม่เกิน 20 กิโลเมตร เรายังสามารถเห็นเกวียนเทียมวัวควายล้อไม้ ครกกระเดื่องตำข้าว พร้อมใช้งานอยู่ใต้ถุนเรือนไม้จริง ไม้ไผ่ มุงกระเบื้องบ้างมุงจากบ้าง ขนาดกระทัดรัดวางบนเสาสูงชลูด เรือนเหล่านี้ปลูกสลับท้องนาและบึงน้ำ กอตาล ป่าหมาก ต้นมะพร้าว และวัวควาย ยังคงเป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกกินถูกใช้อยู่ทั่วไป ก็มีบ้างเช่นกันที่จะเห็นเรือนที่ดูดีมีฐานะหลังใหม่ๆ 

จักรยานถีบและรถจักรยานยนต์ยังคงครองท้องถนนที่อยู่นอกพื้นที่การท่องเที่ยว รถยนต์และน้ำมันเติมรถยังราคาแพง พาหนะสาธารณะในเมืองเสียมเรียบขนาดกระทัดรัดดูเหมือนจะมีเพียงรถจักรยานยนต์พ่วงที่นั่งเก๋ง แลดูคล้ายรถสกายแล็ปในลาวหรือหนองคาย แต่มีการตกแต่งในแบบเฉพาะของที่นี่เอง ด้วยลูกกรงไม้กลึง แลดูคล้ายที่นั่งบนหลังช้าง 

ชาวกัมพูขาเล่าว่า ด้วยน้ำมันราคาลิตรละกว่า 50 บาท และราคารถยนต์ที่แพงกว่าเมืองไทยอีก 30% สามัญชนกัมพูชาที่ไหนจะสามารถมีรถใช้อย่างดาดดื่นได้ ขณะที่รถโดยสารสาธารณะระหว่างเมืองก็ยังไม่เป็นระบบนัก

แต่หากจะขอใช้คำพูดแบบดาดๆ แล้ว ผู้คนก็ยังต้องปากกัดตีนถีบต่อไป ชีวิตในตลาดสด (ที่ได้รับการเจียดเวลาให้ 20 นาที เพราะนี่เป็นทริปชมปราสาท ไม่ใช่ทริปเที่ยวตลาด หุหุ) เป็นโลกแทบจะคนละใบกับชีวิตในปราสาทหิน 

กลิ่นปลาร้าหมัก ดินเฉอะแฉะ เลือดปลาสดๆ สาดกระเด็นไปทั่ว หัว-ไส้-หู-ตับ-ไต-ตาหมู วัวบนโต๊ะบุอลูมิเนียม เด็กนอนเดียวดาย คนขายผักที่เคยไปใช้ชีวิตขายแรงงานในเมืองไทย อาหารคุ้นตาคุ้นกลิ่น แต่ไม่มีเวลาพอได้ชิมรส ไก่บ้านเป็ดบ้านตัวแกร็นๆ...

นี่คือข้อสังเกตอีกด้านในวันข้างขึ้นไม่กี่ค่ำของเมืองปราสาทหิน ในช่วงเวลาที่แสงเดือนเสี้ยวส่องสว่างให้เห็นได้เพียงเงาสลัวของเรือนร่างอวบอัดและรอยยิ้มพิมพ์ใจของนางอัปสร

 
 

 

 
 
 
 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอแสดงความคารวะจากใจจริงถึงความกล้าหาญจริงจังของพวกคุณ พวกคุณแสดงออกซึ่งโครงสร้างอารมณ์ของยุคสมัยอย่างจริงใจไม่เสแสร้ง อย่างที่แม่ของพวกคุณคนหนึ่งบอกกล่าวกับผมว่า "พวกเขาก็เป็นผลผลิตของสังคมในยุค 10 ปีที่ผ่านมานั่นแหละ" นั่นก็คือ พวกคุณได้สื่อถึงความห่วงใยต่ออนาคตของสังคมไทยที่พวกคุณนั่นแหละจะต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อไปให้สังคมได้รับรู้แล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปฏิกิริยาของสังคมต่อการกักขังนักศึกษา 14 คนได้ชี้ให้เห็นถึงการก้าวพ้นกำแพงความกลัวของประชาชน อะไรที่กระตุ้นให้ผู้คนเหล่านี้แสดงตัวอย่างฉับพลัน และการแสดงออกเหล่านี้มีนัยต่อสถานการณ์ขณะนี้อย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในโลกนี้มีสังคมมากมายที่ไม่ได้นับว่าตนเองเป็นกลุ่มชนเดียวกัน และการแบ่งแยกความแตกต่างของกลุ่มคนนั้นก็ไม่ได้ทาบทับกันสนิทกับความเป็นประเทศชาติ ชาว Rohingya (ขอสงวนการเขียนด้วยอักษรโรมัน เพราะไม่เห็นด้วยกับการออกเสียงตามภาษาพม่า) ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของกลุ่มคนที่ไม่ได้มีขอบเขตพื้นที่ที่อาศัยครอบครองอยู่ทาบกันสนิทกับขอบเขตพื้นที่ประเทศใดประเทศหนึ่ง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงเวลาของการสัมภาษณ์นักศึกษาใหม่ในแต่ละปีถือเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ที่ผมจะใช้อัพเดทความเปลี่ยนแปลงของสังคมหรือทำความเข้าใจสังคม จากมุมมองและประสบการณ์ชีวิตสั้นๆ ของนักเรียนที่เพิ่งจบการศึกษามัธยม ปีที่ผ่านๆ มาผมและเพื่อนอาจารย์มักสนุกสนานกับการตรวจสอบสมมติฐานของแต่ละคนว่าด้วยประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องความขัดแย้งทางการเมือง บางทีก็ตรงกับที่มีสมมติฐานไว้บ้าง บางทีก็พลาดไปบ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (31 พค. 58) ผมไปเป็นเพื่อนหลานสาววัย 13 ปี ที่ชวนให้ไปเที่ยวงานเทศกาลการ์ตูนญี่ปุ่นที่โรงแรมแห่งหนึ่งแถวถนนสุขุมวิท ผมเองสนับสนุนกิจกรรมเขียนการ์ตูนของหลานอยู่แล้ว และก็อยากรู้จักสังคมการ์ตูนของพวกเขา ก็เลยตอบรับคำชวน เดินทางขึ้นรถเมล์ ต่อรถไฟฟ้าไปกันอย่างกระตือรือล้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สนามบินที่ไหนๆ ก็ดูเหมือนๆ กันไปหมด อยู่ที่ว่าจะออกจากไหน ด้วยเรื่องราวอะไร หรือกำลังจะไปเผชิญอะไร ในความคาดหวังแบบไหน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ปับ เจียน ความ เจ้า ปัว ฟ้า" แปลตามตัวอักษรได้ว่า "หนังสือ เล่า เรื่อง เจ้า กษัตริย์ (แห่ง)ฟ้า" ซึ่งก็คือไบเบิลนั่นเอง แต่แปลเป็นภาษาไทดำแล้วพิมพ์ด้วยอักษรไทดำ อักษรลาว และอักษรเวียดนาม เมื่ออ่านแล้วจะออกเสียงและใช้คำศัพท์ภาษาไทดำเป็นหลัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
กรณีการออกเสียงชื่อชาว Rohingya ว่าจะออกเสียงอย่างไรดี ผมก็เห็นใจราชบัณฑิตนะครับ เพราะเขามีหน้าที่ต้องให้คำตอบหน่วยงานของรัฐ แต่ผมไม่เห็นด้วยกับการออกเสียงให้ตายตัวเบ็ดเสร็จว่าควรจะออกเสียงอย่างไรกันแน่ ยิ่งอ้างว่าออกเสียงตามภาษาพม่ายิ่งไม่เห็นด้วย ตามเหตุผลดังนี้ครับ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (7 พค. 58) ผมสอนวิชา "มานุษยวิทยาวัฒนธรรม" ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซินเป็นวันสุดท้าย มีเรื่องน่ายินดีบางอย่างที่อยากบันทึกไว้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
มันคงมีโครงสร้างอะไรบางอย่างที่ทำให้ "ร้านสะดวกซื้อ" เกิดขึ้นมาแทนที่ "ร้านขายของชำ" ได้ ผมลองนึกถึงร้านขายของชำสามสี่เมืองที่ผมเคยอาศัยอยู่ชั่วคราวบ้างถาวรบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อปี 2553 เป็นปีครบรอบวันเกิด 80 ปี จิตร ภูมิศักดิ์ มีการจัดงานรำลึกใหญ่โตที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเอ่ยถึงจิตรทีไร ผมก็มักเปรยกับอาจารย์ประวัติศาสตร์จุฬาฯ ท่านหนึ่งว่า "น่าอิจฉาที่จุฬาฯ มีวิญญาณของความหนุ่ม-สาวผู้ชาญฉลาดและหล้าหาญอย่างจิตรอยู่ให้ระลึกถึงเสมอๆ" อาจารย์คณะอักษรฯ ที่ผมเคารพรักท่านนี้ก็มักย้อนบอกมาว่า "ธรรมศาสตร์ก็ต้องหาคนมาเชิดชูของตนเองบ้าง"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันที่ 30 เมษายน 2558 เป็นวันครบรอบ 40 ปี "ไซ่ง่อนแตก"Ž เดิมทีผมก็ใช้สำนวนนี้อยู่ แต่เมื่อศึกษาเกี่ยวกับเวียดนามมากขึ้น ก็กระอักกระอ่วนใจที่จะใช้สำนวนนี้ เพราะสำนวนนี้แฝงมุมมองต่อเวียดนามแบบหนึ่งเอาไว้