Skip to main content

ปิดเทอมนี้อดพานักอ่านตัวยงคนหนึ่งที่บ้านไปงานสัปดาห์หนังสือ เพราะเธอขาแพลง เจ็บถึงขั้นเข้าเฝือกและใช้ไม้เท้าเดิน เธอบอก "เอาไว้มีงานอีกครั้งลุงต้องพาหนูไปนะ" วันนี้ก็เลยขอเขียนอวยนักเขียนสักหน่อย (คนเราไม่ต้องคอยหาทางวิจารณ์ข้อด้อยคนอื่นกันทุกเมื่อเชื่อวันก็คงสามารถจรรโลงสังคมให้น่าอยู่ได้เช่นกันกระมังครับ)

ค่ำวันหนึ่งผมมีโอกาสได้นั่งสนทนากับเพื่อนนักเขียนคนหนึ่ง ผมบังอาจเปรียบตัวเองเป็นนักบวช ที่ต้องกินอยู่แบบสมถะ แต่พอพูดออกไปต่อหน้านักเขียนแล้วก็เกิดละอายแก่ใจขึ้นมา เพราะถึงผมจะได้เงินเดือนไม่กี่สตางค์จากการสอนหนังสือและทำวิจัยก็จริง แต่อย่างน้อยที่สุดผมก็มีเงินเดือนรัฐกิน มีสวัสดิการของรัฐเป็นหลักประกัน

แต่ประเทศนี้มีใครสักกี่คนกันที่ได้เงินเดือนและสวัสดิการรัฐจากการเขียนหนังสือเป็นอาชีพ บางคนที่ได้มาก็ไม่ได้ดีเด่นไปกว่าคนที่ไม่ได้สิทธิพิเศษนั้นอีกตั้งมากมาย ถ้าอาชีพสอนหนังสือไส้แห้ง ไส้นักเขียนมิยิ่งหดหายไปจนเหลือแต่ผนังหน้าท้องที่แบนติดกระดูกสันหลังกันเชียวหรอกหรือ 

หรือถ้านักเขียนไม่มีครอบครัวค้ำจุน แล้วจะมี "a room of one's own" ไว้ให้นั่งอ่านเขียนคิดค้นคว้าอะไรของตนเองได้อย่างไร แถมบางคนยังเป็นนักเดินทาง ซึ่งก็ไม่ต่างอะไรกันนักกับการทำวิจัย จะมีทุนที่ไหนให้กับการวิจัยแบบนักเขียนบ้างเล่า ถ้ามี ก็จะมีใครกันสักกี่คนที่ได้ จะมีให้นักเขียนหน้าใหม่บ้างหรอกหรือ (หรือว่ามีทุนแบบนั้นจริง แต่ผมไม่ทราบเอง)

ดังนั้น นักเขียนต่างหากที่ควรจะเรียกได้ว่าเป็น "นักบวช" แห่งยุคของการอ่านและเขียนในสมัยทุนนิยมของการพิมพ์ (ถึงใครจะหาว่าผมชอบใช้ศัพท์ล้นๆ แบบไร้ตรรก ผมก็จะใช้ แต่นี่ก็ไม่ใช่ที่ที่จะมาอธิบายอะไรยืดยาว อย่างน้อย "เพื่อนๆ" ผมคงเข้าใจสถานะของข้อเขียนนี้ดี)

แต่อาชีพนักเขียนก็คงมีมนต์เสน่ห์ประหลาด และคงก็จะไม่มีอะไรบ่มเพาะการเป็นนักเขียนได้ดีไปกว่าการเป็นนักอ่านมาก่อน ตัวอย่างหนึ่งคือนักอ่านตัวยงที่พลาดงานสัปดาห์หนังสือคราวนี้คนหนึ่งนั่นแหละ 

"มาวมาว" เธออ่านหนังสือที่มีแต่ตัวหนังสือตั้งแต่อายุ 8-9 ขวบ แต่วันนี้มาวฯ อายุสิบเอ็ดปี ถ้าเธอว่างเธอจะอ่านหนังสือนิยายผจญภัย นิยายแฟนตาซีตลกๆ ได้วันละสองเล่มสบายๆ นอกจากนิยาย เธอเปลี่ยนจากการอ่านเรื่องราวเทพปกรณัมฮินดูและเรื่องไดโนเสาร์เมื่อสองปีก่อน มาสู่เทพปกรณัมกรีก-โรมันและฟิสิคส์สำหรับเด็กในปีนี้ 

เวลาไปงานสัปดาห์หนังสือ มาวฯ เดินแทบทุกซอกซอย เธอจะเลือกซื้อหนังสือเองด้วยเงินของย่าหรือพ่อแม่เธอ เวลาลุงกับป้าเลือกหนังสือให้ มาวฯ บอก "ก็ได้ แต่หนูไม่ออกเงินหนูนะ แล้วหนูจะช่วยอ่านเล่มที่ลุงกับป้าซื้อให้" แล้วเธอก็ "ช่วยอ่าน" มันจบอย่างรวดเร็ว 

มีวันหนึ่ง มาวฯ เอาบันทึกมาให้ป้าอ่าน มาวฯ เขียนตอนหนึ่งว่า 

"เด็กทุกคนล้วนมีความฝัน ต่างคนต่างไปพบเจออะไรมากมาย และบางอย่างอาจจะกลายเป็นแรงบันดาลใจของคนคนนั้นไป.. 

"ฉันใฝ่ฝันว่าอยากเป็นนักเขียนตั้งแต่อายุ10 ขวบ ผ่านมาหนึ่งปีแล้วฉันยังรักษาความฝันนั้นอยู่ ฉันเริ่มต้นเขียน แต่ก็ยังไม่เคยได้ให้ใครอ่านสักที ด้วยความเป็นคนที่ไม่ค่อยกล้านัก ทำให้ไม่มีใครเคยอ่านเลยสักครั้ง แต่จะเล่าให้เพื่อนฟังแทน และทุกครั้งที่่เล่าก็ไม่สามารถเขียนหรือบรรยายออกมาได้ จนเหมือนกับว่าฉันไม่สามารถทำทั้งสองสิ่งนั้นได้เลย.. 

"สิ่งหนึ่งที่ฉันไม่แน่ใจว่ามันจะใช่แรงบันดาลใจหรือเปล่า สำหรับคนอื่นอาจจะเป็นเรื่องราวที่ผ่านมาและผ่านไปเท่านั้น นั่นก็คือเรื่องที่คนในครอบครัวพูดคุยกัน.. 

"ฉันไม่แน่ใจว่างานเขียนของฉันสนุกหรือเปล่า แต่ฉันรู้เสมอว่างานทุกงานฉันใช้ความรู้สึกเขียน" (คัดจากสเตตัสของ Kusra Mukdawijitra

ทุกวันนี้มาวฯ เปิด weblog ส่วนตัว เธอเริ่มต้นเขียนนิยายไปพร้อมๆ กับเล่นเฟซบุก 

ในทัศนะผม อย่างเลวที่สุด การอ่านก็ทำให้นักอ่านกลายเป็นนักเล่าหนังสือหน้าชั้นเรียนแบบผม แต่อย่างดีที่สุด การอ่านก็จะสร้างนักเขียนขึ้นมาอีกอย่างน้อยหนึ่งคนแบบมาวมาว

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอแสดงความคารวะจากใจจริงถึงความกล้าหาญจริงจังของพวกคุณ พวกคุณแสดงออกซึ่งโครงสร้างอารมณ์ของยุคสมัยอย่างจริงใจไม่เสแสร้ง อย่างที่แม่ของพวกคุณคนหนึ่งบอกกล่าวกับผมว่า "พวกเขาก็เป็นผลผลิตของสังคมในยุค 10 ปีที่ผ่านมานั่นแหละ" นั่นก็คือ พวกคุณได้สื่อถึงความห่วงใยต่ออนาคตของสังคมไทยที่พวกคุณนั่นแหละจะต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อไปให้สังคมได้รับรู้แล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปฏิกิริยาของสังคมต่อการกักขังนักศึกษา 14 คนได้ชี้ให้เห็นถึงการก้าวพ้นกำแพงความกลัวของประชาชน อะไรที่กระตุ้นให้ผู้คนเหล่านี้แสดงตัวอย่างฉับพลัน และการแสดงออกเหล่านี้มีนัยต่อสถานการณ์ขณะนี้อย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในโลกนี้มีสังคมมากมายที่ไม่ได้นับว่าตนเองเป็นกลุ่มชนเดียวกัน และการแบ่งแยกความแตกต่างของกลุ่มคนนั้นก็ไม่ได้ทาบทับกันสนิทกับความเป็นประเทศชาติ ชาว Rohingya (ขอสงวนการเขียนด้วยอักษรโรมัน เพราะไม่เห็นด้วยกับการออกเสียงตามภาษาพม่า) ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของกลุ่มคนที่ไม่ได้มีขอบเขตพื้นที่ที่อาศัยครอบครองอยู่ทาบกันสนิทกับขอบเขตพื้นที่ประเทศใดประเทศหนึ่ง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงเวลาของการสัมภาษณ์นักศึกษาใหม่ในแต่ละปีถือเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ที่ผมจะใช้อัพเดทความเปลี่ยนแปลงของสังคมหรือทำความเข้าใจสังคม จากมุมมองและประสบการณ์ชีวิตสั้นๆ ของนักเรียนที่เพิ่งจบการศึกษามัธยม ปีที่ผ่านๆ มาผมและเพื่อนอาจารย์มักสนุกสนานกับการตรวจสอบสมมติฐานของแต่ละคนว่าด้วยประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องความขัดแย้งทางการเมือง บางทีก็ตรงกับที่มีสมมติฐานไว้บ้าง บางทีก็พลาดไปบ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (31 พค. 58) ผมไปเป็นเพื่อนหลานสาววัย 13 ปี ที่ชวนให้ไปเที่ยวงานเทศกาลการ์ตูนญี่ปุ่นที่โรงแรมแห่งหนึ่งแถวถนนสุขุมวิท ผมเองสนับสนุนกิจกรรมเขียนการ์ตูนของหลานอยู่แล้ว และก็อยากรู้จักสังคมการ์ตูนของพวกเขา ก็เลยตอบรับคำชวน เดินทางขึ้นรถเมล์ ต่อรถไฟฟ้าไปกันอย่างกระตือรือล้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สนามบินที่ไหนๆ ก็ดูเหมือนๆ กันไปหมด อยู่ที่ว่าจะออกจากไหน ด้วยเรื่องราวอะไร หรือกำลังจะไปเผชิญอะไร ในความคาดหวังแบบไหน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ปับ เจียน ความ เจ้า ปัว ฟ้า" แปลตามตัวอักษรได้ว่า "หนังสือ เล่า เรื่อง เจ้า กษัตริย์ (แห่ง)ฟ้า" ซึ่งก็คือไบเบิลนั่นเอง แต่แปลเป็นภาษาไทดำแล้วพิมพ์ด้วยอักษรไทดำ อักษรลาว และอักษรเวียดนาม เมื่ออ่านแล้วจะออกเสียงและใช้คำศัพท์ภาษาไทดำเป็นหลัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
กรณีการออกเสียงชื่อชาว Rohingya ว่าจะออกเสียงอย่างไรดี ผมก็เห็นใจราชบัณฑิตนะครับ เพราะเขามีหน้าที่ต้องให้คำตอบหน่วยงานของรัฐ แต่ผมไม่เห็นด้วยกับการออกเสียงให้ตายตัวเบ็ดเสร็จว่าควรจะออกเสียงอย่างไรกันแน่ ยิ่งอ้างว่าออกเสียงตามภาษาพม่ายิ่งไม่เห็นด้วย ตามเหตุผลดังนี้ครับ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (7 พค. 58) ผมสอนวิชา "มานุษยวิทยาวัฒนธรรม" ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซินเป็นวันสุดท้าย มีเรื่องน่ายินดีบางอย่างที่อยากบันทึกไว้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
มันคงมีโครงสร้างอะไรบางอย่างที่ทำให้ "ร้านสะดวกซื้อ" เกิดขึ้นมาแทนที่ "ร้านขายของชำ" ได้ ผมลองนึกถึงร้านขายของชำสามสี่เมืองที่ผมเคยอาศัยอยู่ชั่วคราวบ้างถาวรบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อปี 2553 เป็นปีครบรอบวันเกิด 80 ปี จิตร ภูมิศักดิ์ มีการจัดงานรำลึกใหญ่โตที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเอ่ยถึงจิตรทีไร ผมก็มักเปรยกับอาจารย์ประวัติศาสตร์จุฬาฯ ท่านหนึ่งว่า "น่าอิจฉาที่จุฬาฯ มีวิญญาณของความหนุ่ม-สาวผู้ชาญฉลาดและหล้าหาญอย่างจิตรอยู่ให้ระลึกถึงเสมอๆ" อาจารย์คณะอักษรฯ ที่ผมเคารพรักท่านนี้ก็มักย้อนบอกมาว่า "ธรรมศาสตร์ก็ต้องหาคนมาเชิดชูของตนเองบ้าง"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันที่ 30 เมษายน 2558 เป็นวันครบรอบ 40 ปี "ไซ่ง่อนแตก"Ž เดิมทีผมก็ใช้สำนวนนี้อยู่ แต่เมื่อศึกษาเกี่ยวกับเวียดนามมากขึ้น ก็กระอักกระอ่วนใจที่จะใช้สำนวนนี้ เพราะสำนวนนี้แฝงมุมมองต่อเวียดนามแบบหนึ่งเอาไว้