Skip to main content

ปิดเทอมนี้อดพานักอ่านตัวยงคนหนึ่งที่บ้านไปงานสัปดาห์หนังสือ เพราะเธอขาแพลง เจ็บถึงขั้นเข้าเฝือกและใช้ไม้เท้าเดิน เธอบอก "เอาไว้มีงานอีกครั้งลุงต้องพาหนูไปนะ" วันนี้ก็เลยขอเขียนอวยนักเขียนสักหน่อย (คนเราไม่ต้องคอยหาทางวิจารณ์ข้อด้อยคนอื่นกันทุกเมื่อเชื่อวันก็คงสามารถจรรโลงสังคมให้น่าอยู่ได้เช่นกันกระมังครับ)

ค่ำวันหนึ่งผมมีโอกาสได้นั่งสนทนากับเพื่อนนักเขียนคนหนึ่ง ผมบังอาจเปรียบตัวเองเป็นนักบวช ที่ต้องกินอยู่แบบสมถะ แต่พอพูดออกไปต่อหน้านักเขียนแล้วก็เกิดละอายแก่ใจขึ้นมา เพราะถึงผมจะได้เงินเดือนไม่กี่สตางค์จากการสอนหนังสือและทำวิจัยก็จริง แต่อย่างน้อยที่สุดผมก็มีเงินเดือนรัฐกิน มีสวัสดิการของรัฐเป็นหลักประกัน

แต่ประเทศนี้มีใครสักกี่คนกันที่ได้เงินเดือนและสวัสดิการรัฐจากการเขียนหนังสือเป็นอาชีพ บางคนที่ได้มาก็ไม่ได้ดีเด่นไปกว่าคนที่ไม่ได้สิทธิพิเศษนั้นอีกตั้งมากมาย ถ้าอาชีพสอนหนังสือไส้แห้ง ไส้นักเขียนมิยิ่งหดหายไปจนเหลือแต่ผนังหน้าท้องที่แบนติดกระดูกสันหลังกันเชียวหรอกหรือ 

หรือถ้านักเขียนไม่มีครอบครัวค้ำจุน แล้วจะมี "a room of one's own" ไว้ให้นั่งอ่านเขียนคิดค้นคว้าอะไรของตนเองได้อย่างไร แถมบางคนยังเป็นนักเดินทาง ซึ่งก็ไม่ต่างอะไรกันนักกับการทำวิจัย จะมีทุนที่ไหนให้กับการวิจัยแบบนักเขียนบ้างเล่า ถ้ามี ก็จะมีใครกันสักกี่คนที่ได้ จะมีให้นักเขียนหน้าใหม่บ้างหรอกหรือ (หรือว่ามีทุนแบบนั้นจริง แต่ผมไม่ทราบเอง)

ดังนั้น นักเขียนต่างหากที่ควรจะเรียกได้ว่าเป็น "นักบวช" แห่งยุคของการอ่านและเขียนในสมัยทุนนิยมของการพิมพ์ (ถึงใครจะหาว่าผมชอบใช้ศัพท์ล้นๆ แบบไร้ตรรก ผมก็จะใช้ แต่นี่ก็ไม่ใช่ที่ที่จะมาอธิบายอะไรยืดยาว อย่างน้อย "เพื่อนๆ" ผมคงเข้าใจสถานะของข้อเขียนนี้ดี)

แต่อาชีพนักเขียนก็คงมีมนต์เสน่ห์ประหลาด และคงก็จะไม่มีอะไรบ่มเพาะการเป็นนักเขียนได้ดีไปกว่าการเป็นนักอ่านมาก่อน ตัวอย่างหนึ่งคือนักอ่านตัวยงที่พลาดงานสัปดาห์หนังสือคราวนี้คนหนึ่งนั่นแหละ 

"มาวมาว" เธออ่านหนังสือที่มีแต่ตัวหนังสือตั้งแต่อายุ 8-9 ขวบ แต่วันนี้มาวฯ อายุสิบเอ็ดปี ถ้าเธอว่างเธอจะอ่านหนังสือนิยายผจญภัย นิยายแฟนตาซีตลกๆ ได้วันละสองเล่มสบายๆ นอกจากนิยาย เธอเปลี่ยนจากการอ่านเรื่องราวเทพปกรณัมฮินดูและเรื่องไดโนเสาร์เมื่อสองปีก่อน มาสู่เทพปกรณัมกรีก-โรมันและฟิสิคส์สำหรับเด็กในปีนี้ 

เวลาไปงานสัปดาห์หนังสือ มาวฯ เดินแทบทุกซอกซอย เธอจะเลือกซื้อหนังสือเองด้วยเงินของย่าหรือพ่อแม่เธอ เวลาลุงกับป้าเลือกหนังสือให้ มาวฯ บอก "ก็ได้ แต่หนูไม่ออกเงินหนูนะ แล้วหนูจะช่วยอ่านเล่มที่ลุงกับป้าซื้อให้" แล้วเธอก็ "ช่วยอ่าน" มันจบอย่างรวดเร็ว 

มีวันหนึ่ง มาวฯ เอาบันทึกมาให้ป้าอ่าน มาวฯ เขียนตอนหนึ่งว่า 

"เด็กทุกคนล้วนมีความฝัน ต่างคนต่างไปพบเจออะไรมากมาย และบางอย่างอาจจะกลายเป็นแรงบันดาลใจของคนคนนั้นไป.. 

"ฉันใฝ่ฝันว่าอยากเป็นนักเขียนตั้งแต่อายุ10 ขวบ ผ่านมาหนึ่งปีแล้วฉันยังรักษาความฝันนั้นอยู่ ฉันเริ่มต้นเขียน แต่ก็ยังไม่เคยได้ให้ใครอ่านสักที ด้วยความเป็นคนที่ไม่ค่อยกล้านัก ทำให้ไม่มีใครเคยอ่านเลยสักครั้ง แต่จะเล่าให้เพื่อนฟังแทน และทุกครั้งที่่เล่าก็ไม่สามารถเขียนหรือบรรยายออกมาได้ จนเหมือนกับว่าฉันไม่สามารถทำทั้งสองสิ่งนั้นได้เลย.. 

"สิ่งหนึ่งที่ฉันไม่แน่ใจว่ามันจะใช่แรงบันดาลใจหรือเปล่า สำหรับคนอื่นอาจจะเป็นเรื่องราวที่ผ่านมาและผ่านไปเท่านั้น นั่นก็คือเรื่องที่คนในครอบครัวพูดคุยกัน.. 

"ฉันไม่แน่ใจว่างานเขียนของฉันสนุกหรือเปล่า แต่ฉันรู้เสมอว่างานทุกงานฉันใช้ความรู้สึกเขียน" (คัดจากสเตตัสของ Kusra Mukdawijitra

ทุกวันนี้มาวฯ เปิด weblog ส่วนตัว เธอเริ่มต้นเขียนนิยายไปพร้อมๆ กับเล่นเฟซบุก 

ในทัศนะผม อย่างเลวที่สุด การอ่านก็ทำให้นักอ่านกลายเป็นนักเล่าหนังสือหน้าชั้นเรียนแบบผม แต่อย่างดีที่สุด การอ่านก็จะสร้างนักเขียนขึ้นมาอีกอย่างน้อยหนึ่งคนแบบมาวมาว

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีเพื่อนคนหนึ่งตั้งประเด็นว่า ในอีก 10 ปีข้างหน้า มหาวิทยาลัยไทยในหลายจังหวัดว่าจะพัฒนาไปไกลกว่ามหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะทางด้าน "สังคมศาสตร์" ผมก็เลยคิดอะไรขึ้นมาได้หลายอย่าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมอ่านเรื่องการขายข้าวของ บก.ลายจุด ไปขัดใจคนอีกฝั่งหนึ่งแล้ว ทีแรกก็ไม่ค่อยอยากสนใจนัก เพราะ บก.ลายจุด ขยับทำอะไรที ฝ่ายนั้นก็คอยจ้องโจมตีเรื่อยไปจนน่าเบื่อไปแล้ว แต่พอเสธ.ไก่อูมาสนใจการขายข้าวของ บก.ลายจุด ผมว่า อ้อ อย่างนี้นี่เอง ทำไมการขายข้าวของ บก.ลายจุด จึงน่าสนใจขึ้นมาได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นโจมตีกระแนะกระแหนส่วนหนึ่งของความเห็นผมกันยกใหญ่ แต่ผมว่าก็ดีนะ มันชี้ขีดจำกัดของความคิดคนดี ก็ไม่ใช่ว่าผมจะพูดถูกหมดหรือพูดครบถ้วนหมดจดหรอก เพียงแต่มีข้อแย้งกับข้อโต้แย้งเหล่านั้นได้มากเช่นกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สิทธิมนุษยชนเป็นแนวคิดที่มีรากฐานอยู่ในประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมืองไทยมาเนิ่นนาน น่าจะนานไม่น้อยไปกว่าแนวคิดประชาธิปไตย หากแต่น่าสงสัยว่า ทำไมแนวคิดนี้จึงยังไม่เป็นที่เข้าใจกันเสียที 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายวันมานี้ มีนักคิดหลายๆ คนเสนอวิธีทำความเข้าใจสังคมไทยใหม่ๆ มากมาย หลายคนพยายามไม่ตัดสินว่านี่คือการถอยหลังหรือย้อนรอยกลับไปในอดีต เพราะนักศึกษาประวัติศาสตร์สังคมย่อมทราบดีว่า สังคมเปลี่ยนแปลงเสมอ และในเมื่อเงื่อนไขเปลี่ยนไป เราจะเข้าใจสังคมปัจจุบันอย่างไร ผมคนหนึ่งล่ะที่พยายามไม่คิดว่านี่เป็นการ "ถอยหลัง" หรือซ้ำรอยอดีตอย่าง deja vu 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่องไม่เป็นเรื่องบางครั้งก็ชวนให้น่ารำคาญ ทำให้ต้องมาคอยอารัมภบทออกตัวมากมาย ทั้งๆ ที่ไม่จำเป็น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมโชคดีที่มีโอกาสได้รับเชิญไปร่วมประชุมวิชาการด้านสิทธิมนุษยชนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเมื่อวันศุกร์สัปดาห์ก่อน ทั้งหมดเป็นประสบการณ์แปลกใหม่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แนวโน้มของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แสดงให้เห็นทิศทางที่ชัดเจนขึ้นว่า จะเป็นรัฐธรรมนูญที่ลดอำนาจของประชาชนลง แนวโน้มนี้ไม่ได้เหนือความคาดหมายของผู้เฝ้าติดตามการเมืองไทยในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีกระบวนการต่อเนื่องของการทำลายประชาธิปไตยในประเทศไทย จนกระทั่งเมื่อการเลือกตั้งทั่วไปปี 2557 ที่เกิดปรากฏการณ์ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองไทย นั่นคือการชุมนุมทางการเมืองและใช้กำลังรุนแรงของมวลชนเข้าไปปิดล้อมทำลายการเลือกตั้ง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่จำเป็นต้องสาธยายคุณูปการของอาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลต่อสังคมไทย หากคุณไม่เห็นคุณูปการของอาจารย์สมศักดิ์ คุณก็คือคนที่ไม่เข้าใจว่าตนเองกำลังกรอกยาฝิ่นใส่ปากตัวเอง แล้วเมายาอยู่จนหลงคิดไปว่ากำลังดื่มโอสถบำรุงกำลัง หากคุณไม่คิดอย่างนั้น ก็ไม่ต้องอ่านต่อไปแล้วไม่ต้องมาพยายามเถียงกับผมให้เสียเวลาเปลืองอารมณ์ที่จะต้องคุยกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันศุกร์ที่ผ่านมา (20 กพ. 58) ผมไปร่วมกิจกรรม 4 กิจกรรมด้วยกัน ทั้งหมดเกี่ยวกันบ้าง ไม่เกี่ยวกันบ้าง แต่อยากเล่าให้ฟังว่ามันชวนคิดและชวนตกใจมากทีเดียว 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อเห็นข่าวว่ามีการพูดถึงคนไทยมาจากเขาอัลไตกันขึ้นมาอีก ผมก็ระลึกขึ้นมาทันทีว่า เรื่องนี้ได้ข้อตกลงกันไปชัดเจนนานแล้วนี่นาว่า เป็นความรู้ที่ผิดพลาด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
รัฐบาลทหารไม่อยากให้ถูกเรียกว่าตนเองเป็นเผด็จการ เพราะยอมรับความจริงไม่ได้ว่า ที่ตนเป็นอยู่นั้นเป็นเผด็จการ เหมือนโจรที่ไม่อยากถูกเรียกว่าโ