Skip to main content

กลับมาเยือนเวียดนามคราวนี้ (7-12 พฤศจิกายน 2555) ได้พบกับเวียดนามยุคฟองสบู่ใกล้จะแตก พบกับความเปลี่ยนแปลงมากมาย ยิ่งเมื่อได้เดินทางแบบได้สัมผัสเวียดนามใกล้ชิดกว่าเมื่อพานักศึกษาไปเมื่อเดือนพฤษภาคม ก็ยิ่งได้รับรู้ความแปลกใหม่หลายประการ ขอบันทึกแบบไวๆ ว่า

คนฮานอยเวลานี้กินบู๋นจ่า (ขนมจีนหมูปิ้ง) ด้วยช้อนและตะเกียบ ไม่ยกถ้วยขึ้นจ่อปากแบบเมื่อก่อน คนที่กินแบบเก่ากลายเป็นคนไร้มารยาทไปเลย; กระดาษทิชชูตามร้านข้างถนนในฮานอยเนื้อเหนียวแน่นขึ้น ใส่กล่องอย่างดี; เฝ่อลอง (ก๋วยเตี๋ยวนายลอง) ที่ตลาดแบ๊คควา ฮานอย ยังอร่อยเหมือนเดิม แถมช้อนตักน้ำซดเนื้อดี จับได้มั่นคงขึ้น ก้านยาวไม่ตกลงไปในชามง่ายๆ; แก้วน้ำชาตามบ้านสูงเรียวขึ้น ทรงใหม่นี้นิยมกันตั้งแต่ฮานอยถึงเซอนลา
 
พี่ถัง คนขับรถที่จ้างกันเป็นประจำ เปลี่ยนรถใหม่แล้ว; พี่ถังกลายเป็นนักถ่ายรูปตัวยง ระหว่างทาง แกชวนพวกเราหยุดถ่ายรูปบ่อยกว่าพวกเราเอง แถมแกยังถ่ายรูปมากกว่าพวกเรา มีกล้องทันสมัยกว่าพวกเรา
 
เครื่องกรองน้ำดื่มในหมู่บ้านที่มายเจิวนิยมกันมาถึงเซอนลา; บ้านเรือนในหมู่บ้านที่เซอนลาล้อมรั้วด้วยอิฐก่อ ดูอึดอัดนัยตา เรือนไม้น้อยลง เรือนตึกมากขึ้น เรือนตึกสวยๆ แบบคนรวยๆ ในฮานอยมีมากขึ้น; ร้านอาหารไทในเซอนลามีมากขึ้น หากินง่ายขึ้น แต่หาอร่อยยาก; คนใช้เครื่องจักรในการเกษตรมากขึ้น เห็นหัวรถไถพ่วงรถลาก ไม่เห็นเกวียนเทียมวัวควายแล้ว
 

คนรู้จักล้มหายตายจากกันไปหลายคน; เพื่อนๆ ที่เมืองลามีรถขับกันมากขึ้น รถแท็กซี่วิ่งกันขวั่กไขว่เมืองเซอนลา; พี่เขยของเพื่อน ที่เดิมเคยนั่งร่ำเหล้ากันในก้นครัว ตอนนี้ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าจังหวัดเซอนลา ส่วนหนุ่มหล่อนักร้องนักแสดงประจำหมู่บ้าน แต่งงาน มีลูก เป็นเลขาธิการพรรคประจำเขตใจกลางเมืองเซอนลา; ผัวเมียที่เคยทำงานด้านการศึกษา รู้หนังสือไทดำดี เมื่อเกษียณแล้วกลายเป็นหมอยากลางบ้านอยู่กลางเมืองลา

 
มีหลายอย่างที่ไม่เปลี่ยนแปลง มีความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่เพียงซ้อนทับตอกย้ำโครงสร้างเดิมๆ แต่ก็มีความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่รับรู้ได้แม้ด้วยเพียงแค่สัมผัสพื้นผิว ความเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งที่บอกเล่าไม่ได้ง่ายๆ นักคือ ผู้คนเริ่มสงสัยกับความพยายามดื้อดึงฝืนความเปลี่ยนแปลงของรัฐมากขึ้น นี่เป็นอีกความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ที่จะส่งผลและแผลลึกกับเวีียดนามในเร็ววัน
 
 
 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลังจากพินิจพิเคราะห์แล้วว่า ท่านผู้นำกำลังจะหมดเรื่องพล่ามในไม่ช้า เพราะเริ่มวนเวียนและเล่าเรื่องตัวเองมากขึ้น ท่านจึงควรหาความรู้รอบตัวมากขึ้น ก็เลยขอตามกระแส แนะนำหนังสือให้ท่านอ่าน ก็ไม่รู้จะ tag ท่านยังไง แต่คิดว่า เขียนใส่ขวดลอยไปก็อาจจะลอยไปถึงตีนบันไดบ้านท่านบ้างสักวัน ก็ขออนุญาตแนะนำดังนี้ครับท่าน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นท่านผู้นำไม่นิยมผู้หญิง เพราะในคณะรัฐบาลท่านมีผู้หญิงเพียง 2 คน ผมก็เลยขอแนะนำท่านว่า ผู้หญิงทำงานความคิดเก่งๆ มีมากมาย ไม่ใช่ให้ลูกน้องเอาผู้หญิงมาเต้นโป๊เปลือยดูกันในค่ายทหารเท่านั้น แต่ก็เอาล่ะ ขอแนะนำนักมานุษยวิทยาสตรีที่ผมชื่นชอบสัก 10 คนก็แล้วกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรามีปาก เขามีปืน เราขัดขืน เขาข่มเหงเรานักเขียน เขานักเลง เรายำเกรง เขาลำพอง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ใครที่รู้จักอาคารดังๆ ของแฟรงค์ ลอยด์ ไรท์ (Frak Lloyd Wright) อย่าง Guggenhiem Museum ที่นิวยอร์ค บ้านน้ำตกที่เพลซิลวาเนีย Imperial Hotel ที่โตเกียว อาจจะนึกไม่ถึงว่า บ้านที่ไรท์เรียกว่าเป็นบ้านของเขานั้นอยู่ในชนบทที่ Spring Green มลรัฐวิสคอนซิน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะแบบนี้ปรากฏตัวบ่อยครั้งในข้อถกเถียงทางการเมืองไทย ในระบบการศึกษาไทย ตำราเรียนไทย ประวัติศาสตรืไทยแบบทางการก็ยังสอนแบบนี้อยู่ คนไทยไม่ว่าจะใส่เสื้อสีใด ส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อแบบนี้อยู่ ทัศนะแบบนี้คงกะลาความเป็นไทยเอาไว้อย่างหนาเตอะเกรอะกรัง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บทสนทนาระหว่าง นายอานันท์ ปันยารชุน กับนายภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ล่าสุด เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2557 ที่โรงแรมมณเฑียร มีสาระที่น่าสนใจหลายประการต่อการเข้าใจการเมืองไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 นึกถึงชิคาโก ผู้คนคงนึกถึงตึกระฟ้าที่เคยประชันกันกับนิวยอร์ค นึกถึงธุรกิจที่ดึงดูดให้ใครต่อใครมาอาศัยที่นี่จนเป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของสหรัฐอเมริกา นึกถึงสถาปัตยกรรมอันหลากหลายและฟังเมืองใหม่หลังไฟไฟม้ใหญ่จนราบไปทั้งเมือง นึกถึงอัลคาโปนเจ้าพ่อชื่อดัง นึกถึงพิพิธภัณฑ์ที่เดินดูกันทั้งเดือนก็คงไม่หมด นึกถึงมหาวิทยาลัยอันโด่งดังอย่างมหาวิทยาลัยแห่งชิคาโก แต่ใครบ้างจะนึกถึงแมกไม้และสายน้ำของชิคาโก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
  เมื่อวันจันทร์ (11 สค.) หลังจากใช้เวลาอยู่ใน Field Museum (ซึ่งพอดีมีนิทรรศการว่าด้วยกำเนิดของ Field Museum ที่เกี่ยวข้องกับกำเนิดของมานุษยวิทยาอเมริกันอย่างยิ่ง) ไปกว่า 4 ชั่วโมงแล้ว ผมลังเลอย่างยิ่งที่จะเข้าชม The Art Institute of Chicago ต่อ เพราะเกรงว่าจะไม่ทันได้ครุ่นคิดอะไรกับความรู้และความรู้สึกแบบอัดแน่นจากเมื่อ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนคนหนึ่งถามเรื่อง "การเขียน" และการวางแผน "อนาคต" ของเขา ผมเขียนตอบไปอย่างยาว เห็นว่าอาจเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ บ้าง ก็เลยขอนำมาเผยแพร่ที่นี่ครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์ธรรมศาสตร์ ผมไม่อาจยินดีกับการที่ผู้บริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จาก คสช. 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อก่อนผมเถียงกับเพื่อนเสมอว่า อย่ามาถามว่าผมเป็นคนที่ไหน เพราะคนเราอาจมีหลายบ้าน มีใครในยุคนี้ที่ไม่ย้ายบ้านบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำสวยหรูนี้ประดิษฐ์ขึ้นมาในภาษาไทยโดยใครนั้น ผู้ที่ติดตามแวดวงวิชาการในระยะ 30 ปีที่ผ่านมาย่อมทราบดี ไม่ว่าจิตวิญญาณของผู้ที่กล่าวคำนี้จะยังอยู่กับแนวคิดนี้ที่เขาอาจพลั้งปากออกมาหรือไม่ คนที่สนิทชิดเชื้อกับผู้ประดิษฐ์คำท่านนี้ก็คงจะทราบดี