Skip to main content

กลับมาเยือนเวียดนามคราวนี้ (7-12 พฤศจิกายน 2555) ได้พบกับเวียดนามยุคฟองสบู่ใกล้จะแตก พบกับความเปลี่ยนแปลงมากมาย ยิ่งเมื่อได้เดินทางแบบได้สัมผัสเวียดนามใกล้ชิดกว่าเมื่อพานักศึกษาไปเมื่อเดือนพฤษภาคม ก็ยิ่งได้รับรู้ความแปลกใหม่หลายประการ ขอบันทึกแบบไวๆ ว่า

คนฮานอยเวลานี้กินบู๋นจ่า (ขนมจีนหมูปิ้ง) ด้วยช้อนและตะเกียบ ไม่ยกถ้วยขึ้นจ่อปากแบบเมื่อก่อน คนที่กินแบบเก่ากลายเป็นคนไร้มารยาทไปเลย; กระดาษทิชชูตามร้านข้างถนนในฮานอยเนื้อเหนียวแน่นขึ้น ใส่กล่องอย่างดี; เฝ่อลอง (ก๋วยเตี๋ยวนายลอง) ที่ตลาดแบ๊คควา ฮานอย ยังอร่อยเหมือนเดิม แถมช้อนตักน้ำซดเนื้อดี จับได้มั่นคงขึ้น ก้านยาวไม่ตกลงไปในชามง่ายๆ; แก้วน้ำชาตามบ้านสูงเรียวขึ้น ทรงใหม่นี้นิยมกันตั้งแต่ฮานอยถึงเซอนลา
 
พี่ถัง คนขับรถที่จ้างกันเป็นประจำ เปลี่ยนรถใหม่แล้ว; พี่ถังกลายเป็นนักถ่ายรูปตัวยง ระหว่างทาง แกชวนพวกเราหยุดถ่ายรูปบ่อยกว่าพวกเราเอง แถมแกยังถ่ายรูปมากกว่าพวกเรา มีกล้องทันสมัยกว่าพวกเรา
 
เครื่องกรองน้ำดื่มในหมู่บ้านที่มายเจิวนิยมกันมาถึงเซอนลา; บ้านเรือนในหมู่บ้านที่เซอนลาล้อมรั้วด้วยอิฐก่อ ดูอึดอัดนัยตา เรือนไม้น้อยลง เรือนตึกมากขึ้น เรือนตึกสวยๆ แบบคนรวยๆ ในฮานอยมีมากขึ้น; ร้านอาหารไทในเซอนลามีมากขึ้น หากินง่ายขึ้น แต่หาอร่อยยาก; คนใช้เครื่องจักรในการเกษตรมากขึ้น เห็นหัวรถไถพ่วงรถลาก ไม่เห็นเกวียนเทียมวัวควายแล้ว
 

คนรู้จักล้มหายตายจากกันไปหลายคน; เพื่อนๆ ที่เมืองลามีรถขับกันมากขึ้น รถแท็กซี่วิ่งกันขวั่กไขว่เมืองเซอนลา; พี่เขยของเพื่อน ที่เดิมเคยนั่งร่ำเหล้ากันในก้นครัว ตอนนี้ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าจังหวัดเซอนลา ส่วนหนุ่มหล่อนักร้องนักแสดงประจำหมู่บ้าน แต่งงาน มีลูก เป็นเลขาธิการพรรคประจำเขตใจกลางเมืองเซอนลา; ผัวเมียที่เคยทำงานด้านการศึกษา รู้หนังสือไทดำดี เมื่อเกษียณแล้วกลายเป็นหมอยากลางบ้านอยู่กลางเมืองลา

 
มีหลายอย่างที่ไม่เปลี่ยนแปลง มีความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่เพียงซ้อนทับตอกย้ำโครงสร้างเดิมๆ แต่ก็มีความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่รับรู้ได้แม้ด้วยเพียงแค่สัมผัสพื้นผิว ความเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งที่บอกเล่าไม่ได้ง่ายๆ นักคือ ผู้คนเริ่มสงสัยกับความพยายามดื้อดึงฝืนความเปลี่ยนแปลงของรัฐมากขึ้น นี่เป็นอีกความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ที่จะส่งผลและแผลลึกกับเวีียดนามในเร็ววัน
 
 
 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ภูมิทัศน์ทางปัญญาของนักศึกษาปัจจุบันเป็นอย่างไร น่าจะมีใครทำวิจัยเล็กๆ ดูกันบ้าง ผมเดาว่าส่วนใหญ่คงวนเวียนอยู่หน้า "กำแพง" สมุดพักตร์ (ขอยืมสำนวนที่เพื่อนนักวิชาการรุ่นพี่คนหนึ่งมักใช้บ่อยๆ)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตลกที่เวลาผมชื่นชมผู้ใหญ่ในวงการบางคนในบางโอกาส มีคนว่าผมประจบผู้ใหญ่ ไม่รู้จักวิพากษ์ ก็ไม่เป็นไร แต่ส่วนตัวผมและกับคนในวงการเดียวกันคงจะรู้สึกว่า ที่พูดถึงผมแบบนั้นน่ะเพี้ยนแล้ว เพราะผมวิพากษ์ "ผู้ใหญ่" ในวงวิชาการเดียวกันมาเสียจนลูกศิษย์ลูกหาของท่านๆ เหล่านั้นสุดจะทน จนขณะนี้ ผมยังนึกไม่ออกว่ายังเหลือผู้ใหญ่ในวงการท่านใดบ้างที่ผมยังไม่วิพากษ์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ระหว่างเดินทางไปมาด้วยรถไฟหลายเที่ยวในโอซากาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมเกิดฉุกคิดถามเพื่อนชาวญี่ปุ่นขึ้นมาว่า วิธีที่คนญี่ปุ่นฆ่าตัวตายมากที่สุดคือวิธีไหน เพื่อนตอบทันทีโดยไม่ได้คิดว่า "ก็กระโดดให้รถไฟชนตายนี่แหละ" 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อครหาอีกข้อที่มีคือ การที่ผมชอบคิดคำศัพท์ ใช้คำศัพท์ทางวิชาการรุงรัง นี่เป็นข้อครหาที่นักสังคมศาสตร์ไทยโดนเป็นประจำ เพื่อนนักวิชาการคนอื่นๆ คิดอย่างไรผมไม่ทราบ แต่ผมมีทัศนะของผมเองคร่าวๆ ดังที่จะเสนอในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เสียงสะท้อนที่รบกวนใจผมอยู่บ้างในระยะนี้ คือคำวิจารณ์ที่เข้ามาสู่หูผมมากขึ้นๆ ทุกวันว่า ผมเป็นพวกบ้าทฤษฎี พวกบ้าศัพท์แสง พวกบ้าวิพากษ์ และพวกคลั่งตะวันตก ซึ่งผมก็น้อมรับด้วยความยินดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 พึงสำเหนียกว่า กษัตริย์ไม่ใช่พ่อ เป็นเพียง "สมมุติพ่อ" ที่สังคมไทยอุปโลกน์ขึ้นมา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แต่ละคนคงมีตำนานส่วนตัวของตนเอง ที่สะสมความทรงจำซึ่งมักออกจะเดินจริงไปสักหน่อย แม้เมื่อมาพบกับสถานที่ บุคคล หรือแม้แต่รสสัมผัส ในที่นี้คืออาหาร ในตำนานเข้าจริงๆ อีกสักครั้ง แล้วจะรู้สึกว่าความอลังการของบุคคลและวัตถุในตำนานจะถดถอยค่าลงบ้าง ก็ยังไม่ถึงกับจะทำให้ภาพงดงสมในตำนานเลือนหายไปได้ง่ายๆ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เดินทางมาสัมมนาที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ท่าศาลา นครศรีธรรมราช ในงาน "สัมมนาวิชาการ การศึกษาสู่อาเซียน: มิติด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์" มาเที่ยวนี้มาเป็นวิทยากรเสนอเรื่องที่เคยเสนอไปหลายเวทีแล้ว แต่เป็นความคิดที่ผมยังพัฒนาไม่เต็มอิ่มดี ยิ่งนำเสนอก็ยิ่งเห็นมุมมองใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในวาระที่ประเทศไทยกำลังจะมีแผนแม่บทพัฒนาส้วมสาธารณะไทย ระยะที่ 3 (พ.ศ.2556-2559) (ตามข่าว) จึงขอนำวิดีโอ แสดงทัศนะของนักปรัชญาชื่อดังแห่งปลายศตวรรษที่ 20 ถึงต้นศตวรรษที่ 21 นาม สลาวอย ชีเชก (Slavoj Zizek) มาเพื่อให้แลกเปลี่ยนทำความเข้าใจกันว่า ทำไมส้วมจึงสำคัญนักหนา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (15 กพ.) ตามดูสามสาวดีว่าส์ คาเฟ่แสดงความเห็นกรณีปฏิทินนกแอร์ แล้วนึกถึงข้อวิจารณ์ที่คนอเมริกันบางคนมีต่อ Beyoncé ในการแสดงคั่นครึ่งเวลาซุปเปอร์โบว์ปีที่ผ่านมา คนวิจารณ์ Beyoncé ว่าทำตัวเป็นวัตถุทางเพศ แต่มีนักสังคมวิทยาอเมริกันเถียงว่า เธอใช้ความสามารถแสดงออก แม้จะอย่างยั่วยวน ก็ไม่ได้แปลว่าเธอกลายเป็นวัตถุทางเพศ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 วันวาเลนไทน์ในแบบที่เข้าใจกันทุกวันนี้ กลายเป็นทั้งวัฒนธรรมโลกและวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ผ่านมาผมก็ไม่เคยคิดกับมันหรอก แต่เมื่อคุณคำ ผกาชวนไปพูดคุยเรื่ิงความรักในรายการดีว่าส์ คาเฟ่ เมื่อวันที่ 14 กพ. ผมก็ตอบตกลงอย่างไม่ลังเล ก็มันน่าตื่นเต้นน้อยเสียเมื่อไหร่ ที่จะได้ออกรายการสดกับสามสาวแสนฉลาดและรวยเสน่ห์ แต่จากที่เขาชวนคุยเรื่องรักใคร่ ไปๆ มาๆ ก็กลับวกไปกลายเป็นเรื่องรัฐเร่่ืองไพร่เสียได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 พอดีเมื่อสักครู่เพิ่งเห็นภาพภาพหนึ่ง เป็นภาพซอกตึกเมืองเล็กๆ ที่ไหนสักแห่ง มีคำบรรยายภาพว่า “Put down that map and get wonderfully lost.” “วางแผนที่นั่นเสียเถอะ แล้วหลงทางให้อัศจรรย์ใจ” ก็เลยคิดเรื่อยเปื่อยถึงความหมายของการหลงทาง