Skip to main content

กลับมาเยือนเวียดนามคราวนี้ (7-12 พฤศจิกายน 2555) ได้พบกับเวียดนามยุคฟองสบู่ใกล้จะแตก พบกับความเปลี่ยนแปลงมากมาย ยิ่งเมื่อได้เดินทางแบบได้สัมผัสเวียดนามใกล้ชิดกว่าเมื่อพานักศึกษาไปเมื่อเดือนพฤษภาคม ก็ยิ่งได้รับรู้ความแปลกใหม่หลายประการ ขอบันทึกแบบไวๆ ว่า

คนฮานอยเวลานี้กินบู๋นจ่า (ขนมจีนหมูปิ้ง) ด้วยช้อนและตะเกียบ ไม่ยกถ้วยขึ้นจ่อปากแบบเมื่อก่อน คนที่กินแบบเก่ากลายเป็นคนไร้มารยาทไปเลย; กระดาษทิชชูตามร้านข้างถนนในฮานอยเนื้อเหนียวแน่นขึ้น ใส่กล่องอย่างดี; เฝ่อลอง (ก๋วยเตี๋ยวนายลอง) ที่ตลาดแบ๊คควา ฮานอย ยังอร่อยเหมือนเดิม แถมช้อนตักน้ำซดเนื้อดี จับได้มั่นคงขึ้น ก้านยาวไม่ตกลงไปในชามง่ายๆ; แก้วน้ำชาตามบ้านสูงเรียวขึ้น ทรงใหม่นี้นิยมกันตั้งแต่ฮานอยถึงเซอนลา
 
พี่ถัง คนขับรถที่จ้างกันเป็นประจำ เปลี่ยนรถใหม่แล้ว; พี่ถังกลายเป็นนักถ่ายรูปตัวยง ระหว่างทาง แกชวนพวกเราหยุดถ่ายรูปบ่อยกว่าพวกเราเอง แถมแกยังถ่ายรูปมากกว่าพวกเรา มีกล้องทันสมัยกว่าพวกเรา
 
เครื่องกรองน้ำดื่มในหมู่บ้านที่มายเจิวนิยมกันมาถึงเซอนลา; บ้านเรือนในหมู่บ้านที่เซอนลาล้อมรั้วด้วยอิฐก่อ ดูอึดอัดนัยตา เรือนไม้น้อยลง เรือนตึกมากขึ้น เรือนตึกสวยๆ แบบคนรวยๆ ในฮานอยมีมากขึ้น; ร้านอาหารไทในเซอนลามีมากขึ้น หากินง่ายขึ้น แต่หาอร่อยยาก; คนใช้เครื่องจักรในการเกษตรมากขึ้น เห็นหัวรถไถพ่วงรถลาก ไม่เห็นเกวียนเทียมวัวควายแล้ว
 

คนรู้จักล้มหายตายจากกันไปหลายคน; เพื่อนๆ ที่เมืองลามีรถขับกันมากขึ้น รถแท็กซี่วิ่งกันขวั่กไขว่เมืองเซอนลา; พี่เขยของเพื่อน ที่เดิมเคยนั่งร่ำเหล้ากันในก้นครัว ตอนนี้ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าจังหวัดเซอนลา ส่วนหนุ่มหล่อนักร้องนักแสดงประจำหมู่บ้าน แต่งงาน มีลูก เป็นเลขาธิการพรรคประจำเขตใจกลางเมืองเซอนลา; ผัวเมียที่เคยทำงานด้านการศึกษา รู้หนังสือไทดำดี เมื่อเกษียณแล้วกลายเป็นหมอยากลางบ้านอยู่กลางเมืองลา

 
มีหลายอย่างที่ไม่เปลี่ยนแปลง มีความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่เพียงซ้อนทับตอกย้ำโครงสร้างเดิมๆ แต่ก็มีความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่รับรู้ได้แม้ด้วยเพียงแค่สัมผัสพื้นผิว ความเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งที่บอกเล่าไม่ได้ง่ายๆ นักคือ ผู้คนเริ่มสงสัยกับความพยายามดื้อดึงฝืนความเปลี่ยนแปลงของรัฐมากขึ้น นี่เป็นอีกความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ที่จะส่งผลและแผลลึกกับเวีียดนามในเร็ววัน
 
 
 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่เพียงแต่นักเขียนบางคนเท่านั้นที่อาจจะไม่เข้าใจหรือมองข้ามประเด็นความแตกต่างทางชาติพันธ์ุ แต่ผมคิดว่าแวดวงภาษาและวรรณกรรมบ้านเราอาจจะไม่ตระหนักถึงปัญหานี้โดยรวมเลยก็ได้ และในแง่หนึ่ง ผมคิดว่าซีไรต์เองอาจจะมีส่วนสร้างวัฒนธรรมไม่อ่อนไหวต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และถึงที่สุดแล้ว นี่อาจจะกลายเป็นข้อจำกัดที่ปิดกั้นโอกาสที่วรรณกรรมไทยจะก้าวเข้าสู่ระดับสากล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แทนที่จะเถียงกับอีกท่านหนึ่งที่วิจารณ์ผมต่อหน้ามากมายเมื่อวาน ผมขอใช้พลังงานเถียงกับข้อเสนอล่าสุดของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมีจากข่าวในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354935625&grpid=01&catid=&subcatid=) ดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่ออ่านข่าวแอร์โฮสเตสที่เพิ่งถูกให้ออก ผมมีคำถามหลายข้อ ทั้งในมิติของโซเชียลมีเดีย hate speech และสิทธิแรงงาน อย่างไรก็ดี ขอเคลียร์ก่อนว่าหากใครทราบจุดยืนทางการเมืองของผม ย่อมเข้าใจดีว่าความเห็นต่อไปนี้ไม่ได้มาจากความเห็นทางการเมืองที่เอนเอียงไปในทางเดียวกับพนักงานสายการบินคนนี้แต่อย่างใด ข้อสังเกตคือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขณะกำลังนั่งกินหอยแครงลวกอยู่เวลานี้ ก็ชวนให้คิดถึงคำพูดของนักวิชาการกัมพูชาคนหนึ่ง ที่เคยนั่งต่อหน้าอาหารเกาหลีจานพิเศษ คือหนอนทะเลดิบตัดเป็นชิ้นๆ ขยับตัวดึบๆ ดึบๆ อยู่ในจานแม้จะถูกตั้งทิ้งไว้เป็นชั่วโมง ตอนนั้น ผมบ่ายเบี่ยงไม่กล้ากินอยู่นาน แม้จะรู้ว่าเป็นอาหารพิเศษราคาแพงที่ศาสตราจารย์ชาวเกาหลีสรรหามาเลี้ยงต้อนรับการมาเกาหลีครั้งแรกของพวกเราหลายคน เพื่อนกัมพูชาบอกว่า "กินเถอะพี่ หอยแครงลวกในเมืองไทยน่ากลัวกว่านี้อีก" ผมจึงหาเหตุที่จะหลบเลี่ยงอีกต่อไปไม่ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมนั่งดูบันทึกรายการ The Voice Thailand (เดอะวอยซ์) เป็นประจำ แม้ว่าจะเห็นคล้อยตามคำนิยมของโค้ชทั้ง 4 อยู่บ่อยๆ แถมยังแอบติดตามความเห็นเปรี้ยวๆ ของนักเขียนบางคนที่ชอบเรียกตนเองสวนทางกับวัยเธอว่า "ป้า" ซึ่งหมดเงินกดโหวตมากมายให้นักร้องหนุ่มน้อยแนวลูกทุ่ง แต่ผมไม่ได้รับความบันเทิงจากเดอะวอยซ์เพียงจากเสียงเพลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมพยายามถามตัวเองว่า การจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่นำโดย "เสธ.อ้าย" จะมาจากเหตุผลประการใดบ้าง แต่ผมก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจว่า เอาเข้าจริง คนที่เข้าร่วมชุมนุมกับเสธ.อ้ายจะมีเหตุผลหรือไม่ หรือหากมี พวกเขาจะใช้เหตุผลชุดไหนกันในการเข้าร่วมชุมนุม ยังไงก็ตาม อยากถามพวกคุณที่ไปชุมนุมว่า พวกคุณอยากให้ประเทศเป็นอย่างนี้จริงๆ หรือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (20 พฤศจิกายน 2555) นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชิญไปบรรยายในงานสัมมนา "การเมืองเรื่องคนธรรมดา" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ขอตัดส่วนหนึ่งของบทบรรยายของผมที่ใช้ชื่อว่า "การเมืองวัฒนธรรมดา: ความไม่ธรรมดาของสามัญชน" มาเผยแพร่ในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2555 นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชิญไปร่วมกิจกรรมจุฬาวิชาการ โดยให้ไปวิจารณ์บทความนิสิตปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ 4 ชิ้น 1) ว่าด้วยเบื้องหลังทางการเมืองของการก่อตั้งองค์การอาเซียน 2) ว่าด้วยบทบาทและการต่อรองระหว่างประเทศในอาเซียน 3) ว่าด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าของธุรกิจเอกชนไทยในคู่ค้าอาเซียน และ 4) ว่าด้วยนโยบายชนกลุ่มชาติพันธ์ุในพม่า ข้างล่างนี้คือบันทึกบทวิจารณ์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 การที่ประธานรัฐสภาปัดข้อเรียกร้องของประชาชนกว่า 3 หมื่นคน ที่นำโดยคณะนิติราษฎร์และคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 ด้านหนึ่งนับเป็นความขลาดเขลาของประธานรัฐสภา ด้านหนึ่งสะท้อนความขลาดเขลาของพรรครัฐบาลที่บอกปัดข้อเสนอนี้มาตั้งแต่ ครก.112 เริ่มรณรงค์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 บ้านเก่าเมืองหลัง เป็นสำนวนของคนไทดำในเวียดนาม เมื่อก่อน พอได้ขึ้นไปเยี่ยมเยือนพี่น้องชาวไทดำที่เซอนลาแต่ละครั้ง ก็จะถูกพวกคนเฒ่าคนแก่ล้อว่า “เหมือนพวกหลานๆ กลับมาเยี่ยมบ้านเก่าเมืองหลังสินะ” ในความหมายที่ว่า เหมือนผมได้กลับไปเยี่ยมบ้านเกิดเมืองนอนนั่นเอง ทั้งๆ ที่ตอนนั้น ก็ห่างหายไปแค่เพียงหลายเดือน หรืออย่างมากก็ในรอบปี