Skip to main content

กลับมาเยือนเวียดนามคราวนี้ (7-12 พฤศจิกายน 2555) ได้พบกับเวียดนามยุคฟองสบู่ใกล้จะแตก พบกับความเปลี่ยนแปลงมากมาย ยิ่งเมื่อได้เดินทางแบบได้สัมผัสเวียดนามใกล้ชิดกว่าเมื่อพานักศึกษาไปเมื่อเดือนพฤษภาคม ก็ยิ่งได้รับรู้ความแปลกใหม่หลายประการ ขอบันทึกแบบไวๆ ว่า

คนฮานอยเวลานี้กินบู๋นจ่า (ขนมจีนหมูปิ้ง) ด้วยช้อนและตะเกียบ ไม่ยกถ้วยขึ้นจ่อปากแบบเมื่อก่อน คนที่กินแบบเก่ากลายเป็นคนไร้มารยาทไปเลย; กระดาษทิชชูตามร้านข้างถนนในฮานอยเนื้อเหนียวแน่นขึ้น ใส่กล่องอย่างดี; เฝ่อลอง (ก๋วยเตี๋ยวนายลอง) ที่ตลาดแบ๊คควา ฮานอย ยังอร่อยเหมือนเดิม แถมช้อนตักน้ำซดเนื้อดี จับได้มั่นคงขึ้น ก้านยาวไม่ตกลงไปในชามง่ายๆ; แก้วน้ำชาตามบ้านสูงเรียวขึ้น ทรงใหม่นี้นิยมกันตั้งแต่ฮานอยถึงเซอนลา
 
พี่ถัง คนขับรถที่จ้างกันเป็นประจำ เปลี่ยนรถใหม่แล้ว; พี่ถังกลายเป็นนักถ่ายรูปตัวยง ระหว่างทาง แกชวนพวกเราหยุดถ่ายรูปบ่อยกว่าพวกเราเอง แถมแกยังถ่ายรูปมากกว่าพวกเรา มีกล้องทันสมัยกว่าพวกเรา
 
เครื่องกรองน้ำดื่มในหมู่บ้านที่มายเจิวนิยมกันมาถึงเซอนลา; บ้านเรือนในหมู่บ้านที่เซอนลาล้อมรั้วด้วยอิฐก่อ ดูอึดอัดนัยตา เรือนไม้น้อยลง เรือนตึกมากขึ้น เรือนตึกสวยๆ แบบคนรวยๆ ในฮานอยมีมากขึ้น; ร้านอาหารไทในเซอนลามีมากขึ้น หากินง่ายขึ้น แต่หาอร่อยยาก; คนใช้เครื่องจักรในการเกษตรมากขึ้น เห็นหัวรถไถพ่วงรถลาก ไม่เห็นเกวียนเทียมวัวควายแล้ว
 

คนรู้จักล้มหายตายจากกันไปหลายคน; เพื่อนๆ ที่เมืองลามีรถขับกันมากขึ้น รถแท็กซี่วิ่งกันขวั่กไขว่เมืองเซอนลา; พี่เขยของเพื่อน ที่เดิมเคยนั่งร่ำเหล้ากันในก้นครัว ตอนนี้ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าจังหวัดเซอนลา ส่วนหนุ่มหล่อนักร้องนักแสดงประจำหมู่บ้าน แต่งงาน มีลูก เป็นเลขาธิการพรรคประจำเขตใจกลางเมืองเซอนลา; ผัวเมียที่เคยทำงานด้านการศึกษา รู้หนังสือไทดำดี เมื่อเกษียณแล้วกลายเป็นหมอยากลางบ้านอยู่กลางเมืองลา

 
มีหลายอย่างที่ไม่เปลี่ยนแปลง มีความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่เพียงซ้อนทับตอกย้ำโครงสร้างเดิมๆ แต่ก็มีความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่รับรู้ได้แม้ด้วยเพียงแค่สัมผัสพื้นผิว ความเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งที่บอกเล่าไม่ได้ง่ายๆ นักคือ ผู้คนเริ่มสงสัยกับความพยายามดื้อดึงฝืนความเปลี่ยนแปลงของรัฐมากขึ้น นี่เป็นอีกความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ที่จะส่งผลและแผลลึกกับเวีียดนามในเร็ววัน
 
 
 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (4 ตุลาคม 2560) นิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งโทรศัพท์มาสัมภาษณ์เรื่องการพิมพ์คำ "คะ" "ค่ะ" ผิดๆ ในโซเชียลมีเดียและการส่งข้อความต่างๆ บอกว่าจะเอาไปลงวารสารของคณะเธอ เธอถามว่าการใช้คำผิดแบบนี้มีนัยทางสังคมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวาน (30 กันยายน 2560) นักศึกษาปริญญาโทชั้นเรียนมานุษยวิยาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เขียนบทละครเรื่อง "The Dark Fairy Tales นิทานเรื่องนี้ไม่เคยเล่า" ชวนไปดูและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นหลังละครจบ ช่วยให้คิดอะไรเกี่ยวกับการอ่านนิทานได้อีกมากทีเดียวจึงอยากบันทึกไว้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสนทนาอย่างออกรสไม่ได้จะต้องอยู่ในบรรยากาศเคร่งขรึมในห้องเรียน ห้องสัมมนาเสมอไป ด้วยเหตุนี้ผมจึงเชื่อว่า การใช้เวลานอกห้องเรียน นอกห้องสัมมนาวิชาการ สำคัญไม่น้อยไปกว่าการใช้เวลาในห้องสี่เหลี่ยมที่มีระเบียบต่างๆ ควบคุมการสนทนาอย่างเคร่งครัดเกินไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเหตุการณ์เข้ามาคุกคามพื้นที่ทางวิชาการของคณะทหารในการประชุมไทยศึกษานานาชาติครั้งที่ 13 ที่เชียงใหม่ จนทำให้นักวิชาการที่มาร่วมประชุมกลุ่มหนึ่งแสดงออกด้วยการชูป้าย "เวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหาร" แล้วท้ายสุดมีนักวิชาการ 5 คนถูกตั้งข้อหาว่าเป็นคนนอกเข้ามายุยงให้ต่อต้านรัฐบาล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันแม่นำความกระอักกระอ่วนใจมาให้ผมตั้งแต่ยังเด็ก เพราะแม่ในเพลง "ค่าน้ำนม" ที่เด็กในกรุงเทพฯ รุ่นผมถูกให้หัดร้องตามจนแทบจะจำเนื้อได้ทั้งเพลงมาตั้งแต่จำความได้ ไม่ตรงกับแม่ในชีวิตจริงของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์มหาวิทยาลัยคนหนึ่ง ผมไม่อาจยอมรับการกระทำของอาจารย์ต่อนิสิตด้วยความรุนแรงดังที่เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยอันทรงเกียรติแห่งหนึ่งได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้เกิดความผิดพลาดบางอย่างทำให้บทแนะนำอาจารย์แคทเธอรีน บาววี องค์ปาฐกคนหนึ่งของงานประชุมไทยศึกษาปีนี้ที่จังหวัดเชียงใหม่ ไม่ได้ถูกนำเสนอในงานประชุม ในเมื่อผมเตรียมไปพูดแล้วแต่ไม่ได้พูด ก็ขอนำบันทึกที่ร่างไว้นี้มาเผยแพร่ในที่นี้แทนก็แล้วกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ฟ้าข้างในนี้กว้างกว่าข้างนอก ฟ้าในนี้กว้างจนแทบจะเห็นขอบฟ้า"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้คงเป็นช่วงเขียนรายงาน เขียนวิทยานิพนธ์ของหลายๆ คน ผมเองช่วงนี้เป็นช่วงต้องอ่านงานนักศึกษามากมาย ที่สาหัสที่สุดคืองานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโทและเอก 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมอ่านงานจิตรครั้งแรกๆ ก็ตอนที่เรียนมหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรี ตอนนั้นเมื่อออกจากโลกโรงเรียนก็รู้สึกว่า โลกหนังสือของห้องสมุดธรรมศาสตร์ช่างกว้างใหญ่มาก กว้างใหญ่กว่าห้องสมุดแห่งชาติที่สมัยเรียนมัธยมผมชอบไปสิงอยู่มากนัก นี่กล่าวเฉพาะหนังสือที่น่าอ่านเกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม ปรัชญา และศาสนา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (3 พค. 60) ผมไปวิจารณ์งานนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยซึ่งคณะราษฎรมีส่วนก่อตั้งเช่นกัน แต่สำคัญผิดกันไปว่าผู้อื่นมีบุญคุณมากกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บางทีนามสกุลกับบทบาทความเป็นครูของครูฉลบชลัยย์ พลางกูร คงไม่ทำให้คนสนใจครูฉลบเกินบทบาทไปกว่าการเป็นภรรยาของนายจำกัด พลางกูร และเป็นผู้ให้กำเนิดโรงเรียนดรุโณทยาน