Skip to main content

จากเหตุการณ์เข้ามาคุกคามพื้นที่ทางวิชาการของคณะทหารในการประชุมไทยศึกษานานาชาติครั้งที่ 13 ที่เชียงใหม่ จนทำให้นักวิชาการที่มาร่วมประชุมกลุ่มหนึ่งแสดงออกด้วยการชูป้าย "เวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหาร" แล้วท้ายสุดมีนักวิชาการ 5 คนถูกตั้งข้อหาว่าเป็นคนนอกเข้ามายุยงให้ต่อต้านรัฐบาล

ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรนั้น เห็นได้ชัดว่าเจ้าหน้าที่รัฐจงใจบิดเบือนเพื่อปิดกั้นเสรีภาพทางวิชาการ เสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน ที่แม้มีได้เป็นการต่อต้านรัฐบาลโดยตรงก็ตาม 

ซ้ำร้าย การตั้งข้อหาอย่างบิดเบือนนั้นเองได้นำมาซึ่งกระแสทัดทาน ไม่เห็นด้วย จนกระทั่งอาจลุกลามไปสู่การต่อต้านรัฐบาลที่คุกคามเสรีภาพการแสดงออกของประชาชนอย่างหนักข้อขึ้นทุกวัน แม้ในที่ประชุมทางวิชาการนานาชาติ ที่มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาความรู้ และย่อมเป็นผลดีทั้งกับประเทศชาติ และประชากรโลก รัฐบาลเผด็จการประยุทธ จันทร์โอชาก็ยังไม่รู้จักอดกลั้น ไม่รู้จักละเว้น ไม่เข้าใจมาตรฐานสากล ไม่รู้จักละเว้น 

จากกรณีนี้ แวดวงวิชาการทั่วโลกจึงออกแถลงการณ์ให้รัฐบาลไทยยกเลิกการตั้งข้อหาว่านักวิชาการทั้ง 5 นั้นมีความผิด ที่น่าตกใจที่สุดในชีวิตทางวิชาการกว่า 20 ปีของผมคือ การที่สมาคมวิชาการทั่วโลก ทั้งทวีปยุโรป อมเริกา ออสเตรเลีย เอเชีย ต่างก็เรียกร้องไปในทิศทางเดียวกันคือให้ยกเลิกการตั้งข้อหากับทั้ง 5 นักวิชาการนั้น  

เอาแค่คร่าวๆ เช่น AAS (สมาคมเอเชียศึกษา) EUROSEAS (สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาแห่งยุโรป) (http://www.newmandala.org/international-statement-support-…/) และล่าสุดคือ AAA (สมาคมมานุษยวิทยาอเมริกัน) ซึ่งใหญ่กว่า มีอิทธิพลข้ามพื้นที่ครอบคลุมทั่วโลกมากกว่าสองสมาคมแรกยิ่งนัก (http://www.americananthro.org/Particip…/AdvocacyDetail.aspx…) ก็ออกแถลงการณ์เรียกร้องในเรื่องเดียวกัน 

ครั้งสุดท้ายที่สมาคม AAA เอ่ยถึงเรื่องอื้อฉาวในประเทศไทยน่าจะเมื่อช่วงสงครามเย็น ที่มีกรณีนักมานุษยวิทยาอเมริกันถูกกล่าวหาว่าทำงานให้รัฐบาลอเมริกันในสงครามปราบปรามขบวนการคอมมิวนิสต์ในไทย มีการสอบสวนใหญ่โต แล้วเรื่องก็จบไป แต่ทิ้งบาดแผลไว้มากมายทั้งในวงการมานุษยวิทยาโลกและในแวดวงวิชาการไทย 

คราวนี้มาเรื่องที่เห็นชัดว่าคนในสมาคมนานาชาติต่างๆ ที่เดิมอาจจะมีสมาชิกไม่เห็นด้วยกันกับรายละเอียดเรื่องต่างๆ มาก่อน มีความขัดแย้งกันภายในมาก่อน มางานนี้ สมาคมทั้งหลายเหล่านี้ไม่มีทางจะเห็นแตกต่างกันเป็นอื่นได้แน่ๆ นี่ก็เพราะว่า ไม่มีนักวิชาการที่ไหนในโลกเขาทนนิ่งเฉยกับเรื่องการละเมิดเสรีภาพทางวิชาการแบบนี้ได้ ไม่มีใครเขาจะยอมให้ทหารมาตั้งข้อหากับนักวิชาการที่เพียงแค่ปกป้องสิทธิเสรีภาพของตัวเองได้ ไม่มีใครเขายอมรับได้ว่าการปกป้องสิทธิตนเองเป็นภัยต่อชาติได้  

แต่ที่ยิ่งน่าเป็นห่วงคือกระแสของนักวิชาการในประเทศไทยเองต่างหาก จนป่านนี้ยังไม่เห็นมหาวิทยาลัยลุกขึ้นมาปกป้องบุคคลากรที่ทรงคุณค่าของตนเอง จนป่านนี้ยังมีนักวิชาการไทยอีกมากที่นิ่งเฉย หรืออาจจะไ่รู้สึกรู้สาด้วยซ้ำว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ใหญ่หลวงแค่ไหน 

ผมนึกเล่นๆ ว่านี่ถ้านักวิชาการไทยคนไหนลุกมายกคาถาว่า "อย่างน้อยไทยก็ไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของใคร" แล้วล่ะก็ ผมคงจะประกาศไม่คบหาทำงานกับคนคนนั้นได้จนตายเลยทีเดียว 

แต่แค่จะมีนักวิชาการคนไหนพูดอะไรทำนองที่ว่า "นั่นมันบ้านเธอ นี่มันบ้านฉัน มาตรฐานวิชาการบ้านฉันเป็นแบบนี้ อย่ามายุ่งกับฉัน นักวิชาการโลกจะมารู้อะไรดีกว่านักวิชาการไทย นักวิชาการในโลกนี้จะมาเข้าใจอะไรกับเงื่อนไขในประเทศไทย" แล้วยิ่งถ้าผมรู้ว่าเขาเรียนจบจากต่างประเทศ จากยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่นมาแล้วล่ะก็ ผมคงกระอักกระอ่วนใจที่จะทำงานด้วยได้ 

หากแวดวงวิชาการไทยอยากมีมาตรฐานโลกแต่ไม่ลุกมาปกป้องสิทธิเสรีภาพของตนเอง หากมหาวิทยาลัยไทยมองไม่เห็นว่าการที่นักวิชการทั่วโลกเขามาแสดงออกช่วยปกป้องเสรีภาพของนักวิชาการไทยนั้น มันแสดงถึงความตกต่ำของแวดวงวิชาการมากแค่ไหนแล้ว มหาวิทยาลัยไทยเลิกดัดจริตอยากมีมาตรฐานสากลได้แล้วล่ะ เลิกส่งคนไปเรียนต่างประเทศสักทีเถอะ เลิกส่งลูกหลานพวกคุณเองไปเรียนต่างประเทศเถอะ สั่งสอนกันเองตามวัดตามวากันไปนี่แหละ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปาฐกถาในเวทีเสวนา “50 ปี 14 ตุลาฯ ยังตามหารัฐธรรมนูญใหม่” จัดโดยสมัชชาคนจน วันที่ 14 ตุลาคม 2566
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อ 24 กค. 65 ผู้จัดการแสดง #ฮิญาบ2022  ชวนผมไปดูการแสดงของคุณฟารีดา จิราพันธ์ ที่กาลิเลโอเอซิส แล้วผู้จัดจะชวนผมสนทนาหลังละคร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพวิชาการ ในฐานะผู้ปกครองนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ และในฐานะคนรักศิลปะ ผมเขียนจดหมายนี้เพื่อตั้งคำถามต่อการที่ผู้บริหารคณะวิจิตรศิลป์จะตรวจสอบผลงานก่อการอนุญาตให้จัดแสดงผลงานของนักศึกษาภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นคนพูดถึงตัวละครในซีรีย์เกาหลีเอ่ยถึงจอร์จ บาไตล์ ในรูปนั่นน่ะครับ เป็นคอลเล็กชันจอร์จ บาไตล์บนชั้นหนังสือผมแบบเบาๆ ผมเก็บไว้ร่วม 20 ปีแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายคนคงรู้ว่าวันนี้เป็นวันชาติเวียดนาม แต่น้อยคนคงรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในวันนี้กันแน่ แล้ววันนี้ในอดีตถูกกำหนดเป็นวันขาติจากเหตุการณ์ปีใด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จนถึงวันนี้ การต่อสู้ของประชาชนในขบวนการ “คณะราษฎร 63” ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า พลังของแสงดาวได้สร้างสรรค์สังคมไทยอย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาได้ออกมาแสดงความเห็นว่ามีการสร้างกระแสกดดันศาลต่างๆ นานา (ดู https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2081366) มองในแง่ดี ผมคิดว่านี่คือการออกมาอธิบายกับสังคมอีกครั้งของผู้มีอำนาจในกระบวนการยุติธรรมอย่างชัดแจ้ง หลังจากที่มีการชี้แจงถึงเหตุผลการไม่ปล่อยตัวผู้ต้องหาคดีการเมืองโดยโฆษกศาลและโฆษกกระทรวงยุติธรรมก่อนหน้านี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อะไรที่ทำให้ดนตรีมีสถานะในการทำร้ายกันได้บ้าง ผมว่าอย่างน้อยที่สุดต้องเข้าใจก่อนว่า ดนตรีไม่ใช่แค่เสียง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พอดีนั่งฟังเพื่อนนักวิชาการอ่านหนังสือ "กบฏชาวนา" ของรานาจิต คูฮา (1982) มาคุยให้ฟัง (แปลโดย ปรีดี หงษ์สต้น) ในเพจของสำนักพิมพ์ Illumination Editions เลยคิดถึงบันทึกที่เคยเขียนถึงหนังสือของ ดิเพช จักรบาร์ตี เรื่อง Provincializing Europe (2000)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่อง ถามถึงมโนธรรมสำนึกในความเป็นครูบาอาจารย์ของอาจารย์เอนก เหล่าธรรมทัศน์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะล่าสุดของอาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ต่อการชุมนุม 16 ตค. 63 ย้อนแย้งกับสมัยที่อาจารย์ให้ความเห็นต่อการชุมนุม กปปส. ในขณะนั้นอาจารย์อธิบายยืดยาวว่าการชุมนุมของ กปปส. ใช้สันติวิธี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอให้อาจารย์หยุดใช้ถ้อยคำสร้างความเกลียดชังในสังคม