Skip to main content

 

การที่ประธานรัฐสภาปัดข้อเรียกร้องของประชาชนกว่า 3 หมื่นคน ที่นำโดยคณะนิติราษฎร์และคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 ด้านหนึ่งนับเป็นความขลาดเขลาของประธานรัฐสภา ด้านหนึ่งสะท้อนความขลาดเขลาของพรรครัฐบาลที่บอกปัดข้อเสนอนี้มาตั้งแต่ ครก.112 เริ่มรณรงค์

ขอถาม “ฝ่ายก้าวหน้า” ในพรรคเพื่อไทยว่า พวกคุณได้ตำแหน่งแหล่านี้มาได้อย่างไร ใน 6 ปีที่ผ่านมา คุณออกมาร่วมต่อสู้กับประชาชนเพื่ออะไร พวกคุณต่อสู้เพียงเพื่อให้เรากลับมาที่จุดเริ่มต้นก่อนรัฐประหาร 2549 เท่านั้นหรือ ยังมีคืนวันอันแสนหวานที่ชนชั้นนำ บรรดานายห้าง นายทหาร คณะราษฎรอาวุโส และนักวิชาการผู้อวดอ้างความทรงศีล สามารถเสวยสุขเสวยอำนาจบนกองเงินกองทองอยู่หลังฉากศีลธรรมพอเพียงที่ปวงประชาราษฎร์กราบกรานแห่แหนอย่างงมงายอยู่อีกหรือ พวกคุณจะดูดายกับการที่ประชาชนที่ต่อสู้กับคุณมาและประชาชนผู้บริสุทธิ์อื่นๆ อีกมาก จะต้องถูกจำคุกด้วยข้อหา “พูดไม่เข้าหูชนชั้นนำ” อย่างนั้นหรือ

แต่ในอีกด้านหนึ่ง พึงบันทึกไว้ว่า นี่คือความไม่พร้อมอีกครั้งหนึ่งของชนชั้นนำไทย

 

ความไม่พร้อมของชนชั้นนำไทยเริ่มมาตั้งแต่การบอกปัดข้อเสนอของคณะ รศ.130 การอภิวัฒน์ 2475 ของคณะราษฎร ก็ถูกชนชั้นนำมองว่าเป็นการ “ชิงสุกก่อนห่าม” ทั้งที่อันที่จริงชนชั้นนำเองต่างหากที่ไม่พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นแล้วในสยาม 

 

การบอกปัดข้อเรียกร้องรัฐธรรมนูญของนักศึกษา 14 ตค. 2516 การบอกปัดข้อเรียกร้องให้ปกป้องสิทธิของคนงานที่ถูกแขวนคอ และประท้วงการกลับมาของเผด็จการของนักศึกษา 6 ตค. 2519 การบอกปัดข้อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีมาจาการเลือกตั้งในปี 2535 และการบอกปัดข้อเรียกร้องให้ยุบสภาในปี 2553 นำมาซึ่งการปราบปรามประชาชนอย่างโหดเหี้ยม แล้วผู้ก่อการอันโหดเหี้ยมเหล่านั้นก็กลับลอยนวล เหล่านี้คือความไม่พร้อมของประชาชนหรือความไม่พร้อมของชนชั้นนำกันแน่

 

การบอกปัดข้อเสนอให้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งของความไม่พร้อมของชนชั้นนำ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น 

 

ข้อเสนอของประชาชนแต่ละครั้งนั้นเรียบง่าย ไร้การต่อรองผลประโยชน์เฉพาะตนเฉพาะหน้า เป็นการเรียกร้องเพื่อสิทธิพื้นฐานของประชาชนในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการมีส่วนร่วมทางการเมือง สิทธิในการปกครองตนเอง สิทธิในการแสดงความคิดเห็น และสิทธิในร่างกาย 

 

ข้อเสนอของประชาชนจึงไม่ได้ต้องการการศึกษาระดับสูงอะไรเลยก็เข้าใจได้ ตาสีตาสาตามีตามา ใครที่ไหนก็เข้าใจได้ว่า สิทธิในเนื้อตัวร่างกายตนเองสำคัญอย่างไร เสรีภาพในการแสดงคำพูดคำจาและความคิดความอ่านของตนเองสำคัญอย่างไร อำนาจในการปกครองตนเองนั้นสำคัญอย่างไร 

 

แต่ก็เพราะข้อเรียกร้องต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเรียบง่ายอย่างนี้นี่แหละ ที่นำมาซึ่งการบอกปัดของชนชั้นนำ การบอกบัดนี้ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าการหวงอำนาจที่มีมาแต่เดิมของตน การบอกปัดนี้แสดงให้เห็นถึงความไม่พร้อมของชนชั้นนำ ในขณะที่ประชาชนนั้นพร้อมมาเป็นร้อยปีแล้ว

 

จะมีใครเล่าไม่พร้อมที่จะได้รับสิทธิเสรีภาพของตนเอง จะมีก็แต่กลุ่มคนที่หวงอำนาจอยู่เท่านั้นที่ไม่พร้อมที่จะสละอำนาจของตนให้กับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอกคือ ผมไม่ใช่คนเชี่ยวชาญเกาหลี จะเล่าเรื่องเกาหลีก็จะต้องมีผิดมีพลาดบ้าง เพียงแต่อยากบันทึกเก็บไว้ แล้วแบ่งปันบ้าง เผื่อใครสนใจหรือช่วยเติมต่อความรู้ อีกเรื่องหนึ่งที่ผมสนใจในการไปเกาหลีทั้งสองครั้ง (ครั้งแรกเมื่อ 8 ปีก่อน ก็ไปแค่สั้นๆ ไม่กี่วัน) ก็คือการได้พบเจอผู้คนและได้ไปเดินด่อมๆ มองๆ ตามย่านการค้า ร้านค้า และพบปะพูดคุยดื่มกินกับผู้คน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ได้อยู่นฐานะที่จะมาเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลี เดินทางไปแค่สองครั้ง ครั้งละไม่กี่วัน ไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ ไม่ได้เชี่ยวชาญอะไร แต่ด้วยนิสัยของการชอบบันทึกเก็บไว้ ก็เลยอยากเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลีที่รู้จักเอาไว้อ่านเอง เอาไว้คิดต่อ เอาไว้ก่อนที่จะลืม ก่อนที่จะไม่อยากเขียน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอร่วมรำลึกวาระ 40 ปี 6 ตุลาด้วยการกล่าวถึงงานศึกษาสังคม-วัฒนธรรมไทยที่เป็นพื้นฐานของเหตุการณ์เมื่อ 40 ปีก่อนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จำเป็นแค่ไหนที่เราจะต้องคิดต่างจากส่วนกลาง ถ้าเราคิดว่าการครอบงำของความรู้ตะวันตกเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเข้าใจตัวตนเราเอง และทั้งยังปิดกั้นความเป็นมนุษย์ที่ไม่ได้ถูกเข้าใจจากมุมมองที่ต่างออกไป เราก็จำเป็นที่จะต้องคิดทั้งนอกกรอบตะวันตกและนอกกรอบการครอบงำจากอำนาจศูนย์กลางของรัฐ ความคิดนอกกรอบการครอบงำดังกล่าวส่วนหนึ่งเรียกว่าแนวคิดหลังอาณานิคม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายวันมานี้มีเรื่องขันขื่นหลายเรื่องที่สังคมไทยก้าวไม่พ้นเสียที แต่ผมว่าเรื่องพื้นฐานของปัญหาเหล่านี้คือเรื่องการไม่ยอมรับผิด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไปโกเบเมื่อสี่วันก่อน (7 มิถุนายน 59) นอกจากได้รู้จักความเป็นเมืองฝรั่งๆ ของโกเบแล้ว สาระสำคัญของการไปโกเบวันก่อนอย่างหนึ่งคือการไปพิพิธภัณฑ์เครื่องมือช่างไม้แห่งนี้ พิพิธภัณฑ์นี้เป็นของบริษัท Takenaka ที่บอกเล่าว่าตั้งมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 17 ส่วนพิพิธภัณฑ์นี้เปิดปี 1984 แล้วเข้าใจว่าน่าจะค่อยๆ พัฒนาคอลเล็กชั่นและการจัดแสดงขึ้นมาเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความสุขอย่างหนึ่งของการมาอยู่ที่ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษามหาวิทยาลัยเกียวโตก็คือ การได้รู้จักผู้คนและแลกเปลี่ยนความรู้ในหลายภาษา อีกอย่างคือได้แลกเปลี่ยนความรู้ในหลายบริบท ทั้งในห้องสัมมนา ห้องทำงาน ห้องเรียน และร้านเหล้า ผมถือว่ามันเป็นบริบททางวิชาการทั้งนั้นแหละ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
รู้กันนะครับว่า เวลาที่เราเรียกว่า "หล่อๆ" นี่ ไม่ใช่ว่าต้องเป็นผู้ชาย ผู้หญิงก็หล่อได้ เพราะมันหล่อในสำนวน ในการแสดงออก ในท่าที ทั้งๆ ที่หน้าตาไม่ต้องหล่อก็ได้ แต่หล่อที่คำพูด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่งสอนผมว่า “คำวิจารณ์น่ะ น่าฟังมากกว่าคำชื่นชม เนื่องจากคนที่วิจารณ์เราน่ะ เขาจริงใจกับเรามากกว่าคนที่ชื่นชมเรา ไม่มีใครวิจารณ์เราตามมารยาท แต่คนชมน่ะ บางทีเขาก็ชมเราไปตามมารยาทเท่านั้นแหละ” ดังนั้นเมื่อโลกเขารุมวิจารณ์ไทย เราก็ควรรับฟังเขา เพราะถ้าเขาไม่มีความจริงใจ ไม่อยากเห็นเราปรับปรุงตัวจริงๆ ไม่รัก ไม่ห่วง ไม่อยากคบค้าสมาคมด้วย เขาก็คงไม่ติติงเรา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนแบบพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาไม่ได้มีแต่พลเอกประยุทธ์เพียงคนเดียว แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากที่มีเบื้องลึกของจิตใจแบบพลเอกประยุทธ์ แต่หากจะพูดให้ถูก คนที่มีจิตใจเบื้องลึกที่กักขฬะ อาจจะไม่จำเป็นต้องแสดงออกอย่างกักขฬะแบบพลเอกประยุทธ์ แต่ทำไมขณะนี้สังคมไทยจึงยอมให้ความกักขฬะเข้ามาปกครองบ้านเมือง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะเรียกอะไรก็แล้วแต่ ถ้าพูดอย่างหลวม ๆ คือ พวกเขาเป็นคนกลุ่มเดียวกัน สองชื่อแรกใช้ในประเทศไทย เรียกกลุ่มคนที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ที่จริงพวกเขายังอยู่ในอำเภอเมือง อำเภอหนองหญ้งปล้อง และอำเภออื่น ๆ ของเพชรบุรี แล้วยังกระจายย้ายถิ่นไปในจังหวัดอื่น ๆ ตั้งแต่นครปฐม ชุมพร ไปจนถึงนครสวรรค์ เลย ฯลฯ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้ผมกลับมาไทย 7 วัน ไม่รวมวันเดินทางอีกสองวัน ที่มาเพราะได้รับเชิญมาเสนอความเห็นในการ workshop งานหนึ่ง ผมก็เลยถือโอกาสนี้ใช้ทุนที่ต้องใช้สำหรับทำวิจัย เก็บข้อมูลของมหาวิทยาลัยเกียวโต ซึ่งก็มีอยู่ไม่มากนัก มาเพื่อใช้เดินทางไปเก็บข้อมูลเพิ่มเติมด้วยเลย