Skip to main content

 

การที่ประธานรัฐสภาปัดข้อเรียกร้องของประชาชนกว่า 3 หมื่นคน ที่นำโดยคณะนิติราษฎร์และคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 ด้านหนึ่งนับเป็นความขลาดเขลาของประธานรัฐสภา ด้านหนึ่งสะท้อนความขลาดเขลาของพรรครัฐบาลที่บอกปัดข้อเสนอนี้มาตั้งแต่ ครก.112 เริ่มรณรงค์

ขอถาม “ฝ่ายก้าวหน้า” ในพรรคเพื่อไทยว่า พวกคุณได้ตำแหน่งแหล่านี้มาได้อย่างไร ใน 6 ปีที่ผ่านมา คุณออกมาร่วมต่อสู้กับประชาชนเพื่ออะไร พวกคุณต่อสู้เพียงเพื่อให้เรากลับมาที่จุดเริ่มต้นก่อนรัฐประหาร 2549 เท่านั้นหรือ ยังมีคืนวันอันแสนหวานที่ชนชั้นนำ บรรดานายห้าง นายทหาร คณะราษฎรอาวุโส และนักวิชาการผู้อวดอ้างความทรงศีล สามารถเสวยสุขเสวยอำนาจบนกองเงินกองทองอยู่หลังฉากศีลธรรมพอเพียงที่ปวงประชาราษฎร์กราบกรานแห่แหนอย่างงมงายอยู่อีกหรือ พวกคุณจะดูดายกับการที่ประชาชนที่ต่อสู้กับคุณมาและประชาชนผู้บริสุทธิ์อื่นๆ อีกมาก จะต้องถูกจำคุกด้วยข้อหา “พูดไม่เข้าหูชนชั้นนำ” อย่างนั้นหรือ

แต่ในอีกด้านหนึ่ง พึงบันทึกไว้ว่า นี่คือความไม่พร้อมอีกครั้งหนึ่งของชนชั้นนำไทย

 

ความไม่พร้อมของชนชั้นนำไทยเริ่มมาตั้งแต่การบอกปัดข้อเสนอของคณะ รศ.130 การอภิวัฒน์ 2475 ของคณะราษฎร ก็ถูกชนชั้นนำมองว่าเป็นการ “ชิงสุกก่อนห่าม” ทั้งที่อันที่จริงชนชั้นนำเองต่างหากที่ไม่พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นแล้วในสยาม 

 

การบอกปัดข้อเรียกร้องรัฐธรรมนูญของนักศึกษา 14 ตค. 2516 การบอกปัดข้อเรียกร้องให้ปกป้องสิทธิของคนงานที่ถูกแขวนคอ และประท้วงการกลับมาของเผด็จการของนักศึกษา 6 ตค. 2519 การบอกปัดข้อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีมาจาการเลือกตั้งในปี 2535 และการบอกปัดข้อเรียกร้องให้ยุบสภาในปี 2553 นำมาซึ่งการปราบปรามประชาชนอย่างโหดเหี้ยม แล้วผู้ก่อการอันโหดเหี้ยมเหล่านั้นก็กลับลอยนวล เหล่านี้คือความไม่พร้อมของประชาชนหรือความไม่พร้อมของชนชั้นนำกันแน่

 

การบอกปัดข้อเสนอให้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งของความไม่พร้อมของชนชั้นนำ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น 

 

ข้อเสนอของประชาชนแต่ละครั้งนั้นเรียบง่าย ไร้การต่อรองผลประโยชน์เฉพาะตนเฉพาะหน้า เป็นการเรียกร้องเพื่อสิทธิพื้นฐานของประชาชนในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการมีส่วนร่วมทางการเมือง สิทธิในการปกครองตนเอง สิทธิในการแสดงความคิดเห็น และสิทธิในร่างกาย 

 

ข้อเสนอของประชาชนจึงไม่ได้ต้องการการศึกษาระดับสูงอะไรเลยก็เข้าใจได้ ตาสีตาสาตามีตามา ใครที่ไหนก็เข้าใจได้ว่า สิทธิในเนื้อตัวร่างกายตนเองสำคัญอย่างไร เสรีภาพในการแสดงคำพูดคำจาและความคิดความอ่านของตนเองสำคัญอย่างไร อำนาจในการปกครองตนเองนั้นสำคัญอย่างไร 

 

แต่ก็เพราะข้อเรียกร้องต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเรียบง่ายอย่างนี้นี่แหละ ที่นำมาซึ่งการบอกปัดของชนชั้นนำ การบอกบัดนี้ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าการหวงอำนาจที่มีมาแต่เดิมของตน การบอกปัดนี้แสดงให้เห็นถึงความไม่พร้อมของชนชั้นนำ ในขณะที่ประชาชนนั้นพร้อมมาเป็นร้อยปีแล้ว

 

จะมีใครเล่าไม่พร้อมที่จะได้รับสิทธิเสรีภาพของตนเอง จะมีก็แต่กลุ่มคนที่หวงอำนาจอยู่เท่านั้นที่ไม่พร้อมที่จะสละอำนาจของตนให้กับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
รถกระบะพัฒนาจากการเป็นปัจจัยการผลิตจนกลายเป็นปัจจัยทางวัตถุเชิงวัฒนธรรมในระยะ 20 ปีมานี้เอง การเกิดขึ้นของวัฒนธรรมรถกระบะไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เกิดจากปัจจัยเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และรัฐบาลนั่นแหละที่มีส่วนสำคัญทำให้เกิดพัฒนาการนี้ขึ้นมา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไปโตรอนโตได้สัก 5 วัน แต่เวลาส่วนใหญ่ก็อยู่ในห้องประชุม กับนั่งเตรียมเสนองาน จะมีบ้างก็สองวันสุดท้าย ที่จะมีชีวิตเป็นของตนเอง ได้เดินไปเดินมา เที่ยวขึ้นรถเมล์ รถราง กิน ดื่ม ละเลียดรายละเอียดของเมืองบางมุมได้บ้าง ก็ได้ความประทับใจบางอย่างที่อยากบันทึกเก็บไว้ ผิดถูกอย่างไรชาวโตรอนโตคงไม่ถือสานัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อีกสถานที่หนึ่งที่ตั้งใจไปเยือนคือโรงเบียร์ใจกลางเมืองชื่อ Steam Whistle ทำให้ได้เห็นทั้งวิธีคิดของเมือง วิธีการทำเบียร์ ความเอาจริงเอาจังของคนรุ่นใหม่ในแคนาดา รวมทั้งเข้าใจอะไรๆ เกี่ยวกับเบียร์มากขึ้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แรกทีเดียวก่อนไปชม ก็ไม่คิดว่าจะได้อะไรมาก คิดว่าคงแค่ไปดูความเป็นมาของบาทาเป็นหลัก แล้วก็คงมีรองเท้าดีไซน์แปลกๆ ให้ดูบ้าง กับคงจะได้เห็นรองเท้าจากที่ต่างๆ ทั่วโลกเอามาเปรียบเทียบกันด้วยความฉงนฉงายในสายตาฝรั่งบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมมาประชุมวิชาการ AAS ประจำปี 2017 ที่โตรอนโต แคนาดา เมื่อเสนองานไปแล้วเมื่อวาน (18 มีค. 60) เมื่อเช้าก็เลยหาโอกาสไปทำความรู้จักกับเมืองและผู้คนบ้าง เริ่มต้นจากการไปแกลลอรีแห่งออนทาริโอ แกลลอรีสำคัญของรัฐนี้ ตามคำแนะนำของใครต่อใคร ไปถึงแล้วก็ไม่ผิดหวังเพราะแกลลอรีนี้น่าสนใจในหลายๆ ลักษณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดในการจัดแสดงงาน การเล่าเรื่องราว และการแสดงความเป็นแคนาดา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้มิวเซียมสยามมีนิทรรศการชั่วคราวชุดใหม่จัดแสดงอยู่ ชื่อนิทรรศการ "ต้มยำกุ้งวิทยา : วิชานี้อย่าเลียน !" ผมเพิ่งไปดูมาเมื่อสองวันก่อนนี้ ดูแล้วคิดอะไรได้หลายอย่าง ก็ขอเอามาปันกันตรงนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทันทีที่ คสช. ขอบคุณ ธีรยุทธ บุญมี ธีรยุทธก็ได้วางมาตรฐานใหม่ให้แก่การทำงานวิชาการเพื่อสนับสนุนและแอบอิงไปกับเผด็จการทหาร แนวทางสำคัญ ๆ ได้แก่งานวิชาการที่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (27 มค. 60) ไปสอน นศ. ธรรมศาสตร์ปี 1 ที่ลำปาง วิชามนุษย์กับสังคม ผมมีหน้าที่แนะนำว่าสังคมศาสตร์คืออะไร แล้วพบอะไรน่าสนใจบางอย่าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวันที่ 18 พย. ผมไปดูละครเรื่อง "รื้อ" มา ละครสนุกเหลือเชื่อ เวลาชั่วโมงครึ่งผ่านไปอย่างรวดเร็ว พอดีผู้จัดซึ่งเป็นผู้แสดงหลักคนหนึ่งด้วย คืออาจารย์ภาสกร อินทุมาร ภาควิชาการละคร ศิลปกรรม ธรรมศาสตร์ ชวนไปเสวนาแลกเปลี่ยนหลังการแสดง ก็เลยต้องนั่งดูอย่างเอาจริงเอาจัง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักมานุษยวิทยามีแนวโน้มที่จะ "โรแมนติก" นั่นคือ "อิน" ไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา ความเห็นอกเห็นใจอาจเกินเลยจนกลายเป็นความหลงใหลฟูมฟายเออออไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความเคลื่อนไหวในสังคมไทยขณะนี้มีหลายเหตุการณ์ที่ชี้ให้เห็นถึงขีดจำกัดคุณค่าความดีของสังคมไทยปัจจุบัน นั่นคือข้อเท็จจริงที่ว่า ความดีแบบไทยๆ ไม่จำเป็นต้องดีเสมอไป ไม่จำเป็นต้องดีอย่างไม่ต้องสงสัย เป็นความดีที่ผูกติดกับสังคมนิยมชนชั้น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอก ผมไปเกาหลีเที่ยวนี้เพื่อไปประชุมวิชาการครบรอบ 50 ปีการก่อตั้งภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยฮันกุ๊กภาษาและกิจการต่างประเทศ (Hankuk University of Foreign Studies)