Skip to main content

นักมานุษยวิทยามีแนวโน้มที่จะ "โรแมนติก" นั่นคือ "อิน" ไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา ความเห็นอกเห็นใจอาจเกินเลยจนกลายเป็นความหลงใหลฟูมฟายเออออไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา 

ไม่ว่าพวกเขาเหล่านั้นจะเป็นใคร ไม่เว้นกระทั่งกลุ่มคนที่ตนเองก็เป็นสมาชิกอยู่ด้วย ถ้าเป็นอย่างนั้นก็คือกำลังหลงใหลตนเองนั่นแหละ 

บางที การเออออนั้นอาจมีที่มาจากจิตใจเบื้องลึกของนักมานุษยวิทยาคนนั้นเองอยู่ก่อนแล้ว ที่เห็นดีเห็นงามไปกับสังคม-วัฒนธรรมที่ตนเองศึกษา โดยไม่ได้คิดว่าวัฒนธรรมนั้นก่อผลแบ่งแยกสร้างความเหลื่อมล้ำ เอาเปรียบผู้คนกันเองในสังคมอย่างไร 

หรือไม่ก็โรแมนติกจากจริตของนักมานุษยวิทยา ที่ถูกสั่งสอนให้พยายามอินกับคนกลุ่มที่ตนศึกษา เสียจนยอมละทิ้งการตัดสินเชิงคุณค่าของนักมานุษยวิทยาเอง  

จริตทางวิชาการแบบนี้มีที่มาจากสองทาง หนึ่งคือฟรานซ์ โบแอส ที่เป็นหลานศิษย์ของฮุมโบลด์ต แนวคิดโรแมนติกของเขาทำให้เขาเองก็หลุดไม่พ้นจากความคิดแบบนาซีที่เขาเองเริ่มเห็นแววจึงหลบมาอยู่อเมริกา เพราะโบแอสเป็นยิว ในแง่นี้ นักมานุษยวิทยาจึงเป็นยิวที่เห็นดีเห็นงามกับแนวคิดแบบอารยันเยอรมันโดยไม่รู้ตัวอยู่ลึก ๆ 

สองคืออิทธิพลของแมกซ์ เวเบอร์ ซึ่งสั่งสอนให้นักสังคมศาสตร์เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ต้องปลอดค่านิยม แต่เป็นวิทยาศาสตร์ของการตีความ นั่นก็คือพยายามเข้าใจความหมายโดยไม่ใช้การตัดสินเชิงคุณค่า ผลก็คือนักสังคมศาสตร์แบบเวเบอร์ต้องเข้าใจสังคมโดยไม่วิพากษ์ เวเบอร์จึงไม่มีทางออกให้สังคมที่เขาเองก็ไม่ได้พอใจนัก แต่เขาก็ไม่วิพากษ์ 

สรุปแล้ว ทั้งสองจึงมีฐานคติแบบเยอรมันโรแมนติกซิสม์ ตามแนวทางแบบแฮร์เดอร์ ที่ยกย่องวัฒนธรรมชาวบ้านว่าเป็นรากเหง้าของวัฒนธรรมชาติเยอรมันก่อนที่อิทธิพลของกรีก-โรมันจะเข้ามาครอบงำ 

โรแมนติกซิสม์ดีที่ช่วยให้พยายามเข้าใจความแตกต่างได้ ช่วยให้พยายามรู้จักก่อนที่จะตัดสิน พิพากษา หรือวิพากษ์  

แต่ข้อเสียของโรแมนติกซิสม์คือ จะทึกทักจนหลงลืมไปว่า สังคมหนึ่ง ๆ มีหลายวัฒนธรรม วัฒนธรรมต่าง ๆ ไม่ได้เท่าเทียมกัน พื้นฐานความไม่เท่าเทียมกันนั้นมีวัฒนธรรมเป็นสิ่งฉาบเคลือบการกดขี่เอารัดเอาเปรียบไว้ นี่คือพื้นฐานของแนวคิดแบบ "พหุนิยม" หรือ "พหุวัฒนธรรม" แบบเชื่อง ๆ ซื่อ ๆ ทื่อ ๆ 

ผมว่ามีอย่างน้อยสามวิธีที่จะทัดทานหรือถ่วงดุลความโรแมนติกคือ หนึ่ง การศึกษาเชิงวิพากษ์ เช่นวิธีการแบบมาร์กซิสม์ สอง การถอดรื้อความเป็นอัตลักษณ์แน่นิ่งของวัฒนธรรมที่ศึกษา สาม การถอดรื้อตัวตนของนักมานุษยวิทยาเอง ว่าตนเองหลงใหลฟูมฟายกับผู้คนที่ตนเองศึกษามากเกินไปหรือยัง

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปาฐกถาในเวทีเสวนา “50 ปี 14 ตุลาฯ ยังตามหารัฐธรรมนูญใหม่” จัดโดยสมัชชาคนจน วันที่ 14 ตุลาคม 2566
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อ 24 กค. 65 ผู้จัดการแสดง #ฮิญาบ2022  ชวนผมไปดูการแสดงของคุณฟารีดา จิราพันธ์ ที่กาลิเลโอเอซิส แล้วผู้จัดจะชวนผมสนทนาหลังละคร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพวิชาการ ในฐานะผู้ปกครองนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ และในฐานะคนรักศิลปะ ผมเขียนจดหมายนี้เพื่อตั้งคำถามต่อการที่ผู้บริหารคณะวิจิตรศิลป์จะตรวจสอบผลงานก่อการอนุญาตให้จัดแสดงผลงานของนักศึกษาภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นคนพูดถึงตัวละครในซีรีย์เกาหลีเอ่ยถึงจอร์จ บาไตล์ ในรูปนั่นน่ะครับ เป็นคอลเล็กชันจอร์จ บาไตล์บนชั้นหนังสือผมแบบเบาๆ ผมเก็บไว้ร่วม 20 ปีแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายคนคงรู้ว่าวันนี้เป็นวันชาติเวียดนาม แต่น้อยคนคงรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในวันนี้กันแน่ แล้ววันนี้ในอดีตถูกกำหนดเป็นวันขาติจากเหตุการณ์ปีใด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จนถึงวันนี้ การต่อสู้ของประชาชนในขบวนการ “คณะราษฎร 63” ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า พลังของแสงดาวได้สร้างสรรค์สังคมไทยอย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาได้ออกมาแสดงความเห็นว่ามีการสร้างกระแสกดดันศาลต่างๆ นานา (ดู https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2081366) มองในแง่ดี ผมคิดว่านี่คือการออกมาอธิบายกับสังคมอีกครั้งของผู้มีอำนาจในกระบวนการยุติธรรมอย่างชัดแจ้ง หลังจากที่มีการชี้แจงถึงเหตุผลการไม่ปล่อยตัวผู้ต้องหาคดีการเมืองโดยโฆษกศาลและโฆษกกระทรวงยุติธรรมก่อนหน้านี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อะไรที่ทำให้ดนตรีมีสถานะในการทำร้ายกันได้บ้าง ผมว่าอย่างน้อยที่สุดต้องเข้าใจก่อนว่า ดนตรีไม่ใช่แค่เสียง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พอดีนั่งฟังเพื่อนนักวิชาการอ่านหนังสือ "กบฏชาวนา" ของรานาจิต คูฮา (1982) มาคุยให้ฟัง (แปลโดย ปรีดี หงษ์สต้น) ในเพจของสำนักพิมพ์ Illumination Editions เลยคิดถึงบันทึกที่เคยเขียนถึงหนังสือของ ดิเพช จักรบาร์ตี เรื่อง Provincializing Europe (2000)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่อง ถามถึงมโนธรรมสำนึกในความเป็นครูบาอาจารย์ของอาจารย์เอนก เหล่าธรรมทัศน์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะล่าสุดของอาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ต่อการชุมนุม 16 ตค. 63 ย้อนแย้งกับสมัยที่อาจารย์ให้ความเห็นต่อการชุมนุม กปปส. ในขณะนั้นอาจารย์อธิบายยืดยาวว่าการชุมนุมของ กปปส. ใช้สันติวิธี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอให้อาจารย์หยุดใช้ถ้อยคำสร้างความเกลียดชังในสังคม