Skip to main content

ไปโตรอนโตได้สัก 5 วัน แต่เวลาส่วนใหญ่ก็อยู่ในห้องประชุม กับนั่งเตรียมเสนองาน จะมีบ้างก็สองวันสุดท้าย ที่จะมีชีวิตเป็นของตนเอง ได้เดินไปเดินมา เที่ยวขึ้นรถเมล์ รถราง กิน ดื่ม ละเลียดรายละเอียดของเมืองบางมุมได้บ้าง ก็ได้ความประทับใจบางอย่างที่อยากบันทึกเก็บไว้ ผิดถูกอย่างไรชาวโตรอนโตคงไม่ถือสานัก

 
จะเข้าห้องน้ำ ต้องถามหา washrooms ไม่ใช่ restroom รถรางเรียก light rail ไม่ใช่ tram ต้องลองอาหารฝรั่งเศสที่กลายเป็น "อาหารแคนาดา" ชื่อ poutine ออกเสียงว่า "พุทิน" ก็คือมันฝรั่งทอดโรยชีสเคิร์ดราดเกรวี่ ถนนชื่อ Bloor ออกเสียงว่า "บลู" ถนนชื่อ Yonge ออกเสียงว่า "ยัง" กินอาหารแล้วต้องทิป 15% ส่วนภาษี VAT น่ะ 13% ดังนั้นให้ทิปเกินกว่าค่าภาษีนิดหน่อยก็พอ จะซื้อเหล้า เบียร์ ไวน์ ต้องมองหาร้านที่ระบุว่าขาย ร้านสะดวกซื้อทั่วไปไม่มีขาย นั่นคือความรู้ประจำวันบางอย่างที่ได้มา
 
 
แต่ที่มากกว่านั้นเป็นความประทับใจหลายๆ อย่าง แรกเลยคือโตรอนโตมีความ retro มีความย้อนยุคของเมืองมาจากทั้งอาคารเก่าที่แทรกอยู่กับอาคารใหม่ ไม่ว่าจะเดินไปทางไหนก็จึงมักพบอาคารอายุหลักร้อยปีอยู่เสมอ แม้แต่ในย่านที่ค่อนข้างมีความเป็นธุรกิจการค้า แฟชั่นใหม่ๆ ก็ยังมีอาคารเก่าแทรกอยู่ จนทำให้อาคารใหม่จำนวนมากต้องปรับตัว สร้างเลียนแบบ ไม่ก็ดูดซับสไตล์เก่าๆ เข้ามาในสถาปัตยกรรมใหม่ๆ
 
 
นอกจากนั้น การที่เมืองแม้จะไม่ได้แออัดใหญ่โตมาก แต่มีความเป็นย่าน แต่ไม่โซนนิ่งชัดเจนจนแยกชีวิตเป็นส่วนๆ การไม่โซนนิ่งชัดเจนคือการไม่แบ่งย่านที่พักอาศัย ย่านธุรกิจ ย่านช้อปปิ้ง ออกจากกันเด็ดขาด โตรอนโตจึงมีความเป็นเมืองใหญ่เหมือนเมืองใหญ่หลายเมืองที่ผมเคยไป อย่างนิวยอร์ค ชิคาโก โตเกียว 
 
เมืองใหญ่เหล่านี้แม้คนจะอาศัยชานเมือง แต่ทั้งกลางเมืองและชานเมืองมันน่าอยู่ตรงที่ในเมืองมีร้านรวงเต็มไปหมด มีร้านขายของปะปนกับที่พักอาศัย ไม่เหมือนเมืองเล็กๆ ในอมเริกา ที่ต้องพึ่งรถยนต์ เพราะทุกอย่างแยกกันไกลๆ อย่างเมืองแมดิสัน และอีกหลายๆ เมืองที่แยกมอลล์ออกจากเมือง แถมเมืองนี้ยังมีมหาวิทยาลัยตั้งแทรกอยู่กับเมือง ทำให้ชีวิตของเมืองกับชีวิตนักศึกษา ผสมผสานกันจนแยกแทบไม่ออก
 
 
ขนส่งมวลชนโตรอนโตก็ดีมาก ดีจนผมว่ามันอาจจะไม่คุ้มหรือสงสัยว่าเกินจำเป็นหรือเปล่า เพราะรถไฟฟ้า รถราง รถเมล์ ส่วนใหญ่วิ่งกันถี่มาก แทบไม่ต้องดูตาราง รถก็ไม่ค่อยติด แถมรถรางหลายสายก็วิ่ง 24 ชั่วโมง วิ่งจากชานเมืองด้านหนึ่งผ่านกลางเมืองไปชานเมืองอีกด้านหนึ่ง ส่วนรถไฟใต้ดินก็วิ่งจนถึงตี 1 ตี 2 เรียกว่าคนน่าจะสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องมีรถยนต์ส่วนตัว ไม่เหมือนหลายๆ เมืองในสหรัฐอเมริกา
 
เสน่ห์อีกอย่างของโตรอนโตคือความเป็นย่าน ไม่ใช่ย่านการค้าหรือย่านที่พักอาศัยหรือย่านธุรกิจ ผมว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ค่อยแยกกัน แต่เป็นย่านของที่พักอาศัย ย่านของการเกาะกลุ่มกันของผู้คน อย่างย่านคนเอเชีย ย่านคนเมดิเตอร์เรเนี่ยน-แคริเบียน ย่านคนอิตาลี ทั่วทั้งเมืองจึงมีอาหาร ป้ายภาษา และร้านสิ่งของเครื่องใช้ ร้านของชำ ที่จำเป็นตามแต่คนกลุ่มต่างๆ จะใช้อยู่เต็มไปหมด
 
 
ผมจึงหาอาหารเวียดนามอร่อยๆ กินได้ง่ายกว่าในกรุงเทพฯ หาอาหารอิตาลีดีๆ ราคาไม่โหดร้ายนักได้ง่ายกว่าในกรุงเทพฯ และไปทางไหนก็เจอศาสนสถานของศานาหลายๆ ศาสนา แม้จะไม่ได้ถึงกับครบทั้งหมด ก็ถือว่ามีมากมายหลายศาสนา ได้ทั่วไปหมด แน่นอนว่าโบสถ์คริสต์น่ะครองพื้นที่ส่วนใหญ่
 
 
ดังนั้นเมื่อเดินไปไหนมาไหนในเมือง ก็จะได้ยินเสียงภาษากวางตุ้ง จีนกลาง เวียดนาม และภาษายุโรป อาหรับ ฯลฯ ต่างๆ ที่ฟังไม่รู้เรื่องมากมาย และทำให้ผู้คนพูดภาษาอังกฤษแบบมีสำเนียงกันเป็นจำนวนมาก คนทำงานเป็นเจ้าหน้าที่รัฐก็พูดภาษาอังกฤษมีสำเนียงกัน คนทำงานมิวเซียมพูดภาษาอังกฤษมีสำเนียงก็ไม่แปลก และมีคนไม่พูดภาษาอังกฤษอยู่เต็มไปหมด
 
เมืองแบบนี้จึงนับเป็นเมืองที่จำเป็นต้องเปิดรับความแตกต่าง มีความ cosmopolitan อยู่สูง ทั้งยังมีความพร้อมเพรียงในด้านการสัญจร แม้ว่าค่าครองชีพจะค่อนข้างสูง แต่ก็น่าจะคุ้มค่ากับรายได้และสิ่งตอบแทนที่ได้รับมาจากเงินที่จ่ายไป โตรอนโตจึงคงยังดึงดูดให้คนจากที่อื่นๆ ทั่วโลกอพยพไปอยู่มากขึ้นเรื่อยๆ ด้านไม่ดีของเมืองคงมีอีกมาก แต่ผมก็เขียนเท่าที่ได้พบเจอมา

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำสำคัญ: sensory subjectivity, sensory categories, sensory bias, sensory ethnocentrism, sensory colonization (อธิบายไว้ท้ายข้อเขียน) คนทำเรื่องอาหารข้ามถิ่น ไม่ต่างจากการทำงานทางมานุษยวิทยา ที่ต้องตระหนักถึงการ ไม่นำเอา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ถ้าคุณไม่สามารถเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ได้แล้ว ก็โปรดอย่าถ่วงรั้งการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่เลย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปาฐกถาในเวทีเสวนา “50 ปี 14 ตุลาฯ ยังตามหารัฐธรรมนูญใหม่” จัดโดยสมัชชาคนจน วันที่ 14 ตุลาคม 2566
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อ 24 กค. 65 ผู้จัดการแสดง #ฮิญาบ2022  ชวนผมไปดูการแสดงของคุณฟารีดา จิราพันธ์ ที่กาลิเลโอเอซิส แล้วผู้จัดจะชวนผมสนทนาหลังละคร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพวิชาการ ในฐานะผู้ปกครองนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ และในฐานะคนรักศิลปะ ผมเขียนจดหมายนี้เพื่อตั้งคำถามต่อการที่ผู้บริหารคณะวิจิตรศิลป์จะตรวจสอบผลงานก่อการอนุญาตให้จัดแสดงผลงานของนักศึกษาภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นคนพูดถึงตัวละครในซีรีย์เกาหลีเอ่ยถึงจอร์จ บาไตล์ ในรูปนั่นน่ะครับ เป็นคอลเล็กชันจอร์จ บาไตล์บนชั้นหนังสือผมแบบเบาๆ ผมเก็บไว้ร่วม 20 ปีแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายคนคงรู้ว่าวันนี้เป็นวันชาติเวียดนาม แต่น้อยคนคงรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในวันนี้กันแน่ แล้ววันนี้ในอดีตถูกกำหนดเป็นวันขาติจากเหตุการณ์ปีใด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จนถึงวันนี้ การต่อสู้ของประชาชนในขบวนการ “คณะราษฎร 63” ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า พลังของแสงดาวได้สร้างสรรค์สังคมไทยอย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาได้ออกมาแสดงความเห็นว่ามีการสร้างกระแสกดดันศาลต่างๆ นานา (ดู https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2081366) มองในแง่ดี ผมคิดว่านี่คือการออกมาอธิบายกับสังคมอีกครั้งของผู้มีอำนาจในกระบวนการยุติธรรมอย่างชัดแจ้ง หลังจากที่มีการชี้แจงถึงเหตุผลการไม่ปล่อยตัวผู้ต้องหาคดีการเมืองโดยโฆษกศาลและโฆษกกระทรวงยุติธรรมก่อนหน้านี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อะไรที่ทำให้ดนตรีมีสถานะในการทำร้ายกันได้บ้าง ผมว่าอย่างน้อยที่สุดต้องเข้าใจก่อนว่า ดนตรีไม่ใช่แค่เสียง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พอดีนั่งฟังเพื่อนนักวิชาการอ่านหนังสือ "กบฏชาวนา" ของรานาจิต คูฮา (1982) มาคุยให้ฟัง (แปลโดย ปรีดี หงษ์สต้น) ในเพจของสำนักพิมพ์ Illumination Editions เลยคิดถึงบันทึกที่เคยเขียนถึงหนังสือของ ดิเพช จักรบาร์ตี เรื่อง Provincializing Europe (2000)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่อง ถามถึงมโนธรรมสำนึกในความเป็นครูบาอาจารย์ของอาจารย์เอนก เหล่าธรรมทัศน์