Skip to main content

ไปโตรอนโตได้สัก 5 วัน แต่เวลาส่วนใหญ่ก็อยู่ในห้องประชุม กับนั่งเตรียมเสนองาน จะมีบ้างก็สองวันสุดท้าย ที่จะมีชีวิตเป็นของตนเอง ได้เดินไปเดินมา เที่ยวขึ้นรถเมล์ รถราง กิน ดื่ม ละเลียดรายละเอียดของเมืองบางมุมได้บ้าง ก็ได้ความประทับใจบางอย่างที่อยากบันทึกเก็บไว้ ผิดถูกอย่างไรชาวโตรอนโตคงไม่ถือสานัก

 
จะเข้าห้องน้ำ ต้องถามหา washrooms ไม่ใช่ restroom รถรางเรียก light rail ไม่ใช่ tram ต้องลองอาหารฝรั่งเศสที่กลายเป็น "อาหารแคนาดา" ชื่อ poutine ออกเสียงว่า "พุทิน" ก็คือมันฝรั่งทอดโรยชีสเคิร์ดราดเกรวี่ ถนนชื่อ Bloor ออกเสียงว่า "บลู" ถนนชื่อ Yonge ออกเสียงว่า "ยัง" กินอาหารแล้วต้องทิป 15% ส่วนภาษี VAT น่ะ 13% ดังนั้นให้ทิปเกินกว่าค่าภาษีนิดหน่อยก็พอ จะซื้อเหล้า เบียร์ ไวน์ ต้องมองหาร้านที่ระบุว่าขาย ร้านสะดวกซื้อทั่วไปไม่มีขาย นั่นคือความรู้ประจำวันบางอย่างที่ได้มา
 
 
แต่ที่มากกว่านั้นเป็นความประทับใจหลายๆ อย่าง แรกเลยคือโตรอนโตมีความ retro มีความย้อนยุคของเมืองมาจากทั้งอาคารเก่าที่แทรกอยู่กับอาคารใหม่ ไม่ว่าจะเดินไปทางไหนก็จึงมักพบอาคารอายุหลักร้อยปีอยู่เสมอ แม้แต่ในย่านที่ค่อนข้างมีความเป็นธุรกิจการค้า แฟชั่นใหม่ๆ ก็ยังมีอาคารเก่าแทรกอยู่ จนทำให้อาคารใหม่จำนวนมากต้องปรับตัว สร้างเลียนแบบ ไม่ก็ดูดซับสไตล์เก่าๆ เข้ามาในสถาปัตยกรรมใหม่ๆ
 
 
นอกจากนั้น การที่เมืองแม้จะไม่ได้แออัดใหญ่โตมาก แต่มีความเป็นย่าน แต่ไม่โซนนิ่งชัดเจนจนแยกชีวิตเป็นส่วนๆ การไม่โซนนิ่งชัดเจนคือการไม่แบ่งย่านที่พักอาศัย ย่านธุรกิจ ย่านช้อปปิ้ง ออกจากกันเด็ดขาด โตรอนโตจึงมีความเป็นเมืองใหญ่เหมือนเมืองใหญ่หลายเมืองที่ผมเคยไป อย่างนิวยอร์ค ชิคาโก โตเกียว 
 
เมืองใหญ่เหล่านี้แม้คนจะอาศัยชานเมือง แต่ทั้งกลางเมืองและชานเมืองมันน่าอยู่ตรงที่ในเมืองมีร้านรวงเต็มไปหมด มีร้านขายของปะปนกับที่พักอาศัย ไม่เหมือนเมืองเล็กๆ ในอมเริกา ที่ต้องพึ่งรถยนต์ เพราะทุกอย่างแยกกันไกลๆ อย่างเมืองแมดิสัน และอีกหลายๆ เมืองที่แยกมอลล์ออกจากเมือง แถมเมืองนี้ยังมีมหาวิทยาลัยตั้งแทรกอยู่กับเมือง ทำให้ชีวิตของเมืองกับชีวิตนักศึกษา ผสมผสานกันจนแยกแทบไม่ออก
 
 
ขนส่งมวลชนโตรอนโตก็ดีมาก ดีจนผมว่ามันอาจจะไม่คุ้มหรือสงสัยว่าเกินจำเป็นหรือเปล่า เพราะรถไฟฟ้า รถราง รถเมล์ ส่วนใหญ่วิ่งกันถี่มาก แทบไม่ต้องดูตาราง รถก็ไม่ค่อยติด แถมรถรางหลายสายก็วิ่ง 24 ชั่วโมง วิ่งจากชานเมืองด้านหนึ่งผ่านกลางเมืองไปชานเมืองอีกด้านหนึ่ง ส่วนรถไฟใต้ดินก็วิ่งจนถึงตี 1 ตี 2 เรียกว่าคนน่าจะสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องมีรถยนต์ส่วนตัว ไม่เหมือนหลายๆ เมืองในสหรัฐอเมริกา
 
เสน่ห์อีกอย่างของโตรอนโตคือความเป็นย่าน ไม่ใช่ย่านการค้าหรือย่านที่พักอาศัยหรือย่านธุรกิจ ผมว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ค่อยแยกกัน แต่เป็นย่านของที่พักอาศัย ย่านของการเกาะกลุ่มกันของผู้คน อย่างย่านคนเอเชีย ย่านคนเมดิเตอร์เรเนี่ยน-แคริเบียน ย่านคนอิตาลี ทั่วทั้งเมืองจึงมีอาหาร ป้ายภาษา และร้านสิ่งของเครื่องใช้ ร้านของชำ ที่จำเป็นตามแต่คนกลุ่มต่างๆ จะใช้อยู่เต็มไปหมด
 
 
ผมจึงหาอาหารเวียดนามอร่อยๆ กินได้ง่ายกว่าในกรุงเทพฯ หาอาหารอิตาลีดีๆ ราคาไม่โหดร้ายนักได้ง่ายกว่าในกรุงเทพฯ และไปทางไหนก็เจอศาสนสถานของศานาหลายๆ ศาสนา แม้จะไม่ได้ถึงกับครบทั้งหมด ก็ถือว่ามีมากมายหลายศาสนา ได้ทั่วไปหมด แน่นอนว่าโบสถ์คริสต์น่ะครองพื้นที่ส่วนใหญ่
 
 
ดังนั้นเมื่อเดินไปไหนมาไหนในเมือง ก็จะได้ยินเสียงภาษากวางตุ้ง จีนกลาง เวียดนาม และภาษายุโรป อาหรับ ฯลฯ ต่างๆ ที่ฟังไม่รู้เรื่องมากมาย และทำให้ผู้คนพูดภาษาอังกฤษแบบมีสำเนียงกันเป็นจำนวนมาก คนทำงานเป็นเจ้าหน้าที่รัฐก็พูดภาษาอังกฤษมีสำเนียงกัน คนทำงานมิวเซียมพูดภาษาอังกฤษมีสำเนียงก็ไม่แปลก และมีคนไม่พูดภาษาอังกฤษอยู่เต็มไปหมด
 
เมืองแบบนี้จึงนับเป็นเมืองที่จำเป็นต้องเปิดรับความแตกต่าง มีความ cosmopolitan อยู่สูง ทั้งยังมีความพร้อมเพรียงในด้านการสัญจร แม้ว่าค่าครองชีพจะค่อนข้างสูง แต่ก็น่าจะคุ้มค่ากับรายได้และสิ่งตอบแทนที่ได้รับมาจากเงินที่จ่ายไป โตรอนโตจึงคงยังดึงดูดให้คนจากที่อื่นๆ ทั่วโลกอพยพไปอยู่มากขึ้นเรื่อยๆ ด้านไม่ดีของเมืองคงมีอีกมาก แต่ผมก็เขียนเท่าที่ได้พบเจอมา

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะล่าสุดของอาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ต่อการชุมนุม 16 ตค. 63 ย้อนแย้งกับสมัยที่อาจารย์ให้ความเห็นต่อการชุมนุม กปปส. ในขณะนั้นอาจารย์อธิบายยืดยาวว่าการชุมนุมของ กปปส. ใช้สันติวิธี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอให้อาจารย์หยุดใช้ถ้อยคำสร้างความเกลียดชังในสังคม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การดีเบตระหว่างนักเรียนกับรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการที่หน้ากระทรวงฯ เมื่อวาน (5 กย. 63) ชี้ให้เห็นชัดว่า หากยังจะให้คนที่มีระบบคิดวิบัติแบบนี้ดูแลกระทรวงศึกษาธิการอยู่ ก็จะยิ่งทำให้การศึกษาไทยดิ่งลงเหวลึกไปยิ่งขึ้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ประเด็น "สถาบันกษัตริย์" ในประเทศไทยปัจจุบันไม่ใช่เรื่องศีลธรรมและไม่ใช่แค่เรื่องความรู้สึก แต่เป็นเรื่องของสถาบันทางการเมืองและการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมการเมืองไทย ถ้าไม่เข้าใจตรงกันแบบนี้ก่อนก็จะไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ฟัง/อ่านข้อเสนอของนักศึกษา/ประชาชนที่เสนอในการชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อวานนี้ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปีนี้ผมอายุ 52 ผมคิดอยู่ตลอดว่า ถ้าพ่อแม่เสียไป ผมจะดัดแปลงบ้านที่อยู่มายังไง จะรื้ออะไร ย้ายอะไร ผมไม่มีลูก ม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การยุบพรรคอนาคตใหม่อย่างที่สาธารณชนและแม้แต่นักกฎหมายเองก็เห็นว่าไม่สมเหตุสมผลทั้งในทางกฎหมายและในทางการเมือง และความเหลวแหลกของกลไก เกม และสถาบันการเมืองในขณะนี้ คือเงื่อนไขเฉพาะหน้าที่ทำให้เยาวชนจำนวนมาก ซึ่งเป็นคนหน้าใหม่ของการเมืองไทย ในหลายพื้นที่กระจายไปทั่วประเทศ ลุกขึ้นมาแสดงออกทางการเมืองอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนนับตั้งแต่มีความขัดแย้งรอบใหม่ในกลางทศวรรษ 2540 เป็นต้นมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วินาทีที่พรรคอนาคตใหม่ถูกยุบ ความสำคัญไม่ใช่ว่าพรรคการเมืองหนึ่งถูกยุบไปหรอก แต่ความสำคัญอยู่ที่ว่า ผู้มีอำนาจกำลังสร้างความแตกร้าวครั้งใหม่ที่พวกเขาอาจจะพบปฏิกิริยาโต้ตอบที่ไม่เหลือเศษซากอะไรให้กอบกู้โลกเก่าของพวกเขากลับมาได้อีกต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อสังเกตจากการแถลงของ ผบทบ. ล่าสุด แสดงการปัดความรับผิดชอบของผู้นำกองทัพไทยอย่างเห็นได้ชัดดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเหตุการณ์ #กราดยิงโคราช เราเห็นอะไรเกี่ยวกับทหารไทยบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การเสียสละกับการรักษาหลักการมักถูกนำมาใช้อ้างหรือมากกว่านั้นคืออาจมีส่วนใช้ในการตัดสินใจ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พวกคุณไม่ได้เพียงกำลังทำลายพรรคการเมืองใดพรรคหนึ่ง หรือกลุ่มการเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่พวกคุณกำลังทำลายความหวังที่คนจำนวนมากมีต่อความก้าวหน้าของประเทศชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรุ่นใหม่ที่เริ่มสนใจประเทศชาติ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาวเบี๋ยนเป็นศิลปินอาวุโสชาวไต/ไท ในเวียดนาม ผมรู้จักกับท่านมาร่วม 15 ปีแล้ว ตั้งแต่เมื่อพบกันครั้งแรกๆ ก็ถูกชะตากับท่าน ผมจึงเพียรไปหาท่านหลายต่อหลายครั้ง ที่ว่าเพียรไปหาไม่ใช่แค่เพราะไปพบท่านบ่อย แต่เพราะการไปพบท่านเป็นเรื่องยากลำบากมาก เมืองที่ท่านอยู่ชื่อเมืองล้อ หรือเรียกแบบสยามๆ ก็เรียกว่าเมืองลอก็ได้