Skip to main content

ความเคลื่อนไหวในสังคมไทยขณะนี้มีหลายเหตุการณ์ที่ชี้ให้เห็นถึงขีดจำกัดคุณค่าความดีของสังคมไทยปัจจุบัน นั่นคือข้อเท็จจริงที่ว่า ความดีแบบไทยๆ ไม่จำเป็นต้องดีเสมอไป ไม่จำเป็นต้องดีอย่างไม่ต้องสงสัย เป็นความดีที่ผูกติดกับสังคมนิยมชนชั้น 

 
ความดีแบบไทยๆ มีลักษณะเฉพาะอย่างไร 
 
1. ทำดีเพื่อใครบางคน คนไทยมักต้องหาเหตุที่จะทำดี ปกติไม่จำเป็นต้องดี แต่เมื่อสูญเสียคนที่รัก จึงคิดอยากทำดีขึ้นมา การทำดีเพื่อใครบางคนส่วนมากก็ไม่ได้จะต้องก่อประโยชน์ต่อสังคมอย่างแท้จริง เพียงการไปบริจาคทาน แจกของทั้งที่ผู้รีบแจกไม่ได้ขาดแคลนจริงๆ ก็กลายเป็นความดีได้ ที่เป็นอย่างนี้เพราะคนไทยแค่อยากทำอะไรดีๆ เพื่อคนที่รัก โดยไม่ได้คำนึงว่าสิ่งที่ทำนั้นดีจริงแล้วหรือ เหมาะสมแล้วหรือ
 
2. ทำดีเพื่อตนเอง การทำดีของคนไทยโดยมากจึงเป็นการทำดีเพื่อตนเอง คนไทยให้ทานโดยไม่ได้หวังให้คนรับได้ประโยชน์เท่ากับอยากได้บุญมาสะสมไว้ คนไทยทำบุญเพื่อประโยชน์สุขของตนเอง อย่างหยาบหน่อย ทำบุญเสร็จแล้วก็ต้องขอพร ขออะไรจากการทำบุญ หรือไม่ก็ติดสินบนผี ต้องได้สิ่งที่ต้องการก่อนจึงจะทำบุญ อย่างละเอียดขึ้นก็เก็บไว้เป็นบุญคุณของเอง คิดหนี้ให้ผู้รับ บางครั้งทึกทักว่าเป็นหนี้คนไปทั่วแผ่นดิน ทั้งๆ ที่คนรับไม่มีอำนาจปฏิเสธบุญคุณที่ถูกยัดเยียดมานั้น 
 
3. ความดีเฉพาะหน้า ความดีแบบไทยมักเป็นความดีแบบฉับพลัน ทำแล้วได้ดีเลย ไม่คิดถึงผลดีในระยะยาว ในวงกว้าง ความดียากๆ อย่างการคิดถึงระบบสังคมที่เป็นธรรมขึ้น ด้วยการเคารพความเท่าเทียมกัน อันนั้นเป็นความดีที่ยากเกินไป ทำไปแล้วไม่รู้จะได้อะไรกับตนเองหรือเปล่า ไม่สุขใจทันทีเหมือนเอาน้ำขวดหนึ่งยัดใส่มือคนที่เดินไปเดินมาโดยที่เขาไม่ได้ขอ ไม่เหมือนเอาอาหารไปแจกคนในที่ชุมนุมชนทั้งๆ ที่คนเหล่านั้นไม่ได้เดือดร้อนอดอยากอะไร ความดีแบบนี้ตรงไปตรงมา คนไทยเข้าใจได้มากกว่า
 
4. ความดีแบบแสดงตน ความดีฉับพลันจึงต้องการการรับรู้จากคนอื่น ทำแล้วต้องมีคนเห็น ทำดีก็ต้องมีคนชื่นชมทันที ต้องมีคนทำข่าว ต้องมีรางวัล ความดีแบบไทยสร้างรางวัลให้คนมากมาย การทำอะไรดีๆ ไม่เพียงพอ แต่ต้องเป็นคนดีที่สาธารณชนรับรู้ ทำดีแล้วคนเห็นสำคัญกว่าทำดีตามหลักความดีแล้วก่อผลดีแม้คนไม่รับรู้ ทำดีแล้วคนเห็นกลบเกลื่อนความชั่วร้ายที่คนไม่เห็นได้
 
5. ความดีแบบสงเคราะห์ ความดีแบบไทยจึงเป็นทำดีแบบสงเคราะห์ ไม่เป็นระบบ เน้นการให้ แจกจ่าย ไม่สนใจว่าผู้รับจะได้ประโยชน์หรือไม่ ผู้รับจะต้องการหรือไม่ แค่ได้ให้ก็ดีแล้ว เครื่องสังฆทานจึงไม่จำป็นต้องเป็นของจำเป็นจริงๆ เพราะขอแค่ได้ถวายพระก็พอแล้ว อาหารถวายพระจึงเหลือเฟือ เพราะถวายพระได้บุญกว่าให้คนยากคนจน แล้วคนจนอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ ยุ่งยากที่จะทำทาน
 
6. ความดีที่ถูกยัดเยียด ความดีแบบไทยจึงเป็นความดีฝ่ายเดียว เป็นความดีที่ถูกยัดเยียดจากคนให้ บางทีการเปิดเพลงสวดมนต์ดังๆ ก็เป็นความดีแล้ว เพราะถือว่าให้สิ่งดีๆ ส่วนคนฟัง คนรับ จะต้องการหรือไม่ ไม่จำเป็น ความดีแบบนี้จึงเป็นความดีจากเบื้องบน เป็นความดีที่คนรู้ดี คนมั่งมีกว่า เป็นคนกำหนดว่าอะไรดี แล้วพวกเธอก็จงก้มหน้าก้มตารับสิ่งที่ฉันคิดว่าดีไป ไม่ต้องไต่ถามว่าสิ่งที่ผู้ให้คิดว่าดีนั้น ดีสำหรับผู้รับด้วยหรือไม่ ความต้องการของผู้รับไม่สำคัญเท่ากับความกระสันอยากทำดีของผู้ให้
 
7. ไม่ใช่ความดีเชิงโครงสร้าง ความดีแบบไทยๆ ไม่มีคติเรื่องความเท่าเทียม การลดความเหลื่อมล้ำ การกระจายรายได้ การคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ความดีแบบนี้ส่งเสริมกันเท่าไหร่ก็ไม่ขึ้น เพราะความดีเหล่านี้เป็นความดีเชิงโครงสร้าง ต้องสร้างระบบสังคมที่ดี จึงจะเกิดได้ ต้องเป็นสังคมที่เป็นประชาธิปไตย เคารพผู้อื่น รักเพื่อนมนุษย์อย่างเสมอหน้ากัน จึงจะ้กิดขึ้นได้ ความดีแบบนี่เข้ากันไม่ได้กับสังคมไทย ความดีแบบไทยจึงไม่นำไปสู่สังคมที่ดีขึ้นได้
 
ความดีแบบไทยวางอยู่บนระบบอำนาจนิยม ระบบอาวุโส ระบบเงินเป็นใหญ่ ระบบศรัทธาเชื่อมั่นตัวบุคคลอย่างงมงาย ระบบยึดมั่นแต่ประโยชน์ของผู้ให้ซึ่งเป็นคนชนชั้นบนของสังคม
 
ความไม่สากลของความดีแบบไทย จนกระทั่งรวมไปถึงว่า ตกลงความดีนั้นดีจริง ดีในขอบเขตของสังคม ดีเฉพาะเมื่อบางคนทำและทำเพื่อบางคนเท่านั้นหรือเปล่า ทำให้สังคมคนดีแบบไทยๆ ไม่ใช่สังคมที่ดีของทุกๆ คนอย่างเสมอหน้ากัน เป็นเพียงสังคมที่ดีของเหล่าคนทำดีแบบไทยๆ บางคนเท่านั้น

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำสำคัญ: sensory subjectivity, sensory categories, sensory bias, sensory ethnocentrism, sensory colonization (อธิบายไว้ท้ายข้อเขียน) คนทำเรื่องอาหารข้ามถิ่น ไม่ต่างจากการทำงานทางมานุษยวิทยา ที่ต้องตระหนักถึงการ ไม่นำเอา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ถ้าคุณไม่สามารถเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ได้แล้ว ก็โปรดอย่าถ่วงรั้งการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่เลย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปาฐกถาในเวทีเสวนา “50 ปี 14 ตุลาฯ ยังตามหารัฐธรรมนูญใหม่” จัดโดยสมัชชาคนจน วันที่ 14 ตุลาคม 2566
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อ 24 กค. 65 ผู้จัดการแสดง #ฮิญาบ2022  ชวนผมไปดูการแสดงของคุณฟารีดา จิราพันธ์ ที่กาลิเลโอเอซิส แล้วผู้จัดจะชวนผมสนทนาหลังละคร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพวิชาการ ในฐานะผู้ปกครองนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ และในฐานะคนรักศิลปะ ผมเขียนจดหมายนี้เพื่อตั้งคำถามต่อการที่ผู้บริหารคณะวิจิตรศิลป์จะตรวจสอบผลงานก่อการอนุญาตให้จัดแสดงผลงานของนักศึกษาภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นคนพูดถึงตัวละครในซีรีย์เกาหลีเอ่ยถึงจอร์จ บาไตล์ ในรูปนั่นน่ะครับ เป็นคอลเล็กชันจอร์จ บาไตล์บนชั้นหนังสือผมแบบเบาๆ ผมเก็บไว้ร่วม 20 ปีแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายคนคงรู้ว่าวันนี้เป็นวันชาติเวียดนาม แต่น้อยคนคงรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในวันนี้กันแน่ แล้ววันนี้ในอดีตถูกกำหนดเป็นวันขาติจากเหตุการณ์ปีใด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จนถึงวันนี้ การต่อสู้ของประชาชนในขบวนการ “คณะราษฎร 63” ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า พลังของแสงดาวได้สร้างสรรค์สังคมไทยอย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาได้ออกมาแสดงความเห็นว่ามีการสร้างกระแสกดดันศาลต่างๆ นานา (ดู https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2081366) มองในแง่ดี ผมคิดว่านี่คือการออกมาอธิบายกับสังคมอีกครั้งของผู้มีอำนาจในกระบวนการยุติธรรมอย่างชัดแจ้ง หลังจากที่มีการชี้แจงถึงเหตุผลการไม่ปล่อยตัวผู้ต้องหาคดีการเมืองโดยโฆษกศาลและโฆษกกระทรวงยุติธรรมก่อนหน้านี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อะไรที่ทำให้ดนตรีมีสถานะในการทำร้ายกันได้บ้าง ผมว่าอย่างน้อยที่สุดต้องเข้าใจก่อนว่า ดนตรีไม่ใช่แค่เสียง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พอดีนั่งฟังเพื่อนนักวิชาการอ่านหนังสือ "กบฏชาวนา" ของรานาจิต คูฮา (1982) มาคุยให้ฟัง (แปลโดย ปรีดี หงษ์สต้น) ในเพจของสำนักพิมพ์ Illumination Editions เลยคิดถึงบันทึกที่เคยเขียนถึงหนังสือของ ดิเพช จักรบาร์ตี เรื่อง Provincializing Europe (2000)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่อง ถามถึงมโนธรรมสำนึกในความเป็นครูบาอาจารย์ของอาจารย์เอนก เหล่าธรรมทัศน์