Skip to main content

ผมมาประชุมวิชาการ AAS ประจำปี 2017 ที่โตรอนโต แคนาดา เมื่อเสนองานไปแล้วเมื่อวาน (18 มีค. 60) เมื่อเช้าก็เลยหาโอกาสไปทำความรู้จักกับเมืองและผู้คนบ้าง เริ่มต้นจากการไปแกลลอรีแห่งออนทาริโอ แกลลอรีสำคัญของรัฐนี้ ตามคำแนะนำของใครต่อใคร ไปถึงแล้วก็ไม่ผิดหวังเพราะแกลลอรีนี้น่าสนใจในหลายๆ ลักษณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดในการจัดแสดงงาน การเล่าเรื่องราว และการแสดงความเป็นแคนาดา

 

 

แกลลอรีนี้มีงานของศิลปินดังๆ และงานศิลปะยุโรปสำคัญๆ ครบยุค แม้จะไม่มาก ไม่สามารถอวดแข่งประชันอะไรกับใครได้ แต่ก็มีงานดีพอ มากพอ ที่จะให้คนที่นี่ได้เรียนรู้ งานที่ประทับใจผมเองมีหลายชิ้น 

 

ที่ชอบมากคืองานสเก็จของพอล รูเบนส์ ที่เคยเห็นแต่ในหนังสือ เมื่อได้เห็นของจริงก็ยิ่งตื่นตะลึง ที่จริงที่นี่มีงานสีน้ำมันของพอล รูเบนส์ด้วย ชิ้นใหญ่มาก หรือประติมากรรมแกะงาช้างชิ้นหนึ่ง น่าประทับใจมาก ส่วนงานรุ่นอิมเพรสชั่นนิสม์ ก็พอมี อย่าง The Thinker ของออกุส โรแดงเวอร์ชั่นเล็ก ที่นี่ก็มี กับมีงานของคามิล ปิซาโรหลายชิ้นทีเดียว 

 

ที่น่าสังเกตคือวิธีเล่าเรื่อง แม้ว่าจะยังตามขนบการเล่าหลักตามลำดับเวลาและความเปลี่ยนแปลงของแนวการเขียนรูป แต่ก็มีคำอธิบายสรุป และก็เน้นการให้คนเข้าใจความเป็นยุคสมัยรวมๆ ไปพร้อมๆ กับการแสดงงานเดี่ยวของศิลปิน อีกนัยหนึ่งคือเน้นทั้งความเป็นประวัติศาสตร์ส่วนรวม และทักษะกับการสร้างสรรค์ส่วนตน 

 

คอลเลกชั่นที่น่าทึ่งมากคือบรรดางานประติมากรรมขนาดมหึมาของเฮนรี่ มัวร์ ที่มักเคยเห็นสักชิ้นสองชิ้นในแต่ละแกลลอรี แต่ที่นี่อุทิศห้องใหญ่แสดงงานเฮนรี มัวชนิดที่ว่า เดินเข้าไปแล้วราวกับเข้าไปในสุสาน แถมก่อนเข้าห้องนี้ยังมีการอธิบายว่า มัวร์ได้อิทธิพลและพัฒนางานต่อจากโรแดง ที่เริ่มมีงานประติมากรรมเรือนร่างคนแบบตัดส่วน จนทำให้กลายเป็นรูปทรงนามธรรม 

 

เมื่อดูไปสักพัก ก็เริ่มสงสัยว่าแล้วศิลปินแคนาดาล่ะ มีไหม เขาทำอะไรกัน แล้วเมื่อขึ้นไปชั้นสองก็ได้เจอผลงานของศิลปินแคนาดาทันที (ความจริงมีคอลเลกชี่นศิลปะแอฟริกันและศิลปะอินเดียนพื้นเมืองอยู่อีกมากเช่นกัน) 

 

 

งานของศิลปินแคนาดามักค้นหาอัตลักษณ์ตนเองผ่านชีวิตคนพื้นเมือง เน้นแลนด์สเคปของแคนาดา และวัสดุที่บอกเล่าความเป็นนักบุกเบิก นักเดินทางเข้ามาในทวีป กลุ่มศิลปินที่บุกเบิกค้นหารูปแบบศิลปะสมัยใหม่แบบแคนาดามามีตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 

 

ที่ท้าทายหน่อยคือการจัดแสดงรูปโดยไม่ติด caption ด้วยคำอธิบายว่า ไม่อยากให้คนดูสาละวนอยู่กับการอ่านข้อความ อยากให้ดูรูปมากกว่า แล้วค่อยไปอ่านเอาจากแผ่นคำอธิบาย ที่เขาก็มีให้ดูใกล้ๆ กับรูปนั่นแหละ แต่ไม่อยากติดข้างรูป 

 

สุดท้าย ผมตื่นตาตื่นใจกับห้องใต้ดินที่มีคอลเลกชั่นเรือจำลองจำนวนมาก เรียกว่าถ้าจะค่อยๆ ละเลียดดูรายละเอียดจริงๆ เฉพาะห้องนี้ก็ต้องสักหนึ่งชั่วโมงแล้ว 

 

ถ้าใครบังเอิญผ่านมาโตรอนโต ก็ขอแนะนำนะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรดูงานของศิลปินท้องถิ่น แต่ก็ยังหวังว่าเขาน่าจะมีงานชาวอินเดียนมากกว่านี้ และในอนาคต เนื่องจากมีประชากรเอเชียนและแอฟริกันในโตรอนดตไม่น้อย พวกเขาก็น่าจะได้เล่าเรื่องตนเองบ้างเช่นกัน

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปาฐกถาในเวทีเสวนา “50 ปี 14 ตุลาฯ ยังตามหารัฐธรรมนูญใหม่” จัดโดยสมัชชาคนจน วันที่ 14 ตุลาคม 2566
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อ 24 กค. 65 ผู้จัดการแสดง #ฮิญาบ2022  ชวนผมไปดูการแสดงของคุณฟารีดา จิราพันธ์ ที่กาลิเลโอเอซิส แล้วผู้จัดจะชวนผมสนทนาหลังละคร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพวิชาการ ในฐานะผู้ปกครองนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ และในฐานะคนรักศิลปะ ผมเขียนจดหมายนี้เพื่อตั้งคำถามต่อการที่ผู้บริหารคณะวิจิตรศิลป์จะตรวจสอบผลงานก่อการอนุญาตให้จัดแสดงผลงานของนักศึกษาภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นคนพูดถึงตัวละครในซีรีย์เกาหลีเอ่ยถึงจอร์จ บาไตล์ ในรูปนั่นน่ะครับ เป็นคอลเล็กชันจอร์จ บาไตล์บนชั้นหนังสือผมแบบเบาๆ ผมเก็บไว้ร่วม 20 ปีแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายคนคงรู้ว่าวันนี้เป็นวันชาติเวียดนาม แต่น้อยคนคงรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในวันนี้กันแน่ แล้ววันนี้ในอดีตถูกกำหนดเป็นวันขาติจากเหตุการณ์ปีใด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จนถึงวันนี้ การต่อสู้ของประชาชนในขบวนการ “คณะราษฎร 63” ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า พลังของแสงดาวได้สร้างสรรค์สังคมไทยอย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาได้ออกมาแสดงความเห็นว่ามีการสร้างกระแสกดดันศาลต่างๆ นานา (ดู https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2081366) มองในแง่ดี ผมคิดว่านี่คือการออกมาอธิบายกับสังคมอีกครั้งของผู้มีอำนาจในกระบวนการยุติธรรมอย่างชัดแจ้ง หลังจากที่มีการชี้แจงถึงเหตุผลการไม่ปล่อยตัวผู้ต้องหาคดีการเมืองโดยโฆษกศาลและโฆษกกระทรวงยุติธรรมก่อนหน้านี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อะไรที่ทำให้ดนตรีมีสถานะในการทำร้ายกันได้บ้าง ผมว่าอย่างน้อยที่สุดต้องเข้าใจก่อนว่า ดนตรีไม่ใช่แค่เสียง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พอดีนั่งฟังเพื่อนนักวิชาการอ่านหนังสือ "กบฏชาวนา" ของรานาจิต คูฮา (1982) มาคุยให้ฟัง (แปลโดย ปรีดี หงษ์สต้น) ในเพจของสำนักพิมพ์ Illumination Editions เลยคิดถึงบันทึกที่เคยเขียนถึงหนังสือของ ดิเพช จักรบาร์ตี เรื่อง Provincializing Europe (2000)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่อง ถามถึงมโนธรรมสำนึกในความเป็นครูบาอาจารย์ของอาจารย์เอนก เหล่าธรรมทัศน์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะล่าสุดของอาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ต่อการชุมนุม 16 ตค. 63 ย้อนแย้งกับสมัยที่อาจารย์ให้ความเห็นต่อการชุมนุม กปปส. ในขณะนั้นอาจารย์อธิบายยืดยาวว่าการชุมนุมของ กปปส. ใช้สันติวิธี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอให้อาจารย์หยุดใช้ถ้อยคำสร้างความเกลียดชังในสังคม